เครื่องหมายทางข้าง

เครื่องหมายทางทะเลใช้สำหรับนำร่องทางทะเลและระบุขอบร่องน้ำ

เครื่องหมายทางข้าง (อังกฤษ: Lateral mark) หรือ ทุ่นเครื่องหมายทางข้าง, หลักเครื่องหมายทางข้าง (อังกฤษ: Lateral buoy, Lateral post) เป็นเครื่องหมายตามที่สมาคมประภาคารและเครื่องหมายทางเรือระหว่างประเทศ (IALA) ได้กำหนดขึ้นเป็นเครื่องหมายทางทะเลสำหรับใช้งานนำร่องทางทะเลเพื่อระบุแนวขอบของร่องน้ำ

ภาพจำลองทุ่นเครื่องหมายทางข้าง ภูมิภาค B ในเวลากลางวัน

เครื่องหมายแต่ละอันบ่งบอกถึงขอบเขตของร่องน้ำในรูปแบบของกราบซ้าย (ซ้ายมือ Port) หรือกราบขวา (ขวามือ Starboard) ซึ่งทิศทางเหล่านี้สัมพันธ์กันกับทิศทางการเดินเรือเข้าสู่แนวทุ่น (direction of buoyage) ปกติจะมุ่งไปในทิศทางของต้นน้ำ ส่วนในแม่น้ำทิศทางการเดินเรือเข้าสู่แนวทุ่นจะมุ่งเข้าไปยังทิศทางของต้นแม่น้ำ ส่วนของท่าเรือทิศทางจะเป็นจากทะเลเข้าสู่ท่าเรือ ในกรณีที่มีข้อสงสัยจะมีระบุเอาไว้ในแผนที่เดินเรือ ซึ่งบ่อยครั้งจะใช้ระบบเครื่องหมายจตุรทิศเมื่อมีความสับสนเกี่ยวกับเรื่องทิศทาง

สำหรับเรือที่มุ่งหน้าเข้าสู่แนวทุ่น (เช่น เข้าสู่ท่าเรือ) และต้องการจะเดินเรือในร่องน้ำหลัก ควรจะ

  • ให้ทางกราบซ้าย (Port) ของเรือ ชิดเครื่องหมายกราบซ้าย และ
  • ให้ทางกราบขวา (Starboard) ของเรือ ชิดเครื่องหมายกราบขวา

ในประเทศไทย กรมเจ้าท่าได้ให้ความหมายเครื่องหมายทางข้างในส่วนของทุ่นและหลักไฟต่างกัน[1] คือ

  • ส่วนของทุ่น[1] Starboard hand Buoy ให้เป็น ทุ่นไฟขอบร่องด้านขวา และ Port hand Buoy ให้เป็น ทุ่นไฟขอบร่องด้านซ้าย
  • ส่วนของหลักไฟ[1] Starboard hand Post ให้เป็น หลักไฟขอบร่องด้านขวา และ Port hand Post ให้เป็น หลักไฟขอบร่องด้านซ้าย

ระเบียบ IALA

แก้
 
เครื่องหมายทางข้างของภูมิภาค A ซึ่งแสดงทั้งสีเขียวและสัญลักษณ์สามเหลี่ยม หมายถึง ช่องทางที่ปากทางเข้าแม่น้ำพอร์ตใกล้เมืองแอดิเลด รัฐเซาท์ออสเตรเลีย

เครื่องหมายจะแตกต่างกันไปตามรูปร่างและสี ได้แก่ สีแดงหรือสีเขียว

ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ จึงทำให้ทั้งโลกมีการใช้งานรูปแบบที่แตกต่างกันสองแบบ โดยมีวิธีการใช้สีที่แตกต่างกัน ก่อนหน้านี้มีระบบทุ่นลอยมากกว่า 30 รูปแบบ ก่อนที่ IALA จะปรับใช้ระบบให้เป็นรูปแบบเดียวกันในปี พ.ศ. 2523 ในการประชุมที่จัดขึ้นโดย IALA โดยตกลงที่จะนำระเบียบของระบบรวมใหม่มาใช้ โดยรวมระบบเดิมก่อนหน้านี้มาให้เหลือระบบเดียว และแบ่งเป็นสองภูมิภาค คือ A และ B

ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ จึงมีการใช้รูปแบบที่แตกต่างกันสองแบบทั่วโลก โดยมีการใช้สีที่แตกต่างกัน ก่อนหน้านี้มีระบบทุ่นลอยน้ำที่แตกต่างกันถึง 30 ระบบ ก่อนที่ IALA จะปรับระบบให้เหมาะสม ในปีพ.ศ. 2523 ในการประชุมที่จัดโดย IALA พวกเขาตกลงที่จะนำกฎของระบบรวมใหม่มาใช้ ซึ่งรวมสองระบบก่อนหน้านี้ (A และ B) ให้เป็นระบบเดียว โดยมีสองภูมิภาค (A และ B)[2]

ข้อกำหนดของ IALA เกี่ยวกับภูมิภาค A และภูมิภาค B มีดังนี้

ภูมิภาค A

แก้
 
ระบบ A: กราบซ้ายสีแดง / กราบขวาสีเขียว เมื่อเดินเรือจากทะเลเข้าสู่ เลอ ปาเลส์, ประเทศฝรั่งเศส
  • ประกอบไปด้วย ยุโรป แอฟริกา เอเชีย และโอเชียเนียส่วนใหญ่ รวมถึงกรีนแลนด์
  • เครื่องหมายกราบซ้ายเป็นสีแดง และอาจมีไฟกระพริบสีแดง จังหว่ะ 2+1 และเว้นจังหว่ะ
  • เครื่องหมายกราบขวาเป็นสีเขียว และอาจมีไฟกะพริบสีเขียว จังหว่ะ 2+1 และเว้นจังหว่ะ
 
(กราบซ้าย) (ซ้าย) (สีแดง) (กราบขวา) (ขวา) (เขียว)

ภูมิภาค B

แก้
 
(กราบซ้าย) (ซ้าย) (สีเขียว) (กราบขวา) (ขวา) (สีแดง)

ทั้งสองภูมิภาค

แก้
 
สีแดงคือภูมิภาค A สีเขียวคือภูมิภาค B ซึ่งภาพแสดงสีของกราบซ้าย
  • เครื่องหมายกราบซ้ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือรูปทรงที่มีด้านบนแบน
  • เครื่องหมายกราบขวาเป็นรูปกรวย (หรือมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม) หรือรูปทรงที่มียอดแหลม

รูปทรงเป็นอีกลักษณะสำคัญในการสังเกต เนื่องจากสีอาจไม่สามารถระบุได้ในสภาพแสงบางประเภท หรือโดยบุคคลที่มีตาบอดสีในสีแดงและเขียว เครื่องหมายอาจมีการทำสัญลักษณ์เฉพาะโดยใช้ตัวอักษรและตัวเลข เพื่อใช้ระบุเครื่องหมายตามที่ระบุไว้บนแผนที่เดินเรือ และในแบบเดียวกันกับไฟกระพริบตามลำดับที่กำหนดเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน

เมื่อร่องน้ำมีการแยกตัว เช่น ร่องน้ำแยกไปยังท่าเรือเล็ก ๆ นอกแม่น้ำสายหลัก จะใช้เครื่องหมายช่องทางเดินเรือที่เหมาะสม (Preferred channel marks) หรือ เครื่องหมายเลือกช่องทางเดินเรือ (bifurcation mark) ซึ่งเครื่องหมายมีรูปร่างและสีเหมือนกับตำแหน่งที่ตั้งของมันว่าอยู่กราบซ้ายหรือกราบขวาของร่องน้ำหลัก โดยมีแถบแนวนอนเพิ่มเติมพร้อมกับสีของร่องน้ำรอง ตัวอย่างเช่น ภูมิภาค A ร่องน้ำหลักตรงไป เป็นลำห้วยที่ทอดจากท่าจอดเรือไปยังท่าเรือ ทุ่นที่ใช้แบ่งเส้นทางจะเป็นกระป๋องทรงกระบอกสีแดงหรือเสาที่มีเครืองหมายบนยอดเป็นทรงกระบอก และตรงกลางจะเป็นแถบสีเขียว ส่วนใน IALA ภูมิภาค B ก็จะใช้รูปทรงเหมือนกัน แต่สีหลักจะเป็นสีเขียวและมีแถบสีแดง[5] โดยสามารถดูทุ่นที่ใช้งานสำหรับเกาะได้บที่แผนภาพด้านบน

เฉพาะในภูมิภาค A วลีว่า "มีสีแดงกราบซ้ายด้านขวาเหลืออยู่ไหม ?" (Is there any red port left?) (ซึ่งหมายถึงสีแดงของฟอร์ติไฟด์ไวน์ "กราบซ้าย") โดยอาจใช้เป็นเครื่องช่วยจำได้ โดยระบุว่าจะต้องเก็บเครื่องหมายสีแดงไว้ทางด้านซ้ายเมื่อต้อง "กลับ" ไปยัง (เช่น เข้า) ท่าเรือหรือแม่น้ำ

และเฉพาะในภูมิภาค B วลีว่า “สีแดงด้านขวากลับมาแล้ว” (red right returning) อาจใช้เป็นเครื่องช่วยจำ ระบุว่าจะต้องทำเครื่องหมายสีแดงไว้ทางด้านขวาเมื่อกลับ (เช่น เข้า) ท่าเรือหรือแม่น้ำ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 คู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง การบำรุงรักษาเครื่องหมายการเดินเรือ (PDF). ส่วนเครื่องหมายการเดินเรือ สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ กรมเจ้าท่า.
  2. Maritime Buoyage System เก็บถาวร 2006-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Pub 120, Sailing Directions (Planning Guide), Pacific Ocean and Southeast Asia (Twelfth ed.). National Geospatial Intelligence Agency, USA. 2015.
  4. "International Maritime Buoyage System". Port of Gunsan. Gunsan Regional Office of Oceans and Fisheries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2018. สืบค้นเมื่อ 9 May 2018.
  5. Maritime buoyage system and other aids to navigation, IALA (International association of maritime aids to navigation and lighthouse authorities), 2010, pp. 10–11

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้