เครื่องหมายจตุรทิศ

เครื่องหมายทางทะเลที่ระบุถึงบริเวณที่มีน่านน้ำปลอดภัยอยู่ใกล้กับอันตราย

เครื่องหมายจตุรทิศ หรือ เครื่องหมายแจ้งสิ่งอันตราย (อังกฤษ: Cardinal mark) คือเครื่องหมายทางทะเล (ในรูปแบบของทุ่น หรือโครงสร้างลอยน้ำ หรือโครงสร้างคงที่อื่น ๆ) ที่ใช้ในการนำร่องทางทะเลเพื่อระบุตำแหน่งสิ่งอันตรายและทิศทางของน่านน้ำที่ปลอดภัย

แผนภาพแสดงเครื่องหมายจตุรทิศที่เห็นในตอนกลางวัน พร้อมกับรูปแบบแสง ไฟที่แสดงที่นี่ได้รับการกำหนดค่าเป็น "เร็ว"

เครื่องหมายจตุรทิศจะระบุทิศทางของพื้นที่ปลอดภัยในรูปแบบของจุดทิศหลัก (ตามเข็มทิศ) คือ (เหนือ ตะวันออก ใต้ ตะวันตก) ที่สัมพันธ์กับเครื่องหมาย โดยเครื่องหมายนั้นสามารถสื่อสารได้โดยไม่คำนึงถึงทิศทางและตำแหน่งของเรือที่กำลังเข้าใกล้ ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบเครื่องหมายทางข้าง (ซึ่งเป็นที่รู้จักมากกว่า)

ลักษณะของเครื่องหมาย แก้

ลักษณะและความหมายของเครื่องหมายจตุรทิศนั้นเป็นไปตามข้อกำหนดของสมาคมประภาคารและเครื่องหมายทางเรือระหว่างประเทศ (IALA)

เครื่องหมายจตุรทิศระบุทิศทางหลักหนึ่งในสีตามเข็มทิศโดย

  • ทิศทางของเครื่องหมายยอดทรงกรวยทั้งสองชิ้น หากชี้ขึ้นทั้งสองอันจะเป็นทิศเหนือ หากชี้ลงทั้งสองอันจะเป็นทิศใต้ หากหันหน้าชี้เข้าหากันจะเป็นทิศตะวันตก และหากหันชี้ออกจากกันจะเป็นทิศตะวันออก
  • ลวดลายสีที่ทาบนเครื่องหมายคือแถบสีดำและสีเหลือง โดยเรียกตามทิศทางของกรวย ซึ่งสีดำจะอยู่ในตำแหน่งที่กรวยชี้ไป เช่น ทิศเหนือสีดำจะอยู่ด้านบน ทิศตะวันตกสีดำจะอยู่ตรงกลาง
  • อีกทางเลือกคือลำดับการกระพริบไฟวาบ ประกอบไปด้วยลำดับการกระพริบที่เร็วหรือเร็วมากตามทิศทางของหน้าปัดเข็มนาฬิกาที่สอดคล้องกับทิศตามเข็มทิศ เช่น 3 ครั้งสำหรับทิศตะวันออก 9 ครั้งสำหรับทิศตะวันตก ต่อเนื่องกันไม่หยุดสำหรับทิศเหนือ และทิศใต้ที่อาจเสริมด้วยการค้างจังหว่ะยาวจำนวนหนึ่งครั้ง เพื่อแยกความแตกต่างจากทิศตะวันตกในสภาวะที่ทะเลแปรปรวน
สรุปลักษณะของเครื่องหมาย[1]
ลักษณะเฉพาะ เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก
ด้านบนสุด

กรวยทั้งสองชี้ขึ้น


กรวยทั้งสองชี้ลง


กรวยชี้ออกจากกัน


กรวยชี้เข้าหากัน
สี สีดำเหนือสีเหลือง สีเหลืองเหนือสีดำ แถบแนวนอนสีเหลืองบนสีดำ แถบแนวนอนสีดำบนสีเหลือง
ไฟ (ถ้ามีติดตั้ง) กะพริบอย่างต่อเนื่อง กระพริบ 6 ครั้ง + วาบยาว 1 ครั้ง กะพริบ 3 ครั้ง กระพริบ 9 ครั้ง

อาจจะใช้ลำดับของแสงกระพริบแบบเร็วหรือเร็วมากก็ได้ ซึ่งหากใช้วิธีนี้จะช่วยให้สามารถแยกเครื่องหมายที่อยู่ใกล้เคียงกันในระยะสายตากันได้โดยใช้เพียงแสงกระพริบ

นอกจากนี้ยังอาจใช้เครื่องหมายจตุรทิศในการดำเนินการดังต่อไปนี้

  • ระบุว่าจุดที่น้ำลึกที่สุดคือบริเวณฝั่งที่ชื่อของเครื่องหมายติดอยู่
  • ระบุด้านที่ปลอดภัยเพื่อที่จะผ่านอันตรายจุดนั้นไปได้
  • ดึงความสนใจไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่องน้ำ เช่น ส่วนโค้ง ทางแยก ลำน้ำสาขา หรือจุดสิ้นสุดดอนทรายใต้น้ำ
  • ดึงความสนใจไปที่อันตรายใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้น เช่น เรือที่เกยตื้นอยู่ ในกรณีนี้มักจะวางเครื่องหมายที่เท่ากันไว้สองอันไว้ด้วยกัน เพื่อระบุว่าเป็นอันตรายที่พึ่งทำเครื่องหมายเอาไว้ และยังไม่ได้ตีพิมพ์หรือเผยแพร่บนแผนที่อย่างเป็นทางการ

การใช้งานอื่น ๆ

  • ในบางครั้งอาจใช้เครื่องหมายจตุรทิศแทนเครื่องหมายพิเศษ เพื่อระบุพื้นที่ทิ้งมูลดินหรือท่อระบายน้ำ เป็นต้น ตัวอย่างบางส่วนสามารถดูได้บนชายฝั่งทางใต้ของอังกฤษและทางตอนเหนือของฝรั่งเศส

เทคนิคการจำ แก้

เครื่องหมายกรวยชี้ที่ติดไว้ด้านบนของทิศเหนือและทิศใต้สามารถสื่อสารได้ชัดเจน (คือกรวยชี้ขึ้นหรือชี้ลงทั้งสองอัน) ซึ่งส่วนที่เป็นปัญหาคือเครื่องหมายในส่วนของฝั่งตะวันออกและตะวันตก

  • เครื่องหมายด้านบนของทิศตะวันออกและตะวันตก "ตามดวงอาทิตย์" คือกรวยด้านบนชี้ไปในทิศทางที่ดูเหมือนดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ไป (พระอาทิตย์ขึ้นในทิศตะวันออก หรือพระอาทิตย์ตกในทิศตะวันตก) ในขณะที่กรวยด้านล่างชี้ไปในทิศทางที่ภาพสะท้อนในมหาสมุดเหมือนจะเคลื่อนไหว ดวงอาทิตย์และเงาสะท้อนออกจากกันเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น และเข้าหากันอีกครั้งตอนพระอาทิตย์ตก[2]
  • ทิศตะวันออกดูเหมือนไข่อิสเตอร์ (Easter egg) เครื่องหมายทางทิศตะวันตกดูเหมือนมีเอวคอด (Western women have wasp waists) [3]
  • ทิศตะวันออกดูเหมือนตัวอักษรคลาสิก E/เอปไซลอน (E/epsilon) เครื่องหมายทางทิศตะวันตกดูเหมือน "W" ที่ด้านข้าง หรือ ขนลมตะวันตก (West winds wool) ซึ่งดูเหมือนกระสวยหลอดด้าย[4]
  • ทิศตะวันออกมีขนาดใหญ่กว่าตรงกลาง "ขยายเส้นศูนย์สูตร" (Equatorially enlarged) ส่วนตะวันตกคือเอวของผู้หญิง (West is a woman's waist) [5]
  • ทิศตะวันตกดูเหมือนแก้วไวน์ที่มีก้านแคบและกว้างบนและล่าง

ส่วนของสี สามารถจดจำได้ด้วยวิธีนี้: เครื่องหมายทรงกรวยทั้งสองจะชี้ไปที่สีดำเสมอ

  • หากเครื่องหมายบนชี้ไปด้านบน สีดำจะอยู่ด้านบน
  • หากเครื่องหมายด้านบนชี้ไปที่ด้านล่าง สีดำจะอยู่ด้านล่าง
  • หากเครื่องหมายด้านบนชี้ไปที่ตรงกลาง สีดำจะอยู่ตรงกลาง
  • หากเครื่องหมายด้านบนชี้ไปด้านนอก สีดำจะอยู่ด้านนอก

ระเบียงภาพ แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. IALA 2010, p. 14.
  2. Sanders 2018.
  3. Noice 2013, p. 130.
  4. Cunliffe 2016, p. 34.
  5. RYA 1985, plates between pp 72 and 73.

บรรณานุกรม แก้

  • Cunliffe, Tom (2016) [2002], The complete day skipper (fifth ed.), Adlard Coles nautical (an imprint of Bloomsbury), ISBN 978-1-4729-2416-2
  • IALA, Cardinal Marks (PDF), IALA, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-12-14, สืบค้นเมื่อ 2010-06-01
  • IALA (2010), Maritime buoyage system and other aids to navigation (PDF), IALA (International association of maritime aids to navigation and lighthouse authorities), สืบค้นเมื่อ 11 August 2019
  • Noice, Alison (2013) [2007], Day skipper for sail & power (second ed.), Adlard Coles nautical (an imprint of Bloomsbury), ISBN 978-1-4081-9310-5
  • RYA (1985) [1981], Navigation, an RYA manual (second ed.), Newton Abbot: David & Charles, ISBN 0-7153-8631-X
  • Sanders, John (2018), "Cardinal Marks", Boatschool, สืบค้นเมื่อ 15 September 2020