ทุ่นเรืออับปางฉุกเฉิน
ทุ่นเรืออับปางฉุกเฉิน (อังกฤษ: Emergency wreck buoy) ถูกใช้สำหรับเตือนถึงซากเรือที่พึ่งอัปปางและยังไม่ได้ระบุเอาไว้ในเอกสารในการเดินเรือทางทะเล ซึ่งจะใช้งานในช่วง 24 - 72 ชั่วโมงแรกหลังจากเกิดเหตุ หลังจากนั้นจึงติดตั้งทุ่นถาวรชนิดอื่น ๆ ในการเตือนแทน เช่น เครื่องหมายสิ่งอันตรายโดดเดี่ยว หรือ เครื่องหมายจตุรทิศ ซึ่งจะมีการปรับและอัปเดตในแผนที่และเอกสารเดินเรือ[1]
ทุ่นถูกออกแบบมาเพื่อแสดงถึง "การให้เครื่องหมายที่ชัดเจนและไม่คลุมเครือ" (provide a clear and unambiguous)[1] ของอันตรายที่พึ่งเกิดขึ้นมาใหม่และยังไม่ถูกกำหนดในแผนที่ โดยทุ่นจะถูกทาด้วยแถบสีแนวตั้ง 4, 6 หรือ 8 แถบด้วยสีเหลืองและน้ำเงินสลับกัน นอกจากนี้อาจมีการระบุข้อความว่า "WRECK" (ซากเรือ) เอาไว้ด้วย โดยอาจมีเครื่องหมายกางเขนแนวตั้ง (เซนต์จอร์จ) สีเหลือง พร้อมด้วยแสงกระพริบสีเหลืองและสีน้ำเงินสลับกันสีละหนึ่งวินาที และช่องว่างระหว่างเปลี่ยนสีอีกครึ่งนาที ซึ่งไม่มีเครื่องหมายเดินเรืออื่นที่ใช้สีน้ำเงิน[2]
สมาคมประภาคารและเครื่องหมายทางเรือระหว่างประเทศ (International Association of Marine Aids to Navigation and Lighthouse Authorities: IALA) ได้กำหนดทุ่นชนิดนี้ขึ้นมาเพื่อใช้งานหลังจากกรณีการอับปางของเรือ MV Tricolor และเกิดเหตุการณ์เรือ Nicola ของดัตช์ และเรือขนส่งเชื้อเพลิง Vicky ของตุรกีชนเข้ากับซากเรือดังกล่าว[3]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Emergency Wreck Buoys, Trinity House, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2014, สืบค้นเมื่อ 24 December 2017
- ↑ Maritime buoyage system and other aids to navigation, IALA (International Association of Maritime Aids to Navigation and Lighthouse Authorities), 2010, p. 18
- ↑ IALA (2005), IALA recommendation O-133 on emergency wreck marking buoy (PDF) (1 ed.), p. 3, สืบค้นเมื่อ 29 May 2023