ทุ่น

อุปกรณ์ลอยตัว

ทุ่น (อังกฤษ: Buoy /ˈb.i, bɔɪ/[1][2]) เป็นอุปกรณ์ลอยน้ำที่มีวัตถุประสงค์หลากหลาย ซึ่งสามารถทอดสมอ (ให้อยู่กับที่) หรือปล่อยให้ล่องลอยไปกับกระแสน้ำในมหาสมุทร

สิงโตทะเลบนทุ่นเดินเรือ #14 ในท่าเรือซานดิเอโก
ทุ่นกระป๋องสีเขียว #11
ทุ่นกระป๋องสีเขียว #11 ใกล้ปากแม่น้ำเสากาตัค
ทุ่นกระป๋องสีเขียว #11 ในแผนที่
ทุ่นกระป๋องสีเขียว #11 บนแผนที่เดินเรือ
ทุ่นวิเคราะห์สภาพอากาศ ของโนอา

ประเภท

แก้

ทุ่นเดินเรือ

แก้
  • ทุ่นนำร่องสำหรับการแข่งขัน (Racing Buoy, Race course marker buoys) ใช้งานแพร่หลายในการแข่งเรือใบ (Yacht racing)[3] และเรือเร็ว (Power boat racing) โดยจะกำหนดด่านที่ต้องขับตามเส้นทางและทิศทางที่วางไว้และไปยังอีกด้านที่กำหนด นอกจากนี้ยังใช้ในการแข่งขันเดินสำรวจใต้น้ำ (Underwater orienteering)
  • ทุ่นเรืออับปางฉุกเฉิน (Emergency wreck buoys) คือทุ่นที่ใช้ในการแสดงพื้นที่ที่มีซากเรือที่พึ่งอัปปาง ในระยะเวลา 24–72 ชั่วโมงแรก โดยทุ่นใช้สีน้ำเงินและสีเหลืองในแนวตั้งในสัดส่วนที่เท่ากันสลับกัน พร้อมกับสัญญาณไฟกระพริบสีน้ำเงินและสีเหลืองสลับกัน เริ่มต้นใช้งานหลังจากเหตุเรือโดนกันในช่องแคบโดเวอร์เมื่อปี พ.ศ. 2545 เมื่อมีเรือไปชนซากเรือ MV Tricolor ที่พึ่งอัปปาง[4]
  • ทุ่นแสดงน้ำแข็ง (Ice marking buoys) สำหรับทำเครื่องหมายหลุมในทะเลสาบหรือแม่น้ำที่เป็นน้ำแข็ง ดังนั้นบริเวณนั้นไม่สามารถขับรถสโนว์โมบิลผ่านหรือข้ามไปได้ รวมไปถึงเตือนนักเดินเรือว่าบริเวณนั้นเต็มไปด้วยทุ่งหรือธารน้ำแข็ง[3]
  • ทุ่นเดินเรือขนาดใหญ่ (Large Navigational Buoys: LNB) หรือ ทุ่นเครื่องหมายทางเรืออัตโนมัติขนาดยักษ์ (Large Automatic Navigational Buoy: LANBY) เป็นทุ่นแบบอัตโนมัติที่มีความสูงมากกว่า 10 เมตร พร้อมด้วยแสงกำลังส่งสูงที่สามารถถูกตรวจพบได้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้แทนที่เรือทุ่นไฟ (Light Vessel)[5] อาจถูกกำหนดเครื่องหมายบนแผนที่ว่า "Superbuoy"[6] หรือ "ทุ่นยักษ์"[7] ในภาษาไทย
  • ทุ่นเครื่องหมายทางข้าง
  • เครื่องหมายแสดงที่ปลอดภัย (Safe Water Marks) หรือ ทุ่นไฟปากร่องน้ำ[3] (Fairway buoys) ใช้กำหนดเครื่องหมายทางเข้าร่องน้ำหรือแผ่นดินที่อยู่ใกล้เคียง
  • เครื่องหมายทะเล (Sea marks) ใช้ในการทำเครื่องหมายร่องน้ำในการเดินเรือ บ่งบอกอันตราย หรือพื้นที่ที่มีการควบคุมจัดการ เพื่อให้เรือขนาดต่าง ๆ สามารถเดินเรือร่วมกันได้อย่างปลอดภัย บางที่มีการติดตั้งระฆังหรือฆ้องแบบใช้คลื่น
  • ทุ่นเรือจม (Wreck buoys) ใช้ในการทำเครื่องหมายว่ามีเรืออัปปางอยู่ในบริเวณนั้น และเตือนให้หลีกเลี่ยงเนื่องจากอันตรายที่อาจมองไม่เห็นซากเรือ โดยจะต้องรักษาระยะห่างจากทุ่นนี้ประมาณ 500 หลา[3]
  • ทุ่นไฟ (Light buoys) ทำหน้าที่ในการแบ่งเขตในเวลากลางคืน และช่วยในการเดินเรือเวลากลางคืน

ทุ่นเครื่องหมาย

แก้

ทุ่นเครื่องหมาย (Marker buoys) มักใช้ในการทำเครื่องหมายของวัตถุในน้ำชั่วคราวหรือถาวร เช่น

  • ทุ่นดักกุ้งล็อบสเตอร์ (Lobster trap buoys) จะเป็นทุ่นเครื่องหมายสีสันสดใสในตำแหน่งที่มีการวางกับดัก เพื่อให้ชาวประมงสามารถค้นหาตำแหน่งของที่ดักกุ้งล็อบสเตอร์ของตนได้ง่าย ซึ่งชาวประมงแต่ละคนจะใช้เครื่องหมายสีหรือหมายเลขทะเบียนที่ต่างกันไป ซึ่งพวกเขาได้รับอนุญาตให้ลากเฉพาะทุ่นดักของตัวเอง และต้องแสดงสีของทุ่นและใบอนุญาตปรากฏให้เห็นบนเรือ เพื่อให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายทราบว่าพวกเขาใช้ทุ่นอะไร โดยการใช้ทุ่นที่มีสีสันสดใสพร้อมกับเลขทะเบียนที่เห็นเด่นชัด จะช่วยให้มองเห็นทุ่นได้ในทุกสภาพอากาศที่ไม่เอื่ออำนวย เช่น ฝนตก หมอกจัด และหมอกทะเล[8][9]
  • ทุ่นลอยตกปลา (Fishing floats) เป็นทุ่นน้ำหนักเบาประเภทหนึ่งที่ใช้ในการตกปลาเพื่อระบุตำแหน่งของเบ็ดเหยื่อที่ห้อยอยู่ใต้น้ำ และเป็นตัวแสดงการกัดเหยื่อเพื่อส่งสัญญาณให้นักตกปลาทราบถึงความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของเบ็ดที่อยู่ใต้น้ำ

การดำน้ำ

แก้

ทุ่นเครื่องหมายหลายประเภทอาจถูกใช้งานโดยนักดำน้ำ:

  • ทุ่นบีบอัด (Decompression buoys) ถูกใช้งานในการดำน้ำสกูบาเพื่อระบุตำแหน่งของตนใต้น้ำในขณะที่กำลังพักน้ำ (decompression stops)
  • ทุ่นนำทางสำหรับนักดำน้ำ (Shot buoys) ใช้สำหรับทำเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยของนักดำน้ำสกูบา ใช้ในการนำลงไปยังจุดดำน้ำได้ง่ายขึ้นในสภาวะที่ทัศนวิสัยต่ำ หรือกระแสน้ำขึ้นน้ำลง รวมถึงสามารถพักน้ำ (decompression stops) ได้ปลอดภัยยิ่งขึ้น และช่วยให้กลับขึ้นมายังผิวน้ำเพื่อขึ้นเรือได้อย่างปลอดภัย[3]
  • ทุ่นลอยแสดงตำแหน่งบนผิวน้ำ[10] (Surface marker buoys) จะถูกใช้งานโดยนักดำน้ำสกูบาเพื่อทำเครื่องหมายตำแหน่งจากใต้น้ำ[11]
  • ทุ่นกำหนดเขตดำน้ำ (Dive site demarcation buoys) ใช้ในการระบุว่ามีนักดำน้ำกำลังทำงานอยู่ในพื้นที่ที่ทำเครื่องหมายดังกล่าว เพื่อเตือนให้เรือที่แล่นผ่านได้รับทราบตำแหน่งได้ชัดเจน

การกู้ภัย

แก้
  • ห่วงชูชีพ (Lifebuoys) เป็นทุ่นช่วยชีวิตที่ใช้ในการโยนให้กับคนที่พลัดตกน้ำเพื่อพยุงตัว โดยมักจะมีสายโยงเพื่อดึงเข้ามาสำหรับช่วยเหลือ
  • ทุ่นเครื่องหมายบอกตำแหน่งในตัว (Self-locating datum marker buoys: SLDMB) มีขนาด 70 เปอร์เซ็นของโมเดลการทดลองพลวัตของมหาสมุทรชายฝั่ง (Coastal Ocean Dynamics Experiment: CODE) ซึ่งเป็นเรือผิวน้ำสไตล์เดวิสที่มีใบพัดแบบ Drogue ที่กินความลึกระหว่าง 30 ถึง 100 เซนติเมตร[12] ออกแบบมาเพื่อใช้งานจากเรือหรืออากาศยานของยามฝั่งสหรัฐ เพื่อค้นหาและกู้ภัย ซึ่งใช้พื้นที่บนผิวน้ำน้อยมากเพื่อลดผลกระทบจากลมและคลื่น[13]
  • ทุ่นกู้ภัยเรือดำน้ำ (Submarine rescue buoys) จะถูกปล่อยในกรณีฉุกเฉินมีวัตถุประสงค์สำหรับติดต่อสื่อสาร

การวิจัย

แก้
  • ทุ่นเก็บข้อมูล (Profiling buoys) เป็นทุ่นเฉพาะทางที่มีการปรับแต่งให้มีการลอยตัวและการจมในอัตราที่สามารถควบคุมได้ลงไปจนถึงความลึกที่กำหนด เช่น ความลึก 2,000 เมตร เพื่อวัดอุณหภูมิของและความเค็มในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ปกติจะประมาณ 10 วัน จากนั้นจะลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ และส่งข้อมูลของรายงานผ่านดาวเทียม และจมลงตามโปรแกรมการทำงานที่ตั้งไว้อีกครั้ง[14]
  • ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ (Tsunami buoys) เป็นทุ่นที่มีการทอดสมอสำหรับตรวจจับความเปลี่ยนแปลงฉับพลันของแรงดันน้ำใต้ทะเล และเป็นส่วนหนึ่งของระบบเตือนภัยสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย
  • ทุ่นวิเคราะห์คลื่น (Wave buoys) จะวัดการเคลื่อนที่ของผิวน้ำเสมือนรถไฟคลื่น ซึ่งจะส่งข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เพื่อจัดทำข้อมูลทางสถิติ เช่น ความสูงและคาบของคลื่นที่ใช้ในการกาดการณ์ รวมถึงทิศทางของคลื่น
  • ทุ่นวิเคราะห์สภาพอากาศ (Weather buoys) จะวัดค่าตัวแปรต่าง ๆ ของสภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความเร็วและทิศทางลม และส่งข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อสัญญาณวิทยุผ่านดาวเทียม เช่น ระบบ Argos ซึ่งเป็นเครื่อข่ายสำหรับการวิจัยสภาพอากาศโดยเฉพาะ หรือเครื่อยข่ายโทรศัพท์ดาวเทียมในเชิงพาณิชย์ ไปยังศูนย์อุตุนิยมวิทยาเพื่อการพยากรณ์และศึกษาสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอาจจะทอดสมออยู่กับที่ (ทุ่นผูกเรือ) หรือปล่อยให้ลอยไปอย่างอิสระ (ทุ่นลอย) ในกระแสน้ำเปิด โดยตำแหน่งของทุ่นจะถูกคำนวณโดยดาวเทียม ซึ่งสามารถเรียกทุ่นนี้ได้อีกอย่างว่า ระบบทุ่นเก็บข้อมูลสมุทรศาสตร์ (Ocean data acquisition system: ODAS)[15] และอาจถูกทำเครื่องหมายเอาไว้ว่า "ทุ่นยักษ์" หรือ "Superbuoy"[6]

ท่าจอดเรือ

แก้
  • ทุ่นลอยหลัก หรือ ทุ่นผูกเรือ (Mooring buoys) จะยึดปลายด่านหนึ่งของสายเคเบิลหรือโซ่ไว้กับทุ่นบนผิวน้ำสำหรับให้เรือสามารถผูกติดกับทุ่นได้ ท่าจอดเรือหลายแห่งจะทำเครื่องหมายด้วยตัวเลขและกำหนดไว้สำหรับเรือลำใดลำหนึ่ง หรือสำหรับให้เช่าใช้งานชั่วคราว
  • ทุ่นทริปปิ้ง (Tripping buoys) ใช้เพื่อยุดปลายด้านหนึ่งของ "เส้นทริปปิ้ง" (tripping line) เพื่อใช้ในการแยกและช่วยยกสมอบนผิวน้ำ เพื่อช่วยให้สมอที่ติดอยู่ถอนออกมาได้ง่ายขึ้น

ทางการทหาร

แก้
  • ทุ่นเครื่องหมาย (Marker buoys) ใช้งานในสงครามทางเรือ (โดยเฉพาะการปราบเรือดำน้ำ) สามารถปล่อยแสง และ/หรือควันด้วยการใช้อุปกรณ์ปล่อยพลุแฟลร์และควัน โดยทั่วไปจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว (76 มิลลิเมตร) ละความยาวประมาณ 20 นิ้ว (500 มิลลิเมตร) ซึ่งจะถูกกระตุ้นให้ทำงานด้วยการสัมผัสน้ำทะเลและลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ บางชนิดจะดับเองเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ในขณะที่บางชนิดจะดับลงเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้งานมันอีก
  • ใช้ในการสงครามทางเรือ (โดยเฉพาะการต่อต้านเรือดำน้ำ) ปล่อยแสงและ/หรือควันโดยใช้อุปกรณ์พลุเพื่อสร้างพลุและควัน โดยทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว (76 มม.) และยาวประมาณ 20 นิ้ว (500 มม.) พวกมันจะถูกกระตุ้นโดยการสัมผัสน้ำทะเลและลอยอยู่บนผิวน้ำ บางชนิดดับเองหลังจากช่วงระยะเวลาหนึ่ง ขณะที่บางชนิดดับลงเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไป
  • ทุ่นวิเคราะห์เสียงใต้น้ำ หรือ ทุ่นโซโนบุย (Sonobuoys) เป็นทุ่นที่ถูกใช้งานในอากาศยานการสงครามปราบเรือดำน้ำเพื่อใช้ตรวจจับเรือดำน้ำด้วยระบบโซนาร์
  • ทุ่นเป้า เป็นทุ่นที่จำลองเป็นเป้าหมาย เช่น เรือเล็ก ในการฝึกซ้อมด้วยกระสุนจริงโดยกองทัพเรือและกองกำลังรักษาฝั่ง โดยปกติจะใช้เป็นเป้าหมายสำหรับอาวุธขนาดกลาง เช่น ปืนกลหนัก ปืนใหญ่ยิงเร็ว (~20 มม.) ปืนใหญ่อัตโนมัติ (สูงสุด 40–57 มม.) และจรวดต่อต้านรถถัง

ใช้งานเฉพาะด้าน

แก้
  • ทุ่นหมายเขต[16] (DAN buoys) มักจะถูกใช้เป็น
    • เครื่องช่วยเดินเรือทางทะเลขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแท่นสำหรับกระโจมสัญญาณไฟและสัญญาณวิทยุ
    • ห่วงชูชีพแบบมีธง ใช้กับเรือยอชต์และเรือสำราญขนาดเล็ก
    • เครื่องหมายชั่วคราว ในการทำประมงลากอวนของเดนมาร์กเพื่อทำเครื่องหมายตำแหน่งของสมออวน
    • เครื่องหมายชั่วคราว ที่กำหนดโดย เรือวางหมายเขต (danlayers) ในระหว่างปฏิบัติการเพื่อระบุถึงขอบเขตของเส้นทางกวาดทุ่นระเบิด พื้นที่กวาด อันตรายที่พบ และแจ้งสถานที่ที่ใช้เป็นจุดอ้างอิง
    • เครื่องหมายชั่วคราว สำหรับการปฏิบัติการกู้ภัยทางน้ำ
  • ทุ่นขอน (Spar buoys) เป็นทุ่นแบบสูง บางทุ่นมีลักษณะมีฐานลอยอยู่เหนือน้ำ เช่น เรือ RP FLIP

อื่น ๆ

แก้
 
ทุ่นพร้อมด้วยตู้จดหมายในทอเร[17]
  • ตู้จดหมายบนทุ่น มีอยู่ใน ทอเร (สวีเดน) และที่ทะเลสาบชไตน์ฮูเดอ (เยอรมนี)[18]

ตัวละคร

แก้
  • การจินตนาการให้มี "ทุ่นไปรษณีย์" ซึ่งเป็นตลกที่ใช้ในการแกล้งอำคนเล่นในกองทัพเรือสหรัฐ เมื่อกะลาสีเรือใหม่อาจจะได้รับภารกิจให้ค้นหาทุ่นไปรษณีย์เพื่อรับจดหมายในทุ่นซึ่งไม่มีอยู่จริง[19]

การใช้งานอื่น ๆ

แก้
  • คำว่า "buoyed" ในภาษาอังกฤษยังสามารถนำมาใช้ในเชิงเปรียบเทียบ เช่น a person can buoy up (เปรียบเทียบแทนคำว่า 'lift up') someone's spirits by providing help and empathy.[20]
  • ทุ่นถูกนำมาใช้งานในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานคลื่นในบางระบบ[21]
  • จอร์จ เอ. สตีเฟน ผู้ก่อตั้ง บริษัท เวเบอร์-สตีเฟ่น โปรดักส์ จำกัด ได้คิดค้นเตาย่างแบบกาต้มน้ำด้วยการตัดทุ่นโลหาออกครึ่งหนึ่ง แล้วปั่นเตาย่างทรงโดมโดยมีฝาปิดโค้งมน[22]

ระเบียงภาพ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "buoy". Dictionary.com Unabridged (Online). n.d.
  2. "buoy". The American Heritage Dictionary of the English Language (5th ed.). HarperCollins.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 co, บริษัท ได อิ ชิ พลาสติค จำกัด Daiichiplastic; Ltd. (2019-05-05). "ทุ่นคืออะไร? และประโยช์ของทุ่นต่างๆกว่า 21 ชนิด". บริษัท ได อิ ชิ พลาสติค จำกัด ผู้ผลิต จัดจำหน่าย และส่งออกสินค้าพลาสติก - ทุ่นจิ๊กซอว์ลอยน้ำ ทุ่นแสดงแนวเขต แผงกั้นแบ่งแนวจราจร ถังปูนพลาสติก ของเด็กเล่น สินค้าอุปโภค และแผ่นพื้นสนามเอนกประสงค์ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-04. สืบค้นเมื่อ 2023-10-05.
  4. "Emergency Wreck Buoys | Navigation Buoys | Trinity House". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-02. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
  5. "Large Navigational Buoys (LNB)". United States Coast Guard. สืบค้นเมื่อ Jul 6, 2015.
  6. 6.0 6.1 National Oceanic and Atmospheric Administration (2013). US Chart No. 1. Silver Spring: NOAA. p. 89.
  7. สัญลักษณ์, อักษรย่อ, คำศัพท์ ที่ใช้ในแผนที่เดินเรือไทย (PDF). โรงพิมพ์กองสร้างแผนที่ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ กรุงเทพฯ. 2553. p. 68.
  8. Cobb, John N., "The Lobster Fishery of Maine", Bulletin of the United States Fish Commission, Vol. 19, Pages 241–265, 1899; from Project Gutenberg
  9. Taft, Hank; Taft, Jan, A Cruising Guide to the Maine Coast and the Maine Coast Guides for Small Boats, Peaks Island, Maine : Diamond Pass Publishing, 5th Edition, 2009. Cf. Chapter: "BUOY, OH BUOY" เก็บถาวร 2008-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, and Chapter: "Fisherman, Lobsterboats, and Working Harbors" เก็บถาวร 2012-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. "ทุ่นลอยแสดงตำแหน่งบนผิวน้ำไร้สารตะกั่วแบบดีเลย์รุ่น SCD (สีส้ม)". dkt-ecommerce-th-prod.ig1.chopper-prod.apac-chopper-core-prod-90ju.decathlon.io (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]
  11. Davies, D (1998). "Diver location devices". Journal of the South Pacific Underwater Medicine Society. 28 (3). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-19. สืบค้นเมื่อ 2013-04-16.
  12. [METOCEAN. (2008). METOCEAN SLDMB: Operating & Maintenance Manual (Version 3.0 ed.) Retrieved from http://www.metocean.com.
  13. [Bang, I., Mooers, C. N. K., Haus, B., Turner, C., Lewandowski, M. (2007). Technical Report: Surface Drifter Advection and Dispersion in the Florida Current Between Key West and Jacksonville, Florida. Technical Report.].
  14. Kery, SM (1989). "Diving in support of buoy engineering: The RTEAM project". In: Lang, MA; Jaap, WC (Ed). Diving for Science…1989. Proceedings of the American Academy of Underwater Sciences Annual Scientific Diving Symposium 28 September – 1 October 1989 Wood Hole Oceanographic Institution, Woods Hole, Massachusetts, USA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 2013-04-16.
  15. IALA (2008). "International Dictionary of Marine Aids to Navigation – ODAS buoy". สืบค้นเมื่อ 10 December 2016.
  16. บทที่ 1 การกวาดทุ่นระเบิด (PDF). กองการฝึก กองเรือยุทธการ. p. 19.
  17. RCC Pilotage Foundation: Baltic Sea and Approaches. Imray, Laurie, Norie and Wilson Ltd, 2019, p. 241, ISBN 9781846238925.
  18. Die Postboje, www.steinhude-am-meer.de.
  19. "Pranks: Some old, some new". USS RICH. USS RICH Association.
  20. "buoy". Oxford English Dictionary. Vol. II (2nd ed.). Oxford University Press. 1989. p. 661. verb, sense 3.
  21. "Buoy System Harnesses Wave Energy". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-09-25.
  22. George Stephen, Company Founder and Inventor of the Weber Kettle Grill เก็บถาวร มิถุนายน 23, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูล

แก้