อิโต ฮิโรบูมิ

นายกรัฐมนตรีคนแรกของญี่ปุ่น
(เปลี่ยนทางจาก ฮิโระบุมิ อิโต)

อิโต ฮิโรบูมิ (ญี่ปุ่น: 伊藤 博文) เป็นนักการเมืองและรัฐบุรุษของญี่ปุ่นซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของญี่ปุ่น เขายังเป็นผู้นำของเก็นโร ซึ่งเป็นกลุ่มรัฐบุรุษอาวุโสที่กำหนดนโยบายของญี่ปุ่นในยุคเมจิ

อิโต ฮิโรบูมิ
伊藤 博文
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
22 ธันวาคม 1885 – 30 เมษายน 1888
กษัตริย์จักรพรรดิเมจิ
ก่อนหน้าซันโจ ซาเนโตมิ
(ตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี)
ถัดไปคูโรดะ คิโยตากะ
ดำรงตำแหน่ง
8 สิงหาคม 1892 – 31 สิงหาคม 1896
กษัตริย์จักรพรรดิเมจิ
ก่อนหน้ามัตสึกาตะ มาซาโยชิ
ถัดไปมัตสึกาตะ มาซาโยชิ
ดำรงตำแหน่ง
12 มกราคม 1898 – 30 มิถุนายน 1898
กษัตริย์จักรพรรดิเมจิ
ก่อนหน้ามัตสึกาตะ มาซาโยชิ
ถัดไปโอกูมะ ชิเงโนบุ
ดำรงตำแหน่ง
19 ตุลาคม 1900 – 10 พฤษภาคม 1901
กษัตริย์จักรพรรดิเมจิ
ก่อนหน้ายามางาตะ อาริโตโมะ
ถัดไปคัตสึระ ทาโร
ผู้ตรวจราชการเกาหลี
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม 1905 – 14 มิถุนายน 1909
กษัตริย์จักรพรรดิเมจิ
ถัดไปโซเนะ อาราซูเกะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 ตุลาคม ค.ศ. 1841(1841-10-16)
จังหวัดซูโอ จักรวรรดิญี่ปุ่น
เสียชีวิต26 ตุลาคม ค.ศ. 1909(1909-10-26) (68 ปี)
ฮาร์บิน จักรวรรดิชิง
คู่สมรสอูเมโกะ อิโต
ศิษย์เก่ายูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดิน[1]
ลายมือชื่อ
อิโต ฮิโรบูมิ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ伊藤 博文
ฮิรางานะいとう ひろぶみ
การถอดเสียง
โรมาจิItō Hirobumi

ซามูไรที่ได้รับการศึกษาจากลอนดอนแห่งแคว้นโชชูและเป็นบุคคลสำคัญในการฟื้นฟูเมจิ อิโต ฮิโรบูมิเป็นประธานในการร่างรัฐธรรมนูญเมจิสำหรับจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ตั้งขึ้นใหม่ เมื่อมองไปทางตะวันตกเพื่อหาแรงบันดาลใจ อิโตปฏิเสธรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาว่าเสรีเกินไป และการฟื้นฟูสเปนนั้นเผด็จการเกินไป เขานำรัฐธรรมนูญของอังกฤษและเยอรมันมาเป็นต้นแบบ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งปรัสเซียน ค.ศ. 1850 เขาแทนที่การอ้างอิงทางศาสนาด้วยการอ้างอิงที่มีรากฐานมาจากแนวคิดแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นเกี่ยวกับโคกูไต (国体) หรือ "การเมืองระดับชาติ" ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญสำหรับพระราชอำนาจของจักรพรรดิ

ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1880 อิโตกลายเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในบรรดาฮัมบัตสึ[2][3][4]

ประวัติ แก้

ชีวิตวัยเยาว์-เข้าเป็นทหาร แก้

 
อิโต โทชิตสึเกะ (ยืนทางขวา) กับทากาซูงิ ชินซากุ (นั่งกลาง) ผู้นำกองทหารปฏิวัติ "คิเฮไต" แห่งแคว้นโชชู

อิโต ฮิโรบูมิ มีชื่อเดิมว่าโทชิตสึเกะ เป็นบุตรคนโตของครอบครัวชาวนาในเมืองฮางิ แคว้นโชชู (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดยามางูจิ) บิดาชื่อว่า จูโซ มารดาชื่อว่าโคโตโกะ เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจนมาก จึงต้องส่งโทชิตสึเกะไปเป็นบุตรบุญธรรมของซามูไรระดับล่างในท้องถิ่น ชื่อว่า อิโต นาโอเอมง ตั้งแต่อายุ 12 ขวบ หลังจากเข้าเรียนในโรงเรียนมัตสึชิตะจูกุ ก็ไปเกี่ยวพันกับขบวนการโค่นล้มระบอบโชกุนในสมัยนั้น

ในปี 2405 ขณะที่มีอายุได้ 21 ปี ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนลอบสังหารนางาอิ อูตะ ผู้ที่สนับสนุนแนวคิดที่ให้รัฐบาลทหารรวมตัวกับราชสำนักในเกียวโต (และรักษาระบอบโชกุนเอาไว้) นอกจากนี้ยังเข้าร่วมลอบวางเพลิงสถานกงสุลอังกฤษ จนมีชื่อในฐานะผู้ที่มีแนวคิดต่อต้านต่างชาติ ต่อมาในปี 2406 ได้ไปเรียนต่อที่อังกฤษ (คาดว่าแนวคิดต่อต้านต่างชาติคงจะเบาบางลง หลังจากได้เห็นสภาวะของอังกฤษในช่วงนั้น ที่มีกำลังเหนือกว่าญี่ปุ่นมาก) ดังนั้นเมื่อรู้ข่าวว่าแคว้นของตนกำลังเตรียมทำสงครามกับอังกฤษ ก็รีบกลับประเทศเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงสงคราม แต่ไร้ผล เพราะในที่สุดแคว้นโชชูก็ได้ทำสงครามกับอังกฤษ แน่นอนว่าอังกฤษที่มีเทคโนโลยีเหนือกว่าเป็นฝ่ายได้เปรียบ และหลังสงครามทำหน้าที่เป็นล่ามในการเจรจาสงบศึก

หลังจากที่กองทัพของแคว้นโชชูทำสงครามกับรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะและเป็นฝ่ายได้เปรียบ รัฐบาลของแคว้นโชชูก็ได้แสดงเจตนาที่จะโค่นล้มรัฐบาลโชกุนอย่างชัดแจ้ง ฮิโรบูมิก็ได้เข้าเป็นทหารในกองทัพของแคว้นในช่วงนั้นด้วย กองทัพที่ว่านี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้การปฏิรูปเมจิประสบความสำเร็จ

การปฏิรูปเมจิ-นายกฯ คนแรก แก้

หลังจากที่ระบอบโชกุนล่มสลายและเกิดระบอบใหม่ที่มีจักรพรรดิเป็นศูนย์กลางแล้ว โทชิตสึเกะ ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ฮิโรบูมิ" ในฐานะเป็นผู้มีอำนาจจากแคว้นโชชู ก็ได้ใช้ความสามารถทางภาษาอังกฤษของตนเองเป็นใบเบิกทางเข้าทำงานในตำแหน่งสำคัญๆ เช่นหัวหน้าสำนักงานการต่างประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดเฮียวโงะ เจ้ากรมโยธาธิการคนแรก ฯลฯ นับได้ว่าเป็นผู้มีอิทธิพลในรัฐบาลใหม่คนหนึ่ง แต่เนื่องจากมีแนวคิดหัวก้าวหน้าเกินไปในสมัยนั้นและยังไปวิพากษ์วิจารณ์นโยบายหลายอย่างของรัฐบาล จึงเกิดเหตุขัดแย้งกับโอกูโบะ โทชิมิจิ หนึ่งในผู้มีอิทธิพลในรัฐบาลใหม่ และอิวากูระ โทโมมิ อัครมหาเสนาบดีของรัฐบาลเมจิในสมัยก่อนที่จะตั้งระบบคณะรัฐมนตรี แต่ว่าเนื่องจากฮิโรบูมิสนับสนุนความคิดของโอกูโบะและอิวากูระในเรื่องเกี่ยวกับคาบสมุทรเกาหลีว่า ไม่ควรจะดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในตอนนี้ แต่ควรพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศให้เข้มแข็งก่อน จึงได้รับความไว้วางใจจากทั้งสองคนในภายหลัง

 
คณะการทูตอิวากูระใน พ.ศ. 2414 (จากขวา) โอกูโบะ โทชิมิจิ, อิโต ฮิโรบูมิ, อิวากูระ โทโมมิ, ยามางูจิ นะโอะโยะชิ, คิโดะ ทะกะโยะชิ

หลังจากโอกูโบะถูกลอบสังหาร อิโตได้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมมหาดไทยแทนโอกูโบะ และในที่สุดก็ได้เป็นผู้ที่มีอำนาจทางการเมืองสูงสุดหลังจากเสาหลักของการปฏิรูป 3 คน (คือ โอกูโบะ โทชิมิจิ, ไซโง ทากาโมริ และคิโดะ ทากาโยชิ) เสียชีวิตหมดแล้ว ต่อมาหลังจากรัฐประหารในปีเมจิที่ 14 (2424) ซึ่งทำให้โอกูมะ ชิเงโนบุสูญเสียอำนาจแล้ว อิโตก็เข้ามามีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญ และยังได้เดินทางไปยังยุโรปเพื่อศึกษารัฐธรรมนูญของประเทศพัฒนาแล้วอีกด้วย ต่อมาปี 2428 หลังจากที่เกิดระบบคณะรัฐมนตรี ก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรก ประธานองคมนตรี และประธานวุฒิสภา (หลังจากนั้นยังได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีก 3 ครั้ง รวมเป็น 4 สมัย)

ปี 2443 ก่อตั้งพรรคริกเก็นเซยูไก (立憲政友会) และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเป็นคนแรก ก่อนหน้าสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ได้ชูแนวความคิดว่าไม่ควรทำสงครามโดยตรง แต่ควรเจรจากับรัสเซียเพื่อให้ญี่ปุ่นมีสิทธิเหนือเกาหลีและเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ญี่ปุ่นจะรับรองสิทธิของรัสเซียเหนือแมนจูเรีย อีกทั้งยังต่อต้านแนวคิดที่ให้ญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรกับอังกฤษเพื่อถ่วงดุลกับรัสเซีย

หลังสงครามดังกล่าว ได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรื่องต่าง ๆ หลังสงคราม และกลายเป็นหนึ่งในคณะเก็นโร

ผู้ตรวจราชการเกาหลีคนแรก-ถูกลอบสังหาร แก้

 
ภาพสุดท้ายของอิโต ฮิโรบูมิ ก่อนถูกลอบสังหารโดยชาวเกาหลีผู้เกลียดชังการปกครองของญี่ปุ่น

หลังจากที่สนธิสัญญาอึลซา ได้รับการลงนามในปี พ.ศ. 2448 แล้ว จักรวรรดิเกาหลีก็กลายเป็นรัฐในอารักขาของญี่ปุ่น อิโตได้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการเกาหลีคนแรก ซึ่งนอกจากจะควบคุมนโยบายการต่างประเทศแล้ว ยังมีอำนาจแทรกแซงกิจการภายในของจักรวรรดิเกาหลีได้ เท่ากับว่าจักรวรรดิเกาหลีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นแล้วในทางปฏิบัติ

ดังนั้นเมื่อมีความคิดที่จะรวมเกาหลีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ และล้มระบอบกษัตริย์ของเกาหลี อิโตจึงต่อต้านความคิดนี้อย่างแข็งขันในตอนแรก แต่หลังจากเผชิญหน้ากับขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นในเกาหลี ในที่สุดอิโตก็ยอมรับแนวคิดดังกล่าว (แต่มีข้อแม้ว่าต้องยืดเวลาปฏิบัติการต่อไปอีกพอสมควร) แนวคิดของอิโต แม้จะแตกต่างกับแนวคิดของฝ่ายที่ยืนยันว่าต้องรวมเกาหลีในประเด็นปลีกย่อยและวิธีการ แต่แนวคิดพื้นฐานนั้นไม่ต่างกัน

จากนโยบายดังกล่าวของอิโต เขาจึงถูกเกลียดชังจากประชาชนเกาหลีเป็นอย่างมาก และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาถูกลอบสังหารในที่สุด

อิโตลาออกจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการเกาหลีในปี พ.ศ. 2452 และเตรียมจะกลับไปดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี แต่ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน อิโตได้เดินทางไปยังฮาร์บิน โดยมีวัตถุประสงค์ในการเจรจากับรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของรัสเซียอย่างไม่เป็นทางการ เกี่ยวกับปัญหาแมนจูเรียและเกาหลี และถูกนักรณรงค์เพื่อเอกราชเกาหลีชื่อว่า อัน จุง-กึน ยิงเสียชีวิตที่สถานีฮาร์บิน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม (อัน จุง-กึนถูกจับกุมทันที ส่วนผู้ร่วมก่อการอีก 3 คนถูกตำรวจรัสเซียจับกุมภายหลัง หลังจากนั้นทั้ง 4 คนได้ถูกพิจารณาคดีในศาลญี่ปุ่น ณ คาบสมุทรเหลียวตงที่ขณะนั้นเป็นอาณานิคมญี่ปุ่น อัน จุง-กึนถูกตัดสินประหารชีวิต ผู้ร่วมกระทำความผิดคนหนึ่งถูกตัดสินจำคุก 2 ปี อีกสองคนต้องโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน) กล่าวกันว่า พออิโตได้ทราบก่อนเสียชีวิตว่าผู้ที่ยิงตนนั้นเป็นคนเกาหลี ก็พึมพำว่า "ไอ้คนทำนี่มันช่างโง่จริง ๆ ที่มายิงข้า"

รัฐพิธีศพของอิโตจัดขึ้น ณ สวนสาธารณะฮิบิยะ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน

อ้างอิง แก้

  1. "Famous Alumni". UCL. 11 January 2018.
  2. Craig, Albert M. (14 July 2014) [1st pub. 1986]. "Chapter 2: The Central Government". ใน Jansen, Marius B.; Rozman, Gilbert (บ.ก.). Japan in Transition: From Tokugawa to Meiji. Princeton University Press. pp. 60–61. ISBN 978-0691604848. By 1878 Ōkubo, Kido, and Saigō, the triumvirate of the Restoration, were all dead. There followed a three-year interim during which it was unclear who would take their place. During this time, new problems emerged: intractable inflation, budget controversies, disagreement over foreign borrowing, a scandal in Hokkaido, and increasingly importunate party demands for constitutional government. Each policy issue became entangled in a power struggle of which the principals were Ōkuma and Itō. Ōkuma lost and was expelled from the government along with his followers...¶Itō's victory was the affirmation of Sat-Chō rule against a Saga outsider. Itō never quite became an Ōkubo but he did assume the key role within the collective leadership of Japan during the 1880s.
  3. Beasley, W.G. (1988). "Chapter 10: Meiji Political Institutions". ใน Jansen, Marius B. (บ.ก.). The Cambridge History of Japan. Vol. V:The Nineteenth Century. Cambridge University Press. p. 657. ISBN 0-521-22356-3. Now that Ōkubo was dead and Iwakura was getting old, the contest for overall leadership seemed to lie between Itō and Ōkuma, which gave the latter's views a particular importance. He did not submit them until March 1881. They then proved to be a great deal more radical than any of his colleagues had expected, not least in recommending that a parliament be established almost immediately, so that elections could be held in 1882 and the first session convoked in 1883...Ōkuma envisaged a constitution on the British model, in which power would depend on rivalry among political parties and the highest office would go to the man who commanded a parliamentary majority...Implicit in this was a challenge to the Satsuma and Chōshū domination of the Meiji government. Itō at once took it up, threatening to resign if anything like Ōkuma's proposals were accepted. This enabled him to isolate Ōkuma and force him out of the council later in the year.
  4. Perez, Louis G. (8 January 2013). "Itō Hirobumi". ใน Perez, Louis G. (บ.ก.). Japan at War:An Encyclopedia. ABC-CLIO, LLC. p. 149. ISBN 9781598847420. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022. In 1878, Itō became Minister of Home Affairs. He and Ōkuma subsequently became embroiled over the adoption of a constitutional form of government. Itō had Ōkuma ousted from office and assumed primary leadership in the Meiji government...

แหล่งข้อมูลอื่น แก้