เจ้า คัตสึระ ทาโร (ญี่ปุ่น: 桂太郎) เป็นนักการเมืองและนายพลของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1901 ถึง ค.ศ. 1906 ครั้งที่สอง ค.ศ. 1908 ถึง ค.ศ. 1911 และครั้งที่สาม ค.ศ. 1912 ถึง ค.ศ. 1913

คัตสึระ ทาโร
桂 太郎
สมุหพระราชลัญจกร
ดำรงตำแหน่ง
21 สิงหาคม 1912 – 21 ธันวาคม 1912
กษัตริย์จักรพรรดิไทโช
ก่อนหน้าโทกูไดจิ ซาเนสึเนะ
ถัดไปเจ้าชายฟูชิมิ ซาดานารุ
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม 1912 – 20 กุมภาพันธ์ 1913
กษัตริย์ไทโช
ก่อนหน้าไซอนจิ คิมโมจิ
ถัดไปยามาโมโตะ กอนโนะฮโยเอะ
ดำรงตำแหน่ง
14 กรกฎาคม 1908 – 30 สิงหาคม 1911
กษัตริย์จักรพรรดิเมจิ
ก่อนหน้าไซอนจิ คิมโมจิ
ถัดไปไซอนจิ คิมโมจิ
ดำรงตำแหน่ง
2 มิถุนายน 1901 – 7 มกราคม 1906
กษัตริย์เมจิ
ก่อนหน้าไซอนจิ คิมโมจิ (รักษาการ)
ถัดไปไซอนจิ คิมโมจิ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงคราม
ดำรงตำแหน่ง
12 มกราคม 1898 – 23 ธันวาคม 1900
กษัตริย์เมจิ
ก่อนหน้าทากาชิมะ โทโมโนซูเกะ
ถัดไปโคดามะ เก็นทาโร่
ผู้สำเร็จราชการไต้หวัน
ดำรงตำแหน่ง
2 มิถุนายน 1896 – 14 ตุลาคม 1896
กษัตริย์เมจิ
ก่อนหน้าคาบายามะ ซูเกโนริ
ถัดไปNogi Maresuke
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 มกราคม ค.ศ. 1848(1848-01-04)
ฮางิ ญี่ปุ่น
เสียชีวิต10 ตุลาคม ค.ศ. 1913(1913-10-10) (65 ปี)
โตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น
พรรคการเมืองConstitutional Association of Allies (1913)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
อิสระ (1896–1913)
คู่สมรสคัตสึระ คานาโกะ (1875–1940)
วิชาชีพทหารและนักการเมือง
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ญี่ปุ่น
สังกัด กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น
ประจำการ1870-1901
ยศพลเอก
บังคับบัญชา
ผ่านศึก

คัตสึระเป็นนายพลที่โดดเด่นในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและเป็นกลุ่มเก็นโรในรัฐบาลเมจิ โดยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการไต้หวันและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม คัตสึระได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1901 ในตำแหน่งผู้สมัครรับเลือกตั้งจากฝ่ายทหาร และวางตนเป็นพวกอนุรักษ์นิยมนอกพรรคการเมือง การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 และ 2 ของคัตสึระมีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่รวมทั้งสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น และการผนวกเกาหลี การเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3 ของคัตสึระได้จุดชนวนให้เกิดวิกฤตการเมืองไทโช เขาลาออกในอีกสามเดือนต่อมาภายหลังการลงมติไม่ไว้วางใจ

คัตสึระเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดเป็นอันดับสองของญี่ปุ่นรองจากชินโซ อาเบะ ดำรงตำแหน่ง 2883 วันตลอดสามวาระตั้งแต่ปี ค.ศ. 1901 ถึง ค.ศ. 1913

ชีวิตวัยเด็ก

แก้

คัตสึระเกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1848 ในเมืองฮางิ จังหวัดนางาโตะ (จังหวัดยามางูจิ ในปัจจุบัน) ในฐานะบุตรชายคนโตของ คัตสึระ โยอิชิเอมอน จากตระกูลซามูไรแห่งแคว้นศักดินาโชชู ช่วงวัยรุ่นคัตสึระได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะและเข้าร่วมในสงครามโบชิง[1] ที่นำไปสู่การฟื้นฟูเมจิ ในปี ค.ศ. 1868

อาชีพทหาร

แก้

รัฐบาลเมจิใหม่พิจารณาว่าคัตสึระมีความสามารถที่ยอดเยี่ยม ในปี ค.ศ. 1870 รัฐบาลได้ส่งเขาไปเยอรมนีเพื่อศึกษาวิทยาศาสตร์ทางการทหาร เขาทำหน้าที่เป็นทูตทหารที่สถานทูตญี่ปุ่นในเยอรมนีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1875 ถึง ค.ศ. 1878 และอีกครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1884 ถึง ค.ศ. 1885 เมื่อเขากลับมาถึงญี่ปุ่นเขาได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งในกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และในปี ค.ศ. 1886 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการสงคราม[2]

อ้างอิง

แก้
  1. "明治宰相列伝 : 桂太郎 | 国立公文書館". www.archives.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  2.   ประโยคหรือส่วนของบทความก่อนหน้านี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติChisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Katsura, Taro, Marquess" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 15 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 697.