ผู้รักษาพระราชลัญจกรของญี่ปุ่น

ผู้รักษาพระราชลัญจกรของญี่ปุ่น หรือ สมุหพระราชลัญจกร (ญี่ปุ่น: 内大臣โรมาจิไนไดจิง) เป็นตำแหน่งทางการบริหารที่ไม่อยู่ในตำแหน่งคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของ จักรวรรดิญี่ปุ่น รับผิดชอบในการรักษาพระราชลัญจกรและตราประทับของญี่ปุ่น ตำแหน่งสมัยใหม่ของผู้รักษาพระราชลัญจกรนั้นเหมือนกันกับ ไนไดจิง แค่ในนามเท่านั้นและไม่ควรสับสน ตำแหน่งถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1945 หลัง สงครามโลกครั้งที่สอง

ประวัติ แก้

ยุคเมจิ แก้

ตำแหน่งผู้รักษาพระราชลัญจกรในสมัยใหม่ ถูกสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1885 หลังจากที่รัฐบาลเมจิได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งผู้รักษาพระราชลัญจกรนั้น ได้ถูกแยกออกจากการบริหารของคณะรัฐมนตรี และให้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาส่วนพระองค์ของพระจักรพรรดิแทน นอกจากนี้ผู้รักษาพระราชลัญจกรนั้น ยังต้องรับผิดชอบในส่วนของเอกสารต่าง ๆ ของพระจักรพรรดิ เช่น พระราชหัตถเลขา พระบรมราชโองการ อีกทั้งฎีกาที่ส่งไปถวายพระจักรพรรดิและส่งไปยังศาล ก็ได้รับการรับผิดชอบจากผู้รักษาพระราชลัญจกร รวมทั้งการส่งพระราชหัตถเลขาและจดหมายตอบฎีกาที่ส่งไปถวายและไปยังศาลด้วยเช่นกัน

 
พระจักรพรรดิเรียกประชุมสภาองคมนตรี ซึ่งถูกสถาปนาขึ้นใน 3 ปีให้หลัง โดยแยกต่างหากจากสำนักงานสมุหพระราชลัญจกร ภาพดังกล่าวเป็นภาพอูกิโยะที่วาดลงบนแผ่นไม้โดย โยชู จิกะโนบุ ในปี ค.ศ. 1888

เมื่อสภาองคมนตรีถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1888 ผู้รักษาพระราชลัญจกรก็ยังคงมีบทบาทในการให้คำปรึกษาส่วนพระองค์ โดยระหว่างองคมนตรีกับผู้รักษาพระราชลัญจกรนั้น ผู้รักษาพระราชลัญจกรจะแตกต่างกันในด้านของความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างพระจักรพรรดิ โดยจะได้รับความไว้วางใจเป็นพิเศษ

ในปี ค.ศ. 1907 ตำแหน่งผู้รักษาพระราชลัญจกรได้ถูกขยายขึ้นไปเป็น สำนักงานสมุหพระราชลัญจกร (ญี่ปุ่น: 内大臣府โรมาจิไนไดจิง-ฟุ) โดยมีหัวหน้าเลขานุการ 1 คน เลขานุการ 3 คน และผู้ช่วยเลขานุการ 6 คน เพื่อช่วยเหลือปริมาณงานเอกสารที่เพิ่มมากขึ้นโดยส่งผ่านไปยังตำแหน่ง เก็นโร

ยุคโชวะ แก้

ภายหลังจากการเริ่มเข้าสู่รัชสมัยของ สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะในปี ค.ศ. 1925 สำนักงานและตำแหน่งของผู้รักษาพระราชลัญจกรนั้น เริ่มกลายมาเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีค่าใช้จ่ายสำหรับการทำงานมาจากสำนักนายกรัฐมนตรี จากการแย่งชิงทางการเมืองภายในสภาไดเอ็ตของญี่ปุ่นนั้น ได้ช่วยส่งเสริมให้ตำแหน่งของผู้รักษาพระราชลัญจกรนั้น มีอำนาจที่มากขึ้น

สำนักงานสมุหพระราชลัญจกรได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 โดยตำแหน่งผู้รักษาพระราชลัญจกรได้ถูกยกเลิกไปโดยรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1946 ดังนั้น ฟุจิตะ ฮิซาโนริ จึงเป็นจางวางใหญ่คนสุดท้ายที่มีตำแหน่งเป็นผู้รักษาพระราชลัญจกร

ปัจจุบัน พระราชลัญจกรนั้นถูกเก็บรักษาไว้และอยู่ในการกำกับดูแลของ จางวางญี่ปุ่น

รายพระนามและรายนามผู้รักษาพระราชลัญจกร แก้

รูป ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
  ซังโจ ซาเนะโตมิ
三条実美
22 ธันวาคม
1885
18 กุมภาพันธ์
1891
  โทะกุไดจิ ซาเนะสึเนะ
徳大寺実則
21 กุมภาพันธ์
1891
12 สิงหาคม
1912
  คัตสึระ ทาโร
桂 太郎
21 สิงหาคม
1912
21 ธันวาคม
1912
  เจ้าชายฟุชิมิ ซาดะนารุ
伏見宮貞愛親王
21 ธันวาคม
1912
13 มกราคม
1915
  โอยามะ อิวาโอะ
大山巌
23 เมษายน
1915
10 ธันวาคม
1916
  มัตสึคาตะ มาซาโยชิ
松方正義
2 พฤษภาคม
1917
18 กันยายน
1922
  ฮิราตะ โทสุเกะ
平田東助
19 กันยายน
1922
30 พฤษภาคม
1925
  ฮามาโอะ อาราตะ
濱尾新
30 มีนาคม
1925
30 มีนาคม
1925
  มากิโนะ โนบุอากิ
牧野伸顕
30 มีนาคม
1925
26 กุมภาพันธ์
1935
  ไซโต มาโกโตะ
斎藤実
26 กุมภาพันธ์
1935
6 กุมภาพันธ์
1936
  อิชิกิ คิโตะกุโร
一木喜徳郎
6 มีนาคม
1936
6 มีนาคม
1936
  ยูอาซะ คุระ คุระเฮอิ
湯浅倉平
6 มีนาคม
1936
1 มิถุนายน
1940
  คิโดะ โคอิจิ
木戸幸一
1 มิถุนายน
1940
24 พฤศจิกายน
1945
  ฟุจิตะ ฮิซาโนริ
藤田 尚徳
25 พฤศจิกายน
1945
2 พฤศจิกายน
1946

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้