อำเภอหว้านใหญ่

อำเภอในจังหวัดมุกดาหาร ประเทศไทย

หว้านใหญ่ เป็นอำเภอ 1 ใน 7 อำเภอของจังหวัดมุกดาหาร เป็นอำเภอที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดมากที่สุด ทั้งวัดมโนภิรมย์[1] วัดพระศรีมหาโพธิ์[2] วัดลัฎฐิกวัน[3] สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี (วัดสองคอน)[4][5] พิพิธภัณฑ์ท่านหนูฮัก พูมสะหวัน[6] วัดป่าวิเวก[7] หาดมโนภิรมย์[8] และแก่งกะเบา[9]

อำเภอหว้านใหญ่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Wan Yai
จากซ้ายไปขวา:
คำขวัญ: 
เมืองพระพุทธรูปงาช้าง พระปางไสยาสน์
หาดมโนภิรมย์เพลินตา โสภาแก่งกะเบา
แผนที่จังหวัดมุกดาหาร เน้นอำเภอหว้านใหญ่
แผนที่จังหวัดมุกดาหาร เน้นอำเภอหว้านใหญ่
พิกัด: 16°43′40″N 104°44′19″E / 16.72778°N 104.73861°E / 16.72778; 104.73861
ประเทศ ไทย
จังหวัดมุกดาหาร
พื้นที่
 • ทั้งหมด81.49 ตร.กม. (31.46 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด19,783 คน
 • ความหนาแน่น242.76 คน/ตร.กม. (628.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 49150
รหัสภูมิศาสตร์4906
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอหว้านใหญ่ หมู่ที่ 5 ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร 49150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
แม่น้ำโขงที่ตำบลป่งขาม

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอหว้านใหญ่มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ แก้

เดิมอำเภอหว้านใหญ่แต่เดิมอยู่ในเขตเมืองพาลุกากรภูมิ ตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2409 ขึ้นเมืองมุกดาหาร ซึ่ง "พาลุกา" แปลว่า "ทรายชายโขง" ตามคำบอกเล่าของชาวข่า และชาวลาวที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านพาลุกา เขตเมืองพาลุกากรภูมิทางเหนือตั้งแต่ลำน้ำก่ำ ทางใต้ถึงห้วยบางทราย และต่อมาเมืองพาลุกากรภูมิถูกยุบเป็นหมู่บ้านขึ้นกับตำบลบ้านหว้าน ในปี พ.ศ. 2442 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นกับท้องที่อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม ส่วนบ้านว่านใหญ่ ท้าวสีหานามและท้าวมหาคำ นำราษฏรจากเมืองมหาชัย ประเทศลาวอพยพมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นสวนว่าน และตั้งบ้านเรือนขึ้นให้ชื่อเรียกว่า บ้านว่านใหญ่ ต่อมาได้เพี้ยนชื่อตามภาษาพูดเป็นภาษาเขียนว่า "หว้านใหญ่"

เมื่อปี พ.ศ. 2519 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และราษฎรตำบลหว้านใหญ่ ได้พิจารณาว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ แนวโน้มมีความเจริญในอนาคต จึงตั้งตำบลในพื้นที่เพื่อเตรียมจัดตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ โดยแยกตำบลหว้านใหญ่ตั้งเป็นตำบลป่งขาม และแยกตำบลบางทรายใหญ่ตั้งเป็นตำบลบางทรายน้อย[10]และในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2520 ความเห็นชอบของคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ จังหวัด สภาจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเขตท้องที่ของอำเภอมุกดาหาร คือ ตำบลหว้านใหญ่ ตำบลป่งขาม และตำบลบางทรายน้อย ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอหว้านใหญ่[11]

ในปี พ.ศ. 2525 จังหวัดนครพนมได้แยกอำเภอมุกดาหาร อำเภอคำชะอี อำเภอดอนตาล อำเภอนิคมคำสร้อย กิ่งอำเภอดงหลวงและกิ่งอำเภอหว้านใหญ่ มาตั้งเป็นจังหวัดมุกดาหาร[12] และเปลี่ยนชื่ออำเภอมุกดาหารเป็นอำเภอเมืองมุกดาหาร ทางกิ่งอำเภอจึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอเมืองมุกดาหาร และในปี พ.ศ. 2526 ทางราชการได้แยกตำบลหว้านใหญ่ตั้งเป็นตำบลชะโนด[13] และแยกตำบลป่งขามตั้งเป็นตำบลดงหมูในปี พ.ศ. 2531[14] เนื่องจากหลักเกณฑ์การตั้งอำเภอต้องมีตำบลไม่น้อยกว่า 5 ตำบล นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2532 ทางราชการโอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) บ้านนาแพง ตำบลคำป่าหลาย มาขึ้นกับตำบลหว้านใหญ่[15] เนื่องจากมีระยะทางที่ใกล้กับทางกิ่งอำเภอ ก่อนที่ต่อมาในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2535 ได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหว้านใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร เป็น อำเภอหว้านใหญ่[16] รวมระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอทั้งหมด 14 ปี

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอหว้านใหญ่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 43 หมู่บ้าน ได้แก่

1. หว้านใหญ่ (Wan Yai) 11 หมู่บ้าน
2. ป่งขาม (Pong Kham) 11 หมู่บ้าน
3. บางทรายน้อย (Bang Sai Noi) 11 หมู่บ้าน
4. ชะโนด (Chanot) 05 หมู่บ้าน
5. ดงหมู (Dong Mu) 05 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอหว้านใหญ่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

อ้างอิง แก้

  1. "วัดมโนภิรมย์". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).
  2. "วัดพระศรีมหาโพธิ์". หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-02. สืบค้นเมื่อ 2022-07-19.
  3. ฐานข้อมูลทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นด้านพุทธศิลป์ในภาคอีสาน : วัดลัฎฐิกวัน สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  4. "วัดสองคอน (สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี)". องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
  5. "โบสถ์คริสต์คาทอลิกที่สวยและใหญ่ที่สุดในอุษาคเนย์". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-20. สืบค้นเมื่อ 2022-07-19.
  6. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา - อนุสรณ์สถานท่านหนูฮักพูมสะหวัน สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  7. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา - วัดป่าวิเวก (วัดพระนอน) สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  8. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา - หาดมโนภิรมย์ (หาดชะโนด) สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  9. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร - แก่งกะเบา ตำบลป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (60 ง): 2699–2705. วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอหว้านใหญ่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (89 ง): 3922. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-10-24. วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2520
  12. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. ๒๕๒๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (121 ก): (ฉบับพิเศษ) 14-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-10-24. วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2525
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอหว้านใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (124 ง): 2449–2454. วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2526
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอหว้านใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-4. วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2531
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตกิ่งอำเภอหว้านใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (85 ง): 3688. วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2532
  16. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอสอยดาว อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอบางขัน อำเภอหว้านใหญ่ อำเภอเมืองปาน อำเภอภูหลวง อำเภอโคกศรีสุพรรณ และอำเภอสำโรง พ.ศ. ๒๕๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (45 ก): 27–29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2020-10-24. วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2535
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-26. สืบค้นเมื่อ 2020-10-24. วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2547