อาหารอินทรีย์
อาหารอินทรีย์ (อังกฤษ: organic food) เป็นผลผลิตจากการทำไร่นาอินทรีย์ ปัจจุบัน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศได้ออกกฎให้ผู้ผลิตต้องมีใบรับรองอาหารอินทรีย์หากต้องการทำตลาดอาหารอินทรีย์ในประเทศของตน โดยมีเงื่อนไขว่า อาหารอินทรีย์ต้องเป็นผลผลิตที่ได้มาตรฐานที่รัฐและองค์กรสากลตั้งขึ้น การผลิตอาหารอินทรีย์เป็นอุตสาหกรรมที่มีกฎระเบียบที่เข้มงวด และแตกต่างกับการซื้อขายโดยตรงระหว่างชาวสวนกับผู้บริโภค
แม้ว่ามาตรฐานของคำว่า "อินทรีย์" (organic) จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่โดยทั่วไปแล้ว การทำไร่นาอินทรีย์หมายถึง การทำไร่นาในสถานที่ที่กำหนดและการเพาะปลูกที่มีเงื่อนไขสนับสนุนให้เกิดการผสมผสานกระบวนการทางวัฒนธรรม ชีวภาพ และกลภาพที่จะดูแลวัฏจักรการหมุนเวียนของทรัพยากรให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและรักษาความหลากหลายทางชีววิทยา โดยไม่อนุญาตให้มีการใช้ยาฆ่าแมลงแบบสังเคราะห์และปุ๋ยเคมี อย่างไรก็ตาม ยาฆ่าแมลงที่ผลิตจากผลผลิตทางธรรมชาติบางชนิดอาจยอมรับได้หากถูกนำมาใช้งานภายใต้ข้อยกเว้นแต่ในจำนวนไม่มากนัก โดยทั่วไป อาหารอินทรีย์ต้องเป็นอาหารที่ไม่มีการฉายรังสี ใช้สารเคมี หรือใช้วัตถุเจือปนอาหารทางเคมี[1]
มีหลักฐานมากพอที่จะยืนยันได้ว่า อาหารอินทรีย์มีความปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าอาหารธรรมดาทั่วไป[2][3][4][5][6][7][8] สำหรับคำอ้างว่า อาหารอินทรีย์มีรสชาติดีกว่านั้นยังไม่ได้รับการพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับ[2][4]
ความหมายและที่มาของคำ
แก้หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์แล้ว สามารถกล่าวได้ว่า การทำเกษตรกรรมที่ผ่านมาได้ใช้วิธีการตามธรรมชาติมาโดยตลอด โดยเริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาเท่านั้น ที่เริ่มมีการนำสารเคมีจำนวนมากมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร[9] การทำไร่นาตามธรรมชาติที่เรียกว่า ไร่นาอินทรีย์ได้รุ่งเรืองขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1940 เป็นต้นมา จากการตอบรับกับอุตสาหกรรมการเพาะปลูกที่รู้จักกันในนามว่า การปฏิวัติสีเขียว[10]
ในปี 1939 ลอร์ดนอร์ทบอร์น บัญญัติคำว่า การทำไร่นาอินทรีย์ ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า Look to the Land (1940) จากมุมมองที่ว่า "ไร่นาคือระบบของสิ่งมีชีวิต" เป็นการอธิบายถึงภาพรวมของการทำไร่นาแบบรักษาความสมดุลทางชีววิทยา—ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขาเรียกว่า การทำไร่นาโดยใช้สารเคมี ซึ่งต้องพึ่งพา "การนำเข้าปุ๋ย" และ "ไม่สามารถสร้างความพอเพียงในตัวเองหรือองค์รวมของอินทรีย์"[11] ซึ่งสิ่งนั้นทำให้เกิดความแตกต่างจากสิ่งที่วิทยาศาสตร์ใช้คำว่า "อินทรีย์" ที่หมายถึง กลุ่มโมเลกุลที่มีคาร์บอนโดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวกับสารเคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ในกลุ่มโมเลกุลนี้รวมทุกอย่างที่เสมือนว่าจะกินได้ รวมถึงยาฆ่าแมลงและสารพิษส่วนใหญ่ด้วย ดังนั้น การใช้คำว่า "organic" (อินทรีย์) และคำว่า "inorganic" (อนินทรีย์ ซึ่งบางครั้งได้ถูกนำมาใช้อย่างผิด ๆ ว่าเป็นคำตรงกันข้ามของ อินทรีย์ ในสื่อทั่วไป) เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องทางเทคนิคและไม่เหมาะสมโดยสิ้นเชิงในการกล่าวถึงการทำไร่นา การผลิตอาหาร และในเรื่องของอาหารเอง
ผู้บริโภคที่สนใจในอาหารอินทรีย์ในยุคแรกมองหาอาหารที่ไม่ใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง อาหารที่สดหรือผ่านการกระบวนการแปรรูปแต่น้อย โดยส่วนใหญ่มักจะหาซื้อโดยตรงจากเกษตรกร ต่อมาในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 "รู้จักผู้ปลูก รู้จักอาหารที่คุณบริโภค" (Know your farmer, know your food) กลายมาเป็นคำขวัญของแผนงานใหม่ที่ตั้งขึ้นโดยกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา[12] คำนิยามของแต่ละคนสำหรับคำว่า "อินทรีย์" พัฒนามาจากประสบการณ์ตรง จากการพูดคุยกับชาวไร่ชาวนา การไปตรวจดูสภาพไร่นา และการทำสวนโดยตรง สวนขนาดเล็กปลูกผัก (และเลี้ยงสัตว์) โดยใช้การทำสวนอินทรีย์โดยมีผู้บริโภคเป็นผู้สังเกตการณ์ ไม่ว่าจะมีหนังสือรับรองหรือไม่ก็ตาม[13]
ร้านอาหารสุขภาพขนาดเล็กและร้านสหกรณ์มีบทบาทที่จะทำให้อาหารอินทรีย์เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น[14] ความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดลักษณะการขายจำนวนมากผ่านร้านค้าขนาดใหญ่ เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต แทนที่การซื้อขายโดยตรงกับผู้ผลิตอย่างรวดเร็ว[15] ปัจจุบัน ไม่ได้มีการจำกัดขนาดของไร่นาอินทรีย์ และในไร่นาขนาดใหญ่ที่เป็นบริษัทในหลายแห่งได้มีการจัดตั้งฝ่ายอินทรีย์ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคที่ซื้ออาหารอินทรีย์ผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตไม่สามารถที่จะได้เห็นกระบวนการผลิตโดยตรงได้โดยง่าน และป้ายสินค้า "รับประกันว่าเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์" ก็ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของรัฐบาลและผู้ตรวจสอบคุณภาพที่เป็นบุคคลที่สาม[16]
ความหมายตามกฎหมาย
แก้การผลิตอาหารอินทรีย์เป็นภาคการผลิตที่มีการตั้งกฎดูแลตัวเองโดยมีรัฐบาลคอยควบคุมในบางประเทศแตกต่างจากการทำสวนส่วนตัว ปัจจุบัน ประเทศในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น และอีกหลาย ๆ ประเทศกำหนดให้ผู้ผลิตต้องมีใบรับรองอาหารอินทรีย์ตามเงื่อนไขและมาตรฐานที่รัฐบาลกำหนดในการที่จะทำการตลาดอาหารอินทรีย์ในประเทศนั้น ๆ ในบริบทของกฎเหล่านั้น อาหารที่นำมาขายจะต้องผลิตตามมาตรฐานอาหารอินทรีย์ที่รัฐบาลและองค์กรการค้าอาหารอินทรีย์สากลเป็นผู้กำหนด
ในสหรัฐอเมริกา การผลิตอาหารอินทรีย์เป็นระบบการผลิตที่มีต้องมีการจัดการตามกฎหมายการผลิตอาหารอินทรีย์ (OFPA) และกฎข้อ 7 ส่วนที่ 205 ตามประมวลกฎหมายแห่งชาติที่จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขเฉพาะ โดยการมองแบบบูรณาการทั้งทางวัฒนธรรม ชีวภาพ และกลภาพ เพื่อดูแลวงจรทรัพยากร เสริมสร้างความสมดุลทางธรรมชาติ และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ[17] หากมีการเลี้ยงสัตว์ด้วย สัตว์ที่เลี้ยงต้องถูกเลี้ยงดูในทุ่งหญ้าและไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นกิจวัตร หรือมีการใช้ฮอร์โมนเร่งการเติบโต[18]
อาหารอินทรีย์แปรรูปต้องประกอบด้วยวัตถุดิบอินทรีย์เท่านั้น หรือไม่ก็ต้องมีสัดส่วนตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ กำหนด เช่น ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลียมีการกำหนดว่า 95% ของส่วนประกอบต้องเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์[19] อาหารอินทรีย์ต้องไม่มีสารสังเคราะห์สารเสริม, และมักจะผ่านการแปรรูปแต่น้อยทั้งทางด้านกระบวนการ วัตถุดิบ และสภาวการณ์ ตัวอย่างกระบวนการที่กล่าวถึง เช่น การใช้สารเคมีควบคุมการสุก การฉายรังสีอาหาร และการใช้วัตถุดิบที่มีการดัดแปรพันธุกรรม[20] สามารถใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ไปเป็นสารสังเคราะห์ได้[21] อย่างไรก็ตาม ภายใต้มาตรฐานอาหารอินทรีย์ของสหรัฐ ถ้าแมลงศัตรูพืชและวัชพืชบางชนิดที่ไม่สามารถถูกจัดการได้จากกระบวนการผลิต หรือด้วยสารกำจัดศัตรูพืชจากวัตถุทางธรรมชาติหรือสมุนไพรได้ "สารสังเคราะห์ที่มีรายนามอยู่ในรายการแห่งชาติ ได้รับอนุญาตให้ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารอินทรีย์ สามารถนำมาใช้เพื่อป้องกัน ปราบปราม หรือควบคุมศัตรูพืช วัชพืช หรือโรคได้"[22] มีหลายกลุ่มได้เรียกร้องให้มีการกำหนดมาตรฐานอินทรีย์ในการห้ามการใช้นาโนเทคโนโลยีบนพื้นฐานหลักการระวังไว้ก่อน[23] เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ยังไม่รู้ของนาโนเทคโนโลยี่[24]: 5–6 มีการกำหนดข้อห้ามการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้นาโนเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตอาหารอินทรีย์ในบางประเทศ เช่น แคนาดา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย แต่ไม่มีการกำหนดไว้ในประเทศอื่น ๆ[25][26]: 2, section 1.4.1 (l)
มีการแบ่งฉลากอาหารอินทรีย์เป็น 4 ระดับหรือหมวดหมู่
- "อินทรีย์ 100%" หมายถึง ส่วนประกอบทั้งหมดถูกผลิตจากธรรมชาติ บางครั้งอาจได้ตรารับรองจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
- "อินทรีย์: อย่างน้อย 95%" ของส่วนผสมมาจากธรรมชาติ
- "ผลิตจากส่วนผสมอินทรีย์" ประกอบด้วยส่วนผสมทางธรรมชาติอย่างน้อย 75%
- "ประกอบด้วยส่วนผสมอินทรีย์น้อยกว่า 70%" หมายถึง ต้องมีส่วนผสม 3 อย่างที่เป็นอินทรีย์แจ้งไว้ในส่วนที่แสดงส่วนผสมในฉลากของผลิตภัณฑ์นั้น[27]
ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองว่าเป็นอินทรีย์จะต้องปลูกและผลิตตามมาตรฐานที่ประเทศที่ผลิตภัณฑ์นั้นจะนำไปขายได้ตั้งไว้
- ออสเตรเลีย : NASAA Organic Standard[28]
- แคนาดา :[29]
- สหภาพยุโรป : EU-Eco-regulation
- อินเดีย : NPOP, (National Program for Organic Production)[34]
- อินโดนีเซีย : BIOCert, run by Agricultural Ministry of Indonesia.[35]
- ญี่ปุ่น : JAS Standards[36]
- สหรัฐอเมริกา : National Organic Program (NOP) Standards
กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกามีการตรวจไร่นาที่ผลิตอาหารที่มีการติดฉลากอินทรีย์ของกระทรวงเป็นประจำ[37] ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2010 กรมวิชาการเกษตรสหรัฐอเมริกาแจ้งว่า ได้มีการเริ่มบังคับใช้กฎการตรวจสอบอาหารอินทรีย์ที่พบเห็นอย่างไม่บอกล่วงหน้าเพื่อค้นหาสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างหลังจากที่ผู้ตรวจสอบพบว่า มีประเด็นเรื่องการควบคุมที่ต่ำกว่ามาตรฐานของภาครัฐที่มีต่ออุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์[38]
การรับรู้ของภาคประชาชน
แก้ภาคอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ได้มีการทำประชาสัมพันธ์จนเกิดความเชื่อกันอย่างกว้างขวางในหมู่สาธารณชนว่า อาหารอินทรีย์มีความปลอดภัยกว่า มีคุณค่าทางอาหารมากกว่า และมีรสชาติมากกว่าอาหารทั่วไป ความเชื่อนี้ได้กระตุ้นให้เกิดความต้องการอาหารอินทรีย์เพิ่มขึ้นแม้จะมีราคาสูงและขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์[3][5][6][39]
ผลกระทบทางจิตวิทยา เช่น ผลราศี (halo effect) หรือกระบวนการคิดเชิงเทิดทูนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกและการบริโภคอาหารอินทรีย์ก็เป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญในการซื้ออาหารอินทรีย์[2] ตัวอย่างของกระบวนการคิดเชิงเทิดทูนถูกอธิบายด้วยการศึกษาของ Schuldt และ Schwarz[40] รายงานผลแสดงว่านักศึกษามหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการสำรวจ มักจะเหมาเอาว่าคุกกี้อินทรีย์แคลอรีต่ำและสามารถรับประทานได้บ่อยกว่าคุกกี้ธรรมดา ผลการสำรวจนี้เป็นที่สังเกตได้แม้ฉลากโภชนาการแสดงแคลอรีที่เท่ากันก็ตาม ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นกับผู้ที่เข้าร่วมสำรวจที่ชื่นชมการผลิตอินทรีย์และมีความสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม สรุปคือ มีความเชื่อโดยทั่วไปว่า อาหารอินทรีย์มีแคลอรีต่ำและดีต่อสุขภาพ[2][40]
ได้เกิดความต้องการอาหารอินทรีย์ทุกประเภทขึ้นในประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์นม อาหารเด็ก และเด็กอ่อนที่ถูก "กระตุ้นโดยข่าวน่ากลัวเกี่ยวกับอาหารที่มีมาเป็นระยะ ๆ ที่เลวร้ายที่สุดคือการตายของเด็กหกคนที่ได้บริโภคสูตรอาหารทารกเจือด้วยเมลามีน" ใน ค.ศ. 2009 และเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับนมสำหรับเด็กใน ค.ศ. 2008 ทำให้ตลาดนมอินทรีย์สำหรับเด็กในจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี ค.ศ. 2014[41][42][43] ผลการวิจัยใน ค.ศ. 2012 ของศูนย์วิจัย Pew ชี้ให้เห็นว่า 41% ของผู้บริโภคชาวจีนคิดว่า ความปลอดภัยของอาหารเป็นปัญหาใหญ่มาก โดยเพิ่มขึ้น 3 เท่าจาก 12% ใน ค.ศ. 2008[44]
รสชาติ
แก้มีการวิจารณ์สรุปใน ค.ศ. 2002 ว่า จากการศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์ "ถึงแม้จะมีหลายรายงานที่แสดงให้เห็นว่า ผักผลไม้อินทรีย์มีความแตกต่างกับผักผลไม้ทั่วไปโดยคุณภาพด้านการรับความรู้สึก (sensory qualities) แต่ผลของการศึกษายังไม่ชัดเจน"[4] มีหลักฐานว่า ผลไม้อินทรีย์บางชนิดจะมีความแห้งมากกว่าผลไม้ที่ปลูกทั่วไป ซึ่งการที่ผลไม้แห้งกว่าอาจทำให้มีรสชาติขึ้นจากความเข้มข้นที่มากกว่าของสารที่ให้รสชาติที่อยู่ในผลไม้[2]
อาหารบางอย่าง เช่น กล้วย จะถูกเก็บขณะที่ยังดิบอยู่ แล้วจึงถูกกระตุ้นให้สุกโดยใช้สารเคมี เช่น โพรพิลีนหรือเอทิลีน) ในระหว่างการขนส่ง จึงอยากทำให้เกิดรสชาติที่แตกต่างไป[45] มีการโต้แย้งกันเรื่องการใช้เอทิลีนในการผลิตอาหารอินทรีย์ โดยฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยบอกว่า การใช้เอทิลีนเพียงเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทใหญ่ และจะทำให้มาตรฐานอาหารอินทรีย์อ่อนแอลง weaker organic standards.[46]
ข้อแตกต่างในส่วนประกอบทางเคมีของอาหารอินทรีย์กับอาหารที่ปลูกทั่วไป
แก้ในส่วนข้อแตกต่างในโครงสร้างทางเคมีของอาหารอินทรีย์กับอาหารที่ปลูกทั่วไป ได้มีการศึกษาหลายครั้งเพื่อตรวจสอบความแตกต่างทางสารอาหาร, สารต้านโภชนาการ และสารกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้าง การศึกษาเหล่านั้นมักจะพบกับความยากลำบากจากความซับซ้อนของตัวแปร และความยากที่จะลงความเห็นจากความแตกต่างในการทดสอบที่ทำ กรรมวิธีในการทดสอบ และความหลากหลายทางการเกษตรที่มีผลต่อส่วนประกอบทางเคมีของอาหาร ตัวแปรที่ว่านี้ รวมถึงความแตกต่างของสภาพอากาศในแต่ละฤดูและในที่แต่ละที่ การบำรุงรักษาพืชผล (ปุ๋ย และสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น) ส่วนประกอบของดิน พันธุ์ที่ปลูก และในส่วนของเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม ตัวแปรที่เกิดขึ้นด้วยเสมอในช่วงการผลิต[5]คือ กรรมวิธีการดูแลรักษาหลังจากการเก็บในช่วงแรกไม่ว่านมจะเป็นนมดิบหรือนมที่ผ่านการฆ่าเชื้อแบบปัสเตอร์ ช่วงเวลาระหว่างการเก็บเกี่ยวกับการทำการวิเคราะห์ รวมถึงวิธีการขนส่งและเก็บรักษา ย่อมมีผลต่อส่วนประกอบทางเคมีของอาหารนั้น ๆ[5] นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานว่า อาหารอินทรีย์มีความแห้งกว่าผลิตภัณฑ์ที่ปลูกโดยวิธีการทั่วไป ส่วนประกอบทางเคมีที่สูงกว่าอาจจะสามารถอธิบายได้ในเชิงความเข้มข้นที่มากกว่า ไม่ใช่ด้วยปริมาณสุทธิ[2]
สารอาหาร
แก้การวิจัยในปี ค.ศ. 2012 ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของปริมาณวิตามินในผลิตภัณฑ์พืชหรือสัตว์ระหว่างแบบอินทรีย์กับแบบทั่วไป และพบว่า มีความแตกต่างของผลในการศึกษาแต่ละครั้ง[5] การศึกษาผลิตภัณฑ์มีรายงานเรื่องปริมาณกรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) (การศึกษา 31 ครั้ง), บีตา-แคโรทีน (สารตั้งต้นของวิตามินเอ) (ในการศึกษา 12 ครั้ง), และอัลฟา-โทโคฟีรอล (รูปแบบหนึ่งของวิตามินอี) (ในการศึกษา 5 ครั้ง) การศึกษาเรื่องนมมีรายงานเรื่องบีตา-แคโรทีน (ในการศึกษา 4 ครั้ง) และระดับอัลฟา-โทโคฟีรอล (ในการศึกษา 4 ครั้ง) มีการศึกษา 2-3 ครั้งเพื่อตรวจสอบปริมาณวิตามินในเนื้อสัตว์ แต่ไม่พบความแตกต่างของบีตา-แคโรทีนในเนื้อวัว อัลฟา-โทโคฟีรอลในเนื้อหมูหรือเนื้อวัว หรือวิตามินเอ (เรตินอล) ในเนื้อวัว ในรายงานการศึกษาผลิตภัณฑ์ ผู้เขียนรายงานได้วิเคราะห์สารอาหารอื่น ๆ อีก 11 ชนิด มีสารอาหารแค่ 2 ชนิดที่มีมากกว่าอาหารผลิตทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด คือ ฟอสฟอรัส (ความแตกต่างจากมัธยฐาน 0.15 mg/kg [ความแตกต่างระดับล่าง −18 mg/kg; maximum ความแตกต่างระดับบน 530 mg/kg]) และฟีนอลส์รวม (ความแตกต่างจากมัธยฐาน 31.6 mg/kg [ความแตกต่างระดับล่าง −1700 mg/kg; ความแตกต่างระดับบน 10,480 mg/kg]) ผลของการทดสอบเกี่ยวกับฟอสฟอรัสถือว่าไม่แตกต่างกันในทางสถิติ แต่การไม่รวมการศึกษาหนึ่งฉบับจะลดขนาดผลกระทบโดยรวมและแสดงผลว่าขนาดผลกระทบไม่มีนัยสำคัญในเชิงสถิติ สิ่งที่พบเกี่ยวกับพีนอลส์รวมยังไม่ความแตกต่างกันในทางสถิติ และไม่มีนัยสำคัญในทางสถิติเมื่อการศึกษา 2 ฉบับไม่ได้รายงานว่าขนาดตัวอย่างได้ถูกถอดออก ไม่มีการศึกษามากพอที่จะสรุปเกี่ยวกับสารอาหารอื่น ๆ ที่จะมีผลให้สามารถคำนวณได้ ผู้เขียนยังได้เจอว่า ในการศึกษาบางฉบับเกี่ยวกับนม หากมีการศึกษาเกี่ยวกับ น้ำนมดิบมีการกล่าวว่า น้ำนมดิบอินทรีย์อาจให้กรดไขมันโอเมกา-3 (ความแตกต่างจากมัธยฐาน 0.5 g/100 g [ความแตกต่างระดับล่าง 0.23 g/100 g; ความแตกต่างระดับบน 4.5 g/100 g]) และกรดแวกซีนิก (ความแตกต่างจากมัธยฐาน 0.26 g/100 g [ความแตกต่างระดับล่าง 0.11 g/100 g; ความแตกต่างระดับบน 3.1 g/100 g]) มากกว่าอย่างมีนัยยะเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำนมดิบทั่ว ๆ ไป
เช่นเดียวกับ เนื้อไก่อินทรีย์จะมีปริมาณกรดโอเมกา 3 มากกว่าเนื้อไก่ที่เลี้ยงทั่วไป (ความแตกต่างจากมัธยฐาน 1.99 g/100 g [ความแตกต่างระดับล่าง 0.94 g/100 g; ความแตกต่างระดับบน 17.9 g/100 g]) ผู้เขียนไม่พบความแตกต่างของปริมาณโปรตีนหรือไขมันระหว่างน้ำนมดิบอินทรีย์กับน้ำนมดิบทั่วไป มีการค้นพบความแตกต่างเล็กน้อยของกรดแอสคอร์บิก โปรตีนเข้มข้นและแร่ธาตุอาหารหลายอย่างระหว่างอาหารอินทรีย์กับอาหารทั่วไป[47][48]
การศึกษาในปี ค.ศ. 2003 พบว่า ปริมาณฟีโนลิกรวมในแมเรียนเบอร์รี สตรอเบอร์รี และข้าวโพดที่ปลูกโดยวิธีอินทรีย์มีมากกว่าผลิตผลที่ปลูกโดยกรรมวิธีทั่ว ๆ ไปในชนิดเดียวกัน[49]
สารต้านโภชนาการ
แก้พบว่า ไนโตรเจนในผักบางชนิดโดยเฉพาะผักใบที่มีสีเขียวและพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดินทั้งหลายจะมีปริมาณน้อยกว่าหากปลูกแบบอินทรีย์โดยเปรียบเทียบกับผักที่ปลูกทั่วไป[3] เมื่อมีการประเมินสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น โลหะหนัก กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาได้บันทึกไว้ว่าไก่ที่ถูกเลี้ยงแบบอินทรีย์อาจจะมีระดับสารหนู[50] ในขณะที่งานเขียนวิจารณ์ไม่พบหลักฐานบ่งบอกเด่นชัดว่าถึงความแตกต่างในระดับของสารหนู แคดเมี่ยมหรือโลหะหนักระหว่างผลิตภัณฑ์อินทรีย์กับผลิตภัณฑ์ทั่วไป[2][3]
สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง
แก้การวิเคราะห์อภิมานในปี ค.ศ. 2012 ได้มีข้อสรุปว่า พบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างใน 7% ของตัวอย่างผลิตภัณฑ์อินทรีย์และ 38% ของตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทั่วไป ผลสรุปยังมีความแตกต่างกันในทางสถิติอาจจะเป็นเพราะความแตกต่างในระดับการตรวจพบในการศึกษาเหล่านั้น มีเพียงการศึกษา 3 ฉบับที่รายงานผลการปนเปื้อนที่เกินค่าสูงสุดที่อนุญาต ทั้ง 3 มาจากสหภาพยุโรป[5] สมาคมมะเร็งอเมริกาได้กล่าวว่า ไม่มีหลักฐานแสดงว่า สารกำจัดศัตรูพืชตกค้างเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็ง[51]
สถาบันคุ้มครองสิ่งแวดล้อม : สถาบันคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (อีพีเอ) ได้ออกแนวทางอย่างเข้มงวดเรื่องการควบคุมสารกำจัดศัตรูพืช อีพีเอได้ออกกฎควบคุมปริมาณของสารกำจัดศัตรูพืชแต่ละชนิดโดยการตั้งค่าสูงสุดที่ยอมรับได้ ค่านี้จะกำหนด ค่าสูงสุดของสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ยอมรับได้ในอาหารแต่ละชนิด ค่าที่ตั้งนี้ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและการเกินต้องน้อยกว่าร้อยละ 1 ของเวลานั้น[52]
การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย
แก้การวิเคราะห์อภิมานในปี ค.ศ. 2012 ได้มีข้อสรุปว่า การแพร่หลายของการปนเปื้อนของเชื้อ อี. โคไลไม่ได้มีนัยสำคัญทางสถิติ (7% ในผลผลิตอินทรีย์และ 6% ในผลผลิตทั่วไป) จาก 4 ใน 5 รายงานการศึกษาพบความเสี่ยงในการปนเปื้อนที่สูงกว่าในผลผลิตอินทรีย์ หากผู้เขียนไม่รวมการศึกษาฉบับหนึ่งเกี่ยวกับผักกาดหอมที่พบการปนเปื้อนมากกว่าในผลผลิตทั่วไปออก จะพบว่า ผลผลิตอินทรีย์มีความเสี่ยงในการปนเปื้อนมากกว่าผลผลิตทั่วไปอยู่ 5% ในขนาดที่การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในผลิตผลจากสัตว์ทั้งที่เป็นอินทรีย์และผลผลิตทั่ว ๆ ไปถือเป็นเรื่องปกติ ในทางสถิติ ถือว่าไม่มีความแตกต่างอย่างเป็นนัยยะในเรื่องการปนเปื้อนระหว่างผลผลิตจากสัตว์ทั้งอินทรีย์และทั่วไป[5]
ข้อบังคับในการผลิตเนื้อสัตว์อินทรีย์
แก้การรับรองเนื้อสัตว์อินทรีย์ในสหรัฐอเมริกาเป็นการรับรองว่า สัตว์ในไร่นานั้นผ่านกฎเกณฑ์การผลิตอาหารอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา กฎเกณฑ์ควบคุมเหล่านี้รวมไปถึงการที่สัตว์เหล่านี้จะถูกเลี้ยงดูด้วยอาหารอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองและไม่มีของที่เหลือจากสัตว์ นอกจากนี้ สัตว์ที่ถูกเลี้ยงในไร่นาอินทรีย์ต้องไม่ได้รับฮอร์โมนเร่งการเติบโตหรือยาปฏิชีวนะ สัตว์เหล่านี้ยังต้องถูกเลี้ยงดูด้วยกระบวนการที่ปกป้องสายพันธุ์พื้นบ้านและทรัพยากรทางธรรมชาติอื่น ๆ ไม่อนุญาตให้มีการฉายรังสี การใช้กากตะกอนน้ำเสียของมนุษย์ และวิศวพันธุกรรมในกระบวนการปศุสัตว์อินทรีย์[53][54][54][55]
สุขภาพและความปลอดภัย
แก้ผลต่อสุขภาพของโภชนาการอาหารอินทรีย์
แก้ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องประโยชน์หรือโทษต่อสุขภาพของผู้บริโภคอาหารอินทรีย์เป็นหลัก และการที่จะจัดทำการทดลองอย่างจริงจังในเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ยากมาก การวิเคราะห์อนุมานในปี ค.ศ. 2012 ได้กล่าวไว้ว่า "ไม่มีการศึกษาระยะยาวเกี่ยวกับผลต่อสุขภาพของประชากรที่บริโภคอาหารอินทรีย์เป็นหลักเปรียบเทียบกับกับอาหารที่ผลิตทั่วไปควบคุมสำหรับปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษาดังกล่าวจะมีราคาแพงในการจัดทำ"[5] การวิเคราะห์อนุมานในปี ค.ศ. 2009 ได้กล่าวไว้ว่า "บทความส่วนใหญ่ไม่ได้มีการศึกษาถึงผลโดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์ ใน 10 บทความของการศึกษาที่รวมอยู่นี้ (83%) ผลเบื้องต้นกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของสารต้านอนุมูลอิสระ สภาวะสารต้านอนุมูลอิสระและสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่มีประโยชน์แต่ไม่สามารถมาแปลค่าโดยตรงกับผลทางสุขภาพ อีกสองบทความที่เหลือ มีบทความหนึ่งได้วัดผลความเชื่อมโยงเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ว่าเป็นผลกระทบเกี่ยวกับสุขภาพที่พบขั้นต้น ในขณะที่อีกบทความได้วิจัยเกี่ยวกับกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบจากน้ำนมจากมารดาและ บอกว่ามีความเป็นไปได้ที่ทารกที่ดื่มน้ำนมจากมารดาจะมีสุขภาพดีกว่าจากปริมาณการบริโภคกรดไลโนเลอิกจากนมมารดา"[6] นอกจากนี้ ความยากในการวัดค่าความแตกต่างทางเคมีอย่างถูกต้องและเป็นนัยยะระหว่างอาหารอินทรีย์กับอาหารทั่วไปยังทำให้เป็นการยากที่จะสรุปการแนะนำเกี่ยวกับผลทางสุขภาพบนพื้นฐานจากการวิเคราะห์ทางเคมีเท่านั้น
ในปี ค.ศ. 2012 มีความเห็นทางวิทยาศาสตร์ไปในทางเดียวกันว่า ขณะที่ "ผู้บริโภคอาจจะเลือกที่จะซื้อผักผลไม้และเนื้อสัตว์อินทรีย์ เพราะพวกเขาเชื่อว่าสินค้านั้นมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าอาหารอย่างอื่น...แต่ก็ไม่ได้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนความเชื่อนั้น" [56] มีบทวิเคราะห์ 12 เดือนอย่างเป็นระบบสรุปโดย FSA ในปี ค.ศ. 2009 ที่ได้จัดทำขึ้นที่ London School of Hygiene & Tropical Medicine อ้างถึงการเก็บรวบรวมหลักฐานที่มีมากว่า 50 ปีได้สรุปว่า "ไม่มีการพบหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปว่า การบริโภคอาหารอินทรีย์มีประโยชน์กับสุขภาพในแง่ของปริมาณสารอาหาร "[57] ไม่มีหลักฐานสนับสนุนในบทความทางวิทยาศาสตร์ว่าระดับไนโตรเจนที่น้อยกว่าในผักอินทรีย์บางชนิดจะมีผลในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสุขภาพ[3]
ความปลอดภัยของผู้บริโภค
แก้ความเสี่ยงจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช
แก้การกล่าวอ้างในเรื่องความปลอดภัยที่ดีกว่าของอาหารอินทรีย์มักจะมุ่งเน้นในเรื่องสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง[3] ความกังวลในเรื่องนี้เกิดขึ้นจากความจริงที่ว่า " (1) การได้รับสารกำจัดศัตรูพืชในจำนวนมากอย่างเฉียบพลันสามารถทำให้เกิดผลกระทบในทางลบอย่างมากต่อสุขภาพ (2) ผลิตภัณฑ์อาหารมีโอกาสที่จะมีสารกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนได้ ซึ่งสามารถทำให้เกิดความเป็นพิษอย่างเฉียบพลัน และ (3) มักจะเจอสารกำจัดศัตรูพืชจากการเกษตรตกค้างในอาหารที่ขายอยู่ทั่วไปในเชิงพาณิชย์"[3] อย่างไรก็ตาม มักจะมีการตั้งข้อสังเกตในเอกสารายงานทางวิทยาศาสตร์ว่า "สิ่งที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ คือ การติดต่อสัมผัสกับสารกำจัดศัตรูอย่างต่อเนื่องซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นพิษพบได้ในรายงานผลของอาหาร ในทางปฏิบัติถือว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะศึกษาและแสดงผลที่วัดได้ในเชิงปริมาณ" ดังนั้น การสรุปอย่างแน่ชัดเกี่ยวดับเรื่องความปลอดภัยของอาหารอินทรีย์เป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากความยากในการออกแบบการทดสอบศึกษาและจำนวนการทดสอบเปรียบเทียบระหว่างอาหารอินทรีย์กับอาหารทั่วไปโดยตรงยังถือว่ามีน้อย[2][3][4][39][58]
นอกจากนี้ โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการเกิดมะเร็ง[59] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายฐานข้อมูลการแพร่กระจายความเป็นพิษที่มีโครงสร้างที่ค้นหาได้ (DSSTox) ของEPAในประเทศสหรัฐอเมริกา,[60] ได้มีการทำการทดสอบอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็งทั้งในธรรมชาติและที่สังเคราะห์ขึ้น และยังได้สร้างฐานข้อมูลผลการทะสอบเปิดเผยกับสาธารณชนมาเป็นเวลาประมาณ 30 ปีแล้ว[61] รายงานมีความพยายามที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาตร์เรื่อง สารเคมีทั้งหมดที่ทำให้เกิดมะเร็งทั้งในธรรมชาติและที่สังเคราะห์ขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินโครงการที่อธิบายไว้ในวารสาร วิทยาศาสตร์ในปี ค.ศ. 1992:
การตรวจสอบพิษวิทยาของสารเคมีสังเคราะห์โดยไม่ได้มีการตรวจสอบเช่นเดียวกันกับสารเคมีในธรรมชาติไม่ได้ให้ผลที่เท่าเทียมกันในเชิงข้อมูลและการรับรู้เรื่องสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ในสามประเด็นที่ได้มีการพิจารณาชี้ให้เห็นว่า การเปรียบเทียบน่าจะมีการทดสอบกับสารเคมีในธรรมชาติเช่นเดียวกัน
1) สารเคมีจำนวนมากที่คนเราสัมผัสมีอยู่ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม คนทั่วไปมักจะคิดถึงสารเคมีในกรณีเป็นสารสังเคราะห์ และคิดว่าสารเคมีสังเคราะห์เป็นพิษ ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงสารเคมีในธรรมชาติก็เป็นพิษถ้าบริโภคในปริมาณที่ทำให้เกิดผล ค่าเฉลี่ยในการสัมผัสของคนอเมริกาที่จะเผาผลาญสสารในอาหารเท่ากับ ~2000 mg ต่อวัน และการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชธรรมชาติ (สารเคมีที่พืชผลิตเพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรู) เท่ากับ ~1500 mg ต่อวัน เปรียบเทียบกับ ค่ารวมเฉลี่ยต่อวันในการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชสงเคราะห์ตกค้างรวมกันเท่ากับ ~0.09 mg. ดังนั้น เราประมาณว่า 99.99% ของสารกำจัดศัตรูพืชที่เรารับประทานมาจากธรรมชาติ แม้ว่ามีการสัมผัสกับสารเคมีธรรมชาติมีจำนวนมากกว่าสารเคมีสังเคราะห์อย่างเห็นได้ชัด แต่ในการทดสอบสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในหนู ได้มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ (ที่ไม่ได้เป็นสารเคมีธรรมชาติ) ถึง 79% (378 จาก 479 ชนิด)
2) มักจะมีการสันนิษฐานอย่างผิด ๆ ว่า คนเรามีการพัฒนาการป้องกันพิษจากสารเคมีธรรมชาติในอาหาร แต่ไม่สามารถป้องกันสารเคมีสังเคราะห์ อย่างไรก็ตามการป้องกันตัวเองในสัตว์ที่ได้พัฒนาขึ้นส่วนใหญ่กับสารเคมีโดยทั่วไป ไม่ใช่สารเฉพาะเจาะจง ยิ่งไปกว่านั้น การป้องกันสามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยทั่วไปและมีผลดีกับสารเคมีทั้งสังเคราะห์และธรรมชาติที่มีปริมาณน้อย
3) สำหรับด้านพิษวิทยาแล้ว สารเคมีทั้งโดยธรรมชาติและที่สังเคราะห์ขึ้นออกฤทธิ์เหมือนกัน มีการคาดการณ์ (และพบว่า) อัตราบวกของสารก่อมะเร็งในสารเคมีจากธรรมชาติและจากสารสังเคราะห์มีค่าไล่เลี่ยกัน อัตราบวกในสารเคมีที่ทดสอบในหนูมีค่าประมาณ 50% ดังนั้น จากการที่คนเราได้สัมผัสกับสารเคมีทางธรรมชาติมากมายกว่าสารเคมีสังเคราะห์ (ทั้งโดยน้ำหนักและจำนวน) สรุปได้ว่า คนได้สัมผัสสารก่อมะเร็งที่หนูมากมายมหาศาลเป็นพื้นเดิมจากที่พบได้จากการทดสอบบนหนูโดยใช้ปริมาณที่สูงในการทดสอบ ผลแสดงว่า ถึงแม้จะพบสารกำจัดศัตรูพืชธรรมชาติในจำนวนน้อยแค่ไหนก็ตาม มี 29 ที่เป็นสารก่อมะเร็งที่หนูในจำนวน 57 ที่ถูกตรวจสอบเกิดขึ้นในอาหารที่ปลูกแบบปกติมากกว่า 50 ชนิด สรุปว่า มีความเป็นไปได้ว่า ผักและผลไม้เกือบทุกชนิดในตลาดมีสารกำจัดศัตรูพืชธรรมชาติที่เป็นสารก่อมะเร็งที่หนู[62]
ในขณะที่การศึกษาวิเคราะห์ทางเคมีได้แสดงผลที่กล่าวข้างบนว่า ผักและผลไม้ที่ปลูกแบบอินทรีย์มีสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ในระดับที่น้อยกว่า ความสำคัญของการค้นพบเรื่อง ความเสี่ยงทางสุขภาพที่น้อยกว่าในอาหารอินทรีย์ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่เพราะ ทั้งอาหารทั่ว ๆ ไปและอาหารอินทรีย์โดยทั่วไปก็มีระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่ทางภาครัฐกำหนดไว้ว่าเป็นระดับที่ปลอดภัย[2][3][5] มุมมองนี้ได้รับเสียงสะท้อนมาจากกรมวิชาการเกษตรสหรัฐอเมริกา[50] และสำนักงานมาตรฐานอาหารของสหราชอาณาจักร[7]
การศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์โดยสภาการวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1993 สรุปว่า แหล่งที่มาของการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชของทารกและเด็กส่วนใหญ่ผ่านทางอาหาร[63] จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2006 โดยลูและคณะ มีการวัดระดับของการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช organophosphorus ในเด็กนักเรียนจำนวน 23 คน ก่อนและหลังการเปลี่ยนอาหารเป็นอาหารอินทรีย์ ในการทดลองนี้พบว่าระดับของการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช organophosphorus ลดลงจากระดับเล็กน้อยเป็นระดับที่ไม่สามารถวัดค่าได้เมื่อได้เปลี่ยนให้เด็กมาทานอาหารอินทรีย์แทน ผู้เขียนได้กล่าวว่าการลดนี้เป็นการลดความเสี่ยงอย่างมีนัยยะ[64] ข้อสรุปในข้อเขียนของลูและคณะถูกวิจารณ์ว่าเป็นกรณีศึกษาสำหรับการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่แย่[65][66]
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอ้างถึงสารกำจัดศัตรูตกค้างว่าเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในภาวะมีบุตรยากหรือจำนวนสเปิร์มที่น้อยลงไม่ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานเอกสารทางการแพทย์ใด ๆ[3] เช่นเดียวกันสมาคมมะเร็งอเมริกัน (ACS) ได้กล่าวว่า จุดยืนอย่างเป็นทางการของสมาคม คือ "ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า อาหารอินทรีย์มีความเสี่ยงน้อยกว่าที่จะก่อให้เกิดมะเร็ง สืบเนื่องมาจากอาหารเองมีโอกาสน้อยกว่าที่จะถูกปนเปื้อนโดยสารที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็ง"[67] การประเมินได้กล่าวว่า ความเสี่ยงจากแหล่งที่มาทางจุลชีววิทยาหรือพิษโดยธรรมชาติมีความสำคัญมากกว่าความเสี่ยงจากสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในระยะสั้นหรือเฉียบพลัน[2][3]
การปนเปื้อนทางจุลชีววิทยา
แก้จากการมองหาความเป็นไปได้ในการเพิ่มความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยในการบริโภคอาหารอินทรีย์พบว่า ถึงแม้จะมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการปนเปื้อนทางจุลชีววิทยาจากการใช้ปุ๋ยคอกที่เป็นปุ๋ยจากสิ่งมีชีวิต เช่น จากเชื้อ E. coli O157:H7ในช่วงการผลิตแบบอินทรีย์ มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยเรื่องการแพร่ระบาดของโรคที่สามารถกล่าวโทษว่า มาจากกระบวนการผลิตอาหารอินทรีย์[2][3][4] มีการโทษว่า การระบาดครั้งหนึ่งของอี.โคไลในเยอรมันมาจากการทำเกษตรอินทรีย์ของถั่วงอก[68][69]
เศรษฐศาสตร์
แก้ความต้องการอาหารอินทรีย์ได้รับแรงผลักดันจากความสนใจเรื่องสุขภาพส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก[70] ยอดขายทั่วโลกสำหรับอาหารอินทรีย์เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 170 ตั้งแต่ปี 2002 ถึงกว่า 63,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2011[71] ในขณะที่พื้นที่ไร่นาอินทรีย์ที่ได้หนังสือรับรองยังคงมีจำนวนน้อยอยู่ที่น้อยกว่า 2% ของพื้นที่ไร่นาทั้งหมดที่ทำการผลิตอยู่ การเพิ่มขึ้นในประเทศ OECD และ EU (ซึ่งถือเป็นส่วนใหญ่ของการผลิตอินทรีย์) มีถึง 35% เปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกัน[72] ผลิตภัณฑ์อินทรีย์โดยทั่วไปจะมีราคาแพงกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันที่ผลิตโดยวิธีปกติ 10-40% หรือบางครั้งเป็นหลายเท่า[73] อาหารอินทรีย์แปรรูปมีราคาที่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับอาหารชนิดเดียวกันที่ผลิตในกระบวนการทั่วไป
ในขณะที่อาหารอินทรีย์มีส่วนแบ่ง 1-2% ในปริมาณการผลิตอาหารรวมทั่วโลก สมาคมการค้าสินค้าอินทรีย์แจ้งว่า ตลาดการขายอาหารอินทรีย์ได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วอยู่ในช่วงระหว่าง 5-10% ของส่วนแบ่งตลาดอาหารในสหรัฐอเมริกา[74] แซงหน้าปริมาณการเติบโตของยอดขายในรูปสกุลดอลลาร์ของผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ
- ยอดขายอาหารอินทรีย์ทั่วโลกกระโดดจาก 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2002[75] เป็น 63,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2011[76]
ทวีปเอเชีย
แก้การผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์อินทรีย์กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเอเชีย โดยทั้งจีนและอินเดียกลายเป็นผู้ผลิตพืชผลอินทรีย์ระดับโลก[77] และมีหลายประเทศ โดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่นก็กลายเป็นผู้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มอินทรีย์ที่สำคัญ[41][78] ความไม่สมดุลระหว่างการผลิตกับความต้องการทำให้เกิดอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์สองขั้น ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์พื้นฐาน เช่น ผลิตภัณฑ์นม และเนื้อสัตว์จากออสเตรเลีย ยุโรป นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา[79]
ประเทศจีน
แก้ตลาดอาหารอินทรีย์ในประเทศจีนเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก[41][80] ศูนย์การพัฒนาอาหารอินทรีย์ของจีนได้ประมาณยอดขายผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ว่า มีมูลค่าประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ในปี ค.ศ. 2013 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 30-50% ในปี ค.ศ. 2014[81]
ในขณะที่ สหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดเนื้ออินทรีย์ที่ใหญ่ด้วยยอดขายที่ 1,350 ล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ. 2013[82][83] มีการคาดว่า ตลาดจีนจะแซงมาเป็นที่ 1 ในปี ค.ศ. 2016[82]
ตลาดจีนเป็นตลาดนมผงดัดแปลงสำหรับทารกที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมียอดขายอยู่ที่ 12,400 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี;[84] จากยอดข้างบนนี้ นมผงดัดแปลงสำหรับทารกอินทรีย์และอาหารเด็กมียอดอยู่ประมาณ 5.5% ของยอดขายในปี ค.ศ. 2011[81] ผู้ผลิตนมผงดัดแปลงสำหรับทารกและอาหารทารกอินทรีย์ของออสเตรเลียเบลลามีส์อินทรีย์ได้รายงานยอดขายที่เพิ่มขึ้นถึง 70% ทุกปีในช่วงปี ค.ศ. 2008-2013 ในขณะที่กลุ่มเกษตรกรโคนมอินทรีย์ของออสเตรเลียได้รายงานยอดส่งออกน้ำนมอินทรีย์ไปยังจีนว่า เพิ่มขึ้น 20-30% ต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน[85]
ทวีปอเมริกาเหนือ
แก้- อาหารอินทรีย์เป็นภาคที่มีการเจริญเติบโตสุงที่สุดในอุตสาหกรรมอาหารของอเมริกา[88]
- ในปี ค.ศ. 2003 มีอาหารอินทรีย์จำหน่ายอยู่ในร้านอาหารธรรมชาติจำนวนเกือบ 20,000 ที่ และคิดเป็น 73% ของร้านขายของชำทั่วไป[91]
- ในปี ค.ศ. 2003 สองในสามของนมอินทรีย์และครีมและครึ่งหนึ่งของชีสอินทรีย์และโยเกิร์ตเป็นการขายผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป[92]
- ใน ปี ค.ศ. 2012 ผู้ผลิตอาหารอินทรีย์อิสระในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ได้ถูกเข้าซื้อโดยบริษัทข้ามชาติหลายบริษัท[93]
- แคนาดา
- ในปี ค.ศ. 2006 ยอดขายอาหารอินทรีย์มียอดมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 0.9% ของยอดขายอาหารในแคนาดา[94]
- ยอดขายอาหารอินทรีย์ในร้านขายของชำเพิ่มขึ้น 28% ในปี ค.ศ. 2006 เมื่อเปรียนเทียบกับปี ค.ศ. 2005.[94]
- รัฐบริติชโคลัมเบียมีประชากรอยู่ 13% ของประชากรแคนาดาทั้งหมด แต่มียอดซื้ออาหารอินทรีย์อยู่ 26% ของยอดขายทั้งหมดในประเทศในปี ค.ศ. 2006[95]
ยุโรป
แก้- อิตาลี
- เริ่มเมื่อปี ค.ศ. 2000 มีการบังคับให้ใช้อาหารอินทรีย์บางชนิดในโรงเรียนและโรงพยาบาลบางแห่งในประเทศอิตาลี ในกฎหมายที่เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 2002 ของแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาที่ถูกบังคับใช้ในปี ค.ศ. 2005 ได้เขียนอย่างชัดเจนว่า อาหารในสถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนระดับประถมศึกษา (จาก 3 เดือนถึง 10 ปี) จะต้องเป็นอาหารอินทรีย์ 100% และมื้ออาหารในโรงเรียน มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจะต้องประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อินทรีย์อย่างน้อย 35%[98]
- โปแลนด์
- ในปี ค.ศ. 2005 ร้อยละ 7 ของผู้บริโภคชาวโปแลนด์ได้ซื้ออาหารที่ถูกผลิตตามระเบียบสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป มูลค่าของตลาดอินทรีย์โดยประมาณอยู่ที่ 50 ล้านเหรียญยูโรในปี ค.ศ. 2006[99]
- โรมาเนีย
- ในปี ค.ศ. 2010 โรมาเนียมีการส่งออก 70%–80% ของผลิตภัณฑ์อินทรีย์ในประเทศซึ่งมีมูลค่ารวม 100 ล้านเหรียญยูโร ตลาดผลิตภัณฑ์อินทรีย์ได้เติบโตเป็นมูลค่า 50 ล้านเหรียญยูโร ในปี ค.ศ. 2010.[100]
- ยูเครน
- ในปี ค.ศ. 2009 ยูเครนอยู่ในลำดับที่ 21 ของโลกหากวัดตามพื้นที่การเพาะปลูกอาหารอินทรีย์ โดยผลผลิตส่วนใหญ่จะถูกส่งออก ทำให้ไม่มีอาหารอินทรีย์เพียงพอสำหรับความต้องการอาหารอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศ[101] ขนาดความต้องการของตลาดผลิตภัณฑ์อินทรีย์ในประเทศยูเครนประมาณแล้วมีมากกว่า 5 ล้านเหรียญยูโร ในปี ค.ศ. 2011 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต[102] ผลจากการทำแบบสำรวจหลายฉบับแสดงให้เห็นว่า ประชากรส่วนใหญ่ในยูเครนยินดีที่จะจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้ออาหารอินทรีย์[103][104] ในทางตรงข้าม ชาวยูเครนจำนวนมากยังคงมีประเพณีนิยมที่จะทำแปลงสวนครัวของตัวเองซึ่งอาจจะเป็นผลให้การประเมินปริมาณการบริโภคอาหารอินทรีย์ของชาวยูเครนต่ำกว่าความเป็นจริง
- กฎหมายเรื่องการผลิตแบบอินทรีย์ได้ผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาของยูเครนในเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 นอกจากจะกล่าวถึงคุณสมบัติโดยทั่วไปสำหรับอาหารอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองแล้ว ยังได้เพิ่มเรื่องการห้ามการใช้กรรมวิธี GMO หรือผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยส่วนผสมที่เป็น GMO[105] อย่างไรก็ตาม กฎหมายยังไม่ได้รับการลงนามจากประธานาธิบดียูเครน[106] และในเดือนกันยายนของปี ค.ศ. 2011 กฎหมายนี้ได้ถูกยกเลิกโดยสภาสูงสุดของประเทศยูเครน[107] ต่อมา สภาได้ปรับปรุงและผ่านกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการผลิตอาหารอินทรีย์ โดยประธานาธิบดีปอรอแชนกอ ได้ลงนามเมือเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018[108]
- สหราชอาณาจักร
- ยอดขายอาหารอินทรีย์เพิ่มขึ้นจาก 100 กว่าล้านปอนด์สเตอร์ลิงในปี 1993/1994 เป็น 1,210 ล้านปอนด์สเตอร์ลิงในปี ค.ศ. 2004 (เพิ่ม 11% ในปี ค.ศ. 2003)[109] ในปี ค.ศ. 2010 ยอดขายผลิตภัณฑ์อินทรีย์ตกลง 5.9% อยู่ที่มูลค่า 1.73 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง 86% ของครัวเรือนซื้อผลิตภัณฑ์อินทรีย์ โดยหมวดหมู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ผลผลิตจากนม (อยู่ที่ 30.5% ของยอดขาย) และผักผลไม้สด (23.2% ของยอดขาย) 4.2% ของพื้นที่ทำไร่นาในสหราชอาณาจักรเป็นไร่นาอินทรีย์[110]
ลาตินอเมริกา
แก้- คิวบา
- หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 ผลิตผลทางการเกษตรที่เคยถูกซื้อจากประเทศค่ายตะวันออกก็ไม่มีจำหน่ายอีกต่อไปในประเทศคิวบา ทำให้ไร่นาในคิวบาหลาย ๆ แห่งได้เป็นตัวเองเป็นการทำไร่นาอินทรีย์เพราะความจำเป็น[111] เป็นผลให้เกษตรอินทรีย์เป็นแนวปฏิบัติหลักในประเทศคิวบา ทั้ง ๆ ที่ในประเทศอื่น ๆ ยังถือเป็นเกษตรทางเลือกอยู่ ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์บางชนิดจะเรียกว่าอินทรีย์ในคิวบา แต่อาจจะไม่ผ่านมาตรฐานใบรับรองอาหารอินทรีย์ในประเทศอื่น ๆ (พืชผลบางชนิดอาจมีการดัดแปลงทางพันธุกรรม ตัวอย่างเช่น[112][113]) คิวบาส่งออกส้มและน้ำส้มอินทรีย์ไปยังตลาดสหภาพยุโรปและผ่านมาตรฐานอินทรีย์ของสหภาพยุโรป การที่มีการบังคับให้ผลิตแบบอินทรีย์ในคิวบาอาจเป็นผลให้ประเทศเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อินทรีย์ระดับโลกประเทศหนึ่ง[114]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ocf.berkeley.edu/~lhom/organictext.html
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 Blair, Robert. (2012). Organic Production and Food Quality: A Down to Earth Analysis. Wiley-Blackwell, Oxford, UK. ISBN 978-0-8138-1217-5
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 Magkos F et al (2006) Organic food: buying more safety or just peace of mind? A critical review of the literature Crit Rev Food Sci Nutr 46 (1) 23–56 | pmid=16403682
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Bourn D, Prescott J (January 2002). "A comparison of the nutritional value, sensory qualities, and food safety of organically and conventionally produced foods". Crit Rev Food Sci Nutr. 42 (1): 1–34. doi:10.1080/10408690290825439. PMID 11833635.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 5.8 Smith-Spangler C, Brandeau ML, Hunter GE, Bavinger JC, Pearson M, Eschbach PJ, Sundaram V, Liu H, Schirmer P, Stave C, Olkin I, Bravata DM (September 4, 2012). "Are organic foods safer or healthier than conventional alternatives?: a systematic review". Annals of Internal Medicine. 157 (5): 348–366. doi:10.7326/0003-4819-157-5-201209040-00007. PMID 22944875.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Dangour AD et al (2009) Nutritional quality of organic foods: a systematic review The American Journal of Clinical Nutrition 92 (1) 203–210
- ↑ 7.0 7.1 "Organic food". UK Food Standards Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2014.
- ↑ Williams, Christine M. (February 2002). "Nutritional quality of organic food: shades of grey or shades of green?" (PDF). Proceedings of the Nutrition Society. 61 (1): 19–24. doi:10.1079/PNS2001126.
- ↑ "History of food, p. 3" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-04. สืบค้นเมื่อ 2014-06-03.
- ↑ Drinkwater, Laurie E. (2009). "Ecological Knowledge: Foundation for Sustainable Organic Agriculture". ใน Francis, Charles (บ.ก.). Organic farming: the ecological system. ASA-CSSA-SSSA. p. 19. ISBN 978-0-89118-173-6.
- ↑ John, Paull (2006). "The Farm as Organism: The Foundational Idea of Organic Agriculture" (PDF). Elementals: Journal of Bio-Dynamics Tasmania. 80: 14–18.
- ↑ Philpott, Tom. "Quick thoughts on the USDA's 'Know Your Farmer' program". Grist * A Beacon in the Smog. Grist Magazine, Inc. สืบค้นเมื่อ 2014-01-28.
- ↑ Desmond Klingler. 21st Century Homestead: Organic Food. p. 2.
- ↑ Albala, Ken (2015-03-27). The SAGE Encyclopedia of Food Issues (ภาษาอังกฤษ). SAGE Publications. ISBN 978-1-5063-1730-4.
- ↑ Marlon Henkel. 21st Century Homestead: Sustainable Agriculture I. p. 155.
- ↑ US EPA, OECA (2015-07-24). "Organic Farming". US EPA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-22.
- ↑ "Agricultural Marketing Service – National Organic Program". Ams.usda.gov. 2008-10-31. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.
- ↑ "Access to Pasture Rule for Organic Livestock". Ams.usda.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-31. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.
- ↑ "Labeling: Preamble". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-14. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.
- ↑ Allen, Gary J; Albala, Ken, บ.ก. (2007). The Business of Food: Encyclopedia of the Food and Drink Industries. ABC-CLIO. p. 288. ISBN 978-0-313-33725-3.
- ↑ Staff, National Pesticide Information Center Organic Pesticide Ingredients
- ↑ "Code of Federal Regulations 7 CRF § 205.206 (2e)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-08. สืบค้นเมื่อ 2014-06-03.
- ↑ Paull, J. & Lyons, K. (2008) Nanotechnology: The Next Challenge for Organics, Journal of Organic Systems, 3 (1) 3–22
- ↑ National Research Council. A Research Strategy for Environmental, Health, and Safety Aspects of Engineered Nanomaterials National Academies Press: Washington DC. 2012
- ↑ Staff, The Organic & Non-GMO Report, May 2010. Canada bans nanotechnology in organics เก็บถาวร 2023-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Canada General Standards Board %202009, %202011_Repr_Aug_2011_incorpCorr_1.pdf Organic Production Systems General Principles And Management Standards (CAN/CGSB-32.310-2006)
- ↑ “USDA organic: what qualifies as organic?" Massage Therapy Journal Spring 2011: 36+. Academic OneFile.
- ↑ "Steps to Certification – Within Australia". NASAA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-16. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.
- ↑ "Organic Products Regulations". Canada Gazette, Government of Canada. December 21, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-26. สืบค้นเมื่อ 2012-10-02.
- ↑ "KRAV". Krav.se. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-12. สืบค้นเมื่อ 2012-10-02.
- ↑ "Department for Environment, Food and Rural Affairs". DEFRA. สืบค้นเมื่อ 2012-10-02.
- ↑ "About Us". (Google translated into English). Stowarzyszenie "Polska Ekologia". สืบค้นเมื่อ 2013-08-14.
- ↑ "Debio Organic certification". Debio.no. สืบค้นเมื่อ 2012-10-02.
- ↑ NPOP, (National Program for Organic Production)
- ↑ "BIOCert". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ 3 November 2013.
- ↑ "JAS Standards". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-26. สืบค้นเมื่อ 2014-06-03.
- ↑ Nestle, Marion. 2006. What to Eat. NY: North Point Press. ISBN 978-0-86547-738-4
- ↑ Neuman, William (March 19, 2010). "U.S. Plans Spot Tests of Organic Products". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.
- ↑ 40.0 40.1 Schuldt, J.P. and Schwarz, N. (2010). The "organic" path to obesity? Organic claims influence calorie judgments and exercise recommendations" Judgment and Decision Making 5: 144–150.
- ↑ 41.0 41.1 41.2 Chen, Jue (February 2014). "Food safety in China opens doors for Australia's agri sector". Australia China Connections. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-27. สืบค้นเมื่อ 27 March 2014.
- ↑ Stewart, Emily. "Chinese babies looking for more Aussie organic milk". abc.net.au. Australian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 27 March 2014.
- ↑ "Organic exports to China on the rise". Dynamic Export. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-05. สืบค้นเมื่อ 27 March 2014.
- ↑ Wikes, Richard. "What Chinese are worried about". Pew Research Global Attitudes Project. Pew Research. สืบค้นเมื่อ 27 March 2014.
- ↑ 00.html "Banana Wars", by Joanna Blythman (The Observer, 13-Mar-2005) and "Bananas & Plantains" เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Honduran Agricultural Research Foundation (FHIA).
- ↑ "The organic label just won't stick if feds keep this up" เก็บถาวร 2014-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, by Julie Deardorff (Chicago Tribune, 9-Dec-2005) and "Dole urges organics board to approve ethylene use" เก็บถาวร 2016-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, by Joan Murphy (The Produce News, 22-Nov-2005).
- ↑ Magkos F et al (2003 Organic food: nutritious food or food for thought? A review of the evidence International Journal of Food Sciences and Nutrition 54 (5) :357–71
- ↑ Pretty, J.N.; Ball, A.S.; และคณะ (2005). "Farm costs and food miles: An assessment of the full cost of the UK weekly food basket" (PDF). Food Policy. 30 (1): 1–19. ISSN 0306-9192.
- ↑ Asami, Danny K. "Comparison of the Total Phenolic and Ascorbic Acid Content of Freeze-Dried and Air-Dried Marionberry, Strawberry, and Corn Grown Using Conventional, Organic, and Sustainable Agricultural Practices". Journal of Agricultural and Food Chemistry (American Chemical Society), 51 (5), 1237–1241, 2003. doi:10.1021/jf020635c S0021-8561(02)00635-0. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2006.
- ↑ 50.0 50.1 Gold, Mary. "Should I Purchase Organic Foods?". USDA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2011-03-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2014-06-03.
- ↑ 2013 November, “The ruling on organic foods: are they worth the extra price?” “Healthy Years” ISSN 1551-4617, 11/2013, Volume 10, Issue 11, p. 1
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-21. สืบค้นเมื่อ 2014-06-03.
- ↑ 54.0 54.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-09. สืบค้นเมื่อ 2014-06-03.
- ↑ http://www.centerforfoodsafety.org/issues/1050/sewage-sludge/how-do-i-know-if-my-food-was-grown-in-sewage-sludge#
- ↑ "The Food Standards Agency's Current Stance" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 31 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2014.
- ↑ Sophie Goodchild for the London Evening Standard. July 29, 2009 "Organic food 'no healthier' blow" เก็บถาวร 1 สิงหาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Rosen, Joseph D. (พฤษภาคม 2010). "A Review of the Nutrition Claims Made by Proponents of Organic Food". Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety. 9 (3): 270–277. doi:10.1111/j.1541-4337.2010.00108.x.
- ↑ "Carcinogenic Potency Project Official Website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2014.
- ↑ National Center for Computational Toxicology (NCCT) DSSTox Official Website
- ↑ Publicly available Toxnet database from US NLM
- ↑ Gold, L.S., et al (1992) Rodent carcinogens: Setting priorities" Science 258: 261–265
- ↑ National Research Council. Pesticides in the Diets of Infants and Children เก็บถาวร 6 ตุลาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. National Academies Press; 1993. ISBN 0-309-04875-3. Retrieved 10-Apr-2006.
- ↑ Lu, Chensheng; และคณะ (2006). "Organic Diets Significantly Lower Children's Dietary Exposure to Organophosphorus Pesticides" (PDF). Environmental Health Perspectives. 114 (2): 260–263. doi:10.1289/ehp.8418. PMC 1367841. PMID 16451864. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-05-14. สืบค้นเมื่อ 2014-06-03.
- ↑ Krieger RI et al (2006) OP Pesticides, Organic Diets, and Children’s Health" Environ Health Perspect 114 (10) A572.
- ↑ Alex Avery (2006) Organic Diets and Children’s Health Environ Health Perspect.114 (4) A210–A211.
- ↑ "Food additives, safety, and organic foods". American Cancer Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-19. สืบค้นเมื่อ 11 July 2012.
- ↑ "Analysis: E.coli outbreak poses questions for organic farming". Reuters. 6 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-26. สืบค้นเมื่อ 22 June 2012.
- ↑ "Tracing seeds, in particular fenugreek (Trigonella foenum-graecum) seeds, in relation to the Shiga toxin-producing E. coli (STEC) O104:H4 2011 Outbreaks in Germany and France" (PDF). European Food Safety Authority. สืบค้นเมื่อ 23 July 2012.
- ↑ Conflicting demands of agricultural production and environmental conservation: consumers' perception of the quality and safety of food (2004). Filho, Walter Leal (บ.ก.). Ecological agriculture and rural development in Central and Eastern European countries. IOS Press. pp. 147–148. ISBN 978-1-58603-439-9.
- ↑ Global organic sales reach $63 billion, U.S. is largest market เก็บถาวร 2013-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Ag Professional, June 25, 2013.
- ↑ OECD Compendium of Agri-Environmental Indicators, OECD, June 25, 2013.
- ↑ Winter, Carl K.; Davis, Sarah F. (November 2006). "Organic Foods". Journal of Food Science. 71 (9): R117–R124. doi:10.1111/j.1750-3841.2006.00196.x.
- ↑ Organic Food Facts เก็บถาวร 2013-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Organic Trade Association, 2010.
- ↑ "The Global Market for Organic Food & Drink". Organic Monitor. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-26. สืบค้นเมื่อ 2006-06-20.
- ↑ Global organic sales reach $63 billion, Ag Professional
- ↑ Food Scandals Driving Organic Food Sales (Report). The Asian Market for organic Food & Drink (2nd ed.). Ecovia Intelligence. February 2011. p. 56. สืบค้นเมื่อ 14 April 2014.
- ↑ 78.0 78.1 "Industry Statistics and Projected Growth". Organic Trade Association. June 2010. สืบค้นเมื่อ 2011-05-28.
- ↑ Paull, John. "The Uptake of Organic Agriculture: A Decade of Worldwide Development" (PDF). Journal of Social and Development Sciences. Institute of Social and Cultural Anthropology, University of Oxford. 2 (3): 111–120. ISSN 2221-1152. สืบค้นเมื่อ 14 April 2014.
- ↑ "A healthy future for all? Improving food quality for Asia" (PDF). The Economist.
- ↑ 81.0 81.1 Chen, Jue. "Australia's Share of China's organic pie". Australia China Connections. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-08. สืบค้นเมื่อ 8 May 2014.
- ↑ 82.0 82.1 "The Census of Agriculture, National Agricultural Statistics Service, USDA, 2010" (PDF). USDA Census of Agriculture. United States Department of Agriculture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-08. สืบค้นเมื่อ 8 April 2014.
- ↑ "Annual report: Natural/Organic Share of Total Beef (Dollar and Pound)". Cattlemen's Beef Board & National Cattlemen's Beef Association. สืบค้นเมื่อ 8 April 2014.
- ↑ Harney, Alexandra. "Special Report - How Big Formula bought China". EuroMonitor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-08. สืบค้นเมื่อ 8 May 2014.
- ↑ Han, Esther (November 17, 2013). "Organic food: Companies pay $50,000 for Chinese certification". Good Food. สืบค้นเมื่อ 27 March 2014.
- ↑ Daniells, Stephen. "US organic food market to grow 14% from 2013-18". สืบค้นเมื่อ 14 April 2014.
- ↑ Carl Edstrom of IRI and Kathryn Peters of SPINS October 2013 Natural / Organic Consumer Segmentation, A Total Market Perspective เก็บถาวร 2014-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 88.0 88.1 Caroline Scott-Thomas for FoodNavigator-USA.com, April 24, 2012. US organic market continues to outpace conventional food sales growth Recent Growth Patterns in the U.S. Organic Foods Market
- ↑ Hansen, Nanette (2004). "Organic food sales see healthy growth". MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-22. สืบค้นเมื่อ 2006-06-20.
- ↑ Warner, Melanie. "What Is Organic? Powerful Players Want a Say". New York Times: Nov. 1, 2005.
- ↑ Greene, Catherine; Dimitri, Carolyn (2003). "Organic Agriculture: Gaining Ground". USDA Economic Research Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-15. สืบค้นเมื่อ 2006-06-20.
- ↑ Dryer, Jerry (2003). "Market Trends: Organic Lessons". Prepared Foods. สืบค้นเมื่อ 2006-06-20.
- ↑ Strom, Stephanie (July 7, 2012). "Has 'Organic' Been Oversized?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ July 8, 2012.
- ↑ 94.0 94.1 Macey, Anne (2007). "Retail Sales of Certified Organic Food Products in Canada in 2006" (PDF). Organic Agriculture Center of Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-05-28. สืบค้นเมื่อ 2008-04-09.
- ↑ Macey, Anne (2007). "Retail Sales of Certified Organic Food Products in Canada in 2006. Organic food is not all organic. only food labeled with a 100% organic sticker are pesticide-free/" (PDF). Organic Agriculture Center of Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-05-28. สืบค้นเมื่อ 2008-04-09.
- ↑ Typisch.at (RollAMA survey). "Bio-Aufwärtstrend in Österreich". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2012.
- ↑ BIO AUSTRIA. "Wirtschaftlicher Durchbruch für Bio-Fachhandel im Jubiläumsjahr". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2007.
- ↑ Organic Consumers Association. "Italian Law Calls for All Organic Foods in Nation's Schools". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2013.
- ↑ SixtyTwo International Consultants. "The organic food market in Poland: Ready for take-off". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2007.
- ↑ Cult Market Research. "Piata de produse bio din Romania in cifre". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2012.
- ↑ "В Україні зростає попит на органічні продукти". unian.net.
- ↑ Федерація органічного руху України. organic.com.ua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2014.
- ↑ Rbc.ua. "Більшість споживачів бажають купувати більш дорогі екологічно чисті товари, - експерти". rbc.ua (ภาษายูเครน).
- ↑ Исследование трендов: Готовы ли украинцы покупать экологически чистые товары? // дослідницький центр компанії INRISE Development, вересень 2010 р.(ในภาษายูเครน) เก็บถาวร 30 พฤษภาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Administrator. "Ухвалено Закон України "Про органічне виробництво"!". www.organic.com.ua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-22. สืบค้นเมื่อ 2013-04-08.
- ↑ Administrator. "Президент відхилив Закон України "Про органічне виробництво"". www.organic.com.ua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-22. สืบค้นเมื่อ 2013-04-08.
- ↑ Rymar, Svyatoslav. "Верховною Радою України Закон України "Про органічне виробництво" відхилено". organic.ua.
- ↑ https://www.ukrinform.net/rubric-economy/2508099-poroshenko-signs-law-establishing-basic-principles-and-requirements-for-organic-production.html Poroshenko signs law establishing basic principles and requirements for organic production
- ↑ Organic Centre Wales. "Organic statistics – the shape of organic food and farming". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-07. สืบค้นเมื่อ 2007-10-08.
- ↑ Soil Association. "Organic market report 2011". สืบค้นเมื่อ 2012-01-18.
- ↑ Auld, Alison. "Farming with Fidel". สืบค้นเมื่อ 2007-10-08.
- ↑ Center for Genetic Engineering and Biotechnology. "Cuban GMO Vision" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-05. สืบค้นเมื่อ 2007-10-08.
- ↑ Centro de Ingeniería Genética y Biotecnología de Cuba. "Dirección de Investigaciones Agropecuarias". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-10-08.
- ↑ Office of Global Analysis (March 2008). "Cuba's Food & Agriculture Situation Report" (PDF). FAS. USDA. p. 33. สืบค้นเมื่อ 2008-09-04.
บรรณานุกรม
แก้- Canavari, Maurizio; Olson, Kent D., บ.ก. (2007). Organic food: consumers' choices and farmers' opportunities. Springer. ISBN 978-0-387-39581-4.
- Duram, Leslie A. (2010). Encyclopedia of Organic, Sustainable, and Local Food. ABC-CLIO. ISBN 978-0-313-35963-7.
- Givens, D. Ian; และคณะ (2008). Health Benefits of Organic Food: Effects of the Environment. CABI. ISBN 978-1-84593-459-0.
- Nestle, Marion (2007). Food Politics: How the Food Industry Influences Nutrition and Health. University of California Press. ISBN 978-0-520-25403-9.
- PAN-UK (2008). Pesticides on a Plate. PAN-UK (UK). ISBN 978-0-9549542-6-0.
- Pollan, Michael (2006). The Omnivore's Dilemma: A Natural History of Four Meals. The Penguin Press. ISBN 978-1-59420-082-3.
- Pretty, J. N.; และคณะ (2006). "Resource-Conserving Agriculture Increases Yields in Developing Countries". Environmental Science and Technology. 40 (4): 1114–1119. Bibcode:2006EnST...40.1114P. doi:10.1021/es051670d. PMID 16572763.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Organic Consumers Association
- Organic Information Center
- A World Map of Organic Agriculture
- USDA National Organic Program Responsible for administering organic food production & labeling standards in the United States
- "Organic Food", UK Food Standards Agency
- "Organics Olympiad 2011: Global Indices of Leadership in Organic Agriculture"—Journal of Social and Development Sciences