เกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์ (อังกฤษ: organic farming) เป็นเกษตรกรรมแบบหนึ่งซึ่งอาศัยเทคนิคอย่างการปลูกพืชหมุนเวียน ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก และการควบคุมสัตว์รังควานทางชีวภาพ เกษตรอินทรีย์ใช้ปุ๋ยและสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ (มีสารฆ่าวัชพืช ยาฆ่าแมลงและสารฆ่าเชื้อรา) หากถือว่ามาจากธรรมชาติ (เช่น กระดูกป่นจากสัตว์หรือไพรีทรินจากดอกไม้) แต่ไม่ใช้หรือจำกัดการใช้อย่างยิ่งซึ่งวิธีการต่าง ๆ (รวมปุ๋ยและสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ปิโตรเคมีสังเคราะห์ ตัวเร่งการเติบโตของพืช เช่น ฮอร์โมน การใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม[1] กากสิ่งปฏิกูลของมนุษย์ และวัสดุนาโน[2]) โดยแสวงเป้าหมายซึ่งมีความยั่งยืน ความเปิดเผย การไม่พึ่งพา สุขภาพและความปลอดภัย
วิธีการเกษตรอินทรีย์มีการกำกับระหว่างประเทศและหลายประเทศบังคับใช้กฎหมาย โดยยึดมาตรฐานที่สหพันธ์ขบวนการเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศ (IFOAM) ตั้งขึ้นเป็นหลัก IFOAM เป็นองค์การครอบคลุมระหว่างประเทศขององค์การเกษตรอินทรีย์ที่ตั้งในปี 2515
นับแต่ปี 2533 ตลาดอาหารอินทรีย์และผลิตภัณฑ์อื่นเติบโตอย่างรวดเร็ว มีมูลค่า 63,000 ดอลลาร์สหรัฐทั่วโลกในปี 2555[3]: 25 อุปทานนี้ขับเคลื่อนการเพิ่มขึ้นของที่ดินซึ่งมีการจัดการแบบอินทรีย์ที่เติบโตตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2554 ในอัตรา 8.9% ต่อปี[4] ในปี 2554 พื้นที่ประมาณ 37 ล้านเฮกตาร์มีการเกษตรอินทรีย์ คิดเป็น 0.9% ของพื้นที่การเกษตรทั่วโลก[3]: 1
อ้างอิง
แก้- ↑ Directorate General for Agriculture and Rural Development of the European Commission What is organic farming
- ↑ Paull, John (2011) "Nanomaterials in food and agriculture: The big issue of small matter for organic food and farming", Proceedings of the Third Scientific Conference of ISOFAR (International Society of Organic Agriculture Research), 28 September - 1 October, Namyangju, Korea., 2:96-99.
- ↑ 3.0 3.1 Helga Willer, Julia Lernoud and Robert Home The World of Organic Agriculture: Statistics & Emerging Trends 2013 Research Institute of Organic Agriculture (FiBL) and the International Federation of Organic Agriculture Movements (IFOAM, 2013).
- ↑ Paull, John (2011) "The Uptake of Organic Agriculture: A Decade of Worldwide Development", Journal of Social and Development Sciences, 2 (3), pp. 111-120.