อันดับวานร หรือ อันดับไพรเมต (อังกฤษ: primate) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันได้แก่ สัตว์จำพวกลีเมอร์, ลิง และลิงไม่มีหาง ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย มีชื่อสามัญเรียกกันโดยทั่วไปว่า ไพรเมต จึงกล่าวได้ว่าสามารถพบไพรเมตได้ทั่วโลก โดยไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแอฟริกา, ตอนล่างของทวีปเอเชีย, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แต่จะพบไพรเมตอยู่เพียงไม่กี่ชนิดในแถบตอนเหนือของทวีปเอเชีย จนถึงตอนเหนือของญี่ปุ่น หรือตอนเหนือของอเมริกา และเม็กซิโก โดยที่ไม่พบในทวีปยุโรป และทวีปโอเชียเนีย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Primates

อันดับวานร
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยพาลีโอซีน-ปัจจุบัน, 65.9–0Ma
อาย-อายลีเมอร์หางแหวนลิงคาปูชินลิงแมงมุมชะนีทาร์เซียร์ลิงลมเรียวแดงลิงไลออนทามารินสีทองลิงบาบูนฮามาเดียร์ชิมแปนซี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
Mirordo-mb: Primatomorpha
Primatomorpha
อันดับ: อันดับวานร
Primates
อันดับย่อย
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของไพรเมตรอบโลก ที่ไม่ใช่มนุษย์
ชื่อพ้อง

Plesiadapiformes (แคลดิสติกส์รวมทั้งไพรเมต)

นิรุกติศาสตร์

แก้

คำว่า Primate มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คำว่า "Primus" ซึ่งแปลว่า "ปฐม" หรือ"ที่หนึ่ง" หรือ"ผู้นำ" ซึ่งมีนัยว่าสัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้ เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่เหนือสัตว์ทั้งมวล[1]

ลักษณะสำคัญ

แก้
  • มีนิ้ว มีเล็บมือแบน แทนอุ้งเล็บหรือกีบ เช่น สัตว์อันดับอื่น ๆ
  • มีสูตรของฟันเป็น 4 ประเภท คือ ฟันตัด, ฟันเขี้ยว, ฟันกรามหน้า และฟันกราม โดยฟันกรามหน้ามี 2 ยอด ฟันกรามมี 4 ยอด
  • มีนิ้วแรกของมือ (เท้าหน้า) และเท้า สามารถเคลื่อนที่ตรงกันข้ามกับนิ้วอื่น ๆ ทำให้หยิบจับได้มั่นคงมากขึ้น
  • มีกระบอกตา และเบ้าตาล้อมรอบทางด้านหลังของกระดูก ทำให้แยกเบ้าตาออกจากกล่องสมองและตาอยู่ทางด้านหน้าทั้งสองข้างเห็นภาพลึกชัดและแยกแยะสีต่าง ๆ ได้
  • เต้านมลดจำนวนลงเหลือเพียง 1 คู่ บนหน้าอก ยกเว้นไพรเมตบางชนิดอาจมีเต้านมบนหน้าท้องด้วย
  • มีประสาทการดมกลิ่นไม่ดี มีการพัฒนาการลดลงมากกว่าสัตว์อื่น แต่จะไปพัฒนาประสาทการมองเห็นได้ดีกว่า
  • มีกระดูกไหปลาร้า และกระดูกสะบักแข็งแรง ทำให้ขาคู่หน้าสามารถหมุนได้จึงเคลื่อนที่ได้หลายแบบ
  • ระบบสืบพันธุ์เพศเมียมีวิวัฒนาการสูงประกอบด้วยการมีรอบเดือน ซึ่งพบทั้งลิงโลกเก่า, ลิงไม่มีหาง และมนุษย์
  • ต่อมเหงื่อปรากฏบนผิวหนังทั่วไป ต่างจากสัตว์อื่น ๆ ที่มักมีต่อมเหงื่อที่อุ้งมือ หรืออุ้งเท้า
  • มีขนเป็นหย่อม ๆ บนตัว เช่น ที่หัว, รักแร้ ไม่ได้กระจายตัวสม่ำเสมอเหมือนสัตว์อื่น ๆ
  • กล่องสมองค่อนข้างกลมและมีขนาดใหญ่ ช่องเปิดฟอราเมน แมกนัม มาอยู่ข้างล่างของกะโหลกทำให้กะโหลกและกระดูกสันหลังต่อกันในแนวยืนมากขึ้น[2]

การจำแนก

แก้
Primatomorpha  

 อันดับบ่าง  

 Primates 
 Haplorhini 
 Simiiformes 
 Catarrhini 
 Hominoidea 
 Hominidae 
 Homininae 
 Hominini 

 มนุษย์ (genus Homo)   



 สกุลชิมแปนซี (genus Pan)  



 Gorillini 

 กอริลลา (genus Gorilla)   





 อุรังอุตัง (subfamily Ponginae)   




 ชะนี (family Hylobatidae)   




 ลิงโลกเก่า (superfamily Cercopithecoidea)   




 ลิงโลกใหม่ (parvorder Platyrrhini)   



 Tarsiiformes 

 ทาร์เซียร์ (superfamily Tarsioidea)   




 Strepsirrhini 
Lemuriformes[a] 

 ลีเมอร์ (superfamily Lemuroidea)   



 lorises and allies (superfamily Lorisoidea)   





prosimians
ลิง
ลิงใหญ่
มนุษย์
ชะนี
  • หมายเหตุ ในอดีต กระแต ก็ถูกจัดให้อยู่ในอันดับนี้ด้วย ด้วยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการร่วมกันมา[6]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ตีแผ่ชีวิตชะนี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-02. สืบค้นเมื่อ 2012-10-19.
  2. "ลักษณะของออร์เดอร์ไพรเมต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-19. สืบค้นเมื่อ 2012-10-19.
  3. Rylands, A. B. & Mittermeier, R. A. (2009). "The Diversity of the New World Primates (Platyrrhini)". In Garber, P. A., Estrada, A., Bicca-Marques, J. C., Heymann, E. W. & Strier, K. B.. South American Primates: Comparative Perspectives in the Study of Behavior, Ecology, and Conservation. Springer. ISBN 978-0-387-78704-6.
  4. Mittermeier, R., Ganzhorn, J., Konstant, W., Glander, K., Tattersall, I., Groves, C., Rylands, A., Hapke, A., Ratsimbazafy, J., Mayor, M., Louis, E., Rumpler, Y., Schwitzer, C. & Rasoloarison, R. (December 2008). "Lemur Diversity in Madagascar". International Journal of Primatology 29 (6): 1607–1656.
  5. Groves, C. (2005). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. eds. Mammal Species of the World (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press. pp. 111–184. OCLC 62265494. ISBN 0-801-88221-4.
  6. หน้า 196, สัตว์สวยป่างาม (สิงหาคม, 2518) โดย ชมรมนิเวศวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน