เอป หรือ ลิงไม่มีหาง (อังกฤษ: ape) เป็นไพรเมตที่อยู่ในวงศ์ใหญ่ Hominoidea ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 วงศ์

โฮมินอยเดีย
เอป
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีนสมัยโฮโลซีน
ชิมแพนซี (Pan troglodytes) เพศผู้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: อันดับวานร
Primates
อันดับย่อย: Haplorhini
Haplorhini
อันดับฐาน: Simiiformes
Simiiformes
อนุอันดับ: Catarrhini
Catarrhini
วงศ์ใหญ่: โฮมินอยเดีย
Hominoidea
Gray, 1825[1]
ชนิดต้นแบบ
Homo sapiens
Linnaeus, 1758
วงศ์

พี่น้อง: Cercopithecoidea

เอป คือ ลิงที่ไม่มีหาง มีแขนที่ยาวกว่าลิงในวงศ์อื่น ๆ มีนิ้วที่ใช้ในการหยิบจับและใช้ประโยชน์คล้ายคลึงกับมนุษย์มากกว่าสัตว์ในอันดับลิงใด ๆ สามารถเดินตัวตรงได้ สันนิษฐานว่าเอปนั้นวิวัฒนาการมาจากลิงโลกเก่า

เอปในปัจจุบันมีเพียง 4 จำพวกเท่านั้น พบในทวีปแอฟริกา และเอเชียแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ชิมแปนซี กอริลลา อุรังอุตัง และชะนี

จากการศึกษาสารพันธุกรรมพบว่า กอริลลาและชิมแปนซีมีความใกล้ชิดทางสายวิวัฒนาการกับมนุษย์มากกว่าเอปที่พบในทวีปเอเชีย ซึ่งได้แก่ ชะนีและอุรังอุตัง ซึ่งมีจำนวนโครโมโซม 48 อัน ในขณะที่มนุษย์มี 46 อัน โดยเฉพาะชิมแปนซีนั้น มีหมู่โลหิตแบ่งได้เป็น A, B, O เช่นเดียวกับมนุษย์ และจากหลักฐานทางชีววิทยาระดับโมเลกุลพบว่าดีเอ็นเอของมนุษย์มีความคล้ายกันกับชิมแปนซีถึงร้อยละ 98.4 นอกจากนี้แล้วจากหลักฐานดังกล่าวยังทำให้สันนิษฐานได้ว่าบรรพบุรุษของมนุษย์ วิวัฒนาการแยกจากลิงไม่มีหางเมื่อประมาณ 7.5-4 ล้านปีที่ผ่านมา ซึ่งลิงไม่มีหางจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาดมากกว่าสัตว์จำพวกใด ๆ ในโลก[2] [3]

การจำแนก

แก้

วงศ์ย่อยและสกุล

อ้างอิง

แก้
  1. Gray, J. E. "An outline of an attempt at the disposition of Mammalia into tribes and families, with a list of the genera apparently appertaining to each tribe". Annals of Philosophy. New Series. 10: 337–344. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2022. สืบค้นเมื่อ 27 April 2022.
  2. วิวัฒนาการของมนุษย์
  3. ลิงและลิงไม่มีหาง, สารานุกรมภาพสำหรับเด็ก . พิมพ์ครั้งแรก . กรุงเทพฯ : 2523, หน้า394-398

บรรณานุกรม

แก้
  • Dawkins, R. (2005). The Ancestor's Tale (p/b ed.). London: Phoenix (Orion Books). ISBN 978-0-7538-1996-8.
  • Dixson, A. F. (1981). The Natural History of the Gorilla. London: Weidenfeld & Nicolson. ISBN 978-0-297-77895-0.
  • Mishler, Brent D (2009). "Species are not uniquely real biological entities". ใน Ayala, F. J. & Arp, R. (บ.ก.). Contemporary Debates in Philosophy of Biology. pp. 110–122. doi:10.1002/9781444314922.ch6. ISBN 978-1-4443-1492-2.
  • Stace, C. A. (2010). "Classification by molecules: what's in it for field botanists?" (PDF). Watsonia. 28: 103–122. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 July 2011. สืบค้นเมื่อ 7 February 2010.
  • Terry, M. W. (1977). "Use of common and scientific nomenclature to designate laboratory primates". ใน Schrier, A. M. (บ.ก.). Behavioral Primatology: Advances in Research and Theory. Vol. 1. Hillsdale, N.J., US: Lawrence Erlbaum.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้