อาย-อาย

(เปลี่ยนทางจาก Daubentoniidae)
อาย-อาย
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
อันดับย่อย: Strepsirrhini
อันดับฐาน: Lemuroidea
วงศ์: Daubentoniidae
Gray, 1863
สกุล: Daubentonia
É. Geoffroy, 1795[3]
สปีชีส์: D.  madagascariensis
ชื่อทวินาม
Daubentonia madagascariensis
(Gmelin, 1788)
ชนิด
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง

วงศ์:

  • Cheiromyidae I. Geoffroy St. Hilaire, 1851
  • Chiromyidae Bonaparte, 1850

สกุล:

  • Aye-aye Lacépède, 1799
  • Cheiromys G. Cuvier, 1817
  • Cheyromys É. Geoffroy, 1803
  • Chiromys Illiger, 1811
  • Myslemur Anon. [?de Blainville], 1846
  • Myspithecus de Blainville, 1839
  • Psilodactylus Oken, 1816
  • Scolecophagus É. Geoffroy, 1795

ชนิด:

  • daubentonii Shaw, 1800
  • laniger G. Grandidier, 1930
  • psilodactylus Schreber, 1800

อาย-อาย (อังกฤษ: Aye-aye; ชื่อวิทยาศาสตร์: Daubentonia madagascariensis) เป็นไพรเมตชนิดหนึ่ง จำพวกลีเมอร์ โดยที่อาย-อาย เป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Daubentonia และวงศ์ Daubentoniidae [3] (มีอยู่ชนิดหนึ่ง คือ อาย-อายยักษ์ ที่มีความยาวกว่า 2.5 เมตร แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว[4]กว่า 2,000 ปีก่อน และมีน้ำหนักมากกว่า อาย-อาย หลายเท่า[5])

ศัพท์มูลวิทยา แก้

ชื่อวิทยาศาสตร์ของ อาย-อาย คือ Daudentonia madagascariensis (/เดอ-เบน-เทอ-เนีย มา-ดา-กัส-กา-เรียน-ซิส/) โดยชื่อสกุลตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ หลุยส์-ฌอง-มารี-เดอเบนทัน นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส ที่ศึกษา อาย-อาย เป็นบุคคลแรก ขณะที่ชื่อชนิดมีความหมายถึง การอาศัยอยู่บนเกาะมาดากัสการ์ ขณะที่ชื่อสามัญคำว่า "อาย-อาย" มาจากเสียงร้องเรียกหากันของชาวตะวันตก ที่ออกเสียงว่า "เฮ้-เฮ้" นั่นเอง อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกว่านี่เป็นที่มาอย่างแท้จริง แต่อาจเป็นไปได้ว่าคำว่า "เฮ้-เฮ้" ในภาษามาลากาซี ออกเสียงใกล้เคียงกับคำว่า "เฮห์-เฮห์" ซึ่งมีความหมายว่า "ฉันไม่รู้" มาจากการที่ชาวมาลากาซี ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของเกาะมาดากัสการ์ใช้เรียก อาย-อาย กับชาวตะวันตก แทนที่จะเรียกชื่อโดยตรงก็เป็นได้ เพราะความเชื่อที่ว่า อาย-อาย เป็นสัตว์อัปมงคล[5][6] [7]

ลักษณะ แก้

จากการศึกษาทางดีเอ็นเอพบว่า อาย-อาย เป็นลีเมอร์ที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง และเป็นสัตว์ที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่ง เพราะมีระยะเวลาในการดำรงเผ่าพันธุ์มายาวนาน ถือเป็นต้นพันธุกรรมของลีเมอร์ที่หลากหลายในปัจจุบัน อาย-อาย เป็นลีเมอร์ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากลีเมอร์ทั่วไป คือ มีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัวเหมือนปีศาจ มีใบหูที่กางโตเหมือนค้างคาว มีฟันที่แหลมคม โดยเฉพาะฟันหน้าที่จะไม่หยุดการงอกเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ และมีนิ้วตีนที่ลีบเล็กเรียวยาวผอมติดกระดูก ทำหน้าที่เหมือนมือ และมีจุดเด่น คือ นิ้วตรงกลาง 2 นิ้ว คือ นิ้วชี้ และนิ้วกลางจะแหลมยาวออกมาจากนิ้วอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน[8] โดยมีนิ้วชี้เป็นนิ้วที่ยาวที่สุด อาย-อาย มีลำตัวขนาดเท่าแมว มีขนตามลำตัวสีดำปลายขนเป็นสีเงินหรือสีเทา มีหางยาวขนฟูเป็นพวงเหมือนกระรอก น้ำหนักตัวประมาณ 15 กิโลกรัม

จากการที่อาย-อาย มีฟันหน้าเหมือนสัตว์ฟันแทะ ทำให้ในระยะแรกในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1770 เดอเบนทันได้จัดให้อาย-อาย อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะด้วยซ้ำ[5]

พฤติกรรมและการขยายพันธุ์ แก้

อาย-อาย จะใช้นิ้วนี้ให้เป็นประโยชน์ในการเคาะตามเปลือกไม้เพื่อหาแมลงหรือหนอนที่ซ่อนตัวอยู่ข้างใน โดยใช้หูขนาดใหญ่ห่อตัวรับฟังเสียงการเคลื่อนไหวของแมลง คล้ายกับระบบโซนาร์ จากนั้นจะใช้ฟันหน้าที่แหลมคมกัดเปลือกไม้และใช้นิ้วที่ยาวนี้ล้วงเอาออกมากินเป็นอาหาร นับได้ว่าเป็นสัตว์ที่ช่วยในการรักษาเยียวยาต้นไม้อีกชนิดหนึ่งเหมือนนกหัวขวาน เพราะช่วยกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืช นอกจากนี้แล้วยังใช้ประโยชน์ในการตกแต่งขนตามลำตัวและให้ลูกได้อีกด้วย ซึ่งลูกอาย-อาย จะอาศัยดูดนมแม่เป็นระยะเวลานาน 1 ปี และจะอยู่กับแม่จนกระทั่งโตเต็มที่ จึงจะแยกตัวออกไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยตัวเอง ซึ่งหัวนมของอาย-อาย นั้นจะไม่เหมือนกับสัตว์ในอันดับไพรเมตทั่วไป คือ จะอยู่ในตำแหน่งใกล้กับขาหนีบของขาหลัง และมีเพียง 2 หัว แทนที่จะเป็น 4 ทั้งนี้อาย-อาย ได้สูญเสียหัวนม 2 หัวไป และอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับขาหนีบ เนื่องจากเป็นการวิวัฒนาการตัวเองเพื่อให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ลูกอาย-อาย จะปลอดภัยกว่าหากเกาะดูดนมแม่ในตำแหน่งนี้มากกว่าหน้าอก[5]

อาย-อาย มีระยะเวลาการผสมพันธุ์นานมากกว่าไพรเมตจำพวกอื่น ๆ คือ ใช้เวลานานถึง 45-50 นาที การผสมพันธุ์เริ่มขึ้นจากตัวเมียจะเรียกหาตัวผู้หลายตัวมารวมกันบนต้นไม้ ตัวผู้จะต่อสู้กันเพื่อที่จะได้สิทธิเป็นผู้ผสมพันธุ์กับตัวเมีย ตัวผู้ที่แพ้จะถูกไล่ออกไป เมื่อผสมพันธุ์ตัวผู้จะจับตัวเมียล็อกไม่ให้เคลื่อนไหวหนีได้ ซึ่งการผสมพันธุ์อาจจะต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลานานถึง 3 วัน อาย-อาย ไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน จึงสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี และมีพฤติกรรมที่ผสมพันธุ์กันไปทั่ว อาย-อายตัวเมียจะเลี้ยงดูลูกจนกระทั่งโต แล้วจึงกลับมาผสมพันธุ์อีกทีซึ่งกินระยะเวลาเป็นวงรอบประมาณ 2-3 ปี อาย-อาย เป็นสัตว์ที่อยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ทำรังเป็นต้นไม้ ซึ่งอยู่ด้วยกันหลายรัง โดยจะใช้รังเหล่านี้สลับกันไปเป็นที่หลับนอน[5]

นอกจากนี้แล้ว อาย-อาย ยังกินผลไม้ที่มีเปลือกแข็งได้ เช่น มะพร้าว ด้วยการใช้ฟันกัดและกินน้ำจากมะพร้าว เป็นการหาน้ำที่ไม่ต้องพึ่งพาน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติเหมือนสัตว์ทั่วไป อันเป็นการวิวัฒนาการที่เป็นการปรับตัวเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ในสถานที่ ๆ แห้งแล้งอย่างเกาะมาดากัสการ์ ในอดีต อาย-อาย มีรัศมีการหากินไกลถึง 4 กิโลเมตร[8][5]

ความเชื่อ แก้

อาย-อาย เป็นลีเมอร์อีกชนิดหนึ่งในจำนวนไม่กี่ชนิดที่หากินในเวลากลางคืน และยังสามารถที่จะเกาะต้นไม้แบบตีลังกาแบบค้างคาวได้เมื่อหากิน ประกอบกับมีหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว ชาวมาลากาซีจึงมีความเชื่อว่า อาย-อาย เป็นสัตว์ที่นำความตายมาสู่ผู้เห็นพบ มีความเชื่อและข้อห้ามเกี่ยวกับอาย-อายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกว่า ฟาดี้ เช่น หากใครถูกอาย-อาย ใช้นิ้วที่แหลมยาวนั้นชี้ก็จะถึ่งแก่ความตายในไม่ช้า และหากพบอาย-อาย ใกล้หมู่บ้าน ก็เป็นลางบอกเหตุว่าจะมีผู้ตายในหมู่บ้านนี้ในไม่ช้า หรือถ้าได้สัมผัสเนื้อตัวอาย-อาย ก็จะถึงแก่ความตายในเวลา 1 ปี และหากพบซากอาย-อาย ต้องฝังด้วยตนเอง หรือแม้แต่ว่าหากใครตายไปแล้ว ก็จะกลับมาเกิดใหม่เป็นอาย-อาย เป็นต้น[9] [5]

อ้างอิง แก้

  1. Andriaholinirina, N., Baden, A., Blanco, M., Chikhi, L., Cooke, A., Davies, N., Dolch, R., Donati, G., Ganzhorn, J., Golden, C., Groeneveld, L.F., Hapke, A., Irwin, M., Johnson, S., Kappeler, P., King, T., Lewis, R., Louis, E.E., Markolf, M., Mass, V., Mittermeier, R.A., Nichols, R., Patel, E., Rabarivola, C.J., Raharivololona, B., Rajaobelina, S., Rakotoarisoa, G., Rakotomanga, B., Rakotonanahary, J., Rakotondrainibe, H., Rakotondratsimba, G., Rakotondratsimba, M., Rakotonirina, L., Ralainasolo, F.B., Ralison, J., Ramahaleo, T., Ranaivoarisoa, J.F., Randrianahaleo, S.I., Randrianambinina, B., Randrianarimanana, L., Randrianasolo, H., Randriatahina, G., Rasamimananana, H., Rasolofoharivelo, T., Rasoloharijaona, S., Ratelolahy, F., Ratsimbazafy, J., Ratsimbazafy, N., Razafindraibe, H., Razafindramanana, J., Rowe, N., Salmona, J., Seiler, M., Volampeno, S., Wright, P., Youssouf, J., Zaonarivelo, J. & Zaramody, A. (2012). "Daubentonia madagascariensis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2014.1. สืบค้นเมื่อ 12 June 2014.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CITES
  3. 3.0 3.1 จาก itis.gov
  4. 4.0 4.1 Simons, EL (1994). "The giant aye-aye Daubentonia robusta". Folia Pimaol (Basel). 52 (1–3): 14–21. PMID 7721200. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 The Night Stalker, "Nick Baker's Weird Creatures" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: ศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
  6. Mittermeier, R.A.; Konstant, W.R.; Hawkins, F.; Louis, E.E.; Langrand, O.; Ratsimbazafy, J.; Rasoloarison, R.; Ganzhorn, J.U. et al. (2006). Lemurs of Madagascar. Illustrated by S.D. Nash (2nd ed.). Conservation International. ISBN 1-881173-88-7.
  7. "Simons, E. L.; Meyers, D. M. (2001). "Folklore and Beliefs about the Aye aye (Daubentonia madagascariensis)". Lemur News 6: 11–16" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2013-02-01.
  8. 8.0 8.1 Madagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 19 มกราคม 2556
  9. Looks to die for? The rare Madagascan aye-aye driven to extinction... because of native belief that it brings death to a village

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Daubentonia madagascariensis ที่วิกิสปีชีส์