หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล

หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2533) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติแต่หม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยมาภัย)

หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438
สิ้นชีพตักษัย11 สิงหาคม พ.ศ. 2533 (95 ปี)
ราชสกุลดิศกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระมารดาหม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา
ลายพระอภิไธย

พระประวัติ แก้

หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติแต่หม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยมาภัย) เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 ที่วังสามยอด เชิงสะพานดำรงสถิตย์ ได้ทรงศึกษาภาษาไทยชั้นต้นกับคุณหญิงวิทยาปรีชามาตย์ (อ่อง) และข้าราชการผู้ทรงคุณวุฒิอีกบางท่าน และทรงศึกษาภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสกับครูสตรีชาวต่างประเทศเจ้าของภาษานั้น ๆ นอกจากทรงศึกษาความรู้รอบตัวจากพระบิดา และจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์แล้ว ยังทรงศึกษาวิชาสำหรับกุลสตรีจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารีด้วย

หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ไทย และพระพุทธศาสนาจนทรงรอบรู้แตกฉาน นิพนธ์ชิ้นแรกซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือ หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็กเรื่อง ศาสนคุณ ที่นิพนธ์ประกวดในงานพระราชพิธีวิสาขบูชา พ.ศ. 2472 และได้รับพระราชทานรางวัลชั้นที่ 1 นิพนธ์เรื่องอื่น ๆ ยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น ชีวิตและงานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประเพณีไทย สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ฯลฯ และสารคดีอีกหลายเรื่อง นอกจากนี้ยังมีนิพนธ์ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงบำเพ็ญกรณียกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอดมาเป็นระยะเวลานานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2533 สิริชันษา 95 ปี

ผลงาน แก้

ผลงานสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล คือ ได้ทรงร่วมก่อตั้งองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) และทรงดำรงตำแหน่งประธานขององค์การนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 จนถึง พ.ศ. 2527 กิจการขององค์การ พ.ส.ล. ให้ตั้งสำนักงานใหญ่เป็นการถาวรอยู่ในประเทศไทย มหาวิทยาลัยทงกุก โซล ประเทศเกาหลี ได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางปรัชญา เมื่อ พ.ศ. 2510 ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์เพื่อศานติของมวลมนุษยชาติ และได้รับพระราชทานปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  • กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย : สารัตถะทักษสัมพันธ์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2546
  • กระดานข่าวสนทนาเกี่ยวกับหลักสูตรพระพุทธศาสนา เก็บถาวร 2004-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. สตรีสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, พ.ศ. 2547. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9527-87-9
  1. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2523" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 97 (ตอนที่ 188): ฉบับพิเศษ หน้า 36. 5 ธันวาคม 2523. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2558. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2513" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 87 (ตอนที่ 45 ง ฉบับพิเศษ): หน้า 46. 20 พฤษภาคม 2513. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "หม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยมาภัย)". นามานุกรมวรรณคดีไทย. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "พระมหามนตรี (ทรัพย์ ยมาภัย)". นามานุกรมวรรณคดีไทย. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)