หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ

พันเอก นายแพทย์ หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ[1] (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2522) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ประสูติแต่หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา

หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434
สิ้นชีพิตักษัย11 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 (88 ปี)
หม่อมหม่อมชั้น วรวรรณ ณ อยุธยา
หม่อมฟื้น วรวรรณ ณ อยุธยา
พระบุตร9 คน
ราชสกุลวรวรรณ
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
พระมารดาหม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา
พันเอกหม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ
รับใช้กองทัพบก
ชั้นยศ พันเอก

พระประวัติ

แก้

หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ มีพระนามลำลองว่า ท่านชายตุ๋ยตุ่ย เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ประสูติแต่หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 มีโสทรภราดาและโสทรภคินี ดังนี้

  • หม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ (พ.ศ. 2431-2496) เสกสมรสกับหม่อมโจฮันนา (สกุลเดิม เวเบอร์) และหม่อมสมรวย (สกุลเดิม มุกแจ้ง)
  • หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี (พ.ศ. 2433-2524) เสกสมรสกับพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
  • หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ (พ.ศ. 2434-2522)
  • หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ (พ.ศ. 2436-2514) เสกสมรสกับหม่อมแก้ว (สกุลเดิม เอี่ยมจำนงค์) และหม่อมเล็ก (สกุลเดิม เจริญจันทร์แดง)
  • หม่อมเจ้าอรทิพย์ประพันธ์ เทวกุล (พ.ศ. 2438-2505) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าดำรัสดำรงค์ เทวกุล
  • หม่อมเจ้าสิทธยากร วรวรรณ (พ.ศ. 2440-2508) เสกสมรสกับหม่อมดำริห์ (สกุลเดิม บุนนาค)
  • หม่อมเจ้าไปรมากร วรวรรณ (พ.ศ. 2441-2519) เสกสมรสกับหม่อมน้อย (สกุลเดิม สุวรรณศวร) หม่อมสมศรี (สกุลเดิม ประภาเพ็ชร์) และหม่อมอรุณ
  • หม่อมเจ้าบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ (พ.ศ. 2445-2528) เสกสมรสกับพลเอกมังกร พรหมโยธี
  • หม่อมเจ้าสรรพางค์พิมล วรวรรณ (พ.ศ. 2446-2463)
  • อุบล วรวรรณ (พ.ศ. 2448-2528) เสกสมรสกับอาฌรลด์ แคร้บบ์

เมื่อสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จกลับจากประเทศรัสเซียชั่วคราว หม่อมเจ้าวัลภากรได้เข้าถวายตัวและได้มีโอกาสตามเสด็จไปทรงศึกษาต่อยังประเทศรัสเซีย ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนการแพทย์ทหารบก เลนินกราดในปัจจุบัน เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 รัสเซียรบกับเยอรมนี หม่อมเจ้าวัลภากรได้รับราชการพิเศษในสภากาชาดรัสเซีย

เมื่อเสด็จกลับประเทศไทย ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนการแพทย์ทหารบก โดยเป็นศัลยแพทย์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ต่อมาสภากาชาดไทยขอยืมตัวไปปฏิบัติการ ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการกองอนามัย เลขาธิการแพทยสมาคม ในปี พ.ศ. 2473 – 2475 และได้รับพระราชทานยศเป็นนายพันเอก เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2473[2]

ในปี พ.ศ. 2475 ถูกดุลย์ให้ออกจากราชการเนื่องจากวิกฤตการทางเศรษฐกิจ ต่อมาปี พ.ศ. 2480 ได้เสด็จกลับเข้ารับราชการใหม่ในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ตำแหน่งสุดท้ายในราชการคือ เป็นหัวหน้ากองสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข

หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดธาตุทอง ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2522

โอรส-ธิดา

แก้

หม่อมเจ้าวัลภากร เสกสมรสกับหม่อมชั้น และหม่อมฟื้น ธิดาของเจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) มีโอรส-ธิดา ดังนี้

เกิดแต่ หม่อมชั้น (สกุลเดิม บุนนาค)

เกิดแต่ หม่อมฟื้น (สกุลเดิม บุนนาค)

สิ้นชีพิตักษัย

แก้

หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 สิริชันษา 88 ปี

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ

พระยศ

แก้
  • 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2457: นายร้อยตรี[3]
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2457: โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกลาโหมส่งสัญญาบัตรยศไปพระราชทานที่ประเทศรัสเซีย[4]
  • 20 กันยายน พ.ศ. 2460: นายร้อยโท[5]
  • 20 เมษายน พ.ศ. 2461: นายร้อยเอก[6]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470: นายพันโท[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 25 พฤษภาคม 2473 เรื่อง พระราชทานยศ
  2. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 หน้า 617 เรื่อง พระราชทานยศ
  3. พระราชทานยศนายทหารบก
  4. ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน
  5. พระราชทานยศนายทหารบก
  6. พระราชทานยศนายทหารบก
  7. พระราชทานยศทหารบก
  8. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 หน้า 3085 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2474]
  9. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 46 หน้า 2922]
  10. พระราชทานเข็มราชการแผ่นดิน (หน้า 3069)
  11. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 46 หน้า 2924]
  12. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 มกราคม 2460 เล่ม 34 หน้า 3069
  13. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 พฤศจิกายน 2469
  • เกิดวังปารุสก์ ประพันธ์โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ สำนักพิมพ์ River Books ,ISBN 974-8225-22-4