หน้าต่างกุหลาบ
หน้าต่างกุหลาบ (อังกฤษ: rose window) โดยทั่วไปหมายถึงหน้าต่างทรงกลมซึ่งมักจะใช้ในการสร้างคริสต์ศาสนสถานโดยเฉพาะที่เป็นสถาปัตยกรรมกอทิก คำว่า “rose window” เริ่มใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ พจนานุกรมอ๊อกซฟอร์ดระบุว่า rose ในที่นี้หมายถึง ดอกกุหลาบ[1]

คำว่า “หน้าต่างกุหลาบ” มักจะหมายถึงหน้าต่างที่แบ่งเป็นซี่ ๆ ด้วยหิน กระจายออกไปจากเพลาศูนย์กลาง คำว่า “หน้าต่างกลม” มักจะใช้เฉพาะหน้าต่างกลมที่เป็นแบบที่ซับซ้อนซึ่งดูคล้ายกลีบกุหลาบหรือกลีบดาวเรืองซ้อน หน้าต่างกลมที่ไม่มีซี่ที่นิยมทำกันในโบสถ์ในประเทศอิตาลีเรียกว่า “หน้าต่างตา” (Ocular window หรือ oculus)
“หน้าต่างกลม” เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกซึ่งจะเห็นได้จากในมหาวิหารทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส แต่แท้ที่จริงแล้วการสร้างหน้าต่างกลมเริ่มตั้งแต่ยุคกลาง การสร้างหน้าต่างกลมหันกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในสมัยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19[ต้องการอ้างอิง]
ประวัติแก้ไข
ที่มาของหน้าต่างกลมอาจจะพบในสถาปัตยกรรมโรมันที่เรียกว่า “อ็อคคิวลัส” (oculus) หรือ “ตา” ซึ่งเป็นช่องกลมกว้างบนเพดานให้แสงและอากาศส่องเข้ามาภายในสิ่งก่อสร้างได้ “อ็อคคิวลัส” ที่สำคัญที่สุดคือ อ็อคคิวลัสที่เป็นช่องเปิดกลมบนหลังคาของตึกแพนเธียน (Pantheon) ที่ โรม
ในศิลปะสมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก และสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์มีตัวอย่างของการก่อสร้างลักษณะนี้ ซึ่งมักจะตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของโดมเช่นที่โบสถ์ Holy Sepulchre ที่กรุงเยรูซาเลม หรือบนจั่วตื้นแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่นที่โบสถ์นักบุญแอกเนสนอกกำแพง (Saint Agnes Outside the Walls) หรือที่มหาวิหารตอร์เชลโล (Torcello Cathedral) ที่ เวนิส[2]
หน้าต่างที่สร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 8 ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่เมืองเวนิสนั้นเจาะจากหินแผ่นเดียว หรือหน้าต่างครึ่งวงกลมที่แบ่งเป็นช่อง ๆ ที่ทำในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และหน้าต่างที่ทำต่อมาภายหลังที่ประเทศกรีซยังพอมีหลงเหลือให้ดูอยู่บ้าง[3]
หน้าต่างกลมเล็ก เช่น ที่โบสถ์นักบุญแอกเนสนอกกำแพงและมหาวิหารตอร์เชลโล และหน้าต่างที่ใช้ตกแต่งด้วยกระจกด้านภายในหน้าต่างกลมที่เว้าลึกเข้าไปในผนังยังคงทำกันต่อมาในการสร้างโบสถ์ที่ประเทศอิตาลีจนมารุ่งเรืองเอาเมื่อสมัยโรมาเนสก์
อีกประการหนึ่งที่ทำให้การสร้างหน้าต่างกลมมีความนิยมขึ้นในทวีปยุโรป ตามการสันนิษฐานโดยนักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมนีอ็อตโต ฟอน ซิมสัน (Otto von Simson) ผู้กล่าวว่าหน้าต่างกลมมีรากฐานมาจากหน้าต่างรูปแปดเหลี่ยมที่ตกแต่งผนังภายนอกของปราสาทอุมเมยัด (Umayyad palace) ที่ ประเทศจอร์แดน ระหว่างปี ค.ศ. 740 ถึงปี ค.ศ. 750 ตามทฤษฎีแล้วผู้ที่นำการสร้างหน้าต่างลักษณะนี้เข้ามาในทวีปยุโรป คือผู้ที่กลับมาจากสงครามครูเสดโดยนำมาใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถาน[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิงแก้ไข
ดูเพิ่มแก้ไข
สมุดภาพแก้ไข
โบสถ์ออสคาร์เฟรดิคส (Oscar Frediks Church) ประเทศสวีเดน
โบสถ์ซานตามาเรียเดลปี (Santa Maria del Pi) ประเทศสเปน
วังประธานาธิบดี ที่ลิมา (Lima) ประเทศเปรู
มหาวิหารลิงคอล์น อังกฤษ ที่เรียกว่า “ตาบิชอป” (Bishop's Eye)
โบสถ์เกเดชนิส (Gedaechtniskirche) เมืองสเปเยอร์ (Speyer) ประเทศเยอรมนี
หน้าต่างวาราทาห์ (Waratah window) โบสถ์นักบุญบีด (St Bede's) ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โดยอัลเฟรด แฮนเดล (Alfred Handel)
โบสถ์เซ็นต์นิโคลัส เมืองริชมอนด์ (Richmond) อังกฤษ ออกแบบโดย สถาปนิกจี. สก็อตต์ (G. Scott) ประกอบโดยวิลเลียม เวลส์ (William Wailes)
มหาวิหารชาทร์ (Carlo Roccella) [[https://web.archive.org/web/20080706122901/http://www.vitrail-architecture.com/ เก็บถาวร 2008-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน]]
อ้างอิงแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: หน้าต่างกลม |
- therosewindow.com หน้าต่างกลม เว็บไซต์โดย Painton Cowen (อังกฤษ)
- Tips & Tricks to Gothic Geometry: Rose Window (กลเม็ดของทรงเรขาคณิตแบบกอธิค: หน้าต่างกลม) (อังกฤษ)
- Chartres Rose Window Geometry (เรขาคณิตของหน้าต่างมหาวิหารชาร์ทร) (อังกฤษ)
- Wagon Wheel Rose Windows of the Medieval Norman Cathedrals of Puglia - Photos (หน้าต่างล้อกุหลาบของมหาวิหารแบบโรมาเนสก์ที่ปุลยา) เก็บถาวร 2007-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- Rose Window by Catholic Encyclopedia (หน้าต่างกลม โดย Catholic Encyclopedia) (อังกฤษ)