สเตโกซอรัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Late Jurassic, 155–150Ma
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับใหญ่: Dinosauria
อันดับ: Ornithischia
อันดับย่อย: Thyreophora
อันดับฐาน: Stegosauria
วงศ์: Stegosauridae
สกุล: Stegosaurus
Marsh, 1877
ชนิดต้นแบบ
Stegosaurus stenops
Marsh, 1887
สายพันธุ์อื่น ๆ
  • S. ungulatus Marsh, 1879
  • S. sulcatus Marsh, 1887
ชื่อพ้อง
  • Hypsirhophus Cope, 1879
  • Diracodon Marsh, 1881

สเตโกซอรัส (Stegosaurus) ชื่อของมันหมายถึง กิ้งก่ามีหลังคา เป็นไดโนเสาร์กินพืชจากวงศ์ Thyreophora หรือกลุ่มไดโนเสาร์หุ้มเกราะ โดยมันอาศัยอยู่ในยุคจูราสซิกตอนปลายระหว่าง 155 - 145 ล้านปีก่อน โดยมันมีลักษณะเด่นคือ มีแผ่นหนามรูปทรงห้าเหลี่ยมทอดยาวเป็นคู่ๆ อยู่บนหลังตั้งแต่ท้ายทอยจนเกือบจรดปลายหาง ส่วนปลายหางนั้นก็มีอาวุธที่ถือเป็นอีกจุดเด่นของมันเลยก็ว่าได้ ซึ่งนั่นก็คือ หนามขนาดใหญ่ทั้งสี่ โดยมันใช้ในการป้องกันตัวจากนักล่า

โดยมันนั้นถูกค้นพบในแถบตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศโปรตุเกส ในการก่อตัวของชั้นหิน Morrison Formation ในตอนนี้สเตโกซอรัสได้มีการยอมรับไว้อยู่ทั้งหมด 3 สกุล ซึ่งนั่นก็คือ S.stenops , S.ungulatus , S.sulcatus (S. = สเตโกซอรัส นะครับเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์) โดยสกุลที่รู้จักกันดีที่สุดคือ S.stenops แต่สกุลที่ใหญ่ที่สุดก็คือ S.ungulatus[1] ซึ่งจะมีขนาดอยู่ที่ 7 เมตร ณ เวลานี้มีการค้นพบสเตโกซอรัสอยู่ทั้งหมด 80 ตัว นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่าพวกมันนั้นน่าจะอาศัยอยู่ร่วมกันกับ ดิปโพลโดคัส อะแพทโทซอรัส แบรคคิโอซอรัส

สเตโกซอรัสเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ โดยมันมีขนาดโดยประมาณ 6-7 เมตร (S.stenops) มีลักษณะเด่นก็คือ มีขาหน้าที่สั้น ขาหลังยาว โดยหางของมันจะชูสูงขึ้นไปในอากาศ มันมีแผ่นหนามรูปห้าเหลี่ยมทอดยาวเป็นคู่ๆ อยู่บนหลัง โดยเหล่านักบรรพชีวินวิทยาและกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ต่างสันนิษฐานถึงหน้าที่ของแผ่นหลังของมันอยู่แต่หลายๆคนเชื่อว่ามันน่าจะใช้ในการปรับอุณหภูมิร่างกาย และใช้ในการป้องกันตัวได้ด้วย

ลักษณะและรายละเอียด แก้

สเตโกซอรัสเป็นสัตว์บกสี่เท้าที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว เพราะบนหลังของมันเต็มไปด้วย แผ่นหนามรูปทรงห้าเหลี่ยมทอดยาวเป็นคู่ๆ อยู่บนหลังตั้งแต่หัวเกือบจรดปลายหางซึ่งสามารถใช้ในการข่มขวัญศัตรูและดึงดูดเพศตรงข้าม อีกทั้งยังมีหนามสองคู่ขนาดใหญ่อยู่ปลายหางอีกต่างหาก จึงเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆเพราะมันดูเท่ห์ และปลายหางของมันยังเป็นอาวุธที่ทรงพลังในการต่อกรกับนักล่าอย่างเจ้า อัลโลซอรัส กับ เซอราโตซอรัส อีกด้วย พูดง่ายๆก็คือ เจ้าสเตโกซอรัสนั้นมีอาวุธเต็มตัวไปหมดเลยก็ว่าได้...[2]

 
โครงกระดูกจำลองการต่อสู้กันระหว่าง Stegosaurus และลูก กับ Allosaurus ณ พิพิธภัณฑ์ Denver Museum
 
การเปรียบเทียบกันระหว่าง S. ungulatus(สีส้ม) และ S. stenops(สีเขียว) กับมนุษย์ จะเห็น่วา S. ungulatus(สีส้ม) มีขนาดใหญ่กว่า

สเตโกซอรัสนั้นเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดกลาง โดยมันมีขนาดอยู่ที่ 6.5 เมตร และมีน้ำหนักอยู่ที่ 3.5 ตัน (S.stenops) และถ้าเป็นอีกสปีชีส์หนึ่งก็จะมีขนาดอยู่ที่ 7 เมตร และมีน้ำหนักอยู่ที่ 3.8 ตัน (S.ungulatus) ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วพวกมันมักจะถูกประมาณขนาดไว้ที่ 7.5 เมตร และมีน้ำหนักอยู่ที่ 5 - 5.3 ตัน ซึ่งนั่นถือว่ามีขนาดเกือบเท่ารถบัสได้เลย จึงทำให้มันดูน่ากลัวในสายตาของนักล่าหลายๆ ตัว อย่างเช่น อัลโลซอรัส ที่ล่าเหยื่อกันเป็นกลุ่มเหมือนกับหมาป่า แต่ก็ต้องมีชะงักกันบ้างถ้าเจอกับฝูงของสเตโกซอรัส

ส่วนเจ้าสเตโกซอรัสในวัยรุ่นนั้นมันจะมีขนาดโดยประมาณอยู่ที่ 4.6 เมตร มีความสูง 2 เมตร และมีน้ำหนักโดยประมาณอยู่ที่ 1.5 - 2.2 ตัน จากข้อมูลบางส่วนที่ได้จากการค้นพบซากฟอสซิลของสเตโกซอรัสที่ยังไม่โตเต็มที่ในปี ค.ศ.1994 ที่รัฐไวโอมิง ประเทศสหรัฐอเมริกา ตอนนี้มันถูกจัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยไวโอมิง

หัวกะโหลกศีรษะ แก้

 
ภาพกะโหลกของ สเตโกซอรัส ที่พิพิธภัณฑ์ Natural History Museum of Utah

กะโหลกศีรษะของสเตโกซอรัสนั้นมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของลำตัว โดยกะโหลกของมันคล้ายกันกับArchosaurทั่วๆไป โดยมันมีรูโพรงอยู่บนกะโหลกทั้งหมด 3 รูใหญ่ๆ ตำแหน่งกะโหลกของสเตโกซอรัสอยู่ต่ำ ซึ่งน่าจะบ่งบอกถึงลักษณะการกินของพวกมันด้วย การมีตำแหน่งกะโหลกอยู่ที่ต่ำอาจจะทำให้มันนั้นต้องกินพืชตระกูลเฟิร์นต้นเตี้ยๆ หรือหญ้าเป็นอาหารหลัก

กะโหลกศีรษะของสเตโกซอรัสนั้นไม่มีฟันหน้าแต่เปลี่ยนเป็นจะงอยปากไปแทน ปลายปากของกรามล่างจะมีลักษณะแบนหักลงซึ่งลักษณะแบบนี้จะทำให้ฟันกรามของมันขบกันได้อย่างพอดี และลักษณะของจะงอยปากของมันนั้นยื่นออกรอบกรามจึงทำให้สเตโกซอรัสนั้นไม่มีกระพุ้งแก้ม เพราะเมื่อมันหุบปากลงจะงอยปากของมันจะครอบทั้งกรามล่างได้พอดีจึงไม่จำเป็นต้องมีกระพุ้งแก้ม[3]

 
หน้าตาของเจ้าสเตโกซอรัสในช่วงปี ค.ศ.1901 โดยผู้ที่วาดภาพนี้คือศิลปินที่ชื่อ Charles R. Knight

ถึงแม้ว่าสเตโกซอรัสนั้นจะเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ แต่พิจารณาขนาดของกะโหลกโดยรวมแล้ว ทำให้เรารู้ว่าสเตโกซอรัสนั้นมีสมองที่มีขนาดเล็กพอๆกับสมองของสุนัขเพียงเท่านั้น ซึ่งชิ้นส่วนฟอสซิลกล่องสมองของสเตโกซอรัสนั้นถูกเก็บไว้โดยโดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกันชื่อ Othniel Charles Marsh (โอทเนียล ชาร์ลส์ มาร์ช) โดยส่วนกะโหลกของมันถูกค้นพบในช่วงปี ค.ศ.1880[2] ซึ่งกล่องสมองของมันมีขนาดเล็กมากจึงทำให้รู้ว่าสเตโกซอรัสนั้นมีสมองที่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับลำตัวที่เกือบเท่ารถบัสของมัน ทำให้ในสมัยก่อนนั้นนักวิทยาศาสตร์รวมถึงนักบรรพชีวินวิทยาและคนส่วนใหญ่ จะตีความสเตโกซอรัสออกมาเป็นกิ้งก่ายักษ์สี่ขาผู้อุ้ยอ้าย และยังเป็นกระสอบทรายให้กับเหล่านักล่าในยุคนั้น จนกระทั่งหลายทศวรรษต่อมา ทฤษฎีที่ว่าไดโนเสาร์ไม่ฉลาดเริ่มถูกปฏิเสธและถูกปัดตกไป เพราะได้มีการค้นพบหลักฐานใหม่ๆเกี่ยวกับไดโนเสาร์กันมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ภาพจำของไดโนเสาร์เริ่มเปลี่ยนไป ไดโนเสาร์หลายตัวเริ่มมีหน้าตาที่คล้ายคลึงกับความเป็นจริงและตรงตามหลักชีววิทยากันมากขึ้น รวมถึงสเตโกซอรัสก็ด้วย ถึงแม้ว่าสเตโกซอรัสนั้นมีสมองที่มีขนาดเล็ก แต่ก็ใช่ว่ามันจะโง่เสมอไป พวกมันมีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกอีกทั้งยังเป็นสัตว์สังคมอยู่รวมกันเป็นฝูงซะส่วนใหญ่ จึงทำให้มันเป็นไดโนเสาร์ที่มีความฉลาดระดับหนึ่งแต่ก็ไม่ได้มากนัก....

 
Othniel Charles Marsh นักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกันผู้ค้นพบและศึกษาฟอสซิลของสเตโกซอรัส

มีหลักฐานหลายต่อหลายอย่างที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมของมันที่กล่าวไว้ข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานฟอสซิลที่พบการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมีจำนวนไม่มากและอาจจะการรวมตัวกันเป็นครั้งคราวในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ด้วยหลักฐานและพฤติกรรมดังกล่าวจึงทำให้มันดูเป็นไดโนเสาร์ที่ไม่โง่อีกต่อไป และยังเป็นสัตว์เลื้อยคลานชั้นสูงที่มีโครงสร้างร่างกายที่เยี่ยมยอดอีกด้วย

"สมองที่สอง!!" แก้

 
สมองหรือสมองส่วนแรกของสเตโกซอรัส (ไฮไลท์สีแดง)

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดูน่าเหลือเชื่อมากสำหรับใครหลายต่อหลายคน รวมถึงนักวิยาศาสตร์และนักบรรพชีวินวิทยาอีกมาก โดยทฤษฎีนี้ถูกนำเสนอโดยผู้ค้นพบมันที่ชื่อ Othniel Charles Marsh (โอทเนียล ชาร์ลส์ มาร์ช) มาร์ชได้นำเสนอว่าสเตโกซอรัสนั้นมีสมองที่สองเพื่อใช้ในการป้องกันตัวจากนักล่า พูดง่ายๆเลยก็คือ สมองด้านหน้าหรือสมองที่ศีรษะของมันมีขนาดใหญ่ไม่พอที่จะควบคุมระบบประสาทของมันได้ทั้งตัว จึงจำเป็นต้องมีสมองอีกส่วนเพื่อใช้ในการตอบสนองของร่างกาย ซึ่งมาร์ชได้กล่าวไว้ว่า สมองส่วนนี้จะใช้ในการสั่งการส่วนหางเพื่อป้องกันตัว ฉะนั้นเมื่อสเตโกซอรัสถูกโจมตีโดยนักล่า สมองส่วนนี้จะถูกใช้สั่งการให้เปิดโหมดป้องกันตัวทันที ซึ่งตำแหน่งของสมองส่วนนี้จะอยู่ตรงบริเวณโพรงสะโพกใกล้กับไขสันหลัง[4]

แต่อันที่จริงแล้วสมองส่วนนี้ไม่ได้หน้าตาคล้ายสมองแต่อย่างใด แต่เป็นตัวไกลโคเจนหรือตัวปั๊มไกลโคเจนซึ่งตอนนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าส่วนนี้มีไว้ทำอะไร แต่มีการสันนิษฐานว่าอาจจะใช้ในการลำเลียงสารไกลโคเจนไปเลี้ยงระบบประสาทของเจ้ายักษ์ตัวนี้ ซึ่งอันที่จริงแล้วเจ้าตัวปั๊มไกลโคเจนนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ในสเตโกซอรัส แต่ยังรวมถึงไดโนเสาร์กลุ่มออร์นิธิเชียนสายพันธุ์อื่นๆ และแน่นอนในนกก็มีเช่นกัน โดยมันจะมีหน้าที่เช่นเดียวกันซึ่งก็คือจะคอยลำเลียงสารไกลโคเจนไปหล่อเลี้ยงระบบประสาทต่างๆของร่างกาย เพื่อให้การทำงานของระบบประสาทเหล่านั้นสมดุลกับการสั่งการของสมองนั่นเอง

การจัดจำแนกสายพันธุ์ แก้

การจัดจำแนกสายพันธุ์ของสเตโกซอรัสนั้นแบ่งตามรูปแบบของหนาม แผ่นเกราะ และทรงกะโหลกเช่นเดียวกันกับแองคิโลซอร์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ในอันดับย่อย Thyreophora เหมือนกัน โดยไดโนเสาร์ในอันดับย่อยนี้ต่างเป็นที่รู้กันถึงอาวุธป้องกันตัวและหัวอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละสปีชีส์ แต่ทุกๆตัวล่วนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง โดยแทบจะไม่ซ้ำกัน[5]

Peter Malcolm Galton (ปีเตอร์ มัลคอล์ม แกลตัน) นักบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังชาวอังกฤษ ได้นำเสนอว่าเหล่าไดโนเสาร์สาย Thyreophora นี้เริ่มมีการวิวัฒนาการขึ้นตั้งแต่ยุคจูราสสิคตอนต้น ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการสูญพันธุ์ในช่วงยุคไทรแอสซิก โดยมีหลักฐานอยู่ที่ การก่อตัวของชั้นหินโคตา (Kota Formation) ทางตอนล่างของประเทศอินเดีย

Thyreophora

เลโซโทซอรัส





ลาควินตาซอรา



สกูเทโลซอรัส





อีมาอูซอรัส




สเคลิโดซอรัส




อัลโควาซอรัส


Eurypoda
Ankylosauria

ซอโรเพลตา




แกสโตเนีย



ยูโอโพลเซฟาลัส




Stegosauria
Huayangosauridae


หัวหยางโกซอรัส



ชุงคิงโกซอรัส





ถัวเจียงโกซอรัส



พารานโทดอน




Stegosaridae

เจียงจุงโนซอรัส




ไจแกนสไปโนซอรัส




เคนโทรซอรัส




ดาเคนทรูรัส




โลริคาโทซอรัส





เฮสเปโรซอรัส



มีราเกียอา





สเตโกซอรัส



โววเหอซอรัส

















อ้างอิง แก้

  1. "สปีชีส์ของสเตโกซอรัส(ในหมวดหินมอริสัน ยุคจูราสสิคตอนปลาย)https://link.springer.com/article/10.1007/s00015-010-0022-4
  2. 2.0 2.1 วารสารธรณีวิยา เกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธ์ุไปแล้ว แถบเทือกเขาร็อกกี้ https://zenodo.org/record/1450038#.Y-kJdnZByt8
  3. https://www.researchgate.net/publication/233720216_Buccal_soft_anatomy_in_Lesothosaurus_Dinosauria_Ornithischia"ลักษณะและรูปแบบของกระพุ้งแก้มชั้นใน" (2551)
  4. https://svpow.com/2009/12/15/lies-damned-lies-and-clash-of-the-dinosaurs/ เวเดล, แมตต์ (15 ธันวาคม 2552)
  5. https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/03115518.2012.702531ปีเตอร์ เอ็ม. กาลตัน (2019) "A plated dinosaur (Ornithischia, Stegosauria)"