สาธารณรัฐประชาธิปไตยจอร์เจีย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยจอร์เจีย (DRG; จอร์เจีย: საქართველოს დემოკრატიული რესპუბლიკა sakartvelos demokratiuli respublika) เป็นสาธารณรัฐจอร์เจียแห่งแรกที่สถาปนาขึ้น ดำรงอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1918 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 สาธารณรัฐก่อตั้งขึ้นในช่วงระหว่างการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิรัสเซียและการประกาศเอกราชของดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก สาธารณรัฐประชาธิปไตยจอร์เจียมีการปกครองที่ตรงกันข้ามกับบอลเชวิครัสเซียอย่างสิ้นเชิง โดยเป็นระบบการเมืองหลายพรรคที่นำโดยพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมจอร์เจีย (เมนเชวิค)
สาธารณรัฐประชาธิปไตยจอร์เจีย საქართველოს დემოკრატიული რესპუბლიკა (จอร์เจีย) | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1918–1921 | |||||||||||||||
ดินแดนอ้างสิทธิ์ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยจอร์เจียและพื้นที่พิพาท | |||||||||||||||
เมืองหลวง | ติฟลิส (ปัจจุบันคือ ทบิลีซี) | ||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาทางการ จอร์เจีย | ||||||||||||||
เดมะนิม | จอร์เจีย, คาร์ทเวเลีย | ||||||||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา สาธารณรัฐโดยมีประธานาธิบดีที่มีอำนาจบริหาร | ||||||||||||||
ประธาน | |||||||||||||||
• 1918 | โน รามิชวีลี | ||||||||||||||
• 1918–1921 | โน โจร์ดาเนีย | ||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | สภาแห่งชาติจอร์เจีย (1918–1919) สภาร่างรัฐธรรมนูญจอร์เจีย (1919–1921) | ||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยระหว่างสงคราม | ||||||||||||||
• ก่อตั้ง | 26 พฤษภาคม 1918 | ||||||||||||||
11 กุมภาพันธ์ 1921 | |||||||||||||||
25 กุมภาพันธ์ 1921 | |||||||||||||||
9 เมษายน 1991 | |||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||
1918 | 75,110 ตารางกิโลเมตร (29,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||
1919 | 107,600 ตารางกิโลเมตร (41,500 ตารางไมล์) | ||||||||||||||
สกุลเงิน | มาเนตีจอร์เจีย | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน รัสเซีย ตุรกี |
ในช่วงแรกของการก่อตั้ง สาธารณรัฐมีสถานะเป็นรัฐในอารักขาของจักรวรรดิเยอรมัน อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการพ่ายแพ้ของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประเทศได้ถูกกองกำลังทหารของอังกฤษเข้ายึดครองบางส่วน ซึ่งเป็นกองกำลังทหารที่ทางการอังกฤษส่งมาเพื่อตอบโต้การรุกรานของบอลเชวิค ถึงกระนั้นกองทัพอังกฤษได้ออกจากดินแดนจอร์เจียในปี ค.ศ. 1920 อันเนื่องมาจากสนธิสัญญามอสโก ซึ่งรัสเซียได้ยอมรับอิสรภาพของจอร์เจียเพื่อแลกกับการที่สาธารณรัฐจะไม่เป็นปรปักษ์ต่อรัสเซีย[1] ในขณะนี้มหาอำนาจยุโรปตะวันตกไม่ได้เข้าแทรกแซงจอร์เจียแล้ว จึงทำให้ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 กองทัพแดงบอลเชวิคได้เข้ารุกรานประเทศจอร์เจีย นำไปสู่การพ่ายแพ้และการล่มสลายของสาธารณรัฐในเดือนมีนาคมของปีเดียวกัน และทำให้จอร์เจียกลายเป็นสาธารณรัฐโซเวียต รัฐบาลจอร์เจียที่นำโดยนายกรัฐมนตรี โน โจร์ดาเนีย ได้ลี้ภัยไปประเทศฝรั่งเศสและจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้น โดยยังคงได้รับการยอมรับจากฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, เบลเยียม, และโปแลนด์ว่าเป็นรัฐบาลจอร์เจียที่ถูกต้องตามกฎหมายจนถึงประมาณทศวรรษที่ 1930 เมื่ออำนาจของสหภาพโซเวียตและกระบวนการทางการเมืองในยุโรปเพิ่มมากขึ้น[2]
ถึงแม้ว่าสาธารณรัฐจะดำรงอยู่เพียงระยะเวลาสั้น ๆ แต่ยังคงเป็นแรงบันดาลใจสำหรับประเทศจอร์เจียยุคใหม่ เนื่องจากมรดกของประชาธิปไตยและพหุนิยม[3] สาธารณรัฐประชาธิปไตยจอร์เจียเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ของทวีปยุโรปที่ให้สิทธิสตรีในการออกเสียงลงคะแนนตามที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญของจอร์เจีย ซึ่งถือเป็น “เรื่องผิดปกติในรัฐธรรมนูญของประเทศยุโรปส่วนใหญ่ในขณะนั้น”[4] ผู้หญิงหลายคนที่มีภูมิหลังแตกต่างกันได้รับเลือกเข้ารัฐสภาจอร์เจีย[5] โดยเป็นผู้แทนของชาติพันธุ์ทั้งเก้า รวมทั้งชาวเยอรมัน, ชาวรัสเซีย, ชาวอาร์เมเนีย, ชาวอาเซอร์ไบจาน, และชาวยิวด้วย[6] สาธารณรัฐได้ส่งเสริมให้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยคุณภาพแห่งแรกของจอร์เจีย เนื่องจากทางรัฐบาลได้ตระหนักถึงความต้องการอันยาวนานตั้งแต่สมัยจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นที่ชื่นชมของปัญญาชนจอร์เจียรุ่นต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ Rayfield 2013, pp. 326–331
- ↑ Stefan Talmon (1998), Recognition of Governments in International Law, p. 289-290. Oxford University Press, ISBN 0-19-826573-5.
- ↑ Georgia Marks Centennial of the First Constitution, Civil Georgia, 2021, quote: “Georgian President Salome Zurabishvili underscored today that the first Constitution was “one of the most progressive” legal documents in Europe at that time, as it guaranteed universal suffrage, the abolition of the death penalty, fully proportional parliamentary elections, balanced governance, and free development of ethnic minorities, among others.”
- ↑ Stephen F. Jones, “The Making of Modern Georgia, 1918-2012: The First Georgian Republic and its Successors”, Routledge, 2014, p.150
- ↑ “Georgia’s First Women Lawmakers” เก็บถาวร 2021-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Georgia’s 1028 Days of Independence, Agenda, 2021
- ↑ “Georgia’s 1028 Days of Independence” เก็บถาวร 2021-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Agenda, 2021
- ↑ Lang, David Marshall (1962), A Modern History of Georgia, p. 211. London: Weidenfeld and Nicolson.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยจอร์เจีย