ภาษามิงเกรเลีย
ภาษามิงเกรเลีย (อังกฤษ: Mingrelian) หรือ ภาษาเมเกรเลีย (อังกฤษ: Megrelian; მარგალური ნინა, margaluri nina) เป็นภาษาที่ใช้พูดทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจอร์เจีย ภาษานี้เคยเรียกว่าภาษาไอเวอเรียนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25
ภาษามิงเกรเลีย | |
---|---|
მარგალური ნინა | |
ประเทศที่มีการพูด | จอร์เจีย |
ภูมิภาค | ซาเมเกรลอ, อับฮาเซีย, กูรีอา, อีเมเรที |
ชาติพันธุ์ | จอร์เจีย |
จำนวนผู้พูด | 344,000 คน (2558)[1] |
ตระกูลภาษา | คาร์ตวีเลียน
|
ระบบการเขียน | อักษรจอร์เจีย |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | xmf |
ทางยูเนสโกจัดให้ภาษานี้อยู่ใน "ภาษาใกล้สูญแน่นอน"[2]
ประวัติศาสตร์
แก้ภาษามิงเกรเลียอยู่ในกลุ่มภาษาคอเคซัสใต้ ใกล้เคียงกับภาษาลาซ ซึ่งเริ่มแตกต่างกันเมื่อราว 500 ปีที่ผ่านมา หลังจากชุมชนของชาวมิงเกรเลียทางเหนือและชาวลาซทางใต้ ถูกแยกออกจากกันเนื่องจากการรุกรานของตุรกี ใกล้เคียงกับภาษาจอร์เจียน้อยและห่างไกลจากภาษาสวาน ภาษามิงเกรเลียไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษาในกลุ่มเดียวกันเลย แม้จะมีการกล่าวว่าผู้พูดภาษานี้ยังจำคำศัพท์ภาษาลาซได้บ้าง นักภาษาศาสตร์บางคนจัดให้ภาษามิงเกรเลียและภาษาลาซเป็นสำเนียงของภาษาซันซึ่งเป็นภาษาก่อนที่จะแยกออกจากกัน ในทางปฏิบัติ ไม่มีใครพูดภาษาซานแล้ว ผู้พูดภาษามิงเกรเลียยังมีอยู่ราว 100,000–400,000 คน
หนังสือภาษามิงเกรเลียเก่าสุดตีพิมพ์ในพุทธศตวรรษที่ 24 หนังสือพิมพ์ภาษามิงเกรเลียเริ่มตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2473–2481 ปัจจุบันมีการพยายามฟื้นฟูการใช้ภาษานี้ เช่นมีการสร้างพจนานุกรมมิงเกรเลีย–จอร์เจีย และมิงเกรเลีย–เยอรมัน
พยัญชนะ
แก้ภาษามิงเกรเลียเขียนด้วยอักษรจอร์เจีย
จอร์เจีย | ทับศัพท์ | สัทอักษรสากล |
---|---|---|
ა | a | ɑ |
ბ | b | b |
გ | g | ɡ |
დ | d | d |
ე | e | ɛ |
ვ | v | v |
ზ | z | z |
თ | t | t |
ი | i | i |
კ | ǩ | kʼ |
ლ | l | l |
მ | m | m |
ნ | n | n |
ჲ | y | j |
ო | o | ɔ |
პ | p̌ | pʼ |
ჟ | ⱬ | ʒ |
რ | r | r |
ს | s | s |
ტ | t̆ | tʼ |
უ | u | u |
ჷ | ƨ | ə |
ფ | p | p |
ქ | k | k |
ღ | ɣ | ɣ |
ყ | q' | qʼ |
ჸ | ꞇ | ʔ |
შ | ş | ʃ |
ჩ | ç | t͡ʃ |
ც | ts / ʒ | t͡s |
ძ | ž | d͡z |
წ | tz / ǯ | t͡sʼ |
ჭ | ç̌ | t͡ʃʼ |
ხ | x | x |
ჯ | j | d͡ʒ |
ჰ | h | h |
อ้างอิง
แก้- ↑ ภาษามิงเกรเลีย ที่ Ethnologue (19th ed., 2016)
- ↑ "UNESCO Atlas of the World's Languages in Danger". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 4 April 2018.
- Aleksandre Tsagareli (1880), Megrelskie Etiudi, Analiz Fonetiki Megrelskogo Yazika ("Megrelian Studies — The Analysis of Phonetics of Megrelian Language"). (ในภาษารัสเซีย)
- Ioseb Kipshidze (1914), Grammatika Mingrel’skogo (Iverskogo) Jazyka ("Grammar of Megrelian (Iverian) Language"). (ในภาษารัสเซีย)
- Shalva Beridze (1920), Megruli (Iveriuli) Ena ("Megrelian (Iverian) Language"). (ในภาษาจอร์เจีย)
- Rusudan Amirejibi-Mullen, Nana Danelia and Inga Dundua (2006), kolkhuri (megrul-lazuri) ena (Tbilisi: Universali).
- Laurence Broers (2012),"'Two Sons of One Mother'. Nested Identities and Centre-Periphery Politics in Post-Soviet Georgia". In Andreas Schonle, Olga Makarova and Jeremy Hicks (eds.), When the Elephant Broke Out of the Zoo. A Festschrift for Donald Rayfield (Stanford Slavic Studies, Volume 39).
- Otar Kajaia (2001-2002), Georgian-Mingrelian dictionary.
- Alio Kobalia (2010), Georgian-Mingrelian dictionary.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- TITUS Caucasica: Megrelisch (ในภาษาเยอรมัน)
- Otar Kajaia's Megrelian-Georgian dictionary at TITUS.
- Megrelian Project at Lund University, Sweden
- Article on the situation in 2017 เก็บถาวร 2018-09-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from OpenDemocracy