การปฏิวัติรัสเซีย

การปฏิวัติที่เกิดในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่นำไปสู่การล่มสลายของราชาธิปไตยรัสเซีย

การปฏิวัติรัสเซีย[a] หรือ การปฏิวัติ ค.ศ. 1917[b] (ค.ศ. 1917 – 1923) เป็นช่วงเวลาของการปฏิวัติทางการเมืองและทางสังคม ที่เกิดขึ้นบนอดีตจักรวรรดิรัสเซียเดิม และเริ่มต้นขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งเริ่มต้นใน ค.ศ. 1917 ด้วยการล่มสลายของราชวงศ์โรมานอฟ และสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1923 โดยการสถาปนาสหภาพโซเวียตโดยบอลเชวิค (เมื่อสงครามกลางเมืองรัสเซียสิ้นสุดลง) การปฏิวัติรัสเซียเกิดขึ้น 2 ครั้ง คือ การปฏิวัติครั้งแรกเป็นการล้มล้างรัฐบาลจักรวรรดิที่นำโดยจักรพรรดินีโคไลที่ 2 และการปฏิวัติครั้งที่สอง เป็นการล้มล้างอำนาจของรัฐบาลเฉพาะกาลและแทนที่ด้วยอำนาจของบอลเชวิค

การปฏิวัติรัสเซีย
ส่วนหนึ่งของการต่อต้านสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
และการปฏิวัติ ค.ศ. 1917–1923
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย:
ชื่อพื้นเมือง Революция 1917-го
(การปฏิวัติ ค.ศ. 1917)
วันที่8 มีนาคม ค.ศ. 1917 – 16 มิถุนายน ค.ศ. 1923
(6 ปี 3 เดือน และ 8 วัน)
ระยะเวลา
ที่ตั้งอดีตจักรวรรดิรัสเซีย
ผู้เข้าร่วม
ผล

การปฏิวัติรัสเซียเริ่มต้นขึ้นด้วยการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ การปฏิวัติครั้งแรกมุ่งเน้นไปที่ภายในเมืองหลวงเปโตรกราด[c] และบริเวณโดยรอบ ภายหลังเกิดการสูญเสียทางทหารครั้งใหญ่ระหว่างช่วงสงคราม ซึ่งทำให้กองทัพบกรัสเซียได้เปลี่ยนสภาพกลับไปเป็นการก่อกบฎ รัฐสภารัสเซีย (หรือที่เรียกว่าดูมา) จึงได้ทำการตอบโต้ด้วยการเข้าควบคุมประเทศ และจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลรัสเซียต่อไป รัฐบาลเฉพาะกาลรัสเซียถูกครอบงำไปด้วยผลประโยชน์ของนายทุนอันโดดเด่น เช่นเดียวกับขุนนางและชนชั้นสูงของรัสเซีย

ชนวนเหตุ แก้

การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ (เดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 ตามปฏิทินเกรโกเรียน) เป็นการปฏิวัติในเฉพาะบริเวณนครเปโตรกราด (ปัจจุบัน: เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก) ภายใต้ภาวะความวุ่นวายนั้นเอง สมาชิกรัฐสภาหลวงดูมาถือโอกาสเข้ายึดอำนาจการบริหารประเทศและจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้น เหล่าผู้นำกองทัพต่างรู้สึกว่าความพยายามปราบปรามการจลาจลของตนนั้นไร้ผล และพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 พระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียองค์สุดท้ายก็ทำการสละราชสมบัติ ในตอนแรกเริ่ม พวกโซเวียต (สภาแรงงาน) ซึ่งนำโดยพวกสังคมนิยมหัวรุนแรงอนุญาตให้รัฐบาลเฉพาะกาลเข้าบริหารประเทศ แต่ยืนยันให้พวกตนได้รับอภิสิทธิ์ในการแทรกแซงรัฐบาลและควบคุมกองกำลังต่าง ๆ มากมาย กล่าวได้ว่าการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์เกิดขึ้นในบริบทของความพ่ายแพ้ทางทหารอย่างหนักในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2457 - 2461) ซึ่งทำให้กองทัพส่วนมากอยู่ในสภาพของการก่อกบฏ

ช่วงเวลาของ อำนาจคู่ (Dual power) จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลเฉพาะกาลครอบครองอำนาจรัฐ ขณะที่เครือข่ายโซเวียตแห่งชาติซึ่งนำโดยพวกสังคมนิยมก็ได้รับการสวามิภักดิ์จากเหล่าชนชั้นล่างและพวกฝ่ายซ้าย และตลอดช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายนี้มีการก่อกบฏ, ประท้วง และนัดหยุดงานมากมายหลายครั้ง ต่อมารัฐบาลเฉพาะกาลตัดสินใจที่จะยังคงทำสงครามกับเยอรมนีต่อไป ส่งผลให้พวกบอลเชวิกและนักสังคมนิยมกลุ่มต่าง ๆ เริ่มออกมารณรงค์ให้ยุติการสู้รบกับเยอรมนี บอลเชวิกได้ทำการเปลี่ยนกองกำลังจากชนชั้นแรงงานให้ไปเป็น เรดการ์ด ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นกองทัพแดง และกองกำลังนี้เองที่บอลเชวิกควบคุมเอาใจใส่อย่างมีนัยสำคัญ[1]

ถัดมาในการปฏิวัติเดือนตุลาคม (เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ตามปฏิทินเกรโกเรียน) พรรคบอลเชวิกภายใต้การนำของวลาดีมีร์ เลนินและเหล่าชนชั้นแรงงานโซเวียตเข้าล้มล้างการปกครองของรัฐบาลเฉพาะกาล ณ กรุงเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก พวกบอลเชวิกแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นผู้นำในกระทรวงต่าง ๆ มากมายรวมไปถึงการเข้ายึดอำนาจตามชนบทต่าง ๆ จัดตั้งหน่วย เชกา เพื่อปราบปรามการต่อต้านการปฏิวัติ และเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการยุติสงครามกับเยอรมนี บอลเชวิกได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์กับเยอรมนีในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2461

หลังจากสิ้นสุด แก้

สงครามกลางเมืองอุบัติขึ้นระหว่าง กองทัพแดง (ฝ่ายบอลเชวิก) กับ กองทัพขาว (ฝ่ายต่อต้านบอลเชวิก) ซึ่งดำเนินไปหลายปี แต่ในท้ายที่สุดแล้วกองทัพแดงของฝ่ายบอลเชวิกก็มีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือฝ่ายกองทัพขาว และการสิ้นสุดลงของระลอกการปฏิวัตินี้เองที่ปูทางรัสเซียให้เขาสู่ยุคของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต แม้ว่าเหตุการณ์หลักทางประวัติศาสตร์ส่วนมากจะเกิดขึ้นในกรุงเซนต์ปีเตอส์เบิร์กและกรุงมอสโก แต่ก็ยังคงสามารถพบเห็นการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ตลอดช่วงของการปฏิวัติได้ในแถบชนบทและหมู่บ้านทั่วประเทศ รวมไปถึงชนกลุ่มน้อยและบริเวณทุรกันดาร ที่ซึ่งชาวนาและทาสเข้ายึดที่ดินทำกินจากชนชั้นขุนนางแล้วแจกจ่ายปันส่วนให้แก่ตนเองใหม่

หมายเหตุ แก้

  1. รัสเซีย: Русская революция, อักษรโรมัน: Russkaya revolyutsiya, สัทอักษรสากล: [ˈruskəjə rʲɪvɐlˈʲutsɨjə]
  2. รัสเซีย: Революция 1917 года, อักษรโรมัน: Revolyutsiya 1917 goda
  3. ในปัจจุบันคือเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก

อ้างอิง แก้

  1. Orlando Figes, A Peoples Tragedy, p370