สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี (4 ธันวาคม พ.ศ. 2429 – 29 มกราคม พ.ศ. 2479 นับปีปัจจุบัน) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 60 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้นโท
กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
ประสูติ4 ธันวาคม พ.ศ. 2429
พระบรมมหาราชวัง ราชอาณาจักรสยาม
สิ้นพระชนม์29 มกราคม พ.ศ. 2479 (49 ปี)
ตำหนักประเสบันบันดุง ดัตซ์ตะวันออก
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

พระประวัติ แก้

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี เป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เมื่อวันเสาร์ ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2429 เมื่อแรกประสูติมีพระนามว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้านิภานภดล"

เมื่อปี พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอขึ้นเป็นเจ้าฟ้า[1] ดังนั้น พระองค์จึงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล" หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามาภิไธยสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี"[2] หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี"[3] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสเรียกพระองค์ว่า "หญิงเล็กนิภา" และชาววังเรียกพระองค์ว่า "สมเด็จหญิงน้อย"

พระองค์มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดาเดียวกัน 3 พระองค์ ซึ่งมีพระนามที่คล้องจองกัน ได้แก่

  1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
  2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา
  3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา

หลังจากมีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ซึ่งในขณะนั้นถือได้ว่าพระองค์ทรงอยู่เพียงลำพังพระองค์เดียว เนื่องจากพระมารดา พระเชษฐา และพระเชษฐภคินีต่างสิ้นพระชนม์ลงหมด พระองค์จึงตัดสินพระทัยเสด็จออกไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย พร้อมกับครอบครัวของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา[4] และสิ้นพระชนม์ที่นั่น เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2479 นับปีแบบปัจจุบัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2480 ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส[5]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงพระองค์ไว้ในคำนิยามพระนิพนธ์เรื่อง เที่ยวเมืองพม่า ว่า “น่ารักน่าชม สมกับเป็นเจ้าฟ้า” พร้อมทั้งทรงสรรเสริญว่า “ทรงพระคุณอย่างเป็นขัติยนารีแท้ทุกสถาน ทรงพิสูจน์ให้ปรากฏแล้ว ทั้งในเวลาที่มีความสุข และในเวลาได้รับความทุกข์ยาก สมควรกับที่ทรงสร้อยพระนามกรมว่า “ขัติยนารี” เป็นอนุสรณ์อยู่กับพระนามตลอดไป[6]

พระกรณียกิจ แก้

 
สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนภดารา (ซ้าย) และสมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล (ขวา)

พระองค์เป็นพระราชธิดาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงไว้วางพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง ได้รับการโปรดเกล้าให้รับราชการในหน้าที่ราชเลขานุการิณีและเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2450 ก็ได้มีพระราชหัตถเลขากลับมาสู่ประเทศไทย ถึงพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้เพื่อทรงเล่าเรื่องการเสด็จอย่างละเอียดลออ (ทำให้เกิดหนังสือรวบรวมพระราชหัตถเลขาเหล่านั้นว่า ชื่อว่า ไกลบ้าน)[7]

พระองค์ทรงร่วมกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา พระโสทรเชษฐภคินี บริจาคทุนทรัพย์สร้างเครื่องใช้สำหรับ "ตึกเยาวมาลย์อุทิศ" โรงเรียนเทพศิรินทร์ นอกจากนี้ เนื่องในโอกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชันษาได้ 28 ปี เสมอด้วยพระชนมพรรษาของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก พระองค์ได้ทรงสร้าง "ตึกนิภานภดล" ถวายแก่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร สำหรับเป็นโรงเรียนสอนปริยัติธรรมเพื่ออุทิศพระกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี[8]

นอกจากนี้พระชนนีของพระองค์ยังทรงสร้างโรงเรียนนิภาคารขึ้นในพระตำหนักวังสวนสุนันทา ถือเป็นสถาบันศึกษานอกระบบแห่งแรกของไทย เมื่อปี พ.ศ. 2467[9] เพื่อชุบเลี้ยงเด็กและข้าหลวงให้มีการศึกษาที่ดีขึ้น[10] หลังพระมารดาสิ้นพระชนม์ พระองค์จึงเป็นทั้งผู้อำนวยการและพระอาจารย์ มีการจ้างครูชาวไทยและฝรั่งมาช่วยสอน[11] ครั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เจ้านายได้หนีราชภัยไปต่างประเทศบ้างต่างเมืองบ้าง โรงเรียนนิภาคารจึงยุบเลิกโดยปริยาย[9]

พระเกียรติยศ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ แก้

  • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้านิภานภดล (4 ธันวาคม พ.ศ. 2429 – พ.ศ. 2431)
  • พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล (พ.ศ. 2431 – 8 มกราคม พ.ศ. 2441)
  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี (8 มกราคม พ.ศ. 2441 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
  • สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 – 29 มกราคม พ.ศ. 2479)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า มีพระบรมราชโองการสั่งให้สถาปนา พระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีมาศ และพระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย ขึ้นเป็น พระองค์เจ้า และสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ และเจ้าฟ้า, เล่ม ๕, ตอน ๘, ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๑๘๘๘, หน้า ๖๑
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ในการพระราชทานพระสุพรรณบัตร เก็บถาวร 2012-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๕, ตอน ๔๒, ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๑๘๙๙, หน้า ๔๔๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรมตั้งกรม และตั้งเจ้าพระยา เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ก, ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๒๑๖
  4. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, “น่ารักน่าชม สมกับเป็นเจ้าฟ้า” เก็บถาวร 2011-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2533, ปีที่ 49, ประจำวันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2546
  5. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๑๔/๒๔๗๙ พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๙, เล่มที่ 53, ตอน ๐ ง, 17 มกราคม พ.ศ. 2479, หน้า 2631
  6. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, พนักงานห้องพระบรรทม[ลิงก์เสีย], สกุลไทย, ฉบับที่ 2413, ปีที่ 47, ประจำวันอังคารที่ 16 มกราคม 2544
  7. “๑๐๐ ปี ไกลบ้าน ตามเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง” เก็บถาวร 2008-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เว็บไซต์ ThaiPBS
  8. สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี[ลิงก์เสีย]
  9. 9.0 9.1 ธนพร หมู่เจริญทรัพย์ (16 กันยายน 2554). "๗๕ ปี แห่งความทรงจำใน "กำแพงแดง"". สุนันทานิวส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-07. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 97. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-10-25.
  11. "ประวัติโรงเรียน". โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในพระอุปถัมภ์ฯ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 15 (ตอน 42): หน้า 443. 15 มกราคม ร.ศ. 117. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  13. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 39 (ตอน 0 ง): หน้า 3194. 29 มกราคม พ.ศ. 2464. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  14. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 13 (ตอน 34): หน้า 422. 22 พฤศจิกายน ร.ศ. 115. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  15. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 39): หน้า 1153. 27 ธันวาคม ร.ศ. 127. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  16. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 29 (ตอน 0 ง): หน้า 2444. 22 มกราคม ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 43 (ตอน 0 ง): หน้า 3115. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)