วงศ์ชะมดและอีเห็น
วงศ์ชะมดและอีเห็น ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 34–0Ma สมัยอีโอซีน-ปัจจุบัน | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Viverridae Gray, 1821 |
สกุล | |
|
ชะมดและอีเห็น เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง
การจำแนก
แก้จัดในวงศ์ Viverridae แบ่งออกได้ทั้งหมด 35 ชนิด
Viverridae |
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลักษณะ
แก้โดยมากเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างเพรียว หน้าแหลมยาวเหมือนสุนัข ขนสีเทาหรือน้ำตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง มีชุดฟันที่แหลมคม เขียนเป็นสูตรได้ว่า อุ้งตีนสามารถเก็บซ่อนเล็บได้เหมือนแมว ที่สำคัญเป็นสัตว์ที่มีต่อมผลิตกลิ่นแรงใกล้อวัยวะเพศเกือบทุกชนิด ซึ่งกลิ่นนี้เองใช้เป็นเครื่องประกาศอาณาเขต ใช้ป้องกันตนเองและสื่อสารระหว่างกัน
เป็นสัตว์ที่มักไม่ปรากฏรอยเท้า เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีลำตัวเบา และหลายชนิดก็หากินบนต้นไม้เป็นหลัก ยกเว้นพวกที่มีขนาดใหญ่และหากินใกล้แหล่งน้ำ จะปรากฏชัดเจน โดยรอยเท้าหน้าจะมีลักษณะกลมและกว้าง ขณะที่รอยเท้าหลังจะยาวและแคบ แต่เมื่อวัดโดยรอบแล้วรอยเท้าหลังจะมีขนาดใหญ่กว่ารอยเท้าหน้า[1]
แหล่งอาศัยและอาหาร
แก้เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้หลากหลายชนิดทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็ก อาศัยอยู่ได้ในป่าหลากหลายประเภท ทั้งป่าดิบ ป่าเสื่อมโทรมและแม้แต่พื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ ปีนต้นไม้ได้เก่ง และในบางชนิดสามารถว่ายน้ำและดำน้ำเพื่อหาสัตว์น้ำกินเป็นอาหารได้อีกด้วย เป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยอยู่กันเป็นฝูงหรือเป็นคู่ ปกติจะหากินเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือเลี้ยงลูกอ่อน อาจอยู่เป็นคู่
ถื่นอาศัย
แก้เป็นสัตว์ที่กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรปใต้ สำหรับในประเทศไทยพบ 11 ชนิด ได้แก่[2]
- ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha)
- ชะมดแผงสันหางดำ (V. megaspila)
- ชะมดเช็ด (Viverricula indica)
- ชะมดแปลงลายจุด (Prionodon pardicolor)
- ชะมดแปลงลายแถบ (P. linsang)
- อีเห็นหน้าขาว (Arctogalidia trivirgata)
- อีเห็นเครือ (Paguma larvata)
- อีเห็นข้างลาย (Paradoxurus hermaphroditus)
- อีเห็นน้ำ (Cynogale bennettii)
- อีเห็นลายเสือโคร่ง (Hemigalus derbyanus)
- หมีขอ (Arctictis binturong)
โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบคือ หมีขอ และเล็กที่สุดคือ ชะมดเช็ด มีความสำคัญต่อมนุษย์คือ ใช้เนื้อกินเป็นอาหารสำหรับคนที่อยู่แถบชายป่า และใช้กลิ่นที่ชะมดผลิตออกมานี้ทำเป็นยาจำพวกสมุนไพรและเครื่องหอม โดยเฉพาะชะมดเช็ด ถึงกับมีการเลี้ยงกันเพื่อเอากลิ่นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
ในประเทศอินโดนีเซียนิยมให้ชะมดที่อยู่ในสกุล Paradoxurus กินเมล็ดกาแฟที่ชาวไร่ปลูก เพื่อรอเมล็ดที่ปะปนมากับมูลของมันไปแปรรูปเป็นกาแฟสำเร็จรูปที่มีรสชาติหอมหวานกว่าเดิม เนื่องจากในท้องของชะมดนั้นเมล็ดกาแฟจะผสมกับเอ็นไซม์และสารเคมีที่อยู่ในกระบวนการย่อยของมัน ทำให้กาแฟมีกลิ่นและลักษณะเฉพาะ เรียกว่า "กาแฟขี้ชะมด" และในประเทศเวียดนามก็นิยมทำเช่นนี้เช่นเดียวกัน[3] [4] [5]
ชื่อสามัญในภาษาอีสานเรียกว่า "เห็นอ้ม" ในภาษาใต้เรียกว่า "มูสัง" และในภาษามลายูและชวาเรียกว่า "ลินเส็ง"[6]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ หน้า 204, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. 256 หน้า โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย (กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543) ISBN 974-87081-5-2
- ↑ ชะมดและอีเห็น[ลิงก์เสีย]
- ↑ "กาแฟขี้ชะมด สุดยอดแห่งรสชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-24. สืบค้นเมื่อ 2009-01-20.
- ↑ "ชะมดเช็ด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-10. สืบค้นเมื่อ 2009-01-20.
- ↑ [https://web.archive.org/web/20130505044134/http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9520000003482 เก็บถาวร 2013-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "กาแฟขี้เพียงพอน" สินค้าราคาแพงจากเวียดนาม จากผู้จัดการออนไลน์]
- ↑ หน้า 124 และ 136-139, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)