รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

บทความนี้รวบรวมรายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบันปรับรูปแบบการประกอบธุรกิจจากบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจทั่วไป เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น โดยไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญเป็นของตนเอง แต่ดำเนินกิจการผ่านบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่ประกอบธุรกิจหลัก ปัจจุบันจำแนกธุรกิจหลักออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจเพลง, ธุรกิจสื่อ และธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง นอกจากนี้ยังมีธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นธุรกิจหลัก เช่น ธุรกิจภาพยนตร์ ธุรกิจสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และอื่น ๆ[1]

ธุรกิจเพลง

แก้

ธุรกิจเพลงและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเพลง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นผู้ครองตลาดเพลงเป็นอันดับ 1 ของตลาดเพลงในประเทศไทย (ร้อยละ 70)[2] ภายใต้โมเดล “การให้บริการเพลงแบบครบวงจร” (Total Music Business) ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจสินค้าเพลง และลิขสิทธิ์ ธุรกิจดิจิตอล คอนเทนต์ ธุรกิจโชว์บิซ และธุรกิจบริหารศิลปิน มีบทเพลงที่ถูกสร้างสรรค์โดยแกรมมี่มาแล้วมากกว่า 198,327 เพลง ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับโอนธุรกิจเพลงมาจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 และปัจจุบันเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในปัจจุบันของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซึ่งมีแผนจะดำเนินการระดมทุนสาธารณะโดยการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในอนาคต บริหารงานโดย ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

ค่ายเพลง

แก้

ค่ายเพลงที่ยังมีผลงานในปัจจุบัน

ลำดับ ชื่อศิลปิน
1 Bodyslam
2 Potato
3 Retrospect
4 Num Kala
5 Bank Preeti
6 Paradox
7 Sweet Mullet
8 พลพล
9 Big ass
10 Instinct
11 Klear
12 Labanoon
14 Boy Peacemaker
15 Kwang AB Normal
16 Pun Basher
17 Yes'sir Days
18 Palmy
19 Lomosonic
20 Fukfang No More Tear
21 Paper Planes
22 Joey Phuwasit
23 Bomb at Track
24 The White Hair Cut
25 The Whitest Crow
26 Uefa Hari
27 Tippsy
28 Fool Step
29 พั้นช์ วรกาญจน์
30 Wallrollers
31 New Travelers
32 Clockwork Motionless
33 ขมิ้น กิ่งศักดิ์
ลำดับ ชื่อศิลปิน
1 อ๊อฟ ปองศักดิ์
2 ลุลา
3 นิว จิ๋ว
4 Getsunova
5 เป๊ก ผลิตโชค
6 เบล สุพล
7 ชนกันต์ รัตนอุดม
8 มิ้นท์ ภัทรศยา
9 โอปอ ประพุทธ์
10 แพรว คณิตกุล
11 อาย ญาณิน
12 เดือน จงมั่นคง
13 เหวยเหวย ฮัน
14 ชิษณุชา ตันติเมธ
15 ธนชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล
ลำดับ ชื่อศิลปิน
1 Cocktail
2 Three Man Down
3 Tilly Birds
4 TaitosmitH
5 The Darkest Romance
6 Commander
7 Pang Pattanan
8 20Hz
9 Tiger Killer
10 ASIA7
11 Only Monday
12 Tryst
13 HYE
14 Gaikai
15 Hard Boy
16 Adora
17 Kong Huayrai
ลำดับ ชื่อศิลปิน
1 จีด้า MBO (Hi-U)
2 ภีม MBO
3 ก็อต MBO
4 ตอง MBO
5 แพม MBO
6 เอ็มม่า MBO
7 นินน่า MBO
8 จีน่าดี MBO
9 แบม แบม MBO
10 นุ่น MBO (Hi-U)
11 ริซซ่า MBO (Hi-U)
12 พอล MBO
13 เจ MBO
14 จั๋ง MBO
15 จีมิน MBO
16 โฟล์ค MBO
17 ฟอซ MBO
ลำดับ ชื่อศิลปิน
1 สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว
2 นภัทร อินทร์ใจเอื้อ
3 ภาคิน คำวิลัยศักดิ์
4 เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช
5 วิชญาณี เปียกลิ่น
6 จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม
7 ยุทธนา เปื้องกลาง
8 ธนทัต ชัยอรรถ
9 กรณ์ ศิริสรณ์
10 วราวุธ โพธิ์ยิ้ม
11 กฤษกร กนกธร
12 รวิสรารัตน์ พิบูลภานุวัธน
13 กฤษฎา จันทร์ดี
14 ธนภัทร กาวิละ
15 รชตะ หัมพานนท์
16 อธิภัทร ณ สงขลา
17 โชคชัย หมู่มาก
18 สรวีย์ ธนพูนหิรัญ
19 วศิน พรพงศา
20 ทิพย์รมิดา พันตาวงษ์รบิล
21 ภูมิ แก้วฟ้าเจริญ
22 ธนเดช โอภาสธัญกร
23 กนิษฐา ศรีลุปะบาต
24 อลิสา ขุนแขวง
25 กุลกรณ์พัชร์ โพธิ์ทองนาค
26 สหรัฐ เทียมปาน
27 พงศ์รชตะ ไชยศิวามงคล
28 ฟาติมา เดชะวลีกุล
29 เจตพล กนิษฐชาต
30 ญาณาธิป ใจจุล
31 ธนากรณ์ ญาติกลาง
32 ปุญญาดา ผาณิตพจมาน
33 โสมวิมาลา ณ อุบล
34 พิทยา แซ่ฉั่ว
35 กันตภณ จินดาทวีผล
36 ณรกร ณิชกุลธนโชติ
37 บูลเศรษฐ์ ภูสินโชควงศา
38 ธยศทรณ์ ไวยฉัยยา
39 ธงไชย แมคอินไตย์
40 ปฏิภาณ ปฐวีกานต์
41 ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง
42 ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี
43 ใหม่ เจริญปุระ
44 คริสติน่า อากีล่าร์
45 ชวิน จิตรสมบูรณ์
46 สุรชัย วงษ์บัวขาว
47 เจตริน วรรธนะสิน
48 ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล
49 ธีรภัทร์ สัจจกุล
50 สำราญ ช่วยจำแนก
51 จิระศักดิ์ ปานพุ่ม
52 อัมรินทร์ นิติพน
53 สุธาสินี พุทธินันทน์
54 ทาทา ยัง
55 นิโคล เทริโอ
56 ภัครมัย โปตระนันทน์
57 เสาวลักษณ์ ลีละบุตร
58 สุนิตา ลีติกุล
ลำดับ ชื่อศิลปิน
1 ภูริกูลกฤษฎ์ ชูศักดิ์สกุลวิบูล
2 วันธงชัย อินทรวัตร
3 จิรกิตติ์ ถาวรวงศ์
4 วรนิษฐ์ ถาวรวงศ์
5 อิชิคาว่า พลาวเด้น
6 จุมพล อดุลกิตติพร
7 อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์
8 วชิรวิชญ์ ชีวอารี
9 เมธวิน โอภาสเอี่ยมขจร
10 กรภัทร์ เกิดพันธุ์
11 ตะวัน วิหครัตน์
12 ฐิติภูมิ เตชะอภัยคุณ
13 Olives
14 ชีรณัฐ ยูสานนท์
15 ปุริม รัตนเรืองวัฒนา
16 ชัชชวิศ เตชะรักษ์พงศ์
17 ชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์
18 วีรยุทธ จันทร์สุข
19 พีรวัส แสงโพธิรัตน์
20 ปราชญา เรืองโรจน์
21 สรัลชนา อภิสมัยมงคล
22 หฤษฎ์ ชีวการุณ
23 พัทธดนย์ จันทร์เงิน
24 ภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืน
25 ฐานัฐพ์ โล่ห์คุณสมบัติ
26 ธณวิน ธีรโพสุการ
27 SIZZY
28 กวิน แคสกี้
29 เวอาห์ แสงเงิน
30 LYKN
31 นรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์
32 ณัฐวรรธน์ จิโรจน์ธิกุล
ลำดับ ชื่อศิลปิน
1 มาช่า วัฒนพานิช
2 นันทิดา แก้วบัวสาย
3 ธีรนัยน์ ณ หนองคาย
4 ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์
5 ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว
6 อำพล ลำพูน
7 นูโว
8 ไท ธนาวุฒิ
9 สุรสีห์ อิทธิกุล
10 ศักดา พัทธสีมา
11 เกษม วงศ์สรรคกร
12 ระหัส ราชคำ
ลำดับ ชื่อศิลปิน
1 สลา คุณวุฒิ
2 ศิริพร อำไพพงษ์
3 ไมค์ ภิรมย์พร
4 ไผ่ พงศธร
5 ต่าย อรทัย
6 มนต์แคน แก่นคูน
7 เบลล์ นิภาดา
8 เสถียร ทำมือ
9 เอิร์น สุรัตน์ติกานต์
10 เอิ้นขวัญ วรัญญา
11 รัชนก ศรีโลพันธุ์
12 ไม้เมือง
13 แสน นากา
14 แช่ม แช่มรัมย์
15 ดอกอ้อ ทุ่งทอง
16 ก้านตอง ทุ่งเงิน
17 ข้าวทิพย์ ธิดาดิน
18 หญิงลี ศรีจุมพล
19 เปาวลี พรพิมล
20 เต๋า ภูศิลป์
21 ลำยอง หนองหินห่าว
22 มิ้วส์ อรภัสญาน์
23 มีนตรา อินทิรา
24 เล้ง ศรัณยกันย์
25 อิสร์ อิสรพงศ์
26 เจมส์ จตุรงค์
27 ตรี ชัยณรงค์
28 ส้ม พฤกษา
29 เน็ค นฤพล
30 ลำเพลิน วงศกร
31 เวียง นฤมล
32 เบียร์ พร้อมพงษ์
33 ฮาย ชุติมา
34 แป้งร่ำ ศิวนารี
35 แทนไท
36 แพ็กกี้ สกลนรี
37 ศรัณยู วินัยพานิช
ลำดับ ชื่อศิลปิน
1 PERSES
2 TIGGER
3 VIIS

บริษัทจัดจำหน่าย

แก้
  • GRAMMY BIG
    • GMM SHOPS

ในอดีต

แก้

บริษัทบริหารลิขสิทธิ์

แก้

บริษัทจัดการแสดงและคอนเสิร์ต

แก้

งานบริหารศิลปิน

แก้

ธุรกิจสื่อ

แก้

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นหนึ่งในบริษัทสื่อครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่ปัจจุบันได้แยกกลุ่มธุรกิจสื่อ โทรทัศน์ และวิทยุ ไปอยู่ภายใต้การบริหารของกิจการร่วมค้า บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) เป็นหลัก โดยมีการบริหารดังนี้

กลุ่มธุรกิจของกิจการร่วมค้า

แก้

บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทบริหารสถานีโทรทัศน์ ผลิตสื่อ และบริหารนักแสดง โดยมีผู้บริหารหลักคือ บอย - ถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี เทรดดิง จำกัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2556 โดยบริษัทถือหุ้นจดทะเบียน 100% เพื่อส่งบริษัทย่อยเข้าร่วมการประมูลโทรทัศน์ระบบดิจิทัล หลังประมูลและโทรทัศน์ช่องดังกล่าวเริ่มออกอากาศในปี พ.ศ. 2557 บริษัทฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิง จำกัด จากนั้นในปลายปีเดียวกัน ได้จำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 49% ให้บอยและกลุ่มของบอยร่วมลงทุน และบอยได้โอนธุรกิจโทรทัศน์ของบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และบริษัท ซีเนริโอ จำกัด ออกจากจีเอ็มเอ็ม มีเดีย มารวมเข้ากับ จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิง เพื่อความสะดวกในการบริหาร รวมถึงต่อมายังเข้าซื้อบริษัท มีมิติ จำกัด จากจีเอ็มเอ็มทีวี และบริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด จากเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอด้วย ภายหลัง จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ในปี พ.ศ. 2558 ต่อมาได้ และได้เข้าซื้อบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทในปลายปี พ.ศ. 2563 จนกระทั่งแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เพื่อดำเนินการระดมทุนสาธารณะโดยการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2564

ปัจจุบัน เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รายใหญ่ที่สุด ตอบโจทย์ทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อป้อนให้กับช่องวัน 31 และจีเอ็มเอ็ม 25 เป็นหลัก รวมถึงโทรทัศน์ช่องอื่น ๆ สถานีวิทยุในเครือ และช่องทางออนไลน์ทุกช่องทาง โดยบริษัทฯ ประกอบธุรกิจหลัก 4 ธุรกิจ รวมถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ดังนี้

ธุรกิจโทรทัศน์

แก้

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้เข้าร่วมประมูลใบอนุญาตประกอบการสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง (High Definition : HD) บริหารงานโดย บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ในเครือเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ภายใต้ชื่อ ช่องวัน 31 (อังกฤษ: one31) และตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ โดยจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง ยังได้รับสิทธิ์ในการเป็นตัวแทนการตลาดและดูแลลิขสิทธิ์รายการโทรทัศน์ของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 จากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ผ่านจีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง เพื่อตอบสนองทุกกลุ่มเป้าหมาย

ธุรกิจวิทยุ

แก้

บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการสถานีวิทยุในเครือ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท เอไทม์ มีเดีย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิตรายการวิทยุ และ บริษัท เรดิโอ คอนเซ็ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตสปอตโฆษณาวิทยุ โดยปัจจุบันมีสถานีวิทยุดังต่อไปนี้

ธุรกิจรับจ้างผลิตรายการ

แก้

เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ยังประกอบกิจการรับจ้างผลิตรายการให้กับบุคคลภายนอกตามความต้องการ ทั้งช่องทางโทรทัศน์ของกลุ่มพันธมิตร เช่น ไทยรัฐทีวี, ช่อง 3 เอชดี, อมรินทร์ทีวี, พีพีทีวี และช่องทางออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศรวม 8 ช่องทาง โดยมีบริษัทผลิตรายการในเครือดังนี้

  • บริษัท มีมิติ จำกัด (บริษัทร่วม)
  • บริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด
  • บริษัท เช้นจ์ 2561 จำกัด
  • บริษัท จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

ธุรกิจอีเว้นท์และโชว์บิซ

แก้

บริษัท เอไทม์ มีเดีย จำกัด กับบริษัท เช้นจ์ 2561 จำกัด เป็นบริษัทที่รับจัดอีเว้นท์ และโชว์บิซรายใหญ่ของประเทศ

ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
แก้
ธุรกิจบริหารสตูดิโอ
แก้

เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นผู้บริหารสตูดิโอถ่ายทำรายการโทรทัศน์ของทั้งช่องวัน 31 และ จีเอ็มเอ็ม 25 และให้บริษัทภายนอกเช่า ในหลายพื้นที่ ดังนี้

  • บริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด เป็นผู้บริหารสตูดิโอถ่ายทำรายการโทรทัศน์ขนาดใหญ่ในตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ภายใต้ชื่อ แอ็กซ์ สตูดิโอ
  • บริษัท จีเอ็มเอ็ม ทีวี จำกัด เป็นผู้บริหารสตูดิโอถ่ายทำรายการโทรทัศน์ในอาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ภายใต้ชื่อ จีเอ็มเอ็มทีวี ครีเอทีฟ สเปซ
  • บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด เป็นผู้เช่าอาคารสตูดิโอถ่ายทำรายการโทรทัศน์ชื่อ จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอ ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังของอาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส จากบริษัท เกิดฟ้า จำกัด
ธุรกิจบริหารจัดการศิลปิน
แก้

บริษัท เอ็กแซ็กท์ ซีเนริโอ จำกัด และจีเอ็มเอ็มทีวี เป็นตัวแทนในการติดต่อและวางแผนงานระหว่างศิลปินและลูกค้าที่ต้องการว่าจ้างศิลปินในสังกัดของกลุ่มเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ โดยมีศิลปินภายใต้การดูแลกว่า 200 คน

ธุรกิจขายสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง
แก้

จีเอ็มเอ็มทีวีเป็นผู้ผลิตสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับรายการและศิลปิน เพื่อวางจำหน่ายทางช่องทางออนไลน์ของกลุ่มเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์

ธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการร่วมค้า

แก้

ธุรกิจละครเวที

แก้

บริษัท ซีเนริโอ จำกัด เป็นหนึ่งในผู้ผลิตละครเวทีชั้นนำของประเทศไทย โดยเป็นผู้บริหารโรงละครบอรดเวย์ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ร่วมกับเมืองไทยประกันชีวิต และธนาคารไทยพาณิชย์ และยังเป็นผู้พัฒนาละครเวทีหลากหลายเรื่อง

ธุรกิจสถานีโทรทัศน์

แก้

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้เข้าร่วมประมูลใบอนุญาตประกอบการสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ (Standard Definition : SD) บริหารงานโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด ภายใต้ชื่อ จีเอ็มเอ็ม 25 (อังกฤษ: GMM 25) แต่ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง ถูกเข้าซื้อโดยกิจการร่วมค้า เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายของ กสทช. จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จึงถูกโอนไปเป็นบริษัทย่อยของจีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง และแต่งตั้งให้กิจการร่วมค้า เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นตัวแทนการตลาดผ่านทางจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง

ธุรกิจบริหารศิลปิน

แก้

บริษัท คอนเทนต์ แอนด์ อาร์ตติสท์ เน็ทเวิร์ค จำกัด เป็นผู้บริหารศิลปินรายใหญ่ เพื่อพัฒนาศักยภาพ และป้อนเข้าสู่งานที่มีความเหมาะสม

ธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง

แก้

ปัจจุบันจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้กำหนดให้ธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง เป็น 1 ใน 3 ธุรกิจหลักที่ดำเนินกิจการผ่านบริษัทย่อย และมี บริษัท จีเอ็มเอ็ม โอ ช้อปปิ้ง จำกัด (อังกฤษ: GMM O Shopping Co., Ltd.) เป็นบริษัทย่อยในธุรกิจนี้ ประกอบธุรกิจจำหน่ายสินค้าในนาม โอ ช้อปปิ้ง (อังกฤษ: O Shopping) ซึ่งเดิมเป็นแบรนด์จำหน่ายสินค้าที่ร่วมทุนกับกลุ่มซีเจของประเทศเกาหลีใต้ และเป็นผู้ถือหุ้นร่วมกับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในบริษัท โอเอสพี ทีวี จำกัด (อังกฤษ: OSP TV Co., Ltd.) ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมสถานีโทรทัศน์ช่อง โอ ช้อปปิ้ง (อังกฤษ: O Shopping TV) ช่องรายการแนะนำสินค้าคุณภาพจาก โอ ช้อปปิ้ง ซึ่งเริ่มออกอากาศเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยจีเอ็มเอ็ม โอ ช้อปปิ้ง จะเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน ภายหลังจากจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ดำเนินการระดมทุนสาธารณะโดยการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเสร็จสิ้นแล้ว

ธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก

แก้

ธุรกิจภาพยนตร์

แก้
  • บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด (GDH 559)
  • บริษัท ที่ฟ้า จำกัด
  • บริษัท หับ โห หิ้น ฟิล์ม จำกัด
  • บริษัท ฟีโนมีน่า โมชั่นพิคเจอร์ จำกัด (ผลิตภาพยนตร์ ผลิตโฆษณาออกอากาศ)
  • บริษัท อัพเพอร์ คัท จำกัด (ผลิตโฆษณาออกอากาศให้กับสินค้าต่างๆ)
  • บริษัท ทูว์ ทู ฟิลม์ จำกัด
  • บริษัท โปรดักชั่น เฮ้าส์ จำกัด
  • บริษัท ฟีโนมีน่า โมชั่นพิคเจอร์ จำกัด
  • บริษัท ดักก์ บาร์ จำกัด
  • บริษัท อัพเพอร์ คัท จำกัด
  • บริษัท นาดาว บางกอก จำกัด
  • บริษัท สวัสดี ทวีสุข จำกัด
  • บริษัท เพลย์มอร์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด

ธุรกิจโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (Satellite Television)

แก้

โทรทัศน์ดาวเทียมของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ใช้ช่องสัญญาณจากดาวเทียมไทยคม 5 เพื่อออกอากาศผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในระบบซี-แบนด์ และ เคยู-แบนด์ รวมถึงโทรทัศน์เคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยจำแนกเป็นช่องที่บริษัทหรือสายงานต่าง ๆ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นผู้ผลิตรายการหรือผู้ร่วมหุ้น มีรายชื่อช่องดังต่อไปนี้

  • สถานีโทรทัศน์ ช่อง แฟนทีวี (อังกฤษ: FAN TV) ช่องรายการเพลงและวาไรตี้สไตล์ลูกทุ่งสมัยใหม่จากค่ายลูกทุ่งแกรมมี่โกลด์ ที่เอาใจแฟนเพลง เน้นเปิดเพลงลูกทุ่ง และลูกกรุง และคาราโอเกะ ในเครือแกรมมี่ เริ่มออกอากาศ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 และเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ. 2555 ได้พัฒนาระบบการออกอากาศเป็นระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง (อังกฤษ: High-definition television (HDTV)) เป็นช่องแรก บริหารงานโดย บริษัท แฟนทีวี จำกัด
  • บริษัท จี บรอดคาสท์ จำกัด ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินโครงข่ายโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในชื่อ จีเอ็มเอ็ม แซท
  • สายงานอื่น ๆ ที่ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร่วม

ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์

แก้
  • บริษัท จีเอ็มเอ็ม พับบลิชชิ่ง เฮ้าส์ จำกัด
  • บริษัท จีเอ็มเอ็ม อินเตอร์ พับบลิชชิ่ง จำกัด
  • บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ (มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ)

นิตยสาร และ สื่อสิ่งพิมพ์ในเครือ

ธุรกิจดิจิทัล

แก้

เว็บไชต์

  • เว็บไชต์ gmember.com เว็บไชต์ให้บริการคอนเทนต์รายใหญ่ที่สุดในเมืองไทย จำนวนผู้เข้าชมเฉลี่ย 200,000 คน ต่อวัน (ข้อมูล2553)

ธุรกิจอื่นๆ

แก้
  • บริษัท จีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง จำกัด
  • บริษัท แฟมมิลี่ โนฮาว จำกัด (สื่อรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
  • สถาบันดนตรี มีฟ้า (มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ)
  • จีเอ็มเอ็ม ฟิตเนส คลับ
  • บริษัท เอไทม์ เทเวลเลอร์ จำกัด
  • บริษัท เกิดฟ้า จำกัด (อสังหาริมทรัพย์)
  • ที่ดิน โรงแรมและคอนโดมีเนียมระดับไฮเอนด์ อาคารสูงและสำนักงาน ในกรุงเทพ เชียงใหม่ และประเทศไต้หวัน
  • บริษัท จีอาร์ โวคอล สตูดิโอ จำกัด
  • บริษัท แซท เทรดดิง จำกัด
  • บริษัท ปัญจลักษณ์พาสุข จำกัด บริหารโรงละครดีลักษณ์ ซีเนมาติก เธียเตอร์
  • บริษัท วันทอง โฮลดิ้งส์ จำกัด

อ้างอิง

แก้
  1. "สิ่งทีส่งมาด้วย : สารสนเทศเกี่ยวกับการปรับรูปแบบการประกอบธุรกิจจากบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจทั่วไป (Operating Company) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) การกำหนดธุรกิจหลัก และการกำหนดบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักที่ไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน" (PDF). ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: 3–13. 15 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2023.
  2. ผู้ครองตลาดเพลงอันดับ1ของไทย หน้า 4 [ลิงก์เสีย]