เรโทรสเปกต์ (อังกฤษ: Retrospect) เป็นวงดนตรีแนวเฮฟวี่เมทัลสัญชาติไทย ที่นำเสนอเพลงและเสียงร้องที่หนักหน่วงผสมทำนองที่อ่อนหวาน โดยที่เป็นที่รู้จักกันดีคือนักร้องนำของวง ชนัทธา สายศิลา (แน็ป) ด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทางด้านการแสดงสด มันส์ ดิบ เถื่อน การโซโล่กีตาร์ที่เร็ว การสแล็ปเบสแบบหนักแน่น การกระโดดลงจากเวทีมาเล่นกับคนดูอย่างบ้าคลั่ง และวงนี้เป็นวงแรกในไทยที่มีการหยิบวัฒนธรรมนี้มาเผยแพร่ในคอนเสิร์ตอย่างการที่ให้ผู้ชมนั้นแยกสองฝั่งและวิ่งเข้าใส่กัน หรือเรียกว่า มอชพิช (Mosh pit) กับการวิ่งเป็นวงกลม เป็นวงที่แสดงสดได้แปลก แหวกแนว น่าสนใจ

เรโทรสเปกต์
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงออลเทอร์นาทิฟเมทัล, เมทัลคอร์, โพสต์ฮาร์ดคอร์, สกรีโม, เฮฟวีเมทัล, ฮาร์ดร็อก, ออลเทอร์นาทิฟร็อก, ป็อปร็อก, เจนต์
ช่วงปีพ.ศ. 2544–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงสครีมแล็บเรคคอร์ดส (2546)
จีนี่เรคคอร์ดส (2547–ปัจจุบัน)
สมาชิกจิรายุ ละอองมณี (เก้า)
ธนพล ศรีกาญจนา (น็อต)
ณพวัชร คชาชีวะ (บอม)
ศุทธิพันธ์ สังข์ยุทธ (เบิร์ธ)
อดีตสมาชิกณภพล คชาชีวะ (บิ๊ก)
ศรัณย์เขษ เจริญสรรพ์ (รัน)
ชนัทธา สายศิลา (แน็ป)
เว็บไซต์facebook.com/retrospectrock

ประวัติ

การก่อตั้งวง

วงเรโทรสเปกต์เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2544 เริ่มจากเกม Counter-strike ที่ แน็ป (ร้องนำ) ได้พบกับ บอม (มือเบส) ในร้านเกม จนเริ่มสนิทสนมคุยกันถูกคอและพบว่าชอบตกปลาเหมือนกัน ในวันที่ไปตกปลาแน็ปได้นำวิทยุที่ใส่เทปเพลงแนวเฮฟวีเมทัลไปด้วย บอมเห็นว่าความชอบทางแนวดนตรีตรงกัน จึงชวนแน็ปก่อตั้งวงด้วยกัน โดยมีบิ๊กพี่ชายของบอมเป็นแกนหลักด้วยการทำเพลง แนวอินดัสเทรียลเมทัล และมีแน็ปเป็นผู้เขียนโปรแกรมจำลองเสียงกลองและบันทึกเสียง หลังจากนั้นบอมและน๊อตได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก สมาชิกในยุคแรกจึงมี แน็ป (กลอง, ร้องนำ) บิ๊ก (กีตาร์) บอม (เบส) และน็อต (กีตาร์) โดยตั้งชื่อวงว่า "เรโทรสเปกต์" ซึ่งเกิดจากการหาคำศัพท์ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษแล้วเจอคำว่า "Retrospect" ซึ่งแปลว่า การหวนรำลึก, คิดถึงอดีต ซึ่งในขณะนั้นกระแสแนวดนตรีป็อป มาแรงมากครองตลาดในตอนนั้นทำให้วงรู้สึกว่าอยากจะมองสวนกระแสกลับไป ดนตรีร็อกที่มันหายไปนานในช่วงเวลานั้น จึงใช้คำว่า Retrospect เป็นชื่อวงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[1]

ดนตรีของวงช่วงแรกเป็นดนตรีแนวเมทัลคอร์ ที่ค่อนข้างหยาบกระด้างและมีกลิ่นอายของนูเมทัล ดิบและรุนแรง พวกเขาเริ่มเล่นตามงานเล็ก ๆ ต่าง ๆ ได้สักพัก จึงรับสมัครมือกลองเพิ่ม จนกระทั่งแน็ปได้พบกับเบิร์ธเพื่อนสมัยประถม ซึ่งเป็นมือกลองที่เคยประกวดที่ต่าง ๆ แน็ปจึงชวนให้สมัครเป็นมือกลอง และได้รับการคัดเลือก ต่อมาบิ๊กมือกีตาร์ผู้ก่อตั้งวงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงทำให้เรโทรสเปกต์เหลือสมาชิกเพียง 4 คน

เริ่มเป็นที่รู้จัก

กลางปีพ.ศ. 2546 เรโทรสเปกต์ได้ออกอีพีชุดแรก โดยการชักชวน และแนะนำจาก สยาม ชุมทอง (ต้น ดีเซมเบอร์) โดยใช้ชื่ออัลบั้มว่า E.P. For Your Ears Only โดยทางวงแต่งคำร้อง ทำนอง เรียบเรียงเสียงประสาน ตลอดจนบันทึกเสียง ออกแบบปก แผ่นซีดี และสกรีนแผ่นเองเป็นจำนวน 150 แผ่น เริ่มวางจำหน่ายครั้งแรกที่งาน Territory Metal Fest ในงานนี้สมาชิกได้พบกับวง บิกินี่ ซึ่งเป็นที่มาของ Screamlab กลุ่มดนตรีที่มาจากการรวมตัวของวงดนตรี 4 วง ประกอบไปด้วย บิกินี่, เรโทรสเปกต์, ฮอสแทรป และ สวีตมัลเล็ต

ก้าวสู่ค่ายใหญ่

ปลายปีพ.ศ. 2546 เรโทรสเปกต์ได้รับคัดเลือกให้ไปเล่นคอนเสิร์ตในงาน Fat Festival ครั้งที่ 3 ทางวงจึงวางแผนที่จะนำอัลบั้มอีพีที่วางขายเมื่อปีที่ผ่านมามาจำหน่ายอีกครั้ง และเพิ่มเพลงพิเศษหนึ่งเพลง ใช้ชื่อว่า E.P. For Your Ears Anytime จำนวน 150 แผ่น ระหว่างที่ทางวงออกทัวร์เล่นคอนเสิร์ตในที่ต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ ก็มีค่ายเพลงมาทาบทามให้ไปร่วมเซ็นสัญญาอยู่บ้าง แต่มีเงื่อนไขว่าวงอาจต้องลดความดุดัน และความรุนแรงลง ซึ่งพวกเขาคิดว่าจะเป็นการเสียเอกลักษณ์ในการทำดนตรีของวง พวกเขาจึงตั้งใจผลิตผลงานเพลงและออกแสดงคอนเสิร์ตต่อไป และจากการแนะนำของ เต๋า นักร้องนำวง Sweet Mullet พวกเขาจึงได้พบกับพี่โน่ ดนัย ธงสินธุศักดิ์ โปรดิวเซอร์ค่ายจีนี่ เร็คคอร์ด ซึ่งทางเขากำลังมองหาวงดนตรีแนวทางใหม่ ๆ และเพลงนอกกระแสหรือเรียกว่า Underground ให้ได้มีผลงานในค่ายใหญ่ จึงเริ่มทำเดโมนำเสนอต่อทางค่าย และได้เซ็นสัญญากับค่ายจีนี่เรคอร์ดส ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เมื่อต้นปีพ.ศ. 2547 และได้ออกซิงเกิล "ไม่มีเธอ" อัลบั้มรวมศิลปินใน Showroom vol.1 ถือว่าเป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้เรโทรสเปกต์เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น จนเกิดกลุ่มแฟนคลับที่ชื่อว่า "เรโทรเรี่ยน" (Retrorian) และเป็นเหมือนผลงานสำคัญที่ทำให้พวกเขาได้ออกอัลบั้มเดี่ยวของตัวเอง

เรโทรสเปกต์ออกอัลบั้มครั้งแรก ในชื่อ อัลบั้มว่า อันลีชท์ (Unleashed) เมื่อปี พ.ศ. 2550 ซึ่งนำดนตรีที่เรียกว่าแนวเมทัลคอร์มานำเสนอให้แก่สายตาประชาชนชาวไทยซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง เพราะถือเป็นวงเมทัลคอร์ไทยวงแรก ที่นำเอาวัฒนธรรมคอนเสิร์ต แบบที่เรียกว่า Hardcore Dancing มาเผยแพร่ ซึ่งทำให้กลุ่มแฟนเพลงของพวกเขาแพร่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว จาก Retrorian กลุ่มเล็ก ๆ ออกไปสู่แฟนเพลงทั่วประเทศ และหลังจากที่พวกเขาออก อัลบั้ม อันลีชท์ เพลงที่รู้จักกันดีในอัลบั้มนั้นได้แก่ "เพราะว่ารัก", "ปล่อยฉัน", "เปลือก", "ไม่มีเธอ" และ "สุดที่รัก" พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างมาก กลายเป็นปรากฏการณ์อย่างนึงเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะเพลง "ปล่อยฉัน" บทเพลงแรกที่ได้รับกระแสตอบรับอย่างรุนแรงจากแฟนเพลงที่ร่วมโหวตทำให้ ฮิตทะยานขึ้นสู่อันดับ 1 คลื่นวิทยุ Hot 91.5 และ Seeds 97.5 อย่างรวดเร็วถึง 2 ชาร์ตพร้อมกันและยาวนานติดต่อกันถึง 3 อาทิตย์รวด ด้วยค่านิยมแบบการแต่งตัวที่ทำให้เด็กวัยรุ่นในช่วงนั้นนิยมใส่เสื้อสีดำและเสื้อลายสก็อต ทำให้เสื้อลายสก็อตขาดตลาดไปพักนึงเลยทีเดียว ด้วยทรงผมที่เป็นเอกลักษณ์ แนวดนตรีที่ไม่ค่อยมีกลุ่มคนเล่นกันในวงกว้างและดูน่าสนใจ เลยทำให้มีแฟน Retrorian เป็นจำนวนมาก มีการจัดคอนเสิร์ตใหญ่ของอัลบั้มแรกในเวลาต่อมาไม่นาน กับ "Retrospect The First Concert"

MRD#2 "The Brand New Blood" เป็นอีกหนึ่งคอนเสิร์ตที่ถือว่า เรโทรสเปกต์ เป็นศิลปินหลักในการขึ้นโชว์ ร่วมกับพี่น้องศิลปินสายเลือดใหม่อีกสี่วง สวีตมัลเล็ต, เคลียร์ และ โน มอร์ เทียร์

ระหว่างทัวร์คอนเสิร์ตไปด้วย ก็ได้แต่งเพลง ทำเพลงกันไปด้วย จนกลางปี พ.ศ. 2551 พวกเขาก็ได้ออก อัลบั้มใหม่นั้นก็คืออัลบั้ม Rise (ไรส์) และเปิดตัวอัลบั้มที่สองด้วยซิงเกิล แรกก็คือเพลง แค่นิยาย ในอัลบั้มที่สองมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางดนตรีเพื่อให้เข้ากับคอนเซปต์ที่ทางวงตั้งใจไว้และเชื่อมโยงกับชื่ออัลบั้มที่แปลว่า "การทอแสง" เพลงที่เป็นที่นิยมในอัลบั้มนี้ได้แก่ แค่นิยาย กลับมา ร้องให้พอ ซึ่งได้มีแขกพิเศษมาร่วมงานในอัลบั้มนี้ด้วย เช่น ดา เอ็นโดรฟิน, ยอด บอดี้สแลม และ วีทรีโอ หลังจากออกอัลบั้มได้ไม่นาน กระแสตอบรับค่อนข้างดีจนได้มีโอกาสเปิดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งที่สอง "Retrospect Rise Now!! Concert"

ต่อมากับอัลบั้ม PLAY Project พ.ศ. 2552 เป็น อัลบั้มพิเศษของทางจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่จัดขึ้นมาเพื่อฉลอง 25 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยอัลบั้มนี้จะอยู่ในหมวดของร็อก โดยให้แต่ละศิลปินได้เลือกเพลงเก่าของตำนานของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่มา Cover ใหม่ ให้เป็นแนวของศิลปินเอง โดยทางวงได้เลือกเพลง ละคอนฉากสุดท้าย ของ นันทิดา แก้วบัวสาย

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเรโทรสเปกต์ก็ได้ถูกจับตามองโดยทีมงานการจัดงาน "วัคเค่น" (Wacken Open Air) หรือ "W:A" และถูกเทียบเชิญให้ไปเล่นในงาน Wacken2009 ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2552 ถือว่าเป็นอีกก้าวสำคัญในการทำให้เรโทรสเปกต์เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น มีแฟนเพลงที่เป็นชาวต่างชาติ และได้สร้างความภาคภูมิใจ นำธงชาติไทยไปโบกสะบัดอย่างสง่างามบนเวที ท่ามกลางฝูงชนที่หลั่งไหลมาจากทั่วโลก

มีนาคม พ.ศ. 2553 เรโทรสเปกต์ได้ปล่อยซิงเกิลแรกในอัลบั้มที่ 3 ออกมา "ศรัทธาแห่งรัก" ด้วยแนวเพลงที่เปลี่ยนไปอย่างมาก นำเสนอแนวเพลงร็อกแอนด์โรลในยุค 80 โดยมีเป้าหมายเพื่อต้องการนำเพลงในช่วงนั้นกลับมาให้เด็กวัยรุ่นในยุคนี้ได้รู้จักเพลงร็อกเก่า ๆ กันอีกครั้ง ด้วยท่วงทำนองที่ไม่คุ้นหูเลยทำให้เป็นที่พูดถึงกันในวงกว้าง ในช่วงปลายปีเรโทรสเปกต์ได้ฤกษ์วางแผงอัลบั้มอีกครั้ง กับอัลบั้ม เดอะลอสต์โซลส์ (The Lost Souls) เพลงที่เป็นที่นิยมได้แก่ "ศรัทธาแห่งรัก", "คือเธอใช่ไหม", "รบกวนจำใส่ใจ", "ให้โลกรู้" ร่วมกับ ปู แบล็คเฮด และ "กอดตัวเอง"

ปี พ.ศ. 2557 รัน-ศรัณย์เขษ เจริญสรรพ์ ได้เข้าร่วมวง Retrospect และได้ร่วมทำเพลงจากอัลบั้มชุด Pathfinder ในฐานะมือคีย์บอร์ด และ ซินธิไซเซอร์

การลาออกของสมาชิกวง และการเดินหน้าต่อ

ปี พ.ศ. 2562 รันได้ออกมาโพสต์ยุติบทบาทการทำงานของวง โดยในข้อความที่โพสต์ในเฟสบุ๊คของรัน เขาได้เผยว่าตัวเองได้ลาออกจากวงมาตั้งแต่วันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา พร้อมขอบคุณแฟน ๆ ที่คอยสนับสนุน และเผยว่าตัวเขาเองก็รู้สึกดีใจที่ได้ขึ้นโชว์บนเวที และเห็นแฟน ๆ มีความสุขไปกับการแสดงของวง ซึ่งเหตุผลในการลาออกจากวงนั้น รันได้เผยว่าไม่ได้เป็นเพราะปัญหาสุขภาพแบบที่หลายคนคิด แต่เป็นเพราะเขามีความตั้งใจในการพัฒนาวง และพบว่าความคิดเห็นตัวเองนั้นไม่ค่อยตรงกับเพื่อนสมาชิก ทำให้เขาตัดสินใจที่จะออกจากวง ก่อนที่จะขอบคุณผู้ใหญ่และเพื่อนสมาชิก Retrospect ที่คอยสนับสนุน และมอบช่วงเวลาดี ๆ ให้กับเขา ก่อนจะทิ้งท้ายว่าถึงแม้ว่าจะยุติการทำงานกับวงแล้ว แต่รันก็ยังคงเดินหน้าทำงานเพลงต่อไป และเผยว่าตัวเองรู้สึกตื่นเต้นอย่างมากกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

ก่อนหน้าที่รันจะออกมาประกาศเรื่องการลาออกจากวงเป็นทางการ ทางวง Retrospect เองได้กลับมาพร้อมเอ็มวีใหม่อย่าง "ปีศาจ" ที่สร้างสรรค์โดย แน็ป-ชนัทธา สายศิลา (ร้องนำ), น็อต-ธนพล ศรีกาญจนา (กีตาร์), บอม-ณพวัชร คชาชีวะ (เบส) และ เบิร์ธ-ศุทธิพันธ์ สังข์ยุทธ (กลอง) ซึ่งเป็น 4 สมาชิกจากยุคก่อตั้งวง โดยได้ ฮาย-ธันวา เกตุสุวรรณ นักร้องนำวง Paper Planes ที่รับหน้าที่โปรดิวเซอร์เพลงมาดูแลในพาร์ทดนตรีเสียงสังเคราะห์ ซึ่งผลงานนี้ถือเป็นซิงเกิลใหม่ในรอบ 1 ปีของวงด้วย

13 ธันวาคม พ.ศ. 2563 แน็ปได้ประกาศข่าวบนเวทีเทศกาลดนตรีบิ๊กเมาท์เทน ครั้งที่ 11 ว่าตนเองได้ลาออกจากวง จะเล่นครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย โดยแน็ปได้พูดสั้น ๆ กับแฟน ๆ ก่อนจะลงจากเวทีว่า “อยากจะบอกว่าไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจแบบไหน สิ่งที่ตัดสินใจไปแล้วคือความสวยงามเสมอ วันนี้จะเป็นวันที่ ตัวผมจะได้ยืนอยู่ตรงนี้เป็นครั้งสุดท้าย แต่ด้วยความรักที่ผมมีอยู่กับเรโทรสเปกต์เสมอมา ผมขออนุญาตฝากวงนี้ไว้กับเพื่อน ๆ ทั้ง 3 คนด้วยนะครับ ลาก่อนครับทุกคน”

และการลาออกของแน็ปนั้น ทำให้วงเรโทรสเปกต์พักวงเป็นเวลาร่วม 2 ปี ส่วนแน็ปยังคงทำงานในเส้นทางดนตรีต่อในฐานะศิลปินเดี่ยว "แน็ป เดอะ แน็ป"

17 ธันวาคม พ.ศ. 2565 วงเรโทรสเปกต์ได้ขึ้นแสดงสดที่งาน Kaohsiung Music Center ที่เมืองเกาสง ประเทศไต้หวัน พร้อมกับ เก้า-จิรายุ ละอองมณี มือกีตาร์วงแบดบาบูน (Bad Baboon) ในฐานะนักร้องเฉพาะกิจ โดยได้รับเสียงสนับสนุนเป็นอย่างดี [2] จนทำให้เก้าได้เข้ามาเป็นสมาชิกวงเรโทรสเปกต์อย่างเป็นทางการในอีกสามเดือนต่อมา [3]

สมาชิก

เส้นเวลา

ผลงาน

อีพี

E.P. For Your Ears Only (พ.ศ. 2546)

สังกัด Screamlab

  1. The Run
  2. Cold
  3. My Sleep
  4. Cannibalistic Monogamy
  5. Crossover
E.P. For Your Ears Anytime (พ.ศ. 2546)

สังกัด Screamlab

  1. The Run
  2. Cold
  3. My Sleep
  4. Cannibalistic Monogamy
  5. Crossover
  6. Eye On Me (เพิ่มพิเศษ)
  • โดยเพิ่มเพลง Eye On Me เข้าไปรวมกับอัลบั้ม E.P. For Your Ears Only
E.P. For Your Ears, Always. (พ.ศ. 2562)

Side A :

  1. Cold
  2. My Sleep
  3. Eye On Me
  4. The Run
  5. Cannibalistic Monogamy

Side B :

  1. Crossover
  2. Cold (Thai)
  3. ฝันลอย ๆ (Eye On Me-Thai)
  4. ฟ้าที่หายไป
  • ทำเป็นรูปแบบ "เทป คาสเซ็ท" และ "แผ่นเสียงไวนิล" เท่านั้น

สตูดิโออัลบั้ม

Unleashed (พ.ศ. 2550)

สังกัด Genie Records GMM. (วางแผง 27/04/2550)

  1. ลุกขึ้นสู้ (Feat.Screamlab)
  2. คนบนฟ้า
  3. ปล่อยฉัน
  4. ความฝันของเรา
  5. เพราะว่ารัก
  6. ให้ฉันลืมเธอ
  7. ขอ
  8. คืนแห่งความเหงา
  9. เปลือก
  10. ไม่มีเธอ (Bonus Track จากอัลบั้ม Showroom)
  11. สุดที่รัก
  12. ปล่อยฉัน Acoustic Version (Bonus Track)

Produced by : Danai Thongsinthusak
Mixed by : Liam Laurence

Rise (พ.ศ. 2551)

สังกัด Genie Records GMM. (วางแผง 29/07/2551)

  1. แค่นิยาย
  2. สู้ต่อไป
  3. กลับมา
  4. Yes Sir!
  5. เธอคือทุกอย่าง
  6. Rise of The Moon in E minor
  7. ทางเลือกของชีวิต
  8. พรุ่งนี้ไม่สำคัญ
  9. ภาพซ้ำ
  10. แรงขับเคลื่อน
  11. ร้องให้พอ
  12. The Run
  13. ลอย

Produced by : Danai Thongsinthusak
Co-produced by : Retrospectband
Mixed by : Danai Thongsinthusak & Komkrit

The Lost Souls (พ.ศ. 2553)

สังกัด Genie Record GMM. (วางแผง 29/10/2553)

  1. ศรัทธาแห่งรัก
  2. แค่นี้ไม่ตาย
  3. เพลงของเรา
  4. ฉันยังรอ
  5. คือเธอใช่ไหม
  6. รบกวนจำใส่ใจ
  7. ให้โลกรู้ Feat. ปู Blackhead
  8. แค้น
  9. Yeah!
  10. กอดตัวเอง
Pathfinder (พ.ศ. 2560)[6]

สังกัด Genie Record GMM. (วางแผง 3/5/2560)

  1. เจ็บกว่าคือฉัน
  2. เหนื่อยไหมหัวใจ
  3. เหงายิ่งกว่าเหงา
  4. เพลงของเพื่อน
  5. หักหลัง
  6. สิ่งแทนใจ
  7. ภาพถ่าย
  8. ลมหายใจสุดท้าย
  9. โลก
  10. ฉันยอม
  11. สังเวียนชีวิต (เพลงประกอบรายการ MX MUAY XTREME)
  12. เจ็บปวดที่งดงาม (เพลงประกอบภาพยนตร์ ทองสุก 13)
  13. เผชิญ (NEVER GIVE UP)
  14. ไม่ทิ้งกัน (TOGETHER)
  15. เหนื่อยไหมหัวใจ Feat. ว่าน วันวาน

อัลบั้มรวมเพลงและอัลบั้มพิเศษ

Showroom - Vol.1 (พ.ศ. 2547)

สังกัด Genie Records GMM. (วางแผง 25/09/2547)

  • ไม่มีเธอ (Track 10)

Produced by : Danai Thongsinthusak
Mixed by : โป โปษยะนุกูล at Polarbear Studio
Recorded at Vintage Studio

Play Project (พ.ศ. 2552)

สังกัด Genie Record GMM.

  1. ละคอนฉากสุดท้าย
RTSM Light Mode (พ.ศ. 2560)

สังกัด Genie Record GMM.

  1. ไม่มีเธอ
  2. แค่นิยาย
  3. เพราะว่ารัก
  4. สิ่งแทนใจ
  5. คืนแห่งความเหงา
  6. คือเธอใช่ไหม
  7. หักหลัง
  8. เหงายิ่งกว่าเหงา
  9. ภาพซ้ำ
  10. กอดตัวเอง
Play 2 Project (พ.ศ. 2561)

สังกัด Genie Record GMM.

  1. เพลงนี้เกี่ยวกับความรัก

ซิงเกิล

  1. เจ็บกว่าคือฉัน
  2. เจ็บปวดที่งดงาม (เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง ทองสุก 13) - โดยเป็นการนำมา Cover ใหม่ จากเพลงต้นฉบับของ ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์
  3. เหนื่อยไหมหัวใจ
  4. เหนื่อยไหมหัวใจ (Acoustic Version) feat. ว่าน วันวาน
  5. เหงายิ่งกว่าเหงา
  6. เผชิญ (NEVER GIVE UP) - เพลงพิเศษร่วมกับวง Sweet Mullet สำหรับคอนเสิร์ต RTSM VS The World
  7. เพลงของเพื่อน
  8. หักหลัง (BETRAYED)
  9. สิ่งแทนใจ
  10. ไม่ทิ้งกัน (TOGETHER) - เพลงพิเศษร่วมกับวง Sweet Mullet สำหรับคอนเสิร์ต RTSM FEST : Revolution
  11. คิดถึงพ่อ - เพลงพิเศษ
  12. ภาพถ่าย
  13. หัวใจเสือดำ - เพลงพิเศษสำหรับคอนเสิร์ต Retrospect : Heart of the Panther
  14. ปีศาจ
  15. ชีวิตหลังความตาย (Afterlife)[7]
  16. อยู่เพื่อจำ (Irreplaceable)

คอนเสิร์ต

  • Opening Act. ในคอนเสิร์ต "BIG ASS เปิดพรหมลิขิต" ThunderDome เมืองทองธานี // 17 มีนาคม 2550

เล่นเพลง เพราะว่ารัก, ปล่อยฉัน, ไม่มีเธอ

  • GUEST ในคอนเสิร์ต "Clash Army Rock Concert" Impact Arena เมืองทองธานี // 21 กรกฎาคม 2550

Feat. ซากคน, ไฟรัก, วังวน

  • Retrospect The First Concert Moon Star Stu­dio 8 // 4 สิงหาคม 2550[8][9]

Special Guest - Sweet Mullet, ดา เอ็นโดรฟิน

  • Opening Act. คอนเสิร์ต "Linkin Park Live In Bangkok" ลานกลางแจ้ง Ac­tives Squart // 11 พฤศจิกายน 2550[10]
  • MRD#2 : The Brand New Blood Moon Star Stu­dio 8 // 4 พฤษภาคม 2551

ร่วมกับศิลปินอีกหลายวง Sweet Mullet, Klear, No More Tear

  • Retrospect Rise Now!! Concert Moon Star Stu­dio 8 // 25 ตุลาคม 2551[11][12]

Special Guest - Vietrio, ชิน ชินวุฒ, น้องภูมิ Retrorian, ดา เอ็นโดรฟิน

รายชื่อเพลง : แค่นิยาย, ความฝันของเรา, ขอ, เปลือก, ลุกขึ้นสู้, Yes Sir!, คนบนฟ้า, พรุ่งนี้ไม่สำคัญ , เพราะว่ารัก ปิดท้ายด้วย ไม่มีเธอ

  • Retrospect Bring It BLACK Concert Live House Bangkok JJ Green // 28 กันยายน 2556[14]

Opening Act. โดย Ex's & Oh's และ Hopeless

  • Genie Fest 16 ปีแห่งความร็อก (G16) ทะเลสาบเมืองทองธานี // 10 พฤษภาคม 2557 [15]
  • Heart-Town Festival 2014 เมืองไถจง ประเทศไต้หวัน // 10 สิงหาคม 2557 [16]
  • Asia Music Festival เกาะบอร์เนียว ประเทศมาเลเซีย // 4 ตุลาคม 2557[17]
  • Retrospect Live in Taiwan TADAArk ประเทศไต้หวัน // 11 ตุลาคม 2557[18]

Special Guest - Dezember, SeventyPercent (ไต้หวัน)

  • Retrospect & Sweet Mullet VS The World เมืองไทย GMM Live House @ Central World // 14 ธันวาคม 2557

Special Guest - แจ๊ส ชวนชื่น, ว่าน วันวาน[19]

  • Opening Act. คอนเสิร์ต "Crossfaith New Age Warriors Tour 2016" Ztudio Live Hall // 11 สิงหาคม 2559[20]
  • Genie Fest 19 ปี กว่าจะร็อกเท่าวันนี้ (G19) สนามราชมังคลากีฬาสถาน // 10 กุมภาพันธ์ 2561[21]
  • Retrospect Heart of the Panther หัวใจเสือดำ Live Park (Rama 9) // 21 เมษายน 2561

Opening Act. โดย Overdose และ Paper Planes

Special Guest - DJ BOTCASH, ปู แบล็คเฮด, RAP IS NOW (Maiyarap, Blacksheep, Thudong, Liberate P), บี พีระพัฒน์, ต้น Dezember [22]

อ้างอิง

  1. ประวัติ Retrospect
  2. "เก้า จิรายุ X Retrospect แสดงจัดเต็มมันส์สุดเหวี่ยงที่ไต้หวันครั้งแรก". Music TrueID.
  3. "ฮือฮา! Retrospect ลงรูปวงปัจจุบันที่มี "เก้า" พร้อมประชุมคอนเสิร์ตไทยในรอบ 3 ปี". www.sanook.com/music.
  4. ""รัน ศรัณย์เขษ" โพสต์อำลา "Retrospect" เผยเหตุผลที่ตัดสินลาออกจากวง". Sanook. December 13, 2019. สืบค้นเมื่อ December 13, 2020.
  5. "แฟน ๆ ช็อก! "แน็ป Retrospect" ประกาศลาออกจากวงกลางเวที "Big Mountain 11"". Sanook. December 13, 2020. สืบค้นเมื่อ December 13, 2020.
  6. เฉพาะสั่งจองเท่านั้น อัลบั้มนี้ไม่มีวางขายตามร้านค้าทั่วไป
  7. "สู่ "ชีวิตหลังความตาย" (Afterlife) ซิงเกิลต้อนรับการกลับมาของ 'Retrospect' และการรับบทนักร้องนำคนใหม่อย่างสมภาคภูมิของ 'เก้า จิรายุ'". Beartai. July 24, 2023. สืบค้นเมื่อ July 24, 2023.
  8. CONCERT: RETROSPECT "THE FIRST CONCERT"
  9. ชมภาพความระห่ำของ "Retrospect The First Concert" เมื่อชาว "Retrorian" นับพันคลั่งพลังร็อค
  10. เหนื่อยล้า อ่อนแรง...แต่สุดมันส์ กับ LINKIN PARK LIVE IN BANGKOK 2007 (ฉบับสมบูรณ์)
  11. Retrospect RISE NOW CONCERT
  12. มันส์สะใจ ไร้ขีดจำกัด!!!RETROSPECT RISE NOW! CONCERT
  13. RETROSPECT WACKEN OPEN AIR 2009 (Uncensored)
  14. Retrospect Bring it Black Concert
  15. Genie Fest 16 ปี แห่งความร็อก เทศกาลดนตรีที่ชาวร็อก ห้ามพลาด!
  16. Heart-Town Festival 山海屯音樂節 2014
  17. "Asia Music Festival 2014 Showtime". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-15. สืบค้นเมื่อ 2015-03-15.
  18. "Retrospect 台灣演唱會 w/DEZEMBER(THI)、柒拾趴". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-10. สืบค้นเมื่อ 2015-03-15.
  19. 2 วงร็อคสุดเดือด! RTSM รวมพลังส่งท้ายปี
  20. "Concert Review: Crossfaith Live in Bangkok — ความเดือดดาลฉบับซามูไรอิเล็กทรอนิก! – Headbangkok". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-29. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
  21. ""g19" งานเลี้ยงรุ่นศิลปินแถวหน้า ที่มาพร้อมเซอร์ไพรส์จนนาทีสุดท้าย".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. 'คอนเสิร์ตหัวใจเสือดำ'  พลังคนรักความถูกต้อง..

แหล่งข้อมูลอื่น