จีเอ็มเอ็ม มิวสิค
บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: GMM Music Public Company Limited) เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ในเครือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจเพลงและดนตรีอย่างครบวงจร ตั้งแต่การคัดเลือกศิลปิน การผลิตเพลง การทําการตลาดเพื่อส่งเสริมผลงานเพลง การบริหารและจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง การจําหน่ายเพลงทั้งรูปแบบดิจิทัลและทางกายภาพ รวมถึงการจัดคอนเสิร์ต เทศกาลดนตรี และบริหารจัดการศิลปิน มีสถานะเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในปัจจุบัน และเป็นบริษัทเรือธงสำหรับการประกอบธุรกิจเพลงของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ปัจจุบันมีไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เป็นประธานกรรมการ และภาวิต จิตรกร เป็นรองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ชื่อเดิม | บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (7 เม.ย. 2566 – 10 มี.ค. 2567) |
---|---|
ประเภท | บริษัทมหาชนจำกัด |
อุตสาหกรรม | ดนตรี |
ก่อตั้ง | 7 เมษายน พ.ศ. 2566กรุงเทพมหานคร | ใน
สำนักงานใหญ่ | อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส, , |
บุคลากรหลัก | |
ผลิตภัณฑ์ | |
บริษัทแม่ | จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ |
บริษัทในเครือ |
|
เว็บไซต์ | gmmmusic |
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด ขึ้นเป็นบริษัทย่อยเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2566 ตามแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจเพลง ต่อมา จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้อนุมัติแผนการนำ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค เข้าสู่กระบวนการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน ในสัดส่วนไม่เกิน 30% เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม จากนั้น จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ได้รับโอนธุรกิจเพลงทั้งหมดจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มาประกอบเองตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กันยายน และแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในนาม บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2567
หลังจากนั้น จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในสายธุรกิจเพลงอีกหลายราย อาทิ ร่วมมือกับฮาร์เลมเชก จัดตั้งสถาบันศิลปะบันเทิงแบล็คเจ็ม, จำหน่ายหุ้น 10% ให้แก่ Black Serenade ในเครือเทนเซ็นต์ จากประเทศจีน, ร่วมทุนกับค่ายเพลงแอลดีเอช จากประเทศญี่ปุ่น จัดตั้งบริษัท จี แอนด์ แอลดีเอช จำกัด และร่วมทุนกับค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิก เอเชีย จัดตั้งค่ายเพลงใหม่ด้วยเงินลงทุน 370 ล้านบาท[1]
ประวัติ
แก้ก่อนปรับโครงสร้างธุรกิจเพลง
แก้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติการปรับโครงสร้างธุรกิจเพลงครั้งใหญ่ของบริษัท โดยดำเนินการแยกธุรกิจ (Spin-off) ประกอบด้วยการโอนถ่ายทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบุคลากร สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดต่าง ๆ และสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพลง ออกมาจัดตั้งเป็นบริษัทย่อยใหม่ เพื่อสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน และเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจ โดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จะถือหุ้นในบริษัทย่อยใหม่จำนวน 100%[2]
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้แจ้งว่าได้ดำเนินการการปรับโครงสร้างธุรกิจเพลงขั้นแรก โดยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทย่อยในชื่อ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (อังกฤษ: GMM Music Co., Ltd.) ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 7 เมษายน ด้วยทุนจดทะเบียน 4,000,000 บาท โดยที่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ถือหุ้นในสัดส่วน 100% โดยมีไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เป็นประธานกรรมการ, ภาวิต จิตรกร เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร[3]
ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้มีมติกำหนดให้จีเอ็มเอ็ม มิวสิค เป็นบริษัทเรือธง (Flagship Company) ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ สำหรับการประกอบธุรกิจเพลง และอนุมัติแผนการนำจีเอ็มเอ็ม มิวสิค เข้าสู่กระบวนการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน (IPO) ในสัดส่วนไม่เกิน 30% และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้จีเอ็มเอ็ม มิวสิค สามารถขยายธุรกิจและส่งเสริมอุตสาหกรรมดนตรีให้เป็นเศรษฐกิจดนตรีใหม่ (New Music Economy)[4] โดยมีเงื่อนไขในการเข้าจดทะเบียนรวม 7 ข้อ[5] ทั้งนี้ เนื่องจากการเสนอขายหุ้นจะอยู่ภายใต้สัดส่วนไม่เกิน 30% ทำให้ภายหลังการเสนอขายหุ้นแล้ว จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จะยังคงเป็นบริษัทย่อยของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ตามเดิม[6]
การปรับโครงสร้างธุรกิจเพลง
แก้ต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้แจ้งว่า ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างธุรกิจเพลงขั้นที่ 2 เรียบร้อยแล้ว ดังนี้
- เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม คณะกรรมการบริหารกลุ่มของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้อนุมัติข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญาโอนธุรกิจเพลงทั้งหมด รวมถึงถึงสัญญาและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และจีเอ็มเอ็ม มิวสิค
- เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ได้อนุมัติให้รับโอนธุรกิจเพลง และเข้าทําสัญญารับโอนธุรกิจเพลงจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ รวมถึงอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค จากเดิม 4,000,0000 บาท เป็น 800,000,000 บาท โดยได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม
- เมื่อวันที่ 1 กันยายน จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ดำเนินการโอนธุรกิจเพลงทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยทรัพย์สิน หนี้สิน ภาระผูกพันต่าง ๆ และบุคลากรในธุรกิจเพลง รวมถึงหุ้นสามัญจดทะเบียนของบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจเพลงในส่วนที่ถือหุ้นโดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ทั้งหมด และยังดำเนินกิจการอยู่ ได้แก่ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (สัดส่วน 100%), บริษัท จีสองร้อยเอ็ม จำกัด (สัดส่วน 100%), บริษัท จีอาร์ โวคอล สตูดิโอ จำกัด (สัดส่วน 65%) และบริษัท วายจีเอ็มเอ็ม จำกัด (สัดส่วน 51%) ให้แก่จีเอ็มเอ็ม มิวสิค (ตามเงื่อนไขเข้าจดทะเบียนข้อที่ 1)
จากการปรับโครงสร้างธุรกิจเพลงดังกล่าว ส่งผลให้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน คณะกรรมการของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้อนุมัติการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ จากบริษัทที่ประกอบธุรกิจทั่วไป (Operating Company) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นบริษัทอื่น (Holding Company) แทน โดยกำหนดให้จีเอ็มเอ็ม มิวสิค เป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักที่ไม่เป็นบริษัทจดทะเบียน แต่หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการ IPO ของจีเอ็มเอ็ม มิวสิคแล้ว จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จะกำหนดให้บริษัท จีเอ็มเอ็ม โอ ช้อปปิ้ง จำกัด เป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักที่ไม่เป็นบริษัทจดทะเบียนแทน[7]
แปรสภาพและขยายพันธมิตร
แก้ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ได้เปลี่ยนโลโก้ เพื่อเตรียมความพร้อมอีกขั้นก่อนดำเนินการแยกธุรกิจ โดยมีจุดเด่นคือการใช้ลายเส้นและวางตำแหน่งตัวอักษร "US" ในคำว่า music ให้มีความโดดเด่น แตกต่าง โดยเฉพาะการเติมลายเส้นเชื่อมต่อ เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งเน้นของบริษัทในอนาคตมากขึ้น[8] ต่อมา ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ได้อนุมัติการแปรสภาพบริษัทเป็นบริษัทมหาชนจำกัด รวมถึงแตกหุ้นจากเดิมหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท ทำให้จำนวนหุ้นทั้งหมดของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค มีจำนวน 800,000,000 หุ้น (ตามเงื่อนไขเข้าจดทะเบียนข้อที่ 2) จึงได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในชื่อ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: GMM Music Public Co., Ltd.) ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม[9] (ตามเงื่อนไขเข้าจดทะเบียนข้อที่ 3)
ต่อมาเมื่อวันที่ 25 เมษายน จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ได้ร่วมมือกับสถาบันสอนการเต้น ฮาร์เลมเชก (Harlem Shake) จัดตั้งสถาบันศิลปะบันเทิงแบล็คเจ็ม (BLKGEM) เพื่อพัฒนาหลักสูตรและสร้างบุคลากร สำหรับรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมบันเทิง[10] ทั้งนี้ บริษัท จีอาร์ โวคอล สตูดิโอ จำกัด ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท แบล็คเจ็ม จำกัด เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจสถาบันศิลปะบันเทิง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มีนาคม[9]
ต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม คณะกรรมการของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้อนุมัติการจำหน่ายหุ้นสามัญของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำนวน 80,000,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 10% ให้แก่นักลงทุนเชิงกลยุทธ์ คือ Black Serenade Investment Limited (บริษัทร่วมระหว่างเทนเซ็นต์ มิวสิค (Tencent Music) และเทนเซ็นต์ (Tencent) จากประเทศจีน) ในมูลค่า 70,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,570,827,000 บาท) โดยกลุ่มเทนเซ็นต์จะชำระค่าตอบแทนด้วยเงินสด และจำหน่ายหุ้นสามัญของจูกซ์ ประเทศไทย (Joox Thailand) จำนวน 30% ให้ GMM Tomorrow Limited (บริษัทย่อยของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) ในมูลค่า 25,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 918,152,500 บาท) คาดว่าการทำธุรกรรมจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 ของปีดังกล่าว[11]
ต่อมาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ได้ประกาศร่วมทุนกับแอลดีเอช (LDH) บริษัทค่ายเพลงจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดเพลงที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก จัดตั้งเป็น บริษัท จี แอนด์ แอลดีเอช จำกัด (G&LDH) เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมดนตรีของไทย และยกระดับความเชี่ยวชาญด้านการบริหารศิลปิน เพื่อเพิ่มมูลค่าของบริษัทให้มากขึ้น[12] โดยได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
แก้- ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ภายหลังการจำหน่ายหุ้นของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ให้กลุ่มเทนเซ็นต์[11]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
1 | บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) | 719,999,980 | 90.00% |
2 | Black Serenade Investment Limited | 80,000,000 | 10.00% |
3 | นาย ภาวิต จิตรกร | 10 | 0.00% |
4 | นาย ฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม | 10 | 0.00% |
รวม | 800,000,000 | 100.00% |
บริษัทและธุรกิจในเครือ
แก้บริษัทในเครือ
แก้ปัจจุบัน จีเอ็มเอ็ม มิวสิค มีบริษัทในเครือจำนวน 5 บริษัท และกิจการร่วมค้า 1 แห่ง ดังนี้
- บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- บริษัท จีสองร้อยเอ็ม จำกัด
- บริษัท แบล็คเจ็ม จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท จีอาร์ โวคอล สตูดิโอ จำกัด; จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ถือหุ้น 65%)
- บริษัท วายจีเอ็มเอ็ม จำกัด (ร่วมทุนกับวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ จากประเทศเกาหลีใต้, จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ถือหุ้น 51%)
- กิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส โปรเจค (ร่วมทุนกับอาร์เอส มิวสิค ในเครืออาร์เอส, จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ถือหุ้น 50%)
- บริษัท จี แอนด์ แอลดีเอช จำกัด (ร่วมทุนกับแอลดีเอช จากประเทศญี่ปุ่น)
การประกอบธุรกิจ
แก้จีเอ็มเอ็ม มิวสิค มีรายได้จาก 5 แหล่งธุรกิจหลัก ดังนี้[4]
- ธุรกิจเพลงดิจิทัล (Music Digital Business)
- ธุรกิจจัดการศิลปินดนตรี (Music Artist Management Business)
- ธุรกิจโชว์บิซ (Showbiz Business)
- ธุรกิจการจัดการสิทธิ (Right Management Business)
- ธุรกิจเชิงกายภาพ (Physical Business)
ศิลปินในสังกัด
แก้ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "'จีเอ็มเอ็ม มิวสิค' ดึง 'Warner Music Asia' ลงทุน 370 ล้านบาท ปลดล็อกธุรกิจเพลงโต". กรุงเทพธุรกิจ. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2024.
- ↑ ชลยา พร้อมศรี (2023-02-27). "การปรับโครงสร้างธุรกิจเพลง" (PDF). จดหมายถึงกรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-08-02.
{{cite press release}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "GRAMMY ปรับโครงสร้างธุรกิจเพลง แยกตั้งบริษัทใหม่ "จีเอ็มเอ็ม มิวสิค"". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-07-04. สืบค้นเมื่อ 2023-08-02.
- ↑ 4.0 4.1 "'แกรมมี่' เตรียม Spin-Off 'จีเอ็มเอ็ม มิวสิค' เข้าตลาด สร้างการเติบโตให้อุตสาหกรรมเพลง". TODAY Bizbiew. สำนักข่าวทูเดย์. 2023-08-01. สืบค้นเมื่อ 2023-08-02.
- ↑ ชลยา พร้อมศรี (2023-07-31). "แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับแผนการเสนอขายหุ้นสามัญของบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering)และการนําหุ้นสามัญของบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย" (PDF). จดหมายถึงกรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-08-02.
{{cite press release}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "GRAMMYส่ง "จีเอ็มเอ็ม มิวสิค" ขาย IPO 30 % เข้า SET". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-07-31. สืบค้นเมื่อ 2023-08-01.
- ↑ "สิ่งทีส่งมาด้วย : สารสนเทศเกี่ยวกับการปรับรูปแบบการประกอบธุรกิจจากบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจทั่วไป (Operating Company) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) การกำหนดธุรกิจหลัก และการกำหนดบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักที่ไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน" (PDF). ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: 3–13. 15 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ "GMM Music อวดโลโก้ใหม่ รับแผน Spin-Off ย้ำแนวคิด "ดนตรีของเราทุกคน"". ฟอบส์ ประเทศไทย. 15 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 9.0 9.1 งบการเงินไตรมาสที่ 1/2567 (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (Report). 16 พฤษภาคม 2024. p. 6. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2024.
- ↑ "GMM MUSIC-HARLEM SHAKE เปิดตัว BLKGEM มุ่งพัฒนาบุคลากรบันเทิงครบทุกมิติ". อมรินทร์ทีวี. 29 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 11.0 11.1 "แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการเข้าทำรายการที่มีนัยสําคัญที่เข้าข่ายเป็นการจำหน่ายไปและได้มาซึ่งสินทรัพย์" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 31 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ธุรกิจเพลงขาขึ้น GMM MUSIC ร่วมทุนค่ายเพลงญี่ปุ่น LDH หลังจับมือพาร์ทเนอร์ "จีน-เกาหลี" เดินหน้าขายหุ้น IPO". Brand Buffet. 6 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)