วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์
พิกัดภูมิศาสตร์: 37°32′55.9″N 126°54′29.5″E / 37.548861°N 126.908194°E
บริษัทวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ (เกาหลี: YG 엔터테인먼트) เป็นบริษัทอุตสาหกรรมบันเทิงจากเกาหลีใต้ ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1996 โดยยัง ฮย็อน-ซ็อก[3] บริษัทดำเนินธุรกิจเป็นค่ายเพลง, ตัวแทนนักแสดง, ผลิตเพลง, การจัดงานอีเวนต์/คอนเสิร์ต และตัวแทนนักแต่งเพลง บริษัทยังมีธุรกิจในเครืออีกหลายบริษัท รวมถึงบริษัทจัดจำหน่ายและผลิตสินค้า, เสื้อผ้า, กอล์ฟ และแบรนด์เครื่องสำอาง[4]
![]() | |
ชื่อท้องถิ่น | YG 엔터테인먼트 |
---|---|
ชื่อโรมัน | YG enteoteinmeonteu |
ประเภท | มหาชน |
การซื้อขาย | KRX: 122870 |
อุตสาหกรรม | บันเทิง ค้าปลีก |
รูปแบบ | หลากหลาย |
ก่อตั้ง | 24 กุมภาพันธ์ 1996 |
ผู้ก่อตั้ง | ยัง ฮย็อน-ซ็อก |
สำนักงานใหญ่ | เขตมาโพ, โซล , เกาหลีใต้ |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | ฮวัง โบ-กย็อง (ผู้บริหาร) |
รายได้ | ![]() |
รายได้สุทธิ | ![]() |
เจ้าของ |
|
พนักงาน | 678[2] (2010) |
บริษัทในเครือ |
|
เว็บไซต์ | ygfamily |
ศิลปินภายใต้สังกัดในปัจจุบันได้แก่ เชคส์กีส์, บิกแบง, อักมิว, วินเนอร์, ไอคอน , แบล็กพิงก์ และเทรเชอร์ ตลอดจนนักแสดงชายและหญิงอย่าง คัง ดง-ว็อน, ชเว จี-อู, ชา ซึง-ว็อน, อี ซ็อง-คย็อง, จินคย็อง และยู อิน-นา รวมถึงช็อน โซ-มี และคว็อน ฮย็อน-บิน ภายใต้สังกัดเดอะแบล็กเลเบิลและวายจีเอกซ์ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์
ประวัติแก้ไข
1996–2005: รากฐานของดนตรีฮิปฮอป, ความนิยมในช่วงเริ่มต้น และเคป็อปยุคแรกแก้ไข
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1996 ยัง ฮย็อน-ซ็อก อดีตสมาชิกของวงดนตรีเคป็อปยุคแรก ซอแทจีแอนด์บอยส์ ได้ก่อตั้งวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ร่วมกับน้องชายของเขา ยัง มิน-ซ็อก[3][5] ศิลปินคนแรกของบริษัทคือ วงดนตรีทรีโอแนวฮิปฮอป คีปซิกซ์ แต่การเปิดตัวของพวกเขาประสบความล้มเหลวกับผลตอบรับ ยังจึงหันไปผลักดันที่ศิลปินคู่ จีนูฌอน[6] และใน ค.ศ. 1998 บริษัทได้เปิดตัววันไทม์ (1TYM) ทั้งสองวงเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จที่ยังให้เครดิตในการนำวายจีและแนวฮิปฮอปไปสู่กลุ่มผู้ฟังกระแสหลักของดนตรีเกาหลี[3]
ใน ค.ศ. 1999 ศิลปินของวายจีออกอัลบั้มร่วมกันภายใต้ชื่อ วายจีแฟมีลี ตามมาด้วยการออกจำหน่ายของศิลปินอย่าง เพร์รี, สวี.ที, บิกมามา, เล็กซี, กัมมี และฮวีซ็อง และยังได้ก่อตั้ง "วายจีอันเดอร์กราวด์" ซึ่งประกอบด้วย 45อาร์พีเอ็ม และสโทนีสกังก์ ใน ค.ศ. 2001 อัลบัมวายจีแฟมีลีชุดที่สองออกจำหน่าย ท่ามกลางผู้คนจำนวนมากยังมี จี-ดรากอน ซึ่งในขณะนั้นอายุ 13 ปี เป็นศิลปินฝึกหัดของบริษัท[7]
บริษัทประสบความสำเร็จทั้งในเกาหลีและญี่ปุ่นด้วยนักร้อง "ไอดอล" คนแรก เซเวน ใน ค.ศ. 2003[8] ซึ่งเป็นศิลปินคนแรกของบริษัทที่พยายามก้าวข้ามไปสู่วงการเพลงของสหรัฐ แม้ว่าการเปิดตัวของเขาจะประสบความล้มเหลวก็ตาม[9]
2006–2011: ก้าวเข้าสู่กระแสหลักแก้ไข
หลังประสบความสำเร็จกับเซเวน วายจีได้ก่อตั้งวงไอดอลครั้งแรกชื่อ บิกแบง ใน ค.ศ. 2006 แม้ว่าผลตอบรับเริ่มแรกจะไม่ดีมากนัก ทว่า ปีถัดมา วงก็สามารถก้าวเข้าสู่กระแสหลักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเวลาต่อมาพวกเขากลายเป็นหนึ่งในบอยแบนด์ที่ยิ่งใหญ่และทำเงินมากที่สุดในโลก[11] ตามมาด้วย ทูเอนีวัน เกิร์ลกรุปวงแรกที่ประสบความสำเร็จของวายจีใน ค.ศ. 2009[12] ก่อนที่จะแยกทางกันใน ค.ศ. 2016 ถือเป็นหนึ่งในเกิร์ลกรุปที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงอย่างกว้างขวางในเกาหลีใต้[13][14] ทั้งสองวงประสบความสำเร็จทางอาชีพในญี่ปุ่นเช่นเดียวกับเซเวน[15][16][17]
ใน ค.ศ. 2010 วายจีทำการย้ายไปยังอาคารใหม่ ขณะที่สำนักงานเก่ากลายเป็นสถานที่ฝึกอบรม[18][19] ในปีเดียวกัน บริษัทประสบความล้มเหลวในการจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ ถูกต้องสงสัยเนื่องจากบริษัทมีกลุ่มดนตรีที่เคลื่อนไหวน้อยและกระแสเงินสดไม่คงที่ แม้จะมีรายได้เพิ่มขึ้นใน ค.ศ. 2009 ก็ตาม[20] ในปีนั้นเอง ไซได้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินในสังกัด[21]
2012–2016: การยอมรับในระดับนานาชาติและการขยายธุรกิจแก้ไข
ใน ค.ศ. 2012 วายจีเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติเมื่อ "คังนัมสไตล์" ของไซ ได้รับความนิยมทั่วโลกในฐานะไวรอลวิดีโอ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม เพลงขึ้นอันดับที่หนึ่งบนชาร์ตไอทูนส์มิวสิกวิดีโอ ถือเป็นครั้งแรกของศิลปินเกาหลีใต้ที่ทำได้[22] วันที่ 24 พฤศจิกายน "คังนัมสไตล์" กลายเป็นวิดีโอที่มียอดผู้ชมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ยูทูบ และเป็นวิดีโอแรกที่มียอดผู้ชมมากกว่าหนึ่งพันล้านครั้ง[23][24] รวมถึงได้รับเครดิตว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หุ้นของวายจีเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 60%[25] ค่ายเพลงยังได้จัดทำรายงานประจำปีฉบับแรกใน ค.ศ. 2012 ด้วยผลกำไรมากกว่า 50%[26] หลังจากเผยแพร่สู่สาธารณะบนคอสแด็ก (KOSDAQ) เมื่อปีก่อน[4]
ในปีเดียวกัน ค่ายเพลงได้เซ็นสัญญากับแร็ปเปอร์และโปรดิวเซอร์ ทาโบล หัวหน้าวงดนตรีฮิปฮอปอย่าง อีพิกไฮ ซึ่งหวนกลับเข้าวงการอีกครั้งหนึ่ง หลังว่างเว้นจากวงการเพลงสองปีในกรณีพิพาทสแตนฟอร์ดของเขา[27] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 สมาชิกทั้งหมดของอีพิกไฮได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงเป็นระยะเวลา 7 ปี และสิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018[28][29]
การมีส่วนร่วมมากขึ้นของยัง ฮย็อน-ซ็อก ในรายการแข่งขันทางโทรทัศน์นำไปสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงกับผู้เข้าแข่งขันหลายคน เริ่มด้วยอี ฮา-อี รองชนะเลิศฤดูกาลแรกของ เคป็อปสตาร์[30] ส่วนผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ จะได้รับการลงนามในฐานะสมาชิกที่มีศักยภาพเป็นวงบอยแบนด์ในอนาคต ผู้ชนะเลิศทั้งสอง กลุ่มนักร้องคู่ อักมิว และรองชนะเลิศ บัง เย-ดัม ได้เซ็นสัญญาภายใต้สังกัด[31][32] นอกจากนั้น วายจียังได้เปิดตัวรายการเรียลลิตี วิน: ฮูอิสเน็กซ์ โดยมีศิลปินฝึกหัดชายทั้งสองทีมแข่งขันกันเพื่อเปิดตัวในฐานะบอยแบนด์วงต่อไปของบริษัท บทสรุปของรายการได้แก่ การก่อตั้งของวินเนอร์ในเวลาต่อมา[33]
ศิลปินแก้ไข
ศิลปินเพลงทั้งหมดภายใต้สังกัดวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ถูกรวมอยู่ในวายจีแฟมีลี (YG Family) ขณะที่นักแสดงถูกรวมอยู่ในวายจีสเตจ (YG Stage)[34][35]
ศิลปินในสังกัดแก้ไข
กลุ่ม กลุ่มคู่
|
ศิลปินเดี่ยว
|
โปรดิวเซอร์เพลง
|
ศิลปินอิสระแก้ไข
|
|
นักแสดงแก้ไข
- ชา ซึง-ว็อน
- ชเว จี-อู
- คลอเดีย คิม
- คัง ดง-ว็อน
- ฮัน ซึง-ย็อน[a]
- ชัง ฮย็อน-ซ็อง
- ชัง กี-ยง[a]
- จินกย็อง
- ช็อง ฮเย-ย็อง
- ช็อง ยุน-ซ็อก[b]
- จู อู-แจ[b]
- คัล โซ-ว็อน
- คัง ฮี
- คัง ซึง-ยุน
- คิม ฮี-แอ
- คิม จี-ซู
- คว็อน ฮัน-ซ็อล[b]
- คว็อน ฮย็อน-บิน[a][b]
- กย็อง ซู-จิน
- อี โฮ-ช็อง[a]
- อี ฮย็อน-อุก[a]
- อี จู-มย็อง
- อี กี-แท็ก
- อี ซู-ฮย็อก[b]
- อี ซ็อง-กย็อง
- อี อู-เช
- นัม กยู-ฮี[a]
- พัก ฮย็อง-ซ็อบ[a]
- พัก โซ-อี
- พัก ซู-ย็อน
- พัก แท-อิน[b]
- ซอ จ็อง-ย็อน
- ซอ อี-ซอ
- ชิม ย็อง-อึน
- ซน นา-อึน
- วัง อี-จุน
- ยู อิน-นา
- ยู ซึง-โฮ
อดีตศิลปินและนักแสดงแก้ไข
อดีตศิลปินแก้ไข
- คีปซิก (1996)[48]
- เชคส์กีส์
- คัง ซ็อง-ยุน (2016–2019)[49]
- จีนูฌอน (1997–2020)[c]
- วันไทม์ (1998–2006)[d]
- แมสตา อู (2000–2016)[50]
- สวี.ที (2002–2005)[51]
- ฮวีซ็อง (2002–2006)
- กัมมี (2003–2013)
- บิกมามา (2003–2007)
- เซเวน (2003–2015)
- ดิจิทัลแมสตา (2003–2011)[52]
- เล็กซี (2003–2007)
- สโทนีสกังก์ (2003–2008)
- เอกซ์โอ (2003–2004)
- วอนเทด (2004–2006)[53]
- เบรฟ บราเทอส์ (2004–2008)
- 45อาร์พีเอ็ม (2005–2008)[54]
- โซลสตาร์ (2005–2007)[54]
- บิกแบง
- ทูเอนีวัน (2009–2016)[57]
- ไซ (2010–2018)
- อี ฮา-อี (2012–2019)[61]
- อีพิกไฮ (2012–2018)
- วินเนอร์
- นัม แท-ฮย็อน (2014–2016)[62]
- ไฮแกรนอาร์ติสต์ (2015–2018)[f]
- ไฮซูฮย็อน (2014–2019)[g]
- เอ็มโอบีบี (2016–2019)[h]
- ช็อง แจ-ว็อน (2015–2019)[63]
- ไอคอน
- อันดา (2018–2021)[65]
อดีตนักแสดงชาย/หญิงแก้ไข
- พัก ฮัน-บย็อล (2002–2004)[54]
- ช็อง ซ็อง-อิล (2009–2011)[54]
- ฮอ อี-แจ (2009–2011)[54]
- คัง ฮเย-ช็อง (2001–2013)
- สเตฟานี อี (2014–2017)[66]
- อี ยง-อู (2014–2017)
- คู ฮเย-ซ็อน (2003–2017)
- ช็อง ยู-จิน (2016–2018)
- อี จง-ซ็อก (2016–2018)
- โก จุน-ฮี (2017–2019)
- โอ ซัง-จิน (2017–2019)
- คิม ฮี-จ็อง (2016–2019)
- คิม แซ-รน (2016–2019)
- อิม เย-จิน (2014–2019)
- วัง จี-ว็อน (2018–2020)
- นัม จู-ฮย็อก (2013–2020)
- ดารา (2009–2021)
- ซน โฮ-จุน (2016–2021)
- โช ฮเย-จู (2017–2021)
อดีตนักแสดงตลกแก้ไข
- ยู บย็อง-แจ (2015–2019)
- แอน ยัง-มี่ (2015–2020)
เชิงอรรถแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 as part of YGKPlus
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 as part of YGX Entertainment
- ↑ While no official disbandment was announced, Jinusean's artist profile was removed in 2020, signifying the group is no longer active under the label.
- ↑ While no official disbandment was announced, 1TYM's artist profile was removed in 2014, signifying the group is no longer active under the label.
- ↑ Despite leaving YG, T.O.P is still an active member of Big Bang
- ↑ Artists: Hyukoh, Punchnello, OffonOff, Incredivle, The Black Skirts, Idiotape
Producers: Code Kunst & Millic - ↑ While no official disbandment was announced, Hi Suhyun's artist profile was removed in 2019, signifying the group is no longer active under the label.
- ↑ While no official disbandment was announced, MOBB's artist profile was removed in 2019, signifying the group is no longer active under the label.
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "YG Entertainment Major Stockholders". เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 24, 2021. สืบค้นเมื่อ May 24, 2021.
- ↑ Shim, Sun-ah; Lee, Eun-jung. "(Yonhap Interview) After 'successful' 20 years, YG Entertainment to keep pursuing refined music: CEO". Yonhap News. สืบค้นเมื่อ January 27, 2017.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "YG is different". The Korea Times. April 17, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ 4.0 4.1 Song, Su-hyun (August 15, 2016). "[KOSDAQ Star] Strong Japanese partner to defend YG from THAAD risk". The Korea Herald. สืบค้นเมื่อ August 17, 2016.
- ↑ Kim, JiYeon (May 19, 2012). "KPOP NEWS - The History of Yang Hyun Suk and YG: From ′Boy′ to ′CEO′ (Pt. 1)". Mwave. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ April 30, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "JinuSean (지누션)". KBS World Radio. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2014-10-26. สืบค้นเมื่อ 2016-05-30.
- ↑ "G-Dragon - 내 나이 열셋 (My Age is 13) Full MV". YouTube. April 25, 2012. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2014. สืบค้นเมื่อ March 11, 2015.
- ↑ Lee, Nancy (March 21, 2013). "KPOP NEWS - [K-Pop Battle] Se7en vs. Rain". Mwave. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ June 30, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "K-Pop Idols And The Formidable American Debut - KultScene". KultScene (ภาษาอังกฤษ). October 21, 2014. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 6, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ Park, Ga-young (May 30, 2018). "YG Entertainment, fly or fail?". The Investor (ภาษาอังกฤษ). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2018. สืบค้นเมื่อ July 12, 2018.
- ↑ "Big Bang's Global Influence: How to Build a Boy Band That Lasts". The Hollywood Reporter. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2016. สืบค้นเมื่อ December 11, 2015.
- ↑ (ในภาษาเกาหลี) Kim, Hyeong-wu. 2NE1 아이돈케어 ‘힙합전사에서 귀여운 여인 깜짝 변신’ (2NE1's "I Don't Care" "Swift Change from Hip-Hop Warriors to Sweet Girls") Archived กันยายน 13, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. IS Plus/Newsen. July 1, 2009. Retrieved September 4, 2009.
- ↑ Herman, Tamar (July 12, 2017). "10 Best K-Pop Girl Groups of the Past Decade: Critic's Picks". Billboard. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2019. สืบค้นเมื่อ October 5, 2017.
- ↑ Liu, Marian (February 17, 2017). "K-pop's growing pains: Why Asia's biggest bands are splitting up". CNN. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 19, 2019. สืบค้นเมื่อ October 5, 2017.
- ↑ "53rd Japan Record Award winners". Tokyograph. November 20, 2011. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ August 28, 2012. สืบค้นเมื่อ February 12, 2012.
- ↑ "AKB48 wins 53rd Japan Record Award". Tokyograph. December 30, 2011. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ August 28, 2012. สืบค้นเมื่อ February 12, 2012.
- ↑ Shamdasani, Pavan (November 9, 2009). "How to Crack Japan: The Big Bang Theory". Time. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ September 1, 2012. สืบค้นเมื่อ January 13, 2010.
- ↑ "YG엔터, 사옥 확장 위해 160억원에 부동산 매입". 네이트뉴스 (ภาษาเกาหลี). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 23, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-04-23.
- ↑ "YG Entertainment Moving to Own Company Building". HanCinema (ภาษาอังกฤษ). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "Korean entertainment firms fail to go public". koreatimes. January 5, 2011. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ August 11, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "Psy reveals the reason why he joined YG Entertainment". dkpopnews.net. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ November 20, 2012. สืบค้นเมื่อ October 26, 2012.
- ↑ "The world's first global Korean pop star". 4Music.com. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ November 14, 2012. สืบค้นเมื่อ November 8, 2012.
- ↑ "'Gangnam Style' Most Watched YouTube Video Ever". ABC News. November 29, 2012. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ November 28, 2012. สืบค้นเมื่อ June 29, 2020.
- ↑ "Psy Reflects On Fifth Anniversary of 'Gangnam Style': 'I Still Don't Know Why It Was So Special'". Billboard. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2017. สืบค้นเมื่อ October 28, 2017.
- ↑ Cha, Seonjin. "Psy's 'Gangnam Style' Hits 1 Billion Views on YouTube". Bloomberg. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 25, 2012. สืบค้นเมื่อ December 23, 2012.
- ↑ "Has Psy's 'Gangnam Style' Helped Double Daddy's Stock?". Yahoo Finance. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ Kim, JiYeon (November 15, 2011). "KPOP NEWS - Why Did YG Entertainment Sign Tablo and Psy?". Mwave. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ December 17, 2016. สืบค้นเมื่อ August 17, 2016.
- ↑ Sunwoo, Carla (2012-07-27). "Epik High to make comeback". Korea Joongang Daily. สืบค้นเมื่อ 2016-07-07.
- ↑ Lee Min-young (October 3, 2018). "Hip-hop trio Epik High leaves YG Entertainment". koreatimes.co.kr (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ May 1, 2019.
- ↑ "KPOP NEWS - [Interview] What Lee Hi Wants from YG and Yang Hyun Suk". Mwave. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ June 6, 2014. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "Why did Akdong Musician choose YG Entertainment?". Allkpop. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "YG Entertainment Signs On the 12-Year Old Bang Yedam from 'K-Pop Star Season 2'website=Ningin". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ August 4, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "Meet WINNER: K-Pop's Exciting New Boy Band". Billboard. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 25, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
- ↑ "YG Family artists list". YG Entertainment. สืบค้นเมื่อ September 7, 2020.
- ↑ "YG Family actors list". YG Entertainment. สืบค้นเมื่อ September 7, 2020.
- ↑ "2NE1′s CL Reveals How She and Teddy Came Up With ′The Baddest Female′". MWAVE. June 9, 2013. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ October 15, 2014. สืบค้นเมื่อ October 26, 2014.
- ↑ "Before the Album". Complex. 2013. สืบค้นเมื่อ October 26, 2014.
- ↑ "SECHSKIES's first new song was jointly written by TABLO and FUTURE BOUNCE who wrote BLACKPINK's "WHISTLE"". Complex. August 31, 2016. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
- ↑ "iKON's New Title Song "B-DAY" is Composed and Written by B.I and BOBBY". YG Life. May 19, 2017. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
- ↑ "WINNER to Release New Songs Until the End of This Year and Its Second Title Track is "FOOL"". YG Life. March 29, 2017. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
- ↑ "Lydia Paek, songwriter for BigBang and 2NE1, is also a singer with a big voice". Strait Times. July 10, 2015. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
- ↑ "The Making of G-Dragon's "Coup D'Etat"". Complex. September 10, 2013. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
- ↑ "Update: YG Rapper ONE Announces Release Date Of First MV Teaser In New Teaser Image". Soompi. June 25, 2017. สืบค้นเมื่อ July 7, 2017.
- ↑ "iKON confirmed "WHAT'S WRONG?" as one of the double title tracks for their new album… Written by B.I and BOBBY". YG Life. December 18, 2015. สืบค้นเมื่อ July 7, 2017.
- ↑ "전소미, JYP 떠나 YG '더블랙레이블' 손잡나…"확인 중"". Naver (ภาษาเกาหลี). September 23, 2018. สืบค้นเมื่อ September 23, 2018.
- ↑ "Talented Producer Peejay to Join YG Entertainment's 'The Black Label'". July 27, 2016.
- ↑ "Here Comes The Black Label". thekhoployalist. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2018-07-02. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ July 30, 2017. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.CS1 maint: archived copy as title (link)
- ↑ "강성훈, YG 전속계약 해지+젝스키스 활동 종료 "진심으로 사과"(전문)". entertain.naver.com.
- ↑ "YG "최근 마스타우 떠났다, 향후 음악활동 응원" 공식입장" (ภาษาเกาหลี). xsportsnews. January 8, 2016. สืบค้นเมื่อ January 8, 2016.
- ↑ "Yang Hyun Suk opens up about how his relationship with wife Lee Eun Joo began". allkpop.
- ↑ "Dok2, Masta Wu, Sojin, and Digital Masta to release collaboration track, "Finale"". November 27, 2014.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ November 7, 2017. สืบค้นเมื่อ November 3, 2017.CS1 maint: archived copy as title (link)
- ↑ 54.0 54.1 54.2 54.3 54.4 "FORMER MEMBERS (WAS IN YG)". June 21, 2012. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2019-04-04. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
- ↑ "[공식] YG 측 "승리와 전속계약 종료..아티스트 관리 못한 점 인정·반성" [전문]". 다음 연예. March 13, 2019.
- ↑ "YG "빅뱅, 올봄 신곡 발표 예정…탑 전속계약 종료" [공식]". Mydaily. February 7, 2022. สืบค้นเมื่อ February 7, 2022.
- ↑ "K-pop girl band 2NE1 breaks up". November 25, 2016. สืบค้นเมื่อ December 5, 2016.
- ↑ "'2NE1'에 대한 공식 입장". YG Entertainment. April 5, 2016. สืบค้นเมื่อ April 5, 2016.
- ↑ Doo, Rumy (April 5, 2016). "Member Minzy to leave 2NE1". Kpop Herald. สืบค้นเมื่อ April 5, 2016.
- ↑ Son Ji-nah (May 14, 2021). "산다라박, YG엔터테인먼트와 전속계약 만료(전문)[공식]". Maekyung Sports (ภาษาเกาหลี). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2021. สืบค้นเมื่อ May 14, 2021.
- ↑ "YG 측 "이하이와 전속계약 종료, 서로 앞날 응원하기로"(공식)" (ภาษาเกาหลี). December 31, 2019.
- ↑ "YG "위너 남태현 탈퇴 확정, 4인조 재편"(공식입장 전문)". สืบค้นเมื่อ December 5, 2016.
- ↑ 박정선 기자 (July 17, 2019). "[인터뷰②] '굿바이썸머' 정제원 "YG와 계약 만료..1인 기획사 계획"" (ภาษาเกาหลี). Naver. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2019-07-17. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
- ↑ Yim, Hyun-su (June 12, 2019). "B.I quits iKON over attempted drug purchase" (ภาษาอังกฤษ). The Korea Herald.
- ↑ Kim, Soo-young (January 3, 2022). "승리·양현석이 찜했던 안다, YG 떠났다…"새로운 출발"". Hankyung (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ February 7, 2022.
- ↑ "[공식입장] 스테파니 리, YNK엔터와 전속계약..임수정과 한솥밥". OSEN (ภาษาเกาหลี). April 26, 2017. สืบค้นเมื่อ April 26, 2017.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ |