ฝ่ายบริหารกลางทิเบต

(เปลี่ยนทางจาก รัฐบาลทิเบตพลัดถิ่น)

ฝ่ายบริหารกลางทิเบต (อังกฤษ: Central Tibetan Administration, CTA; ทิเบต: བོད་མིའི་སྒྲིག་འཛུགས་, ไวลี: bod mi'i sgrig 'dzugs, THL: Bömi Drikdzuk, [ˈpʰỳmìː ˈʈìʔt͡sùʔ], แปลว่า องค์กรพลัดถิ่นของประชาชนทิเบต)[1] หรือ ฝ่ายบริหารกลางทิเบตขององค์ทะไลลามะ (Central Tibetan Administration of His Holiness the Dalai Lama) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่น นำโดย "แต็นจิน กยาโช" ทะไลลามะองค์ที่ 14 จุดยืนขององค์กรนี้คือ ทิเบตเป็นชาติอิสระที่มีเอกราชมายาวนาน มิใช่ส่วนหนึ่งของจีน ปัจจุบันแม้ว่าทิเบตจะยังไม่ได้รับเอกราช แต่ก็ได้สิทธิปกครองตนเองเช่นเดียวกับฮ่องกง

ฝ่ายบริหารกลาง

བོད་མིའི་སྒྲིག་འཛུགས་
Bod mi'i sgrig 'dzugs / Bömi Drikdzuk
Flag of Tibet
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของTibet
ตราแผ่นดิน
คำขวัญབོད་གཞུང་དགའ་ལྡན་ཕོ་བྲང་ཕྱོགས་ལས་རྣམ་རྒྱལ
Tibetan Government, Ganden Palace, victorious in all directions
ทิเบตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนการผนวกของจีนใน ค.ศ. 1951 และก่อตั้งเขตปกครองตนเอง
ทิเบตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนการผนวกของจีนใน ค.ศ. 1951 และก่อตั้งเขตปกครองตนเอง
สถานะรัฐบาลพลัดถิ่น
สำนักงานใหญ่176215, ธรรมศาลา, Kangra district, รัฐหิมาจัลประเทศ, ประเทศอินเดีย
ภาษาทางการทิเบต
ศาสนา
พุทธแบบทิเบต
ประเภทรัฐบาลพลัดถิ่น
รัฐบาล
• Sikyong
Penpa Tsering
• ประธาน
Pema Jungney
สภานิติบัญญัติรัฐสภาพลัดถิ่น
สถาปนา29 พฤษภาคม ค.ศ. 2011
สกุลเงินรูปีอินเดีย (โดยพฤตินัย) (INR)
เว็บไซต์
tibet.net

กองบัญชาการใหญ่ของรัฐบาลพลัดถิ่นนี้อยู่ที่ธรรมศาลาในอินเดีย ที่ทะไลลามะจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 หลังจากการจลาจลเพื่อต่อต้านจีนล้มเหลว ดินแดนทิเบตในความหมายของรัฐบาลพลัดถิ่นนี้ ได้แก่เขตปกครองตนเองทิเบต มณฑลชิงไห่ และบางส่วนของมณฑลใกล้เคียงคือ กานซู่ เสฉวน และยูนนาน ซึ่งถือเป็นดินแดนของทิเบตในประวัติศาสตร์ รัฐบาลพลัดถิ่นนี้ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอินเดียให้เข้ามาดูแลชุมชนชาวทิเบตราว 100,000 คนที่ลี้ภัยอยู่ในอินเดียภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม ไม่มีประเทศใดยอมรับว่ารัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบตเป็นรัฐบาล

ใน พ.ศ. 2544 ชุมชนชาวทิเบตทั่วโลกได้มีการเลือกตั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ทิเบต: བཀའ་བློན་ཁྲི་པའ་, Kalon Tripa) โดยผู้ที่ได้รับเลือกตั้งคือ "โลซัง แต็นจิน" พระภิกษุวัย 62 ปี ซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทิเบต

ใน พ.ศ. 2555 ได้มีการปรับปรุงกฎหมายของฝ่ายบริหารกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และการยกเลิกอำนาจในการบริหารของทะไล ลามะ และแต่งตั้งให้ "โลซัง เซ็งเค" เป็น ประธานคณะกรรมการบริหารทิเบตกลางให้เป็นผู้มีอำนาจบริหารเต็ม (ทิเบต: སྲིད་སྐྱོང , Sikyong หมายถึง ผู้แทน หรือ ผู้ปกครอง)

อ้างอิง แก้

  1. "Central Tibetan Administration". [Central Tibetan Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2010. สืบค้นเมื่อ 28 August 2010.

บรรณานุกรม แก้

  • Roemer, Stephanie (2008). The Tibetan Government-in-Exile. Routledge Advances in South Asian Studies. Abingdon, Oxon: Routledge. ISBN 9780415586122.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้