มิกโลช โฮร์ตี

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งฮังการีระหว่าง ค.ศ. 1920 ถึง 1944
(เปลี่ยนทางจาก มิกโลช ฮอร์ตี)

วิเตซ[1] มิกโลช โฮร์ตี แห่งน็อจบาญอ (ฮังการี: nagybányai Horthy Miklós, เสียงอ่านภาษาฮังการี: [ˈnɒɟbaːɲɒi ˈhorti ˈmikloːʃ]; อังกฤษ: Nicholas Horthy;[2] เยอรมัน: Nikolaus Horthy Ritter von Nagybánya) เป็นพลเรือเอกและรัฐบุรุษชาวฮังการี ที่ได้กลายเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งราชอาณาจักรฮังการี เขาได้ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งอาณาจักรฮังการีในสมัยระหว่างสงคราม และเกือบตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1920 ถึง 15 ตุลาคม ค.ศ. 1944 เขาได้ถูกขนามนามว่า "ฮิสเซอรีนไฮเนส ผู้สำเร็จราชการแห่งอาณาจักรฮังการี"(ฮังการี: Ő Főméltósága a Magyar Királyság Kormányzója)

มิกโลช โฮร์ตี
รูปภาพอย่างเป็นทางการของมิกโลช โฮร์ตี
ผู้สำเร็จราชการแห่งราชอาณาจักรฮังการี
ดำรงตำแหน่ง
1 มีนาคม 1920 – 15 ตุลาคม 1944
นายกรัฐมนตรี
รองอิสต์วาน โฮร์ตี (1942)
ก่อนหน้าการ์โรย ฮูชาร์ (รักษาการ)
ถัดไปแฟแร็นตส์ ซาลอชีa
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มิกโลช โฮร์ตี แด น็อจบาญอ

18 มิถุนายน ค.ศ. 1868(1868-06-18)
แก็นแดแร็ช, ออสเตรีย-ฮังการี
เสียชีวิต9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957(1957-02-09) (88 ปี)
อึชโตริล, โปรตุเกส
ศาสนาลัทธิคาลวิน
คู่สมรสม็อกโดลนอ ปูร์กลี
บุตร
ดูรายชื่อ
ญาติพ่อ:
อิสต์วาน โฮร์ตี
แม่:
ปออูลอ ฮอล็อชชี
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ออสเตรีย-ฮังการี
สังกัดกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการี
ยศผู้บัญชาการทหารเรือ
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

a. ในฐานะ "ผู้นำแห่งชาติ"

โฮร์ตีได้เริ่มอาชีพของเขาในฐานะที่เป็นเรือตรีในกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีในปี ค.ศ. 1896 และได้รับยศตำแหน่งเป็นพลเรือตรีในปี ค.ศ. 1918 เขาได้แสดงถึงการปฏิบัติหน้าที่ในยุทธการที่ Strait of Otranto และกลายเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีในช่วงท้ายปีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้รับการเลื่อนยศตำแหน่งเป็นพลเรือโทและผู้บัญชาการกองเรือ เมื่อพลเรือเอกก่อนหน้านี้ได้ถูกขับออกจากตำแหน่งโดยจักรพรรดิคาร์ลที่ได้ให้การสนับสนุนการก่อกบฏ ในปี ค.ศ. 1919 ตามมาด้วยส่วนหนึ่งของการปฏิวัติและการเข้าแทรกแซงจากภายนอกในฮังการี ตั้งแต่โรมาเนีย เชโกสโลวาเกีย และยูโกสลาเวีย โฮร์ตีได้เดินทางกลับบูดาเปสต์พร้อมกับกองทัพแห่งชาติและต่อมาก็ได้รับเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการจากรัฐสภา โฮร์ตีได้นำรัฐบาลชาติอนุรักษนิยม[3]ตลอดช่วงสมัยระหว่างสงคราม และได้ประกาศให้พรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีและพรรคแอร์โรว์ครอสส์ เป็นพรรคการเมืองผิดกฎหมาย และดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งเน้นการเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสนธิสัญญาไทรอานอน คืน เขาเป็นผู้ทำให้ความพยายามคืนสู่บัลลังก์ของ สมเด็จพระเจ้าคาร์ลที่ 4 ทั้งสองครั้งในปี ค.ศ. 1921 ต้องล้มเหลว รัฐบาลฮังการีตกอยู่ใต้ภัยคุกคามจากฝ่ายสัมพันธมิตรที่อาจจะประกาศสงคราม หากมีการฟื้นฟูราชวงศ์ฮาพส์บวร์คขึ้นมาสมเด็จพระเจ้าคาร์ลที่ 4 จึงทรงถูกพาออกไปจากฮังการีโดยเรือรบของสหราชอาณาจักรในสถานะผู้ลี้ภัย

ในปลายปี ค.ศ. 1930 นโยบายต่างประเทศของโฮร์ตีนั้นได้ทำให้เขาต้องกลายเป็นพันธมิตรอย่างไม่เต็มใจกับเยอรมนีในการต่อกรกับสหภาพโซเวียต ด้วยการสนับสนุนอย่างเดียดฉันท์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ โฮร์ตีนั้นสามารถกู้คืนดินแดนบางส่วนที่ถูกเอาไปจากพวกเขาโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ภายใต้การนำของโฮร์ตี, ฮังการีได้ให้การสนับสนุนผู้ลี้ภัยชาวโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1939 และได้มีส่วนร่วมในบทบาทการสนับสนุน (เป็นฝ่ายตรงข้ามกับแนวหน้า) ในช่วงที่เยอรมันเข้ารุกรานสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1941 และเยอรมันเข้ารุกรานยูโกสลาเวียในปีเดียวกัน ได้ครอบครองและผนวกรวมเข้ากับดินแดนของชาวฮังการีในอดีตซึ่งได้ถูกมอบให้กับราชณาจักรเซิร์บ โครแอต และสโลวีเนีย (ยูโกสลาเวีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929) โดยฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อย่างไรก็ตาม, ด้วยความไม่เต็มใจของโฮร์ตีที่จะมีส่วนร่วมในความพยายามทำสงครามของเยอรมันและฮอโลคอสต์ในฮังการี รวมทั้งได้ปฏิเสธที่จะส่งมอบชาวยิวเชื้อสายฮังการีมากกว่า 600,000 คนจาก 825,000 คนให้แก่เจ้าหน้าที่เยอรมัน ควบคู่ไปกับความพยายามหลายครั้งในการจัดการข้อตกลงอย่างลับๆกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากได้เห็นชัดเจนว่า ฝ่ายอักษะจะพ่ายแพ้สงคราม จนท้ายที่สุดก็ทำให้เยอรมันต้องส่งกองทัพเข้าไปรุกรานและเข้าควบคุมประเทศในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 ในปฏิบัติการมาร์กาเรต ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 โฮร์ตีได้แถลงการณ์ว่าฮังการีนั้นได้ประกาศสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตรและถอนตัวออกจากฝ่ายอักษะแล้ว เขาได้ถูกบังคับให้ลาออก, ถูกจับกุมโดยเยอรมันและถูกพาตัวไปยังบาวาเรีย ในช่วงท้ายสงคราม, เขาได้อยู่ภายใต้การดูแลของทหารอเมริกัน[4]

หลังจากได้ปรากฏตัวในฐานะพยานในการพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามที่เนือร์นแบร์คในปี ค.ศ. 1948 โฮร์ตีได้ตั้งรกรากและใช้ชีวิตในปีที่เหลืออยู่ของเขาในการลี้ภัยที่โปรตุเกส บันทึกของเขา Ein Leben für Ungarn (ชีวิตสำหรับฮังการี)[5] ได้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1953 เขาได้ถูกมองว่าเป็นบุคคลที่มีความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ในฮังการีร่วมสมัย[6][7][8][9]

อ้างอิง แก้

  1. "วิเตซ" (Vitéz) หมายถึงระดับชั้นอัศวินระดับหนึ่งที่มิกโลช โฮร์ตี ตั้งขึ้น; "วิเตซ" มีความหมายตามตัวอักษรว่า "อัศวิน" หรือ "กล้าหาญ"
  2. Owen Rutter, Averil Mackenzie-Grieve, Lily Doblhoff (baroness.) : Regent of Hungary: the authorized life of Admiral Nicholas Horthy
  3. John Laughland: A History of Political Trials: From Charles I to Saddam Hussein, Peter Lang Ltd, 2008 [1]
  4. von Papen, Franz, Memoirs, London, 1952, pps:541-23, 546.
  5. Miklos Horthy (2011). A life for Hungary : memoirs. Ishi Press International. ISBN 978-4-87187-913-2. OCLC 781086313.
  6. Romsics, Ignác. "Horthy-képeink". Mozgó Világ Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2014. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
  7. Simon, Zoltán (13 June 2012). "Hungary Lauds Hitler Ally Horthy as Orban Fails to Stop Hatred". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
  8. Verseck, Keno (6 June 2012). "'Creeping Cult': Hungary Rehabilitates Far-Right Figures". Spiegel Online International. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
  9. "His contentious legacy". The Economist. No. 9 Nov. 2013. 9 Nov 2013. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้