พรรคคอมมิวนิสต์ฮังการี

พรรคคอมมิวนิสต์ฮังการี (ฮังการี: Magyar Kommunista Párt, ชื่อย่อ MKP) ช่วงเริ่มแรกรู้จักกันในชื่อ พรรคคอมมิวนิสต์ในฮังการี (ฮังการี: Kommunisták Magyarországi Pártja, ชื่อย่อ KMP) เป็นพรรคการเมืองสายคอมมิวนิสต์ในประเทศฮังการีที่ดำรงอยู่ในช่วงระหว่างสงครามและในช่วงสั้น ๆ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด

พรรคคอมมิวนิสต์ในฮังการี (1918–1919; 1922–1943)
พรรคสังคมนิยมฮังการี (1919)
พรรคแรงงานสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ฮังการี (1919)
พรรคสันติภาพ (1943–1944)
พรรคคอมมิวนิสต์ฮังการี (1944–1948)
ผู้นำพรรคคนแรกเบลอ กุน
ผู้นำพรรคคนสุดท้ายมาจาช ราโกชี
ก่อตั้ง24 พฤศจิกายน 1918
ถูกยุบ22 กรกฎาคม 1948
ถัดไปแอ็มเดเป
อุดมการณ์
จุดยืนซ้ายจัด
กลุ่มระดับชาติกลุ่มซ้าย
กลุ่มระดับสากล
สี  แดง
สภา (มิถุนายน 1945)
166 / 498
สภา (พฤศจิกายน 1947)
100 / 364
ธงประจำพรรค
การเมืองฮังการี
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 1918 ในชื่อ "พรรคคอมมิวนิสต์ในฮังการี" และอยู่ในอำนาจในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงสิงหาคม 1919 เมื่อ เบลอ กุน ได้สถาปนาสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีที่มีอายุสั้น รัฐบาลคอมมิวนิสต์ถูกกองทัพโรมาเนียโค่นล้มในเวลาต่อมา กุนจึงลี้ภัยไปเวียนนา และต่อมาตัวเขาพร้อมด้วยสมาชิกคอมมิวนิสต์คนอื่น ๆ ได้ย้ายไปยังมอสโก และพรรคเริ่มมีจำนวนสมาชิกน้อยลงเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พรรคได้เปลี่ยนชื่อเป็น "พรรคสันติภาพ" แต่เพียงไม่กี่เดือนต่อมา ในปี 1944 พรรคได้ใช้ชื่อใหม่ซึ่งจะคงอยู่จนถึงปี 1948 ภายหลังสงคราม พรรคเริ่มมีอำนาจมากขึ้นและจำนวนสมาชิกก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การที่ มาจาช ราโกชี ได้กวาดล้างพรรคการเมืองอื่น ๆ ในประเทศ เว้นแต่พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมฮังการี (ซึ่งมีอุดมการณ์ร่วมกัน) เพื่อก่อตั้งรัฐพรรคการเมืองเดียว ในปี 1948 พรรคได้รวมเข้ากับพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมเพื่อก่อตั้ง "พรรคประชาชนแรงงานฮังการี" ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นพรรครัฐบาลต่อไปของฮังการี พรรคยังเป็นสมาชิกของโคมินเทิร์นและโคมินฟอร์มอีกด้วย

การก่อตั้งและช่วงปีแรก แก้

 
ตราประจำพรรคคอมมิวนิสต์ในฮังการี

พรรคคอมมิวนิสต์ฮังการี (KMP) ถูกก่อตั้งขึ้นในชื่อ "พรรคคอมมิวนิสต์ในฮังการี" ในช่วงปลายปี 1918 โดย เบลอ กุน อดีตนักข่าวผู้ต่อสู้เพื่อจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังจากการใช้เวลาอยู่ในค่ายเชลยศึกในรัสเซีย กุนและบรรดาเพื่อนของเขาได้ก่อตั้งกลุ่มคอมมิวนิสต์ซึ่งจะเป็นรากฐานของพรรคในอนาคตที่กรุงมอสโกในเดือนตุลาคม 1918 สมาชิกกลุ่มแรกได้กลับมายังฮังการีในเดือนพฤศจิกายน และในวันที่ 24 ได้มีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเป็นทางการ พรรคคอมมิวนิสต์ใช้ชื่อว่า "พรรคคอมมิวนิสต์ในฮังการี" (ฮังการี: Kommunisták Magyarországi Pártja) แทนที่จะใช้ชื่อ "พรรคคอมมิวนิสต์ฮังการี" เนื่องจากชนชั้นทางสังคมส่วนใหญ่เป็นคนงานในโรงงานในบูดาเปสต์ ซึ่งไม่ใช่ชาติพันธุ์ชาวฮังการี และมีชาวฮังการีเป็นเพียงส่วนน้อยนิดเท่านั้นในพรรคที่เพิ่งก่อตั้งใหม่[1] ในขั้นต้น กลุ่มยังมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมฮังการี อย่างไรก็ตาม ความไม่มั่นคงทางการเมืองของรัฐบาลภายใต้การนำของ มิฮาย กาโรยี และความนิยมที่เพิ่มขึ้นของขบวนการบอลเชวิค ทำให้พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมต้องการเป็นพันธมิตรกับพรรคคอมมิวนิสต์ สำหรับพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยม การเป็นพันธมิตรกับพรรคคอมมิวนิสต์ไม่เพียงแต่เพิ่มจุดยืนของตนกับผู้คนทั่วไปเท่านั้น แต่ยังทำให้พรรคเชื่อมโยงกับพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซียที่มีอำนาจมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากกุนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบอลเชวิครัสเซีย

หลังจากการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีในเดือนมีนาคม 1919 กุนได้เริ่มดำเนินการให้อุตสาหกรรมเอกชนเป็นของรัฐทั้งหมด ได้มีการเริ่มโครงการนารวมขนาดใหญ่ นอกจากนี้ เขายังได้ดำเนินการเพื่อทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับมหาอำนาจไตรภาคีกลับสู่สภาวะปกติ มีความพยายามทวงคืนดินแดนบางส่วนของฮังการีที่สูญเสียไปในการเจรจาหลังสงครามกลับคืนมา เป็นระยะเวลา 133 วัน ที่สาธารณรัฐโซเวียตฮังการีดำรงอยู่ พรรคคอมมิวนิสต์มุ่งเน้นไปที่การพยายามแก้ไขความวุ่นวายทางเศรษฐกิจที่แพร่กระจาย อันเป็นผลมาจากความพ่ายแพ้ของฮังการีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นที่น่าเสียดายที่นโยบายทางเศรษฐกิจของกุนได้สร้างอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารทั่วประเทศ ฝ่ายต่อต้านที่นำโดย มิกโลช โฮร์ตี เริ่มแข็งแกร่งขึ้น และในเดือนมิถุนายน ได้เกิดความพยายามในการรัฐประหาร ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์เริ่มกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามอย่างรุนแรงโดยตำรวจลับ สาธารณรัฐโซเวียตสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1919 หลังจากกองทัพฮังการีพ่ายแพ้สงครามต่อโรมาเนีย เมื่อกองทัพโรมาเนียเข้ารุกบูดาเปสต์ กุจึงลี้ภัยไปยังเวียนนา และยอมให้พรรคคอมมิวนิสต์มอบอำนาจให้แก่พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยม

สมัยระหว่างสงครามและพลัดถิ่น แก้

สงครามโลกครั้งที่สองและคอมมิวนิสต์ขึ้นสู่อำนาจ แก้

ประวัติการเลือกตั้ง แก้

การเลือกตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แก้

ปีที่เลือกตั้ง ผู้นำ จำนวนที่นั่ง พันธมิตร ลำดับที่
1944 มาจาช ราโกชี
166 / 498
FKGP–MKP–MSZDPNPPPDP 1
1945 มาจาช ราโกชี
70 / 409
FKGP–MKP–MSZDPNPP 3
1947 มาจาช ราโกชี
100 / 411
FKGP–MKP–MSZDPNPP 1

ผู้นำ แก้

สมาชิกหลัก แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. E. Raffay, Trianon Titkai (Secrets of Trianon), Szikra Press, Budapest 1990 (ISBN 9632174771) - PAGE: 13

บรรณานุกรม แก้

  • Crampton, R.J. Eastern Europe in the Twentieth Century - And After, 2nd Ed. Routledge Press, 1994.
  • Kenez, Peter Hungary from the Nazis to the Soviets: The Establishment of the Communist Regime in Hungary, 1944-1948, Cambridge University Press, 2006
  • Kovrig, Bennett. Communism in Hungary: From Kun to Kadar. Hoover Institution Press. Stanford, 1979
  • Molnár, Miklós From Béla Kun to János Kádár: Seventy Years of Hungarian Communism, Berg Publishers, 1990