มาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส
มาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน (31 มีนาคม ค.ศ. 1718 - 15 มกราคม ค.ศ. 1781) ทรงเป็นอินฟันตาแห่งสเปนเมื่อครั้งพระราชสมภพและหลังจากนั้นทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส ซึ่งเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าโจเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส เมื่อมีพระชนมายุ 7 พรรษา ทรงหมั้นกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส[1] แต่ต่อมาการเตรียมการอภิเษกสมรสถูกยกเลิกและพระนางถูกส่งตัวกลับสเปน ในปีค.ศ. 1729 ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 5 แห่งโปรตุเกสซึ่งก็คือ เจ้าชายโจเซแห่งบราซิล[2] ทำให้พระนางเป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส ตลอดพระชนม์ชีพของพระนางทรงเป็นที่ปรึกษาคู่พระทัยพระราชสวามีและพระราชธิดา จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 1781
มาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน | |
---|---|
สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึช | |
ระหว่าง | 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1750 – 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777 |
พระราชสมภพ | 31 มีนาคม ค.ศ. 1718 ณ พระราชวังรอยัล อัลคาซาแห่งมาดริด มาดริด ประเทศสเปน |
สวรรคต | 15 มกราคม ค.ศ. 1781 ณ พระราชวังหลวงอาจูดา ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส (พระชนมายุ 62 พรรษา) |
พระราชสวามี | พระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส |
พระราชบุตร | สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส เจ้าหญิงมาเรียนา ฟรานซิสกาแห่งโปรตุเกส เจ้าหญิงโดโรเธเอียแห่งโปรตุเกส เจ้าหญิงเบเนดิกตาแห่งโปรตุเกส |
ราชวงศ์ | บูร์บง บราแกนซา |
พระราชบิดา | พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน |
พระราชมารดา | ดัสเชสเอลิซาเบธ ฟาร์เนเซแห่งปาร์มา |
ลายพระอภิไธย |
ประสูติและภูมิหลัง
แก้เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียประสูติ ณ พระราชวังรอยัล อัลคาซาแห่งมาดริด กรุงมาดริด ประเทศสเปน เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ใน พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปนกับดัสเชสเอลิซาเบธ ฟาร์เนเซแห่งปาร์มา[3] พระนาม "มาเรียนา บิกโตเรีย" ของพระนามนั้งมีที่มาจากพระนามของพระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดาคือ ดัสเชสมาเรีย แอนนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย ผู้ซึ่งเป็นพระมเหสีในเจ้าชายหลุยส์ แกรนด์ ดอแฟงแห่งฝรั่งเศส เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งสเปนโดยกำเนิด พระราชบิดาของพระนางเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และทรงได้รับสืยทอดการครองราชบัลลังก์สเปนในปีพ.ศ. 2243 ในช่วงที่เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียประสูติ ทรงอยู่ในลำดับที่ 5 ของการสืบราชบัลลังก์สเปน โดยทรงอยู่ถัดจาก พระเชษฐาต่างพระมารดา 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายหลุยส์แห่งอัสตูเรียส,เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งสเปนและเจ้าชายเปโดรแห่งสเปน ลำดัยที่ 4 คือ พระเชษฐาร่วมพระมารดาคือ เจ้าชายชาร์ลส์แห่งสเปน ในระหว่างทรงดำรงเป็นเจ้าหญิงแห่งสเปน ทรงได้รับพระอิศริยยศชั้น "เจ้าฟ้าหญิง"
การหมั้นกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส
แก้หลังจากสงครามสี่สัมพันธมิตร ฝรั่งเศสและสเปนตัดสินใจปรองดองกัน โดยการหมั้นเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียกับพระญาติของพระนางคือ ยุวกษัตริย์พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งได้รับการจัดตั้งแผนโดยฟิลิปป์ที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอองส์ ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งฝรั่งเศสในขณะนั้น[4] ซึ่งพระเจ้าหลุยส์มีพระชนมายุเพียง 10 พรรษา และแผนการหมั้นในครั้งนี้รวมถึงพิธีหมั้นของพระราชโอรสพระองค์โตในพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปนคือ เจ้าชายหลุยส์แห่งสเปนกับเจ้าหญิงหลุยส์ เอลิซาเบธแห่งออร์เลออง มาดาม เดอ มองเปสิเออร์ และรวมทั้งพิธีหมั้นระหว่างเจ้าหญิงฟิลิปพินส์ เอลิซาเบธแห่งออร์เลออง มาดาม เดอ โบโจลาอิสกับเจ้าชายชาร์ลส์แห่งสเปน [5]
หลุยส์ เดอ ลูฟว์รอย,ดุ๊ก เดอ แซงค์-ซิมอน ราชทูตจากฝรั่งเศส รับเสด็จพระนางในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2264 เป็นการแลกเปลี่ยนเจ้าหญิงมาเรียนนา วิกตอเรียกับมาดาม เดอ มองเปซิเออร์ที่เกาะพลีเซนต์ ซึ่งเคยเป็นสถานที่ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสทรงพบกับว่าที่พระมเหสีเจ้าหญิงมาเรีย เทเรสแห่งสเปนในปีพ.ศ. 2203 เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียเสด็จถึงกรุงปารีสในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2265 การจัดพิธีและเฉลิมฉลองจัดขึ้นในพระราชวังลูฟว์ซึ่งเป็นที่ประทับ เจ้าหญิงทรงได้รับพระนามลำลองว่า "l'infante Reine" แปลว่า เจ้าหญิงราชินี[5] เนื่องจากไม่ได้อภิเษกสมรสกันนับตั้งแต่เสด็จถึงฝรั่งเศสจนกระทั่งทรงเจริญพระชันษาสูงขึ้น เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียทรงตกอยู่ภายใต้ความเกรงขามของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และทรงเป็นที่นิยมในราชสำนักนอกเหนือจากพรเจ้าหลุยส์ทรงปฏิเสธให้พระนางเข้าเฝ้า[6]
ตามที่เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ชาร์ล็อตแห่งพาเลนทีน ผู้เป็นพระราชมารดาในผู้สำเร็จราชการทรงกล่าวถึงเจ้าหญิงมาเรียนาว่าเป็น "สิ่งเล็กๆที่หอมหวานและน่ารักที่สุด" และมีสติปัญญามากสำหรับพระชนมายุของเจ้าหญิง เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียทรงได้รับการศึกษาจากมารี แอนน์ เดอ บูร์บง ผู้เป็นธิดานอกสมรสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับหลุยส์ เดอ ลา วาลิแยร์ ผู้เป็นพระสนม ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2266 พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ทรงบรรลุนิติภาวะและสามารถปกครองประเทศได้ด้วยพระองค์เอง[7]
การประทับในฝรั่งเศสของเจ้าหญิงนั้นไม่ค่อยดี ภายใต้อิทธิพลของหลุยส์ อองรี ดยุกแห่งบูร์บง ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นกับมาดาม เดอ ปรี ผู้เป็นสนมของเขา ได้ตัดสินใจส่งเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียซึ่งมีพระชนมายุ 7 พรรษากลับสเปนในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2268 เนื่องจากพวกเขาต้องการที่จะรักษาอำนาจและอิทธิพลเหนือยุวกษัตริย์และได้เสนอให้พระเจ้าหลุยส์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเฮนเรียต หลุยส์ เดอ บูร์บง ผู้เป็นพระขนิษฐาของดยุกเองซึ่งไม่เหมือนกับเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียตรงที่เจ้าหญิงเฮนเรียตทรงเจริญพระชันษาในช่วงที่สามารถทรงครรภ์ได้ เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ทางสเปนไม่พอใจและปฏิเสธการสนับสนุนสถานะของเจ้าหญิงหลุยส์ เอลิซาเบธแห่งออร์เลออง สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน ซึ่งอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์แห่งสเปน และพระเจ้าหลุยส์แห่งสเปนได้เสด็จสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาทหลังจากทรงครองราชย์ได้เพียง 7 เดือน[5] ในฐานะที่อภิเษกสมรสแต่ก็ไม่ได้รับอะไรมากมาย ทางการสเปนปฏิเสธที่จะช่วยเหลือพระราชินีหลุยส์ เอลิซาเบธและมีพระราชโองการให้พระราชินีเสด็จกลับฝรั่งเศส พร้อมกับพระขนิษฐาของพระนาง เจ้าหญิงฟิลิปพินส์ เอลิซาเบธแห่งออร์เลออง ซึ่งเตรียมอภิเษกสมรสกับเจ้าชายชาร์ลส์แห่งสเปน การกระทำเช่นนี้เพื่อตอบโต้ฝรั่งเศส เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียเสด็จออกจากพระราชวังแวร์ซายในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2268 และเดินทางไปยังชายแดนเพื่อแลกเปลี่ยนเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรีย กับสองเจ้าหญิงแห่งออรฺเลอองคือ อดีตพระราชินีหลุยส์ เอลิซาเบธแห่งสเปนและเจ้าหญิงฟิลิปพินส์ ต่อมาพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมารี เลสไซน์สกาแห่งโปแลนด์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2268 และเจ้าหญิงมาเรีย เทเรซา ราฟาเอลาแห่งสเปน พระขนิษฐาในเจ้าหญิงมาเรียนาได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายหลุยส์ ดอแฟงแห่งฝรั่งเศส พระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ในปีพ.ศ. 2288 เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับสเปนอีกครั้ง
การหมั้นกับพระเจ้าโจเซที่ 1
แก้การมาถึงสเปนของเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียเป็นเรื่องที่น่าละอายอย่างมาก ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างสเปนและฝรั่งเศส จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทางสเปนได้ร่วมมือกับออสเตรีย และทำสนธิสัญญาเวียนนา(1725)ในปีพ.ศ. 2268 ในขณะที่อังกฤษได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียทรงประทับอยู่ที่สเปนโดยยังมิได้อภิเษกสมรสและยังคงมีสิทธิ์ในราชบัลลังก์สเปนแต่ลำดับของเจ้าหญิงได้ถูกแทนที่โดยดยุกฟิลิปแห่งปาร์มาผู้เป็นพระอนุชาซึ่งประสูติในปีพ.ศ. 2263 ได้มีการติดต่อกับราชอาณาจักรโปรตุเกสในปีพ.ศ. 2270 ได้มีการเจรจาเรื่องการอภิเษกสมรสโดยมาควิสแห่งแอบรานเตส ราชทูตจากโปรตุเกส และเคยมีข่าวลือว่าเจ้าหญิงจะได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับซาร์ปีเตอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย พระราชนัดดาในซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มหาราช[8] การอภิเษกสมรสสองคู่ได้มีการวางแผนโดยเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียจะต้องอภิเษกสมรสกับเจ้าชายโจเซแห่งบราซิล พระราชโอรสและรัชทายาทในสมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 5 แห่งโปรตุเกส และเจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งอัสตูเรียส พระเชษฐาต่างมารดาของเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียจะต้องเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงบาร์บาราแห่งโปรตุเกส ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีในเจ้าชายโจเซ[9] เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียอภิเษกสมรสกับเจ้าชายแห่งบราซิล(ตำแหน่งรัชทายาทแห่งโปรตุเกส)ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2272 พระราชพิธีจัดขึ้นที่แคว้นอัลวาสในโปรตุเกส [3] เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส(ตำแหน่งรัชทายาทแห่งสเปน)ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงบาร์บาราในวันถัดมาที่แคว้นบาดาจอสของสเปน ตั้งแต่อภิเษกสมรสจนกระทั่งพระสวามีขึ้นครองราชย์สมบัติในปีพ.ศ. 2293 ทรงดำรงพระอิศริยยศ "เจ้าหญิงแห่งบราซิล"
ทั้งสองพระองค์ทรงมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ทั้งสองพระองค์โปรดการล่าลัตว์และดนตรี โดยเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียทรงมีความสามารถในการร้องเพลง ทรงสนับสนุนนักร้องโอเปราอิตาเลียนและการละคร ทั้งสองพระองค์ทรงเค่งครัดในศาสนามาก ถึงอย่างไรก็ตามพระสวามีของเจ้าหญิงยังคงมีสนมหลายคนซึ่งทำให้พระมเหสีที่แข็งแกร่งไม่โปรด เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียมีพระประสูติกาลพระโอรสธิดารวม 8 พระองค์แต่มีเพียงพระธิดา 4 พระองค์เท่านั้นที่ทรงดำรงพระชนม์ชีพจวบจนเจริญพระชันษา[3] พระราชธิดาพระองค์แรกคือเจ้าหญิงมาเรีย ทรงได้รับพระอิศริยยศ "เจ้าหญิงแห่งเบย์รา" และเป็นรัชทายาทในพระราชบิดาของพระนาง พระราชธิดาสองพระองค์ของพระนางมาเรียนา บิกโตเรีย สิ้นพระชนม์โดยมิได้อภิเษกสมรส ได้แก่ เจ้าหญิงมาเรียนา ฟรานซิสกาได้เตรียมเพื่ออภิเษกสมรสกับเจ้าชายหลุยส์ ดอแฟงแห่งฝรั่งเศส แต่พระนางมาเรียนา บิกโตเรีย พระมารดาของพระนางปฏิเสธแผนการนี้อาจเนื่องมาจากความคับแค้นพระทัยที่ทรงเคยได้รับเมื่อเป็นพระคู่หมั้นในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 พระธิดาองค์ต่อมาคือ เจ้าหญิงโดโรเธเอียได้เตรียมเพื่ออภิเษกสมรสกับหลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอองส์ และเป็นอีกคั้งที่พระนางปฏิเสธแผนการนี้ พระราชธิดาองค์สุดท้องคือ เจ้าหญิงเบเนดิกตาได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายโจเซแห่งบราซิลผู้เป็นพระนัดดา ซึ่งการอภิเษกสมรสคั้งนี้ถูกจัดขึ้นหลังการสวรรคตของพระเจ้าโจเซ[10]
สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส, สมเด็จพระราชินีนาถและสมเด็จพระราชชนนีแห่งโปรตุเกส
แก้หลังจากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 5 แห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระสัสสุระในปีพ.ศ. 2293 พระสวามีจึงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิโปรตุเกส ที่ซึ่งครอบคลุมอาณาเขตถึงทวีปอเมริกาใต้ ในรัชสมัยของพระสวามีทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมาควิสแห่งพอมบาล ผู้ซึ่งเป็นที่ได้รับความไว้วางใจจากสมเด็จพระราชชนนีมาเรีย แอนนา พระเจ้าโจเซฟทรงมอบพระราชอำนาจในการปกครองแก่มาควิสแห่งพอมบาล และเขาได้ใช้อำนาจนี้กำจัดศัตรูทางการเมือง พระนางมาเรียนา บิกโตเรียและพระราชธิดาไม่ทรงนิยมชมชอบในพฤติกรรมและอำนาจของมาควิสแห่งพอมบาลที่มีเหนือพระเจ้าโจเซฟ ในรัชสมัยของพระสวามีได้เกิดเหตุการณ์ครั้งใหญ่ที่ร้ายแรงคือ แผ่นดินไหวในลิสบอน พ.ศ. 2298 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2298 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100,000 คน ผลจากมหันตภัยครั้งนี้ส่งผลให้พระเจ้าโจเซฟทรงพระประชวรด้วยโรคกลัวที่ปิดทึบ ซึ่งพระองึ์ไม่สามารถประทับในที่ที่ติดกับผนังได้ ทำให้พระราชวงศ์ต้องย้ายไปประทับที่เมืองอาจูดาโดยประทับในกระโจมบนเนินเขา มาควิสแห่งพอมบาลได้จัดการบูรณะกรุงลิสบอนใหม่
ในปีพ.ศ. 2302 ได้เกิดเหตุการณ์ "เรื่องอื้อฉาวทาวอรา" ซึ่งเป็นเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าโจเซฟระหว่างเสด็จตามถนนในกรุงลิสบอน พระองค์ทรงถูกยิงที่พระพาหาและผู้บังคับพาหนะได้รับบาดเจ็บ แต่พระองค์ก็ทรงรอดพระชนม์ชีพมาได้ มาควิสแห่งพอมบาลได้สั่งจับกุมคนตระกูลทาวอราซึ่งมีอิทธิพลทางการเมืองที่เป็นปริปักษ์กับรัฐบาลของมาควิสในตอนนั้นและตกเป็นผู้ต้องสงสัย และเขาได้สั่งขับไล่บาทหลวงคณะเยซูอิต ที่ต้องสงสัยว่ารู้เห็นกับการลอบปลงพระชนม์ในเดือนพ.ศ. 2302 ซึ่งทั้งตระกูลทาวอราและคณะเยซูอิตล้วนยเป็นปริปักษ์กับมาควิสทั้งสิ้น มาควิสแห่งพอมบาลได้สั่งประหารตระกูลทาวอราทั้งตระกูล แต่ด้วยการแทรกแซงของพระนางมาเรียนา บิกโตเรียและเจ้าหญิงแห่งบราซิล พระธิดา ทำให้สามารถช่วยชีวิตผู้หญิงและเด็กในตระกูลนี้ได้จำนวนหนึ่ง ทำให้มาควิสไร้ซึ่งผู้ต่อต้านและเขาได้ควบคุมองค์กรสาธารณะต่างๆ และองค์การทางศาสนาและเขาได้กลายเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ส่วนพระเจ้าโจเซฟและพระนางมาเรียนา บิกโตเรียทรงไม่มีอำนาจในการบริหาร
ต่อมาพระสวามีทรงพระประชวรด้วยโรคเส้นพระโลหิตเลี้ยงสมองอุดตัน พระองค์ทรงแต่งตั้งพระนางมาเรียนา บิกโตเรียเป็นผูสำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2319[11] และพระนางทรงดำรงพระอิศริยยศ"สมเด็จพระราชินีนาถ" เรื่อยมาจนกระทั่งพระสวามีสวรรคตในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320[11] หลังจากพระสวามีสวรรคต พระราชธิดาองค์โตได้ครองราชบัลลังก์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกในประวัติศาสตร์โปรตุเกสคือ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส พระนางทรงให้คำปรึกษาแก่พระราชธิดาทุกเรื่องโดยเฉพาะการปกครอง ช่วงต้นของรัชกาลพระนางมาเรียได้เนรเทศมาควิสแห่งพอมบาลออกจากประเทศ[11]
เมื่อพระราชธิดาครองราชสมบัติ พระนางมาเรียนา บิกโตเรียทรงพัฒนาความสัมพันธ์กับสเปนซึ่งพระมหากษัตริย์สเปนในครั้งนั้นเป็นพระเชษฐาของพระนางคือ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสเปน สองประเทศได้ลงนามทางการค้าร่วมกันประเทศอาณานิคมแถบอเมริกา พระนางเสด็จออกจากโปรตุเกสในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2320 โดยเสด็จประพาสสเปนและประทับที่มาดริดในพระราชวังหลวงอลันฮูเลสเป็นเวลาปีกว่า[12] พระนางทรงกระชับความสัมพันธ์กับสเปนโดยให้พระราชนัดดาอภิเษกสมรสกับราชวงศ์สเปน โดยเจ้าชายกาเบรียลแห่งสเปน พระราชโอรสในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียแห่งโปรตุเกส พระราชนัดดา และเจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน อภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอห์นแห่งโปรตุเกส พระนางมาเรียนา บิกโตเรียทรงพระประชวรด้วยโรคไขข้ออักเสบโดยต้องทรงประทับรถเข็นบางครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2321 พระนางเสด็จกลับโปรตุเกสในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน พระนางทรงพระประชวรด้วยโรคพระหทัยวาย[13]และเสด็จสวรรคต ณ พระราชวังหลวงอาจูดา กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส สิริพระชนมายุ 62 พรรษา พระศพฝังที่มหาวิหารเซา วิเซนเต
รัชทายาท
แก้พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา | |
สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส | พ.ศ. 2277 |
17 ธันวาคมพ.ศ. 2359 |
20 มีนาคมอภิเษกสมรส 6 มิถุนายน พ.ศ. 2303 เจ้าชายเปโดรแห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระปิตุลา มีรัชทายาท 6 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายโจเซแห่งบราซิล เจ้าชายโจอาว ฟรานซิสโกแห่งโปรตุเกส เจ้าหญิงมาเรีย อิซาเบลแห่งโปรตุเกส สมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 6 แห่งโปรตุเกส เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียแห่งโปรตุเกส เจ้าหญิงมาเรีย คลีเมนทีนาแห่งโปรตุเกส | |
เจ้าหญิงมาเรียนา ฟรานซิสกาแห่งโปรตุเกส | พ.ศ. 2279 |
7 ตุลาคมพ.ศ. 2356 |
6 พฤษภาคมเตรียมเพื่ออภิเษกสมรสกับเจ้าชายหลุยส์ ดอแฟงแห่งฝรั่งเศส แต่พระมารดาของพระนางปฏิเสธแผนการนี้ สิ้นพระชนม์โดยไม่ได้อภิเษกสมรส | |
เจ้าหญิงโดโรเธเอียแห่งโปรตุเกส | พ.ศ. 2282 |
21 กันยายนพ.ศ. 2314 |
14 มกราคมเตรียมเพื่ออภิเษกสมรสกับหลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอองส์ แต่พระนางทรงปฏิเสธที่จะอภิเษกสมรสกับดยุก สิ้นพระชนม์โดยไม่ได้อภิเษกสมรส | |
เจ้าหญิงเบเนดิกตาแห่งโปรตุเกส | พ.ศ. 2289 |
25 กรกฎาคมพ.ศ. 2372 |
18 สิงหาคมอภิเษกสมรส 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320 เจ้าชายโจเซแห่งบราซิล ผู้เป็นพระนัดดา ไม่มีรัชทายาท |
พระราชตระกูล
แก้พระอิศริยยศและตราอาร์ม
แก้พระอิศริยยศ
แก้- 31 มีนาคม พ.ศ. 2261 - 19 มกราคม พ.ศ. 2272 : เจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน
- 19 มกราคม พ.ศ. 2272 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 : เจ้าหญิงแห่งบราซิล, ดัสเชสแห่งบราแกนซา
- 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2319 : สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ
- 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2319 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320 : สมเด็จพระราชินีนาถโปรตุเกสและอัลเกรฟ
- 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320 - 15 มกราคม พ.ศ. 2324 : สมเด็จพระชนนีแห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ
ตราอาร์ม
แก้ทรงดำรงตราอาร์มแห่งราชวงศ์บูร์บงและราชวงศ์บราแกนซา
รายการอ้างอิง
แก้- ↑ Armstrong, หน้า 243
- ↑ Armstrong, หน้า 265
- ↑ 3.0 3.1 3.2 van de Pas, Leo. "Infanta Mariana Victoria of Spain". Genealogics .org. สืบค้นเมื่อ 2010-09-21.
- ↑ Armstrong, p 243
- ↑ 5.0 5.1 5.2 François Velde (4 July 2005). "The Abdication of the throne of Spain by Felipe V (1724)". heraldica.org. สืบค้นเมื่อ 2010-09-25.
- ↑ Pevitt, p 288
- ↑ Pevitt, p 284
- ↑ Armstrong, p 264
- ↑ Armstrong, p 265
- ↑ Roberts, p 53
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Roberts, p 51
- ↑ Roberts, p 65
- ↑ Roberts, p 62
เว็บไซต์อ้างอิง
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Mariana Victoria of Spain
ก่อนหน้า | มาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อาร์คดัสเชสมาเรีย แอนนาแห่งออสเตรีย | สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320) |
ว่าง ตำแหน่งถัดไป เจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน |