มาลินี อินฉัตร (เกิด 19 เมษายน พ.ศ. 2502) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] สังกัดพรรคไทยรักไทย

มาลินี อินฉัตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 เมษายน พ.ศ. 2502 (65 ปี)
อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติพัฒนา (2543–2547)
ไทยรักไทย (2547–2549)
รวมใจไทยชาติพัฒนา (2550–2552)
เพื่อไทย (2552–2561, 2564–ปัจจุบัน)
เพื่อชาติ (2561–2564)

ประวัติ

แก้

มาลินี อินฉัตร เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2502 เป็นชาวอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรสาวของนายจำลอง กับนางสุนีย์ อินฉัตร อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดศรีสะเกษ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ และปริญญาโท สาขาศิลปศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน

แก้

มาลินี อินฉัตร เป็นนักการเมืองท้องถิ่น เคยได้รับแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ เข้าสู่สนามเลือกตั้งระดับชาติในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคชาติพัฒนา แต่แพ้ให้กับร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง ก่อนจะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย[2] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับร้อยโทกุเทพ ใสกระจ่าง อีกครั้ง ต่อมาได้มีการเลือกตั้งซ่อมแทน ร.ท.กุเทพ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 แต่นางสาวมาลินีก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนางสาวจิรวดี จึงวรานนท์ จากพรรคประชาราช จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 71[3] สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[4] และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ (เลื่อนแทนนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555[5]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เธอได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 102[6]

ในปี 2562 เธอลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และกลับมาสังกัดพรรคเพื่อไทยอีกครั้งในปี 2564 และวางตัววิลดา อินฉัตร ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
  2. http://web.parliament.go.th/member22/member-list.php?id=267&no=267[ลิงก์เสีย]
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-02. สืบค้นเมื่อ 2012-05-22.
  5. เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นางสาวมาลินี อินฉัตร)[ลิงก์เสีย]
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  7. 150ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อชาติ เด็กจตุพร-ยงยุทธเพียบ
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๘๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๔๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔