ภาษาบูรุศซัสกี (อักษรโรมัน: Burushaski; Burushaski: بروشسکی, อักษรโรมัน: burū́šaskī) เป็นภาษาโดดเดี่ยวที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาใด ๆ ในโลก[5] ซึ่งพูดโดยชาวบุรุศโศที่อาศัยในภาคเหนือของกิลกิต-บัลติสถาน ประเทศปากีสถาน[6][7] กับผู้พูดไม่กี่ร้อยคนภาคเหนือของรัฐชัมมูและกัศมีร์ ประเทศอินเดีย[6][1] ชื่ออื่น ๆ ของภาษานี้คือ ภาษากันชุต ภาษาเวอร์ชิกวรร ภาษาบูรุศกี[8] และภาษามิยาสกี ภาษานี้มีผู้พูดใน Botraj Mohalla ในภูมิภาคHari Parbat ที่ศรีนคร[2][9]

ภาษาบูรุศซัสกี
بروشسکی
บูรุศซัสกีในแบบอักษรแนสแทอ์ลีก
ประเทศที่มีการพูดกิลกิต-บัลติสถาน, ประเทศปากีสถาน
รัฐชัมมูและกัศมีร์, ประเทศอินเดีย[1]
ภูมิภาคฮุนซา, นาการ์,ยาซิน, กิลกิตตอนเหนือ, Hari Parbat[2]
ชาติพันธุ์ชาวบูรุศโศ
จำนวนผู้พูด112,000 คน[3]  (2016)[4]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
Burushaski proper (ยาซิน)
Khajuna (ฮุนซา-นาการ์)
รหัสภาษา
ISO 639-3bsk
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ปัจจุบัน ภาษาบูรุศซัสกีมีคำยืมจากภาษาอูรดูมาก (รวมทั้งคำยืมจากภาษาอังกฤษและภาษาสันสกฤตที่รับผ่านภาษาอูรดู) และมาจากภาษาเพื่อนบ้านเช่นกลุ่มภาษาดาร์ดิก เช่น ภาษาโคชวาร์และภาษาซีนา และมีบางส่วนมาจากกลุ่มภาษาเตอร์กิก และจากภาษาบัลติ ภาษาวาคี ภาษาปาทาน[10] แต่ก็มีคำศัพท์ดั้งเดิมอยู่เป็นจำนวนมาก กลุ่มภาษาดาร์ดิกเองก็มีการยิมคำไปจากภาษาบูรุศซัสกี ภาษานี้มีสำเนียงหลักๆ 3 สำเนียงแบ่งตามหุบเขาที่อาศัยอยู่คือ ฮันซา นคร และยาซิน สำเนียงยาซินได้รับอิทธิพลจากภาษาเพื่อนบ้านน้อยที่สุดและต่างจากอีกสองสำเนียงมาก แต่ทั้งสามสำเนียงยังเข้าใจกันได้

ความสัมพันธ์ แก้

ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างภาษาบูรุศซัสกีกับภาษาใดๆ มีความพยายามที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาบูรุศซัสกีกับกลุ่มภาษาคอเคซัส หรือในสมมติฐานเคเน-คอเคเซียน George van Driem พยายามหาความสัมพันธ์ของภาษาบูรุศซัสกีกับภาษาเยนิสเซียนเพื่อตั้งเป็นตระกูลภาษาการาซุก[11] อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2551ได้พบความสัมพันธ์ระหว่างภาษาเยนิสเซียนกับภาษาเดเนในตระกูลภาษาเดเน-เยนิสเซียน[12][13]และยังไม่พบหลักฐานแสดงความสัมพันธ์กับภาษาบูรุศซัสกี นอกจากนั้น ยังพยายามเชื่อมโยงภาษาบูรุศซัสกีกับกลุ่มภาษาปาเลโอ-บัลกันและกลุ่มภาษาบัลโต-สลาฟแต่ก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอ

ระบบการเขียน แก้

ภาษาบูรุศซัสกีไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเอง มีการใช้อักษรอาหรับสำหรับภาษาอูรดูแต่ระบบการออกเสียงไม่ได้กำหนดแน่นอน นาซีร อัลดิน นาซิร ฮุนไซ เขียนบทกวีภาษาบูรุศซัสกีโดยใช้ตัวอักษรของภาษาอูรดู เอกสารภาษาทิเบตได้บันทึกภาษาบรูซาจากหุบเขากิลกิตซึ่งปัจจุบันคือภาษาบูรุศซัสกี เชื่อว่าภาษาบรูซาได้นำลัทธิบอนเข้าสู่ทิเบตและเอเชียกลาง อักษรของพวกเขาอาจเป็นต้นกำเนิดของอักษรทิเบตแต่ไม่มีอักษรของภาษาบรูซาเหลืออยู่ในปัจจุบัน[14]

นักภาษาศาสตร์ที่ศึกษาภาษาบูรุศซัสกีใช้อักษรละตินในการถ่ายเสียงภาษาบูรุศซัสกีต่างกัน แบบที่แพร่หลายที่สุดเป็นแบบของ Berger พจนานุกรมภาษาบูรุศซัสกี-อูรดูใช้ระบบนี้

อักษรบูรุศซัสกี การถอดเป็นอักษรโรมัน สัทอักษรสากล
ا aa /aː/
ݳ a /a/
ݴ áa /ˈaː/
ب b /b/
پ p /p/
ت t /t/
ٹ /ʈ/
ث s /s/
ج j /dʑ/ʑ/
ݘ ć /tɕ/
ݼ ch /tsʰ/
څ /ʈʂ/
ح h /h/
خ qh /qʰ~qχ~χ/
د d /d/
ڎ c /ts/
ڈ /ɖ/
ذ z /z/
ر r /r/
ڑ /ɖ/
ز z /z/
ژ j /dʐ~ʐ/
س s /s/
ش ś /ɕ/
ݽ /ʂ/
ص s /s/
ڞ c̣h /ʈʂʰ/
ض z /z/
ط t /t/
ظ z /z/
ع /ʔ/
غ ġ /ɣ~ʁ/
ف ph /pʰ~pf~f/
ق q /q/
ک k /k/
گ g /g/
ݣ /ŋ/
ل l /l/
م m /m/
ن n /n/
ں /˜/
و w/oo /w/oː/
ݸ o /o/
ݹ óo /ˈoː/
ہ h /h/
ھ h /ʰ/
ء /ʔ/
ی y /j/
ݶ íi /ˈiː/
ݷ /ɻ/
ے ee /eː/
ݺ e /e/
ݻ ée /ˈeː/

สัทวิทยา แก้

ภาษาบูรุศซัสกีมีสระ 5 เสียงคือ /i e a o u/ เป็นสระเสียงยาว โดยสระที่เน้นจะออกเสียงยาวและเปิดน้อยกว่าสระที่ไม่เน้น [i e a o u] กลายเป็น [ɪ ɛ ʌ ɔ ʊ] สระทุกตัวมีเสียงนาสิกในสำเนียงฮันซาและนาคร

Berger (1998) จัดพยัญชนะตามหน่วยเสียง ดังตารางจำแนกเสียงสัทอักษรสากลและการถอดรหัสของเขา:

ริมฝีปาก ฟัน/
ปุ่มเหงือก
(ปุ่มเหงือก-)
เพดานปาก
ปลายลิ้นม้วน เพดานอ่อน ลิ้นไก่ เส้นเสียง
นาสิก [m] (m) [n] (n) [ŋ] (ṅ)
หยุด ธนิต (ph)[1] (th) ʈʰ (ṭh) (kh) (qh)[2]
ไม่ออกเสียง [p] (p) [t] (t) [ʈ] (ṭ) [k] (k) [q] (q)
ออกเสียง [b] (b) [d] (d) [ɖ] (ḍ) [ɡ] (g)
กักแทรก ธนิต[3] t͡sʰ (ch) t͡ɕʰ (ćh) ʈ͡ʂʰ (c̣h)
ไม่ออกเสียง [t͡s] (c) [t͡ɕ] (ć) [ʈ͡ʂ] (c̣)
ออกเสียง [d͡ʑ] (j)[4] [ɖ͡ʐ] (j̣)[5]
เสียดแทรก ไม่ออกเสียง [s] (s) [ɕ] (ś) [ʂ] (ṣ) [h] (h)
ออกเสียง [z] (z) [ʁ] (ġ)
รัว [r] (r)
เปิด [l] (l) [j] (y)[6] [ɻ] (ỵ)[7] [w] (w)[6]

หมายเหตุ:

  1. การสะกดหลากหลาย: [pʰ] ~ [p͡f] ~ [f].
  2. การสะกดหลากหลาย: [qʰ] ~ [q͡χ] ~ [χ].
  3. สำเนียงยาซินไม่มีเสียงกักเสียดแทรกธนิต และใช้เสียงเรียบแทน
  4. บางครั้งออกเสียงเป็น [ʑ]
  5. บางครั้งออกเสียงเป็น [ʐ]
  6. 6.0 6.1 Berger (1998) ถือว่า [w] และ [j] เป็นหน่วยเสียงย่อยของ /u/ และ /i/ ที่ปรากฏหน้าอักษรเน้นเสียงสระ
  7. หน่วยเสียงนี้มีการสะกดหลายแบบ ทั้งหมดเป็นเสียงหายากข้ามภาษา รายละเอียดเขียนไว้ดังนี้: "a voiced retroflex sibilant with simultaneous dorso-palatal narrowing" (apparently [ʐʲ]) (Berger 1998); "a fricative r, pronounced with the tongue in the retroflex ('cerebral') position" (apparently [ɻ̝]/[ʐ̞], a sound which also occurs in Standard Chinese, written r in Pinyin) (Morgenstierne 1945); and "a curious sound whose phonetic realizations vary from a retroflex, spirantized glide to a retroflex velarized spirant" (Anderson forthcoming). In any case, it does not occur in the Yasin dialect, and in Hunza and Nager it does not occur at the beginning of words.

ไวยากรณ์ แก้

ภาษาบูรุศซัสกีเป็นภาษาที่มีเครื่องหมายสองชั้นและการเรียงคำในประโยคเป็นประธาน-กรรม-กริยา คำนามแบ่งเป็นสี่เพศคือ ชาย หญิง สิ่งของนับได้ และสิ่งของนับไม่ได้ บางคำเป็นทั้งนามนับได้และนามนับไม่ได้ ทำให้มีความหมายต่างกัน เช่น /balt/ หมายถึงแอปเปิล โดยถ้าเป็นนามนับได้ หมายถึง ผลแอปเปิ้ล แต่ถ้าเป็นนามนับไม่ได้หมายถึงต้นแอปเปิล

โครงสร้างของคำนามประกอบด้วยรากศัพท์ของคำนาม อุปสรรคแสดงความเป็นเจ้าของ จำนวน และปัจจัยแสดงการก จำแนกนามตามจำนวนเป็น เอกพจน์ พหูพจน์ จำแนกไม่ได้ และเป็นกลุ่ม การกได้แก่ การกสัมบูรณ์ การกเกี่ยวพัน การกแสดงความเป็นเจ้าของ และการกแสดงสถานที่ ซึ่งเป็นได้ทั้งการแสดงตำแหน่งและทิศทาง

คำกริยาภาษาบูรุศซัสกีมีส่วนพื้นฐานสามส่วนคือ อดีตกาล ปัจจุบันกาลและความสอดคล้อง รูปอดีตเป็นรูปอ้างอิงและใช้สำหรับมาลาเชิงบังคับและการทำโดยในนาม รูปสอดคล้องคล้ายกับ past participle กริยาแต่ละตัวจะมีอุปสรรคได้ 4 ตำแหน่งและปัจจัย 6 ตำแหน่ง

คำนาม แก้

ระดับของนาม แก้

ในภาษาบูรุศซัสกี มีคำนาม 4 ระดับซึ่งใกล้เคียงกับเพศในกลุ่มภาษาอินโด-ยุโรเปียนได้แก่

  • m > ผู้ชาย , พระเจ้าและวิญญาณ
  • f > ผู้หญิงและวิญญาณ
  • x > สัตว์ นามนับได้
  • y > นามธรรม ของเหลว นามนับไม่ได้

นอกจากนี่ยังมีระดับผสม h คือการรวมกันของ m และ f และระดับ hx คือการรวมกับของ m f และ x คำนามระดับ x ส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งที่นับได้ สิ่งของ เช่น สัตว์ ผลไม้ ก้อนหิน ไข่ หรือเหรียญ คำนามระดับ y หมายถึงนามธรรมหรือนับไม่ได้ เช่น ข้าว ไฟ น้ำ หิมะ สำลี แต่กฎนี้ไม่ได้ตายตัวเสมอไป คำบางคำเป็นทั้งนามนับได้และนับไม่ได้ เช่น ha “บ้าน” คำที่ใกล้เคียงกัน ถ้าอยู่ในระดับต่างกันจะมีความหมายต่างกัน เช่น bayú ถ้าอยู่ในระดับ x หมายถึงเกลือเป็นกองๆ แต่ถ้าอยู่ในระดับ y หมายถึงผงเกลือ ผลไม้แต่ละผลอยู่ในระดับ x แต่ต้นไม้จะอยู่ในระดับ y กรรมจะมีเครื่องหมายแสดงว่าอยู่ในระดับ x หรือ y คำนำหน้านามคำคุณศัพท์ จำนวนจะขึ้นกับระดับของนามที่เป็นประธาน

การทำให้เป็นพหูพจน์ แก้

นามเอกพจน์ในภาษาบูรุศซัสกีไม่มีเครื่องหมาย ในขณะที่นามพหูพจน์แสดงโดยการเติมปัจจัย ซึ่งต่างไปตามระดับของคำนาม

  • h-class > ปัจจัยได้แก่ : -ting, -aro, -daro, -taro, -tsaro
  • h- และ x-class > ปัจจัยได้แก่ : -o, -išo, -ko, -iko, -juko; -ono, -u; -i, -ai; -ts, -uts, -muts, -umuts; -nts, -ants, -ints, -iants, -ingants, -ents, -onts
  • y-class > ปัจจัยได้แก่ : -ng, -ang, -ing, -iang; -eng, -ong, -ongo; -ming, -čing, -ičing, -mičing, -ičang (สำเนียงนาคัร)

คำนามบางคำมีอุปสรรคได้ 2-3 แบบในขณะทีบางคำมีเฉพาะรูปพหูพจน์ เช่น bras “ข้าว” gur “ข้าวสาลี” bishké ขนเฟอร์ มีคำที่มีรูปเดียวทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ด้วย เช่น hagúr ม้าตัวเดียว หรือม้าหลายตัว คำคุณศัพท์มีรูปพหูพจน์ที่ต่างไปขึ้นกับคำนามที่ขยาย เช่น burúm “ขาว” ถ้ากับนาม x พหูพจน์เป็น burum-išo นาม y พหูพจน์เป็น burúm-ing

การผันคำ แก้

ภาษาบูรุศซัสกีเป็นภาษาแบบเกี่ยวพัน มี 5 การก

การก ปัจจัย การทำงาน
การกสัมบูรณ์ ไม่มีเครื่องหมาย ประธานของอกรรมกิริยาและกรรมของสกรรมกิริยา
การกเกี่ยวพัน -e ประธานของสกรรมกิริยา
การกแสดงความเป็นเจ้าของ -e; -mo (f) แสดงความเป็นเจ้าของ
การกกรรมรอง -ar, -r กรรมรอง, allative.
Ablative -um, -m, -mo บ่งชี้การแยก(เช่น มาจาก)


ปัจจัยของการกขึ้นกับปัจจัยพหูพจน์ เช่น Huséiniukutse “ประชาชนของฮุสเซน” คำลงท้ายแสดงความเป็นเจ้าของเป็น /mo/ สำหรับ f- เอกพจน์ แต่เป็น /-e/ ในการกอื่นๆ การลงท้ายของการเป็นกรรมโดยอ้อม /-ar/, /-r/ จะอยู่ติดกับการลงท้ายแสดงความเป็นเจ้าของของนาม f- เอกพจน์ ตัวอย่างเช่น:

  • hir-e ของผู้ชาย, gus-mo ของผู้หญิง (gen.)
  • hir-ar ต่อผู้ชาย, gus-mu-r ต่อผู้หญิง (dat.)

การแสดงความเป็นเจ้าของจะวางก่อนสิ่งที่ถูกถือครอง เช่น: Hunzue tham, 'the Emir of Hunza.' การลงท้ายของการกทุติยภูมิเกิดจากปัจจัยการกทุติยภูมิ (หรืออาคม) และการลงท้ายปฐมภูมิ /-e/, /-ar/ or /-um/. การลงท้ายนี้เป็นการบอกทิศทาง, /-e/ เป็นการบอกตำแหน่ง /-ar/ เป็นการบอกจุดหมาย /-um/ เป็นการบอกที่มา อาคมที่ใช้มีความหมายดังต่อไปนี้

  • /-ts-/ ที่
  • /-ul-/ ใน
  • /-aţ-/ บน ด้วย
  • /-al-/ ใกล้ (เฉพาะสำเนียงฮันซา )

การลงท้ายด้วย /-ul-e/ และ /-ul-ar/ เป็นรูปแบบโบราณ ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย /-ul-o/ and /-ar-ulo ตามลำดับ

คำสรรพนาม แก้

คำนามที่แสดงส่วนต่างๆของร่างกายและแสดงความสัมพันธ์ทางเครือญาติจะไม่ใช้เดี่ยวๆแต่จะใช้คู่กับคำแสดงความเป็นเจ้าของเสมอ เช่นจะไม่พูดว่า แขน แม่ พ่อ อย่างเดียวในภาษาบูรุศวัสกี แต่จะพูด แขนของฉัน แม่ของคุณ พ่อของเขา รากศัพท์ mi 'แม่' ไม่อยู่เดี่ยวๆ แต่จะพบในรูป i-mi “แม่ของเขา” , mu-mi “แม่ของพวกเขา u-mi แม่ของคุณ คำสรรพนามในภาษาบูรุศซัสกีจะจำแนกตามระยะห่างด้วย เช่น khin “เขาอยู่ที่นี่” แต่ in, เขาอยู่ที่นั่น

ตัวเลข แก้

ระบบตัวเลขของภาษาบูรุศซัสกีเป็นฐานยี่สิบ เช่น 20 altar, 40 alto-altar (2 x 20), 60 iski-altar (3 x 20)

  • ตัวเลขพื้นฐานคือ 1 hin (หรือ han, hik), 2 altán (or altó), 3 iskén (or uskó), 4 wálto, 5 čundó, 6 mishíndo, 7 thaló, 8 altámbo, 9 hunchó, 10 tóorumo (also toorimi and turma) และ100 tha.
  • ตัวอย่างเลขประสม: 11 turma-hin, 12 turma-altan, 13 turma-isken, ..., 19 turma-hunti; 20 altar, 30 altar-toorimi, 40 alto-altar, 50 alto-altar-toorimi, 60 iski-altar 21 altar-hik, 22 altar-alto, 23 altar-iski

คำกริยา แก้

โครงสร้างคำกริยาของภาษาบูรุศซัสกีมีความซับซ้อน และมีหลายรูปแบบ มีการเปลี่ยนเสียงได้หลายแบบ กริยาแท้ของภาษาบูรุศซัสกีบ่างเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้

กริยา 11 ตำแหน่ง แก้

คำกริยาสามารถสร้างขึ้นด้วยระบบที่ซับซ้อน Berger ได้อธิบายเกี่ยวกับคำกริยา 11 ตำแหน่ง รากศัพท์ของคำกริยาอยู่ตำแหน่งที่ 5 นำหน้าด้วยอุปสรรคที่เป็นไปได้ 4 ตำแหน่ง และปัจจัยที่เป็นไปได้ 7 ตำแหน่ง

ตำแหน่ง อุปสรรค/ปัจจัยและความหมาย
1 อุปสรรคปฏิเสธ a-
2a/b อุปสรรค d- (สร้างอกรรมกริยา) / อุปสรรค n- (อุปสรรคสัมบูรณ์)
3 Pronominal prefixes: ประธานของอกรรมกิริยา กรรมของสกรรมกิริยา
4 อุปสรรค s- (สร้างสกรรมกิริยาทุติยภูมิ)
5 รากศัพท์
6 ปัจจัยพหูพจน์ -ya- ที่รากศัพท์
7 เครื่องหมายปัจจุบัน -č- (หรือ š, ts..) สร้างรูปปัจจุบัน อนาคต และ ไม่สมบูรณ์
8a/b Pronominal suffix ของบุรุษที่ 1 เอกพจน์ -a- (ประธาน) / linking vowel (no semantic meaning)
9a ปัจจัย m-: forms the m-participle and m-optative from the simple /
9b m-suffix: สร้างรูปอนาคตและสภาวะสำหรับปัจจบัน /
9c n-suffix: เครื่องหมายสัมบูรณ์ (ดูตำแหน่งที่ 2) /
9d š-suffix: forms the š-optative and the -iš-Infinitive /
9e Infinitive ending -as, -áas / optative suffix -áa (เติมที่รากศัพท์โดยตรง)
10a Pronominal suffixes ของบุรุษที่ 2 และ 3 บุรุษที่ 1 (ประธาน) /
10b รูปออกคำสั่ง (เติมที่รากศัพท์โดยตรง) /
10c รูปของกริยาช่วย ba- สร้างรูปปัจจุบัน อนาคต อดีตสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์
11 Nominal endings and particles

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Ahmed, Musavir (2016). "Ethnicity, Identity and Group Vitality: A study of Burushos of Srinagar". Journal of Ethnic and Cultural Studies (ภาษาอังกฤษ). 3 (1): 1–10. doi:10.29333/ejecs/51. ISSN 2149-1291.
  2. 2.0 2.1 Munshi, Sadaf (2006). Jammu and Kashmir Burushashki: Language, Language Contact, and Change (ภาษาอังกฤษ). The University of Texas at Austin. p. 6. The J & K Burushos – speakers of the variety of Burushaski spoken in Jammu & Kashmir (henceforth “JKB”) in India – are settled in and around a small locality by the foothills of Hari Parbat Fort in Srinagar, the capital of the state of Jammu & Kashmir (henceforth “J & K”).
  3. "ethnologue".
  4. ภาษาบูรุศซัสกี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  5. Burushaski language, Encyclopædia Britannica online
  6. 6.0 6.1 "Pakistan's 'Burushaski' Language Finds New Relatives". NPR. 20 June 2012. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017. It's spoken by about 90,000 people, the Burusho people, and nearly all of them live in Pakistan. A few hundred live in India.
  7. "Encyclopedia - Britannica Online Encyclopedia". Original.britannica.com. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  8. "Burushaski". Ethnologue. 19 February 1999. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  9. "Dissertation Abstracts". Linguist List. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  10. Hermann Berger. Encyclopaedia Iranica: Burushaski
  11. George van Driem (2001) Languages of the Himalayas: An Ethnolinguistic Handbook of the Greater Himalayan Region, Brill
  12. John Bengtson, Some features of Dene–Caucasian phonology (with special reference to Basque). Cahiers de l’Institut de Linguistique de Louvain (CILL) 30.4: 33-54,
  13. John Bengtson and V. Blazek, "Lexica Dene–Caucasica". Central Asiatic Journal 39, 1995, 11-50 & 161-164
  14. George van Driem, Languages of the Himalayas, Brill 2001:921

บรรณานุกรม แก้

  • Anderson, Gregory D. S. 1997. Burushaski Morphology. In Morphologies of Asia and Africa, ed. by Alan Kaye. Winona Lake, IN: Eisenbrauns.
  • Anderson, Gregory D. S. 1997. Burushaski Phonology. In Phonologies of Asia and Africa, ed. by Alan Kaye. Winona Lake, IN: Eisenbrauns.
  • Anderson, Gregory D. S. 1999. M. Witzel's "South Asian Substrate Languages" from a Burushaski Perspective. Mother Tongue (Special Issue, October 1999).
  • Anderson, Gregory D. S. forthcoming b. Burushaski. In Language Islands: Isolates and Microfamilies of Eurasia, ed. by D.A. Abondolo. London: Curzon Press.
  • Backstrom, Peter C. Burushaski in Backstrom and Radloff (eds.), Languages of northern areas, Sociolinguistic Survey of Northern Pakistan, 2. Islamabad, National Institute of Pakistan Studies, Qaid-i-Azam University and Summer Institute of Linguistics (1992), 31–54.
  • Berger, Hermann. 1974. Das Yasin-Burushaski (Werchikwar). Volume 3 of Neuindische Studien, ed. by Hermann Berger, Lothar Lutze and Günther Sontheimer. Wiesbaden: Otto Harrassowitz.
  • Berger, Hermann. 1998. Die Burushaski-Sprache von Hunza und Nager [The B. language of H. and N.]. Three volumes: Grammatik [grammar], Texte mit Übersetzungen [texts with translations], Wörterbuch [dictionary]. Altogether Volume 13 of Neuindische Studien (ed. by Hermann Berger, Heidrun Brückner and Lothar Lutze). Wiesbaden: Otto Harassowitz.
  • Grune, Dick. 1998. Burushaski – An Extraordinary Language in the Karakoram Mountains.
  • Holst, Jan Henrik (2014). Advances in Burushaski Linguistics (ภาษาอังกฤษ). Tübingen: Narr. ISBN 978-3-8233-6908-0.
  • Karim, Piar. 2013. Middle Voice Construction in Burushaski: From the Perspective of a Native Speaker of the Hunza Dialect. Unpublished MA Thesis. Denton: University of North Texas. Department of Linguistics.
  • Morgenstierne, Georg. 1945. Notes on Burushaski Phonology. Norsk Tidsskrift for Sprogvidenskap 13: 61–95.
  • Munshi, Sadaf. 2006. Jammu and Kashmir Burushaski: Language, language contact, and change. Unpublished Ph.D. Dissertation. Austin: University of Texas at Austin, Department of Linguistics.
  • Munshi, Sadaf. 2010. "Contact-induced language change in a trilingual context: the case of Burushaski in Srinagar". In Diachronica. John Benjamins Publishing Company. 27.1: pp32–72.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Bashir, Elena. 2000. A Thematic Survey of Burushaski Research. History of Language 6.1: 1–14.
  • Berger, Hermann. 1956. Mittelmeerische Kulturpflanzennamen aus dem Burušaski [Names of Mediterranean cultured plants from B.]. Münchener Studien zur Sprachwissenschaft 9: 4-33.
  • Berger, Hermann. 1959. Die Burušaski-Lehnwörter in der Zigeunersprache [The B. loanwords in the Gypsy language]. Indo-Iranian Journal 3.1: 17–43.
  • Casule Ilija. 2016. Evidence for the Indo-European and Balkan Origin of Burushaski.München: Lincom GmbH. 205 p.Lincom Etymological Studies 05.
  • Casule, Ilija. 2017. Burushaski etymological dictionary of the inherited Indo-European lexicon. München: Lincom GmbH. 325 p. (LINCOM Etymological Studies; no. 6)
  • Casule, Ilija. 2018, New Burushaski etymologies and the origin of the ethnonym Burúśo, Burúśaski, Brugaski and Miśáski. Acta Orientalia. Vol. 79: 27–71.
  • Lorimer, D. L. R. 1935–1938. The Burushaski Language (3 vols.). Oslo: Instituttet for Sammenlignende Kulturforskning.
  • Munshi, Sadaf. 2016. Burushaski Language Resource. A digital collection of Burushaski oral literature available at URL: https://digital.library.unt.edu/explore/collections/BURUS/
  • van Skyhawk, Hugh. 1996. Libi Kisar. Ein Volksepos im Burushaski von Nager. Asiatische Studien 133. ISBN 3-447-03849-7.
  • van Skyhawk, Hugh. 2003. Burushaski-Texte aus Hispar. Materialien zum Verständnis einer archaischen Bergkultur in Nordpakistan. Beiträge zur Indologie 38. ISBN 3-447-04645-7.
  • Tiffou, Étienne. 1993. Hunza Proverbs. University of Calgary Press. ISBN 1-895176-29-8
  • Tiffou, Étienne. 1999. Parlons Bourouchaski. Paris: L'Harmattan. ISBN 2-7384-7967-7
  • Tiffou, Étienne. 2000. Current Research in Burushaski: A Survey. History of Language 6(1): 15–20.
  • Tikkanen, Bertil. 1988. On Burushaski and other ancient substrata in northwest South Asia. Studia Orientalia 64: 303–325.
  • Varma, Siddheshwar. 1941. Studies in Burushaski Dialectology. Journal of the Royal Asiatic Society of Bengal, Letters 7: 133–173.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้