ภาษาของชาวยิว (อังกฤษ: Jewish languages) เป็นกลุ่มของภาษาและสำเนียงที่พัฒนาในชุมชนชาวยิวทั่วโลกทั้งในยุโรป เอเชียและแอฟริกาเหนือ พัฒนาการของภาษาเหล่านี้เกิดขึ้นโดยการเพิ่มศัพท์ภาษาฮีบรูเพื่อใช้อธิบายแนวคิดเฉพาะของชาวยิวเข้าสู่ภาษาท้องถิ่น ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรฮีบรู[1] การอยู่เป็นกลุ่มก้อนอย่างเป็นเอกเทศของชาวยิว ทำให้ภาษาเหล่านี้รักษาคำศัพท์และลักษณะดั้งเดิมของภาษาที่เป็นภาษาต้นกำเนิดได้ภาษาของชาวยิวที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษายิดดิช ซึ่งเคยมีผู้พูดมากที่สุดในอดีต ภาษาลาดิโนที่เป็นภาษาของชาวยิวเซฟาร์ดีมากว่า 5 ศตวรรษและภาษาอาหรับของชาวยิวที่ใช้พูดในบริเวณที่มีผู้พูดภาษาอาหรับมากว่าพันปี

งานเขียนอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ของ Elia Levita แสดงจากขวาไปซ้าย ภาษายิดดิช - ภาษาฮีบรู - ภาษาละติน - ภาษาเยอรมัน

ภาษาฮีบรูเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนายูดาย และเคยใช้เป็นภาษาพูดมาก่อน จนราว พ.ศ. 43 ภาษาอราเมอิกซึ่งเป็นภาษาใกล้เคียงได้เข้ามาเป็นภาษาพูดในยูเดีย[2] จน พ.ศ. 243 ชาวยิวที่แพร่กระจายไปหันไปพูดภาษากรีกโบราณ ภาษาฮีบรูถูกรื้อฟื้นเป็นภาษาพูดอีกครั้งโดย เอลีเซอร์ เบน เยฮูดา ผู้มาถึงปาเลสไตน์เมื่อพ.ศ. 2424 ภาษาฮีบรูสมัยใหม่ในปัจจุบันเป็นภาษาราชการของประเทศอิสราเอล ก่อนพุทธศตวรรษที่ 21 ภาษาฮีบรูใช้ในบทสวดและคัมภีร์ทางศาสนายูดายเท่านั้น[3] ชาวยิวทั่วโลกจึงพูดภาษาท้องถิ่นที่ตนไปอาศัยอยู่ และพัฒนาสำเนียงเฉพาะของตนเองขึ้นมา และได้แยกออกมาเป็นภาษาเฉพาะ ภาษายิดดิชเป็นภาษาเยอรมันของชาวยิว พัฒนาโดยชาวยิวอาซเกนาซีที่อพยพไปสู่ยุโรปกลาง และภาษาลาดิโนหรือภาษาจูเดสโม หรือภาษามูเอสตรา สปันยอล เป็นภาษาสเปนของชาวยิวเซฟาร์ดีที่อยู่ในคาบสมุทรไอบีเรีย จากปัจจัยหลายๆอย่าง รวมทั้งอิทธิพลของฮอลโลคอตส์ในยุโรป ชาวยิวออกจากดินแดนอาหรับและแพร่กระจายไปทั่วโลก มีภาษาของชาวยิวที่แตกต่างไปในแต่ละชุมชน บางภาษาเป็นภาษาตายไปแล้ว เช่น ภาษากรูซินิก ภาษาอาหรับของชาวยิว ภาษาเบอร์เบอร์ของชาวยิว ภาษาเครียมชาก ภาษามลยาฬัมของชาวยิว และอื่นๆ ภาษาที่ใช้พูดในหมู่คนยิวทุกวันนี้ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฮีบรู และภาษารัสเซีย รวมทั้งภาษากลุ่มโรมานซ์บางภาษาเช่นภาษาฝรั่งเศสและภาษาสเปน [4] ภาษาของชาวยิวที่มีผู้พูดมากที่สุดในประวัติศาสตร์คือภาษายิดดิช ซึ่งมีจำนวนใกล้เคียงกับชาวยิวที่พูดภาษาอังกฤษและภาษาฮีบรู เคยมีคนพูดภาษานี้ถึง 13 ล้านคนใน พ.ศ. 2482 การลดลงของผู้พูดภาษายิดดิชหลังเหตุการณ์ฮอลโลคอตส์ทำให้ชาวยิวหันไปพูดภาษาอื่นมากขึ้น ปัจจุบันชาวยิวที่พูดภาษาฮีบรูหรืออังกฤษมีมากกว่าภาษายิดดิช

ภูมิหลัง แก้

 
ตานัขอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นฉบับภาษาอราเมอิกที่แปลจากภาษาฮีบรู (หรือที่เรียกว่าตาร์คุม)

หนังสือที่เก่าที่สุดของชาวยิวคือโตราห์และตานัข เขียนด้วยภาษาฮีบรูไบเบิลเกือบทั้งหมด โดยมีภาษาอราเมอิกไบเบิลเล็กน้อย ซึ่งเคยใช้ในหมู่ชาวยิวอย่างกว้างขวางตลอดช่วงประวัติศาสตร์ ชาวยิวรักษาความเชื่อที่ว่าภาษาฮีบรูเป็นภาษาของพระเจ้าโดยถือว่าพระเจ้าใช้ภาษาฮีบรูในโตราห์ จารึกภาษาฮีบรูที่เก่าที่สุดที่เหลืออยู่คือปฏิทินกีเซอร์อายุราว 457 ปีก่อนพุทธศักราช เขียนด้วยอักษรปาเลียว-ฮีบรู และใช้มาตลอดยุคของโซโลมอน จนเปลี่ยนมาใช้อักษรแบบทรงเหลี่ยมเมื่ออพยพไปอยู่บาบิโลเนีย ในช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของภาษาไปเป็นภาษาฮีบรูมิซนะห์ ชาวยิวส่วนใหญ่พูดภาษาฮีบรูในอิสราเอลและยูเดีย นอกจากนั้นเริ่มเปลี่ยนมาพูดภาษาอราเมอิกและเปลี่ยนเป็นภาษากรีก เมื่อเกิดการแพร่กระจายของชาวยิว ช่วงนี้จึงเริ่มแปลไบเบิลเป็นภาษาอราเมอิกและภาษากรีก เมื่อชาวยิวอพยพไปยังประเทศที่ห่างไกล พวกเขาหันมาปรับภาษาในท้องถิ่นและพูดภาษาที่เป็นสำเนียงของภาษาท้องถิ่นนั้น

 
Aleppo Codex ไบเบิลฉบับภาษาฮีบรูอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 จุดกำเนิดอยู่ที่จะวันออกกลาง หน้าในภาพเป็นหนังสือของ Deuteronomy

ตลอดยุคกลางตอนต้น ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาที่สำคัญในหมู่ชาวยิว ตัลมุดส่วนใหญ่เขียนด้วยภาษาอราเมอิก ช่วงยุคกลางตอนปลายชาวยิวส่วนใหญ่หันมาพูดภาษาอาหรับของชาวยิว โดยเขียนด้วยอักษรฮีบรู

เมื่อเวลาผ่านไป สำเนียงของชาวยิวเหล่านี้ได้ต่างจากภาษาเดิมที่เป็นภาษาแม่มากขึ้นจนกลายเป็นภาษาใหม่ โดยมากจะมีอิทธิพลจากภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิกมากและสร้างสิ่งใหม่ๆขึ้นในภาษานั้น มีภาษาใหม่ๆเกิดขึ้นในหมู่ชาวยิวมาก เช่น ภาษายิดดิชในยุโรป (มาจากภาษาเยอรมัน)และภาษาลาดิโน (มาจากภาษาสเปน)ที่แพร่กระจายไปทั่วยุโรปหลังการขับชาวยิวออกจากประเทศสเปนเมื่อ พ.ศ. 2035 ชาวยิวหลังการแพร่กระจายมีแนวโน้มที่จะอยู่เป็นสังคมเดี่ยวๆ ทำให้รักษาวัฒนธรรมของตนไว้ได้ และพัฒนาภาษาที่เป็นเอกเทศออกมา

ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 24 ภาษายิดดิชเป็นภาษาหลักของชาวยิวในยุโรปตะวันออก ส่วนภาษาลาดิโนแพร่กระจายไปในมักเรบ ตุรกี บัลแกเรียและกรีซ มีกลุ่มเล็กๆในยุโรปที่พูดภาษาอิตาลีของชาวยิว ภาษาเยวานิกหรือภาษาการิม ชาวยิวในอาหรับพูดภาษาอาหรับของชาวยิว ในอิหร่านพูดภาษาเปอร์เซียซิดี กลุ่มที่เล็กกว่าพูดภาษาเบอร์เบอร์ของชาวยิว ภาษายิวตัต ในเคอร์ดิสถานมีภาษาอราเมอิกของชาวยิว ในอินเดียมีผู้พูดภาษามลยาฬัมของชาวยิว

การเปลี่ยนแปลง แก้

ภาพกว้างๆเหล่านี้เปลี่ยนไปในอีก 100 ปีต่อมา การอพยพของชาวยิวจากยุโรปไปอเมริกาเหนือ ทำให้ชาวยิวที่พูดภาษาอังกฤษมากขึ้น การจัดตั้งอาณานิคมในมักเรบเปลี่ยนให้ชาวยิวในบริเวณนั้นมาพูดภาษาฝรั่งเศสหรือภาษาสเปน ขบวนการไซออนนิสต์ฟื้นฟูภาษาฮีบรูมาใช้เป็นภาษาพูด โดยเพิ่มคำศัพท์และทำให้ระบบเสียงง่ายขึ้น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวลดจำนวนผู้พูดภาษายิดดิชและภาษาเยอรมันลดลง ความขัดแย้งระหว่างยิวกับอาหรับทำให้ชาวยิวส่วนใหญ่ออกจากดินแดนอาหรับไปสู่ประเทศอื่น

ชาวยิวในปัจจุบันพูดภาษาที่ต่างกันมากขึ้นกับประเทศที่ตนอาศัยอยู่ ภาษาที่ชาวยิวพูดมากที่สุดคือภาษาอังกฤษ ชุมชนชาวยิวที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกคือสหรัฐและแคนาดา (ชาวยิวในแคนาดาพูดภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาฝรั่งเศส) สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ ไอร์แลนด์และนิวซีแลนด์มีชุมชนชาวยิวขนาดเล็ก

ภาษาที่มีผู้พูดรองลงมาคือภาษาฮีบรูสมัยใหม่ ซึ่งเป็นภาษาพูดในอิสราเอลและผู้ที่อพยพออกจากอิสราเอล รองลงไปคือภาษารัสเซียซึ่งมีชาวยิว 2 ล้านคนในอดีตสหภาพโซเวียต ในอิสราเอลมีผู้พูดภาษารัสเซียราว 1 ล้านคน รองลงไปอีกเป็นภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษายิดดิช ภาษาฝรั่งเศสใช้พูดในหมู่ชาวยิวในฝรั่งเศสและควิเบก ส่วนใหญ่อพยพมาจากแอฟริกาเหนือซึ่งเดิมพูดภาษาอาหรับมักเรบหรือภาษาลาดิโนมาก่อน ภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกสใช้พูดในกลุ่มชาวยิวในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ โดยบูเอโนสไอเรสมีชุมชนชาวยิวชขนาดใหญ่ ภาษายิดดิชใช้ในกลุ่มชาวยิวสูงอายุและเริ่มมีการฟื้นฟูโดยคนรุ่นหนุ่มสาว ภาษาของชาวยิวหลายภาษา เช่น ภาษาอราเมอิกของชาวยิวและภาษาลาดิโนจัดเป็นภาษาที่ใกล้ตาย

การออกอากาศทางวิทยุ แก้

สถานีวิทยุในอิสราเอลยังคงมีข่าวสั้นประจำวันในภาษาของชาวยิวที่หลากหลาย ทั้งภาษาอาหรับอิรักของชาวยิว ภาษายิดดิช ภาษาลาดิโน ภาษาอาหรับโมร็อกโกของชาวยิว ภาษาบูคาเรีย และภาษายิวตัต มีผู้ฟังทั้งในและต่างประเทศ ในเยเมนมีการออกอากาศเป็นภาษาอาหรับเยเมนของชาวยิว ในสหรัฐและในบิโรบิดซานของรัสเซีย มีการออกอากาศด้วยภาษายิดดิช

อักษร แก้

ใช้อักษรฮีบรูเป็นหลักในการเขียนภาษาของชาวยิวหลายภาษาเช่น ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาลาดิโน ภาษายิดดิช และภาษากรีก ภาษาลาดิโนในตุรกีเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรละตินเมื่อ พ.ศ. 2463 ตามแบบที่ใช้เขียนภาษาตุรกี ผู้พูดภาษายิดดิชเริ่มใช้อักษรละตินแทนที่อักษรฮีบรูเช่นกันโดยเฉพาะในอินเทอร์เน็ต

 
ป้ายบอกทางในอิสราเอลแสดงทิศทางด้วยภาษาฮีบรู ภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษ
 
ป้ายเขียนด้วยภาษาอังกฤษและแสดงการออกเสียงด้วยการออกเสียงของภาษายิดดิชในบริเวณที่เป็นชุมชนชาวยิวในนิวยอร์ก

รายชื่อภาษาของชาวยิว แก้

อ้างอิง แก้

  1. Zuckermann, Ghil'ad (กิลอัด สุขเคอร์แมน) (ed.) 2014. Jewish Language Contact (International Journal of the Sociology of Language, vol. 226).
  2. Grintz, Jehoshua M. "Hebrew as the Spoken and Written Language in the Last Days of the Second Temple." Journal of Biblical Literature. March, 1960.
  3. Parfitt, T. V. "The Use of Hebrew in Palestine 1800–1822." Journal of Semitic Studies , 1972.
  4. "Jewish Languages". Beth Hatefutsoth, The Nahum Goldmann Museum of the Jewish Diaspora. สืบค้นเมื่อ 2008-07-03.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้