ภาษาฮีบรูไบเบิล
ภาษาฮีบรูไบเบิล (อังกฤษ: biblical Hebrew) หรือภาษาฮีบรูคลาสสิก (อังกฤษ: classical Hebrew) เป็นรูปแบบโบราณของภาษาฮีบรูที่ใช้เขียนคัมภีร์ไบเบิลและจารึกในอิสราเอล เชื่อว่าเป็นรูปแบบที่เคยใช้พูดในอิสราเอลสมัยโบราณ ไม่มีการใช้เป็นภาษาพูดในปัจจุบัน แต่ยังมีการศึกษาในฐานะภาษาทางศาสนาของชาวยิว ทฤษฎีของศาสนาคริสต์ นักภาษาศาสตร์และนักโบราณคดีของอิสราเอลเพื่อให้เข้าใจไบเบิลภาษาฮีบรูและปรัชญาของชาวเซมิติกมากขึ้น มีการสอนในโรงเรียนในประเทศอิสราเอล
ภาษาฮีบรูไบเบิล | |
---|---|
ภูมิภาค | ประเทศอิสราเอลสมัยโบราณ |
จำนวนผู้พูด | เป็นภาษาทางศาสนา ไม่ใช้เป็นภาษาพูด (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรฮีบรู |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | he |
ISO 639-3 | – |
ภาษาฮีบรูไบเบิลสามารถอ่านได้บ้างโดยผู้ที่เข้าใจภาษาฮีบรูสมัยใหม่ ซึ่งมีความแตกต่างกันบ้างในด้านคำศัพท์ ไวยากรณ์ และการออกเสียง แม้ว่ากฎของไวยากรณ์ของภาษาฮีบรูไบเบิลและภาษาฮีบรูสมัยใหม่มักจะต่างกัน แต่ภาษาฮีบรูไบเบิลบางครั้งมีใช้ในวรรณคดีภาษาฮีบรูสมัยใหม่ หน่วยในภาษาฮีบรูไบเบิลมักจะใช้ในบทสนทนาและสื่อในอิสราเอล
คำจำกัดความ
แก้ภาษาฮีบรูไบเบิลนี้คาดว่าเคยใช้ในช่วง ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาลและสิ้นสุดลง ค.ศ.70 หลังเกิดกบฏบาร์ ค็อกบาต้านจักรวรรดิโรมัน และเป็นองค์ประกอบของไบเบิลภาษาฮีบรูทุกฉบับ รวมทั้งส่วนที่เป็นภาษาอราเมอิกและคำยืมต่างๆ ความหมายของคำว่าภาษาฮีบรูไบเบิลแตกต่างกันไปในแต่ละบริบท ส่วนมากจะมีความหมายต่อไปนี้
- สำเนียงทั้งหมดของภาษาฮีบรูที่พบในไบเบิลฉบับภาษาฮีบรู ทั้งในไบเบิลโบราณจนถึงรุ่นหลังสุด
- ภาษาฮีบรูที่อยู่เฉพาะในไบเบิลเท่านั้นไมรวมอยู่ในเอกสารอื่นๆเช่นจารึกซึ่งใช้ภาษาฮีบรูสำเนียงที่ใกล้เคียงกัน
- ภาษาฮีบรูติเบอเรียน หรือภาษาฮีบรูมาโซเรติก ซึ่งเป็นการออกเสียงในยุคกลางตอนต้นของไบเบิลภาษาฮีบรูสมัยโบราณที่เขียนแบบใช้พยัญชนะเท่านั้น
ในมุมมองของนักภาษาศาสตร์ ภาษาฮีบรูคลาสสิกแบ่งได้เป็นสองยุคคือ ภาษาฮีบรูไบเบิลและภาษาฮีบรูในยุคจักรวรรดิโรมัน ซึ่งมีรูปแบบไวยากรณ์ที่ต่างกัน ภาษาฮีบรูไบเบิลแบ่งต่อไปได้เป็นยุคทองของภาษาฮีบรู (ก่อน พ.ศ. 43) และยุคเงิน (พ.ศ. 43 – 483) ยุคเงินเป็นยุคที่มีคำยืมจากภาษาอราเมอิกเข้ามามาก ตัวอย่างเช่นใช้ ˈilluː (אִלּוּ) แทน luː (לוּ) หรือแทนที่สรรพนามʔaˈʃer (אֲשֶר) (หมายถึง ที่ ซึ่ง อัน) ในยุคต้นด้วย ʃe- (-שֶ) ในยุคต่อมา ทั้งสองอย่างนี้มีใช้ในภาษาฮีบรูมิซนาอิกและภาษาฮีบรูสมัยใหม่ภาษาฮีบรูสมัยจักรวรรดิโรมันหรือภาษาฮีบรูมิซนาอิกได้รับอิทธิพลจากภาษากรีกและภาษาเปอร์เซีย ส่วนใหญ่ผ่านทางภาษาอราเมอิกที่เป็นภาษากลางในขณะนั้น โดยอยู่ในรูปสำเนียงต่างๆของชาวยิว เช่น ภาษาฮีบรูซามาริทันที่ใช้โดยชาวซามาริทัน
การออกเสียงของภาษาฮีบรูไบเบิลได้มาจากระบบมาโซเรติกที่ประยุกต์ใช้กับเอกสารโบราณ ภาษาฮีบรูไบเบิลมีหน่วยที่ผสมกันอยู่ คำส่วนใหญ่มาจากรากศัพท์พยัญชนะสามตัว มีข้อยกเว้นบ้างสำหรับสำหรับศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาที่ไม่ใช่ภาษากลุ่มเซมิติก
ภาษาลูกหลาน
แก้- ภาษาฮีบรูซามาริทัน
- ภาษาฮีบรูมิซนาอิก
- ภาษาฮีบรูติเบอเรียน
- ภาษาฮีบรูเซฟาร์ดี
- ภาษาฮีบรูอาซเกนาซี
- ภาษาฮีบรูสมัยใหม่
สัทวิทยา
แก้รูปแบบทางสัทวิทยาของภาษาฮีบรูไบเบิล เป็นดังต่อไปนี้
ชื่อ | อักษร | หน่วยเสียง (IPA) |
’āleph | א | /ʔ/ |
bêhṯh | ב | /b/ - v allophonically |
gîmel | ג | /ɡ/ Voiced velar plosive palatalized /ɡʲ/ - ɣ allophonically |
dāleṯh | ד | /d/ - ð allophonically |
hē | ה | /h/ most likely like ɦ , null at the end of words. |
wāw ภาษาฮีบรูซามาริทัน : 'Baa' | ו | /w/, null after /o/ or /u/ Samaritan: (/b/) |
zayin | ז | /z/ |
Cḥehṯh | ח | /ħ/ |
ṭēhṯh | ט | /tˁ/ |
yōhḏh | י | /j/ mostly likely i, null after /ɛ/, /e/, or /i/ |
kaph | כ, ך | /k/ - x allophonically |
lāmeḏh | ל | /l/ |
mēm | מ, ם | /m/ |
nûn | נ, ן | /n/ |
sāmeḵh ภาษาฮีบรูซามาริทัน Sin´gath/Sin´kath | ס | /s/ |
‛ayin | ע | /ɣ and ʕ/ |
pē' | פ, ף | /p/ - f allophonically |
tṣāḏēh ภาษาฮีบรูซามาริทัน tṣāḏ | צ, ץ | /sˁ/ |
qōph | ק | /kˁ/ (which is the same as /q/) |
rēhšh | ר | /ɾ/ (trilled like in Arabic) |
śîn/šhîn/Shin | ש | ɬ, s, ʃ |
tāw ภาษาฮีบรูซามาริทัน tāph and or Tāf | ת | /t/ - θ allophonically |
ระบบสระมีพื้นฐานมาจากสระพื้นฐาน /i u e o a/ ที่พบในรูปสั้น ยาว และยาวมาก ในบางครั้งพบรูปแบบพิเศษคือสั้นมาก
ประวัติการเปลี่ยนแปลงเสียง
แก้พยัญชนะ
แก้ภาษาฮีบรูไบเบิลพัฒนามาจากภาษาเซมิติกดั้งเดิมโดยมีการรวมเสียงดังต่อไปนี้
- เซมิติกดั้งเดิม */ð/ และ */z/ รวมเป็น /z/ ในฮีบรูไบเบิล
- เซมิติกดั้งเดิม */θ/ และ */ʃ/ รวมเป็น /ʃ/ ในฮีบรูไบเบิล
- เซมิติกดั้งเดิม */θˁ/, */ɬˁ/, และ */sˁ/ รวมเป็น /sˁ/ ในฮีบรูไบเบิล
- เซมิติกดั้งเดิม */ɣ/ และ */ʕ/ รวมเป็น /ʕ/1) ในฮีบรูไบเบิล
- เซมิติกดั้งเดิม */x/ และ */ħ/ รวมเป็น /ħ/1) ในฮีบรูไบเบิล
- เซมิติกดั้งเดิม */w/ และ */j/ รวมเป็น /j/ ในฮีบรูไบเบิลในตำแหน่งต้นคำหรือเป็น Ø ระหว่างสระ
- เซมิติกดั้งเดิม */ʕ/ > Ø ในฮีบรูไบเบิล
- เซมิติกดั้งเดิม *-/át/ > -/áː/ ในฮีบรูไบเบิลในตอนท้ายของคำนามเพศหญิง ไม่ใช่ในสถานะโครงสร้าง
- เซมิติกดั้งเดิม */h/ > Ø ในฮีบรูไบเบิลระหว่างสระในปัจจัยสรรพนาม
จากการถอดเป็นอักษรกรีกมีหลักฐานว่าภาษาฮีบรูไบเบิลยังคงรักษาเสียงพยัญชนะ /ɣ/, /x เช่น ʿǍmōrāh (עֲמוֹרָה) ถอดเป็น Gómorrha (Γόμορρα) ในภาษากรีก ในขณะที่ ʿĒḇer (עֵבֶר) ถอดเป็น Éber (Ἔβερ) ในขณะที่มีหลักฐานว่าเสียง */ɣ/ และ */ʕ/ ในภาษาเซมิติกดั้งเดิมกลายเป็น ʿayin (ע) ในภาษาฮีบรูยุคต่อมาทั้งคู่ แต่ยังมีการแยกเสียงทั้งสองนี้ในยุคคลาสสิก เช่นเดียวกับ Raħēl (רָחֵל) ถอดเป็น Rhakhḗl (Ῥαχήλ) ในขณะที่ Yisˁħāq (יִצְחָק) กลายเป็น Isaák (Ἰσαάκ)
การออกเสียงสระ
แก้- เซมิติกดั้งเดิม */á:/ > /o:/; ในฮีบรูไบเบิลในตำแหน่งท้ายคำ > /a:/ (การยกเสียงในภาษาคานาอันไนต์)
- เซมิติกดั้งเดิม */a:/ > /a:/ ในฮีบรูไบเบิล
- เซมิติกดั้งเดิม */í:/ > /i:/ หรือก่อน ה ח ע, /i:a/ (páṯaḥ furtivum); ในฮีบรูไบเบิล
ในตำแหน่งท้ายคำมักเป็น /ɛ:/
- เซมิติกดั้งเดิม */ú:/ > /u:/ หรือก่อน ה ח ע, /u:a/(páṯaḥ furtivum) ในฮีบรูไบเบิล
- เซมิติกดั้งเดิม */ó:/ > /o:/ ในฮีบรูไบเบิล
- เซมิติกดั้งเดิม */o:, u:/ > /u:/; ในฮีบรูไบเบิล ในพยางค์เปิดก่อน */o:/ > /i:/ ในฮีบรูไบเบิล
- เซมิติกดั้งเดิม */a, i, u/ > ในตำแหน่งท้ายคำ
- เซมิติกดั้งเดิม */a, i, u/ในพยางค์เปิดที่ไม่เน้นเสียง > Ø สองพยางค์หรือมากกว่า ก่อนพยางค์ที่เน้นเสียง; ก่อนหรือหลัง א ה ח ע > /a/ ("ḥāṭēp̄ pátaḥ") หรือถ้าพยางค์ใกล้เคียงมี /e, ɛ/ หรือ /o, ɔ/, /ɛ/ ("ḥāṭēp̄ seḡōl") และ / ɔ/ ("ḥāṭēp̄ qāmeṣ") ตามลำดับ; ในคำกริยาในพยางค์ที่สองของคำถ้าพยางค์ต่อไปถูกเน้นเสียง; ในคำนามที่พยางค์ที่สองของสถานะโครงสร้าง > /ə/
- เซมิติกดั้งเดิม */á/ > /a:/ ในฮีบรูไบเบิลในพยางค์เปิด (บางครั้งเป็น /a/, /ɛ/)
- เซมิติกดั้งเดิม */a/ > Ø; ในฮีบรูไบเบิล ก่อนเสียงเน้นหนัก > /a:/ ในพยางค์ปิดเป็น > /i/
- เซมิติกดั้งเดิม */í, ú/ > /e:, o:/ หรือก่อน ה ח ע, /e:a, o:a/ ("páṯaḥ furtivum"); ในฮีบรูไบเบิลในพยางค์ปิดในรูปกริยา > /e, o/ หรือก่อน ה ח ע, /a/; ในพยางค์ซึ่งปิดในภาษาเซมิติกดั้งเดิม > /a/ ("Philippi’s law")
- เซมิติกดั้งเดิม */i/ > /i/ หรือก่อนหรือหลัง ה ח ע, /a/; ในฮีบรูไบเบิล ก่อนเสียงเน้นหนัก > /e:/ ("ṣērē antetonicum")
- เซมิติกดั้งเดิม */u/ > Ø ("šeəwa mobile") หรือ /ɔ/ (”ḥāṭēp̄ qāmeṣ”); ในฮีบรูไบเบิลในพยางค์ปิด > /ɔ/ ("qāmeṣ qāṭān") หรือก่อนพยัญชนะ, /u/
- เซมิติกดั้งเดิม */áw/ > /a:w/ ในฮีบรูไบเบิล
- เซมิติกดั้งเดิม */aw/ > /o:/ ในฮีบรูไบเบิล
- เซมิติกดั้งเดิม */áy/ > /ay/ ในฮีบรูไบเบิลหรือในพยางค์เปิด, /e:/ หรือในตำแหน่งท้ายคำ, /ɛ:/
- เซมิติกดั้งเดิม */ay/ > /e:/ ในฮีบรูไบเบิล
- การสูญเสียเสียง */h/ ของภาษาเซมิติกดั้งเดิมในปัจจับสรรพนาม:
- /-a-hu:/ > /-o:/
- /-a-ha:/ > /-a:/
- /-a-hɛm/ > /-a:m/
- /-e:-hɛm/ > /-e:m/
- /-i:-hu:/ > /-i:w/
- /-i:-hɛm/ > /-i:m/
- /-u:-hɛm/ > /-u:m/
- /-ay-hu:/ > /-a:w/
อ้างอิง
แก้- Bonnie Pedrotti Kittel, Vicki Hoffer, and Rebecca Abts Wright, Biblical Hebrew: A Text and Workbook Yale Language Series; New Haven and London: Yale University Press, 1989.
- Emil Kautzsch|Kautzsch, E. (ed.) Gesenius' Hebrew Grammar. Eng. ed. A. E. Cowley. Oxford: Clarendon Press, 1910.
- Lambdin, Thomas O. Introduction to Biblical Hebrew. London: Charles Scribner's Sons, 1971.
- Würthwein, Ernst. The Text of the Old Testament (trans. Erroll F. Rhodes) Grand Rapids: Wm.B.Eardmans Publishing. 1995. ISBN 0-8028-0788-7.
- ISBN 1-56563-206-0 Brown-Driver-Briggs Hebrew and English Lexicon by Francis Brown, S. Driver, C. Briggs
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติศาสตร์
- ไวยากรณ์และคำศัพท์
- Basic Biblical Hebrew Grammar (introductory)
- The Kittel Hebrew Words Database (Second Ed.) เก็บถาวร 2008-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Learn by use of flashcards 490 important Biblical Hebrew words.
- Learn to write the Hebrew characters เก็บถาวร 2010-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน