ภาษาคาไรม์ (สำเนียงไครเมีย: къарай тили, สำเนียงตราไก: karaj tili, ชื่อภาษาฮีบรูดั้งเดิม lashon kedar, לשון קדר‎, แปลว่า "ภาษาของชนร่อนเร่")[5] เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาฮีบรูในทำนองเดียวกับภาษายิดดิชหรือภาษาลาดิโน พูดโดยชาวคาไรต์ในไครเมียซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนายูดายในไครเมีย ลิทัวเนีย โปแลนด์และยูเครนตะวันตกเหลือผู้พูดอยู่เพียง 6 คน ภาษาคาไรม์สำเนียงลิทัวเนียเคยใช้พูดในกลุ่มชุมชนขนาดเล็กบริเวณเมืองตราไก ชาวคาไรต์เหล่านี้ถูกซื้อมาโดยแกรนด์ดยุกเวียเตาตัสแห่งลิทัวเนียเมื่อราว พ.ศ. 1944–1945 ซึ่งเป็นโอกาสให้ภาษานี้เหลือรอดอยู่ในตราไก ซึ่งเป็นผลมาจากการสนับสนุนของทางราชการ ในปัจจุบันมีพิพิธภัณฑ์ในตราไกแสดงเกี่ยวกับชุมชนคาไรต์และร้านอาหารคาไรต์

ภาษาคาไรม์
къарай тили
karaj tili
ประเทศที่มีการพูดไครเมีย, ลิทัวเนีย, โปแลนด์
ชาติพันธุ์ชาวคาไรต์ไครเมีย (2014)[1]
จำนวนผู้พูด80  (2014)[2]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
ระบบการเขียนซีริลลิก, ละติน, ฮีบรู
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน
ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย[3][4]
รหัสภาษา
ISO 639-3kdr

ประวัติ แก้

จุดกำเนิดของชาวคาไรต์ที่นับถือศาสนายูดาย แก้

ศาสนายูดายของชาวคาไรต์ต่างจากศาสนายูดายของชาวยิว เพราะไม่ได้ใช้คัมภีร์มิซนะห์และทัลมุด คำว่าคาไรม์มาจากศัพท์ภาษาฮีบรู קרא แปลว่าอ่าน ส่วนคำว่าคาไรต์มาจากภาษากลุ่มเตอร์กิก หมายถึงกลับ

ก่อนที่ศาสนาอิสลามจะแพร่หลายเข้ามา ชุมชนชาวยิวอยู่แยกจากกันเนื่องจากการเมือง สภาพภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม แต่เมื่อศาสนาอิสลามแพร่เข้ามา ชาวยิวส่วนใหญ่รวมเป็นกลุ่มก้อนภายใต้การปกครองชองชาวมุสลิม ชุมชนชาวยิวเหล่านี้เป็นชุมชนที่แข็งแกร่ง พยายามตั้งกฎของตนเอง กฎของมุสลิมไม่ได้มีผลต่อกิจกรรมทางศาสนาแต่มีผลต่อสังคม ทำให้เปลี่ยนมาใช้ภาษาอาหรับและรับวัฒนธรรมอิสลามทางด้านอาหาร การแต่งกายและการติดต่อทางสังคม ภายในสังคมของชาวยิวเอง แรบไบต่าง ๆ พยายามโน้มน้าวให้ชาวยิวยอมรับทัลมุดเป็นกฎของสังคม ในขณะที่ชาวยิวบางส่วนไม่ยอมรับ จึงเกิดความหลากหลายภายในศาสนายูดายขึ้น ศาสนายูดายของชาวคาไรต์เริ่มต้นในเมโสโปเตเมียเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13–14

ชาวคาไรต์ในไครเมียและลิทัวเนีย แก้

จุดกำเนิดของชาวคาไรต์ที่มาอยู่ในไครเมียยังไม่แน่นอน เพราะขาดหลักฐานที่แน่ชัด เอกสารส่วนใหญ่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวคาไรต์กับชุมชนอื่นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 22–24 เอกสารส่วนใหญ่ระบุถึงชุมชนชาวคาไรต์ที่ถูกเผาเมื่อพ.ศ. 2279 ระหว่างที่รัสเซียรุกรานรัฐข่านตาตาร์[6] นักวิชาการบางส่วนเสนอว่าชาวคาไรต์เป็นลูกหลานของพ่อค้าที่เข้ามาในไครเมียตั้งแต่สมัยจักรวรรดิไบแซนไทน์[7]และได้พัฒนาภาษาของตนที่เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกในช่วงที่อยู่ในไครเมียนี้เองมีเอกสารเกี่ยวกับการอพยพของชาวคาไรต์จากอิสตันบูลไปยังไครเมียซึ่งบันทึกโดยชาวยิวในอิสตันบูลเมื่อ พ.ศ. 1746[8] การก่อตั้งชุมชนพ่อค้าในไครเมียน่าจะเริ่มต้นขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18–19 โดยกลุ่มพ่อค้าที่ติดต่อระหว่างไครเมีย เอเชียกลางและจีน[9]

ในอีกทางหนึ่งมีทฤษฎีว่าชาวคาไรต์ในไครเมียเป็นลูกหลานของเผ่าคาซาร์ที่เปลี่ยนมาใช้ภาษาคาไรม์ สมมติฐานที่สามกล่าวว่า ชาวคาไรต์เป็นลูกหลานของเผ่าอิสราเอลจากยุคแรกของการอพยพหลบหนีกษัตริย์อัสซีเรีย โดยเป็นเผ่าที่อพยพไปสู่เทือกเขาคอเคซัสเหนือแล้วจึงเข้าสู่คาบสมุทรไครเมีย

จุดกำเนิดของชาวคาไรต์ในลิทัวเนียมีความชัดเจนกว่า โดยกลุ่มชนนี้มาจากไครเมีย ใน พ.ศ. 1935 แกรนด์ดยุกเวียตาตุสแห่งลิทัวเนียปราบชาวตาตาร์ไครเมียได้ และอพยพชาวคาไรต์ในไครเมีย 330 ครอบครัวไปสู่ลิทัวเนีย ชาวคาไรต์ในลิทัวเนียแยกกันอยู่อย่างเป็นอิสระ และรักษาลักษณะเฉพาะของตนไว้ได้ โดยยังคงใช้ภาษากลุ่มเตอร์กิก แทนที่จะใช้ภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ในบริเวณนั้น

การจัดจำแนก แก้

ภาษาคาไรม์เป็นสมาชิกของตระกูลภาษาอัลไตอิกซึ่งเป็นภาษาที่แพร่หลายในหมู่ชาวนอร์มานในยูเรเชีย ภายในตระกูลภาษานี้ ภาษาคาไรม์จัดอยู่ในภาษษกลุ่มเคียปชาก ซึ่งเป็นสาขาตะวันตกของภาษากลุ่มเตอร์กิก ภายในกลุ่มตะวันตก ภาษาคาไรม์เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มปอนโต-บัลการ์ในรัสเซียและภาษาคาลมึกซ์ในรัสเซีย ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างภาษาคาไรม์กับภาษาเคียปชากและภาษาตาตาร์ไครเมีย จึงมีทฤษฎีหนึ่งอธิบายว่าชาวคาซาร์เปลี่ยนไปเป็นชาวคาไรต์ที่นับถือศาสนายูดายในพุทธศตวรรษที่ 13–14

ลักษณะทั่วไปของภาษาในตระกูลอัลไตอิกคือเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา รูปคำติดต่อ และมีการเปลี่ยนเสียงสระ ภาษาคาไรต์มีลักษณะรูปคำติดต่อและมีการเปลี่ยนเสียงสระ จึงเป็นไปได้ที่จัดให้ภาษาคาไรม์อยู่ในกลุ่มนี้

ภาษาคาไรม์ในลิทัวเนียยังคงรักษาลักษณะที่มาจากกลุ่มภาษาเตอร์กิกไว้ได้ แม้จะมาอยู่ในบริเวณที่แวดล้อมด้วยภาษาลิทัวเนีย ภาษารัสเซียและภาษาโปแลนด์มากกว่า 600 ปี คำศัพท์ทางศาสนาในภาษาคาไรม์เป็นภาษาอาหรับ แสดงว่าจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมอยู่ในตะวันออกกลาง[10] คำศัพท์ทางศาสนาอีกส่วนหนึ่งเป็นภาษาฮีบรู ภาษาที่มีอิทธิพลต่อรากศัพท์ภาษาคาไรม์ได้แก่ภาษาอาหรับ ภาษาฮีบรู และภาษาเปอร์เซียในระยะแรก และระยะต่อมาได้แก่ ภาษารัสเซีย ภาษายูเครน ภาษาโปแลนด์ สำหรับชาวยิวคาไรม์ที่อยู่ในรัสเซีย ยูเครน โปแลนด์และลิทัวเนีย

การแพร่กระจาย แก้

ในปัจจุบันมีผูพูดภาษาคาไรม์อยู่ในไครเมีย ลิทัวเนีย โปแลนด์ อิสราเอล และสหรัฐ แม้ว่าจะมีชาวคาไรม์ 200 คนในลิทัวเนียแต่มีเพียง 1 ใน 4 ที่พูดภาษาคาไรม์

ภาษาคาไรม์แบ่งย่อยได้เป็น 3 สำเนียงคือ

  • สำเนียงตะวันออกหรือภาษาคาไรม์ไครเมียซึ่งเคยใช้พูดในไครเมียจนถึงราว พ.ศ. 2443 ปัจจุบันเป็นภาษาตาย
  • สำเนียงตะวันตกเฉียงเหนือหรือตราไก ปัจจุบันใช้พูดในเมืองตราไกและวิลเนียส
  • สำเนียงตะวันตกเฉียงใต้หรือฮาลิช ใช้พูดในยูเครนเป็นสำเนียงที่ใกล้ตายเหลือผู้พูดเพียง 6 คนใน พ.ศ. 2544[11]

ความสัมพันธ์กับภาษาอื่น แก้

ภาษาคาไรม์มีความเกี่ยวข้องกับภาษาอื่น ๆ มากมาย รากฐานที่มีต้นกำเนิดในเมโสโปเตเมียทำให้มีความเกี่ยวข้องกับภาษาอาหรับ ภาษาคาไรม์ใช้พูดในไครเมียในช่วงจักรวรรดิออตโตมันจึงมีความเกี่ยวข้องกับภาษาตุรกี และการที่ผู้พูดภาษาคาไรม์มักอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ กระจัดกระจายไปจึงมีความเกี่ยวข้องกับภาษาที่อยู่รอบ ๆ เช่น ภาษาลิทัวเนีย ภาษาโปแลนด์ ภาษายูเครนและภาษารัสเซีย จึงมีการลอกเลียนรากศัพท์และไวยากรณ์ของภาษาข้างเคียงมาใช้ในภาษาของตน ผู้พูดภาษาคาไรม์มักพูดได้หลายภาษาโดยจะพูดภาษาหลักในบริเวณนั้น ๆ ได้ด้วย บางส่วนที่มีความรู้ทางศาสนาจะรู้ภาษาฮ๊บรู

สถานะของภาษา แก้

สำเนียงส่วนใหญ่ของภาษาคาไรม์เป็นภาษาที่ตายแล้ว การเหลืออยู่ของภาษาคาไรม์ในลิทัวเนีย ปัจจุบันอยู่ในภาวะเสี่ยงเพราะการแพร่กระจายของชาวคาไรม์ในยุคโซเวียตหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีคนสูงอายุที่ยังพูดภาษาคาไรม์อยู่ คนรุ่นใหม่ หันไปพูดภาษาลิทัวเนีย ภาษารัสเซีย หรือภาษาโปแลนด์แทน

ไวยากรณ์ แก้

ภาษาคาไรม์เป็นภาษาที่ใช้ปัจจัยและมีลักษณะรูปคำติดต่อมาก ไม่มีคำอุปสรรคและใช้ปรบท คำนามผันได้ 7 การก แต่เดิมภาษาคาไรม์เรียงประโยคแบบกลุ่มภาษาเตอร์กิกคือประธาน-กรรม-กริยา แต่ได้ปรับเปลี่ยนเพราะต้องสื่อสารกับผู้พูดภาษาอื่น ๆ ปัจจุบันเป็นแบบ ประธาน-กริยา-กรรม[12]

ในไครเมียและยูเครน ภาษาคาไรม์เขียนด้วยอักษรซีริลลิก ในลิทัวเนียและโปแลนด์ เขียนด้วยอักษรละติน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22–24 เขียนด้วยอักษรฮีบรู

อ้างอิง แก้

  1. ภาษาคาไรม์ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. ภาษาคาไรม์ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  3. "Law of Ukraine "On Principles of State Language Policy")". Document 5029-17, Article 7: Regional or minority languages Ukraine, Paragraph 2. Verkhovna Rada. 1 February 2014. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
  4. "To which languages does the Charter apply?". European Charter for Regional or Minority Languages. Council of Europe. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-27. สืบค้นเมื่อ 2014-04-03.
  5. Tatiana Schegoleva. Karaites of Crimea: History and Present-Day Situation in Community.
  6. Akhiezer 2003
  7. Schur 1995
  8. Tsoffar 2006
  9. Schur 1995
  10. Zajaczkowski 1961
  11. Csató 2001
  12. Csató 2001

บรรณานุกรม แก้

  • Akhiezer, Golda. 2003. “The history of the Crimean Karaites during the sixteenth to eighteenth centuries.” pp. 729–757 in Polliack, Meira (ed.). Karaite Judaism: A Guide to its History and Literary Sources. Boston: Brill.
  • Astren, Fred. 2004. Karaite Judaism and Historical Understanding. Columbia, SC: University of South Carolina Press.
  • Csató, Éva Ágnes, Nathan, D., & Firkavičiūtė, K. (2003). Spoken Karaim. [London: School of Oriental and African Studies].
  • —— 2001. “Syntactic code-copying in Karaim.”
  • Dahl, Östen and Maria Koptjevskaja-Tamm. 2001. Circum-Baltic Languages.
  • Gil, Moshe. 2003. “The origins of the Karaites.” pp. 73–118 in Polliack, Meira (ed.). Karaite Judaism: A Guide to its History and Literary Sources. Boston: Brill.
  • Hansson, Gunnar Ólafur. 2007. “On the evolution of consonant harmony: the case of secondary articulation agreement.” Phonology. 24: 77-120.
  • Khan, Geoffrey. 2000. The Early Karaite Tradition of Hebrew Grammatical Thought. Boston: Brill.
  • Kocaoğlu, T., & Firkovičius, M. (2006). Karay: the Trakai dialect. Languages of the world, 458. Muenchen: Lincom Europa. ISBN 3-89586-490-0
  • Paul Wexler, 1980. The Byelorussian Impact on Karaite and Yiddish
  • Németh, Michał. 2003. “Grammatical features.” Karaimi. <https://web.archive.org/web/20110716080739/http://www.karaimi.org/index_en.php?p=301>.
  • Nemoy, Leon. 1987. “Karaites.” In Mircea Eliade, ed., The Encyclopedia of Religion. New York: MacMillan.
  • Oesterley, W. O. E. and G. H. Box. 1920. A Short Survey of the Literature of Rabbinical and Mediaeval Judaism. Burt Franklin: New York.
  • Schur, Nathan. 1995. “Karaites in Lithuania.” in The Karaite Encyclopedia. <https://web.archive.org/web/20071228105622/http://www.turkiye.net/sota/karalit.html>.
  • Tsoffar, Ruth. 2006. Stains of Culture: an Ethno-Reading of Karaite Jewish Women. Detroit: Wayne State University Press.
  • Tütüncü, Mehmet and Inci Bowman. 1998. “Karaim Homepage.” <https://web.archive.org/web/20071126131635/http://www.turkiye.net/sota/karaim.html>.
  • Zajaczkowski, Ananiasz. 1961. Karaims in Poland.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้