แบร็สต์ (ประเทศฝรั่งเศส)

แบร็สต์ (ฝรั่งเศส: Brest, ออกเสียง: [bʁɛst]) เป็นชื่อเมืองในจังหวัดฟีนิสแตร์ (Finistère) แคว้นเบรอตาญ (หรือบริตตานีในภาษาอังกฤษ) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส ไม่ไกลจากปลายด้านตะวันตกของคาบสมุทรเบรอตาญ[2] แบร็สต์เป็นเมืองที่อยู่ตะวันตกที่สุดของเขตปกครองฝรั่งเศส และเป็นที่ตั้งของท่าเรือทางทหารที่สำคัญเป็นอันดับสองรองจากตูลง จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2552 แบร็สต์มีจำนวนผู้อยู่อาศัย 142,722 คน และเป็นเมืองที่มีจำนวนพลเมืองหนาแน่นเป็นอันดับที่ 22 ของฝรั่งเศส แบร็สต์เป็นศูนย์กลางของเขตปกครองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของแคว้นเบรอตาญตะวันตก ให้บริการดูแลราษฎรจำนวน 1 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่[3] แม้ว่าจะเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของฟีนิสแตร์ แต่เมืองหลักของจังหวัดกลับเป็นแก็งแปร์ (Quimper) ที่มีขนาดเล็กกว่ามาก

แบร็สต์
ทิวทัศน์Tour Tanguy โดยมีปราสาทแบร็สต์เป็นฉากหลัง
ทิวทัศน์Tour Tanguy โดยมีปราสาทแบร็สต์เป็นฉากหลัง
ธงของแบร็สต์
ธง
ตราราชการของแบร็สต์
ตราอาร์ม
ประเทศฝรั่งเศส
แคว้นเบรอตาญ
จังหวัดฟีนิสแตร์
เขตแบร็สต์
อำเภอแบร็สต์-1, 2, 3, 4 และ 5
สหเทศบาลBrest Métropole
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรี (2020–2026) ฟร็องซัว กุยย็องดร์[1] (เปแอ็ส)
พื้นที่149.51 ตร.กม. (19.12 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (มกราคม ค.ศ. 2018)2
139,602 คน
 • ความหนาแน่น2,800 คน/ตร.กม. (7,300 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสอีนเซ/ไปรษณีย์29019 /29200
สูงจากระดับน้ำทะเล0–103 m (0–338 ft)
(avg. 34 m หรือ 112 ft)
เว็บไซต์brest.fr
1 ข้อมูลอาณาเขตที่ตามขึ้นทะเบียนไว้โดยไม่รวมทะเลสาบ, หนองน้ำ, ธารน้ำแข็งที่ขนาดใหญ่กว่า 1 ตารางกิโลเมตรตลอดจนปากแม่น้ำ 2 Population without double counting: residents of multiple communes (e.g., students and military personnel) only counted once.

ในยุคกลาง ประวัติความเป็นมาของแบร็สต์ส่วนมากเกี่ยวข้องกับปราสาท จนกระทั่งพระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอ ได้เปลี่ยนเมืองให้เป็นท่าเรือทางทหารใน พ.ศ. 2174[4] แบร็สต์จึงกลายเป็นคลังสรรพาวุธจนถึงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ที่เมืองถูกทำลายอย่างหนักจากการจู่โจมทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ศูนย์กลางของเมืองได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ภายหลังการเสร็จสิ้นของสงคราม ในช่วงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไปถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 เมืองลดความสำคัญของอุตสาหกรรมลง และหันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจการให้บริการแทน ปัจจุบันแบร็สต์เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นบริตตานี ที่มีนักศึกษากว่า 23,000 คน[5]

นอกเหนือจากการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความหลากหลายทางวิชาการแล้ว แบร็สต์และพื้นที่ล้อมรอบยังเป็นแหล่งของโรงเรียนและสถาบันสำหรับชนชั้นสูงที่มีชื่อเสียง อาทิ โรงเรียนนายเรือแห่งฝรั่งเศส (the French Naval Academy) เตเลกอมเบรอตาญ (Télécom Bretagne) และสถาบันเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งเบรอตาญ (Superior National School of Advanced Techniques of Brittany) นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัยที่สำคัญซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องเกี่ยวกับทะเล ได้แก่ สถาบันการวิจัยเรื่องการแสวงประโยชน์จากทะเลแห่งฝรั่งเศส (French Research Institute for Exploitation of the Sea) ศูนย์ข้อมูลการวิจัยและทดลองด้านมลภาวะทางน้ำ (Centre of Documentation, Research and Experimentation on Accidental Water Pollution) และสถาบันวิจัยขั้วโลกใต้

ประวัติศาสตร์ของแบร็สต์เกี่ยวโยงกับทะเลมาโดยตลอด ในปี พ.ศ. 2295 โรงเรียนนายเรือก่อตั้งขึ้นพร้อม ๆ กันกับการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินชาร์ล เดอ โกล และทุก ๆ 4 ปี แบร็สต์จะจัดงานเฉลิมฉลองระดับนานาชาติเนื่องในเทศกาลเกี่ยวกับทะเลและการเดินเรือ ซึ่งจะเป็นแหล่งพบปะและดึงดูดนักเดินเรือจากทั่วทุกมุมโลก

ประวัติศาสตร์ แก้

 
เมืองแบร็สต์ พ.ศ. 2322
 
เมซงเดอลาฟองแตน ในเขตเรอกูฟ์ร็องซ์ คือหนึ่งในบ้านที่เก่าแก่ที่สุดของแบร็สต์ (ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ไปจนถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18)

ก่อนหน้าปี พ.ศ. 1783 แบร็สต์ไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก จนกระทั่งเคานต์แห่งลียงยกให้ฌ็องที่ 1 ดยุกแห่งเบรอตาญ ต่อมาในปี พ.ศ. 1885 ฌ็องที่ 4 ได้ส่งมอบแบร็สต์ให้กับอังกฤษซึ่งยึดครองไว้จนกระทั่งปี พ.ศ. 1940 ความสำคัญของแบร็สต์ในช่วงยุคกลางมีมากจนทำให้เกิดคำพูดที่ว่า "ไม่มีดยุกแห่งเบรอตาญคนใด ที่ไม่ใช่ลอร์ดของแบร็สต์" ด้วยการอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส กับพระราชินีโกลด พระธิดาในแอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส ทำให้แบร็สต์กลายเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ความได้เปรียบของแบร็สต์ในฐานะเมืองท่าเรือเดินทะเลเป็นที่ยอมรับครั้งแรกโดยพระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอ ผู้สร้างท่าเทียบเรือไม้ในปี พ.ศ. 2174 ซึ่งเวลาต่อมาได้กลายเป็นฐานที่มั่นของทัพเรือฝรั่งเศส หลังจากนั้น ฌ็อง-บาติสต์ กอลแบร์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้สร้างท่าเรือใหม่ด้วยการก่ออิฐ ต่อด้วยการสร้างป้อมปราการโดยโวบ็อง ในระหว่างปี พ.ศ. 2223 – 2231 ความสำคัญของเมืองในฐานะที่มีปราการทางทะเลที่แน่นหนา สามารถป้องกันข้าศึกได้ดำเนินมาต่อเนื่องจนถึงศตวรรษที่ 18 ในปี พ.ศ. 2237 กองเรือรบภายใต้บัญชาการของลอร์ดเบิร์กลีย์แห่งอังกฤษ ได้พ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงในการมาโจมตีแบร็สต์

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2460 แบร็สต์ถูกใช้เป็นท่าขึ้นฝั่งของกองทหารหลายพันนายที่เดินทางมาจากสหรัฐอเมริกา เพื่อผ่านไปยังแนวด้านหน้าของสนามรบ[6] ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันใช้แบร็สต์เป็นฐานขนาดใหญ่ของเรือดำน้ำ หลังจากการบุกครองนอร์ม็องดี ของฝ่ายสัมพันธมิตรในปี พ.ศ. 2487 การต่อสู้ที่แบร็สต์ถือเป็นสมรภูมิรบที่ดุเดือดที่สุดของแนวรบด้านตะวันตก เมืองเกือบทั้งหมดถูกทำลาย ภายหลังสงครามเสร็จสิ้น รัฐบาลของเยอรมันตะวันตกต้องจ่ายเงินจำนวนมหาศาลหลายพันล้านดอยช์มาร์ค เป็นค่าปฏิกรรมสงครามให้กับแบร็สต์ เพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเมือง ปัจจุบันพื้นที่ขนาดใหญ่หลายแห่งและอาคารถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยหินแกรนิตและคอนกรีต และฐานทัพเรือของฝรั่งเศสกลายเป็นศูนย์ฝึกอบรม[7]

ในปี พ.ศ. 2515 กองทัพเรือฝรั่งเศสทำพิธีเปิดฐานทัพเรือดำน้ำอาวุธนิวเคลียร์อย่างเป็นทางการที่เกาะลงก์ (Île Longue) ในอาณาเขตของแบร็สต์ ซึ่งยังคงเป็นฐานที่มั่นสำคัญของเรือดำน้ำขีปนาวุธนิวเคลียร์ของฝรั่งเศสมาจนถึงปัจจุบัน

ประชากร แก้

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±% p.a.
1793 24,180—    
1800 25,865+0.97%
1806 22,130−2.57%
1821 26,361+1.17%
1831 29,860+1.25%
1836 29,773−0.06%
1841 48,225+10.13%
1846 55,820+2.97%
1851 61,160+1.84%
1856 54,665−2.22%
1861 67,833+4.41%
1866 79,847+3.32%
1872 66,270−3.06%
1876 66,828+0.21%
1881 69,110+0.67%
1886 70,778+0.48%
1891 75,854+1.39%
1896 74,538−0.35%
1901 84,284+2.49%
ปีประชากร±% p.a.
1906 85,294+0.24%
1911 90,540+1.20%
1921 73,960−2.00%
1926 67,861−1.71%
1931 69,841+0.58%
1936 79,342+2.58%
1946 74,991−0.56%
1954 110,713+4.99%
1962 136,104+2.61%
1968 154,023+2.08%
1975 166,826+1.15%
1982 156,060−0.95%
1990 147,956−0.66%
1999 149,634+0.13%
2007 142,722−0.59%
2012 139,676−0.43%
2017 140,064+0.06%
2020 139,456−0.14%
ที่มา: EHESS[8] และ INSEE (1968-2017)[9][10]

มุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา แก้

 

นิยามของตรา: ด้านซ้ายเป็น เฟลอร์เดอลี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของราชอาณาจักรฝรั่งเศสในอดีตสีทองสามดวงบนพื้นสีกรมท่า ด้านขวาเป็นพื้นลายสีดำบนพื้นสีขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของแคว้นเบรอตาญ เมื่อรวมกันหมายถึงการร่วมกันของฝรั่งเศสและแบร็สต์ ประกาศใช้เป็นครั้งแรกภายใต้ความเห็นชอบร่วมกันของสภาเทศบาลเมืองในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2226[11]

หลังจากท่าเรือแห่งแรกของดัชชีแห่งแบร็สต์ (เบรอตาญ: Dugelezh Breizh)ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่แคว้นแยกจากอังกฤษ ได้ใช้ธงสัญลักษณ์ไม้กางเขนสีดำ (เบรอตาญ: Kroaz Du) ซึ่งต่อมามีการปรับปรุงหลายครั้ง โดยล่าสุดธงเป็นสัญลักษณ์ของสหภาพของฝรั่งเศสและแบร็สต์

 
ธงของแบร็สต์
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15
ธงของแบร็สต์
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 
 
ธงของแบร็สต์
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16
ธงของแบร็สต์
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 
 
ธงของแบร็สต์
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17
ธงของแบร็สต์
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 
 
ธงพิธีการของแบร็สต์: ธงที่ใช้มากที่สุดของเบรสต์ในปัจจุบัน
ธงพิธีการของแบร็สต์: ธงที่ใช้มากที่สุดของเบรสต์ในปัจจุบัน 

อ้างอิง แก้

  1. "Répertoire national des élus: les maires". data.gouv.fr, Plateforme ouverte des données publiques françaises (ภาษาฝรั่งเศส). 2 December 2020.
  2. Stina Backer (31 March 2018). "Brest, France: What to see and do". CNN Travel.
  3. Brest.fr – Brest perspectives เก็บถาวร 3 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Britannica
  5. Gaële MALGORN (22 February 1999). "Brest accueille ses 23 000 étudiants". Participation Brest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 April 2011.
  6. Van Wyen, Adrian O. (1969). Naval Aviation in World War I. Washington, D.C.: Chief of Naval Operations. p. 65.
  7. "The Nizkor Project - Nuremberg Trials transcript". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26.
  8. Des villages de Cassini aux communes d'aujourd'hui: รายการข้อมูลเทศบาล Brest, EHESS. (ในภาษาฝรั่งเศส)
  9. Population en historique depuis 1968, INSEE
  10. Populations légales 2020, INSEE
  11. Malte-Brun (1882). "Donne un autre blason en parallèle à celui ci-dessus : D'azur à un navire d'or, au chef d'hermine". La France illustrée.
ทั่วไป

บรรณานุกรม แก้

ตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
  • C.B. Black (1876). "Brest". Guide to the North of France. Edinburgh: Adam and Charles Black.
ตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20

แหล่งข้อมูลอื่น แก้