พรพิมล ธรรมสาร (เกิด 7 มิถุนายน 2507; ชื่อเล่น ก้อย) เป็นศิลปินและนักการเมืองชาวไทย เคยเป็นนักร้องนำวงโอเวชั่นระหว่างปี 2530–2532 เป็นอดีตสมาชิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทย หลังย้ายมาจากพรรคเพื่อไทย

พรพิมล ธรรมสาร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ปทุมธานี เขต 5
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าเกียรติศักดิ์ ส่องแสง
ถัดไปมนัสนันท์ หลีนวรัตน์
ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน พ.ศ.2566
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีช่วยทรงศักดิ์ ทองศรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (59 ปี)
อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
พรรคการเมืองพลังประชาชน (2550-2551)
เพื่อไทย (2551-2564)
ภูมิใจไทย (2564-ปัจจุบัน)
คู่สมรสสมชาย รังสิวัฒนศักดิ์[1]
บุตร2 คน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
พรพิมล ธรรมสาร
สมัยอยู่ในวงดนตรี โอเวชั่น
สมัยอยู่ในวงดนตรี โอเวชั่น
ข้อมูลพื้นฐาน
แนวเพลงป็อบ สตริง สากล คันทรี่ เพื่อชีวิต ลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง
ค่ายเพลงนิธิทัศน์

ประวัติ แก้

เธอได้มาเป็นนักร้องนำของวงสตริงชื่อดังในยุคนั้นอย่าง โอเวชั่น แทน พัชรา แวงวรรณ นักร้องนำคนเก่าที่ นิธิทัศน์ โปรโมชั่น เห็นว่าเหมาะกับร้องเพลงช้ามากกว่าเพลงเร็วจึงได้แยกให้ไปทำอัลบั้มเดี่ยว และทางบริษัทจึงให้วงไปหานักร้องนำคนใหม่ ขาว-ไวยวุฒิ สกุลทรัพย์ไพศาล มือคีย์บอร์ดและนักร้องนำ พี่ชายของ วิรุฬ สกุลทรัพย์ไพศาล (ดำ ฟอร์เอฟเวอร์) จึงได้ชักชวน ก้อย พรพิมล ซึ่งเป็นเพื่อนมาเทสต์เสียงที่บริษัท ซึ่งเธอได้ผ่านการเทสต์เสียงและได้เป็นนักร้องนำคนใหม่ในอัลบั้ม "เริ่มวัยรัก" ใน พ.ศ. 2530 และเมื่ออัลบั้มนี้ขายดีจึงเร่งทำอัลบั้มชุดต่อมาโดยในปี พ.ศ. 2532 พรพิมลได้ออกอัลบั้มชุดใหม่กับวงโอเวชั่น ในชื่อว่า "ไม่มีวันนั้นอีกแล้ว" หลังจากอัลบั้มนี้ทางบริษัทได้ให้เธอออกมาทำอัลบั้มเดี่ยว ในปี พ.ศ. 2533 ทำให้โอเวชั่นที่กำลังจะหมดสัญญากับนิธิทัศน์ต้องไปสังกัดค่ายอื่น ส่วนเธอได้ออกอัลบั้มเดี่ยวโดยใช้ชื่อเล่นและชื่อจริงของตนเองเป็นชื่ออัลบั้ม โดยในอัลบั้ม "ก้อย ซูเปอร์ฮิต" มีเพลงดังคือเพลง "เอาความรักฉันคืนกลับมา" ซึ่งเป็นเพลงแก้กับเพลง เอาความรักเธอนั้นคืนกลับไป ของดอน สอนระเบียบ และเพลง "สาวอีสานรอรัก" จนโด่งดังเป็นพลุแตกทั่วประเทศ ในช่วงยุคเวลานั้น หลังจากนั้น เธอได้ลาออกไปแต่งงานสมรสกับ สมชาย รังสิวัฒนศักดิ์ มีบุตรด้วยกัน 2 คน

งานการเมือง แก้

เธอลงเล่นการเมืองตามสามี เริ่มที่ตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดปทุมธานี ส่วนสามีเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พรพิมลได้ลงรับสมัครเลือกตั้งระดับชาติเป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งให้เป็น ส.ส.ปทุมธานี เขต 2 สังกัดพรรคพลังประชาชน ต่อมาเมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบพรรคจากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 เธอก็ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 พรพิมลก็ได้ลงสมัครเลือกตั้ง สส. จังหวัดปทุมธานีอีกครั้งในนามพรรคเพื่อไทย ในเขตเลือกตั้งที่ 4 และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง จนกระทั่งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เธอก็ได้รับเลือกให้เป็น สส.ปทุมธานี เป็นสมัยที่ 3 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย

ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564 กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยมีมติให้นาง พรพิมล ธรรมสาร พ้นสภาพสมาชิกพรรคเพื่อไทย พร้อมกับนาย ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ[2] ต่อมาเธอได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย[3] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เธอลงสมัคร สส. จังหวัดปทุมธานี เขต 7 อีกครั้ง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ของพรรคก้าวไกล[4] ต่อมาในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566 ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งให้พรพิมลเป็นข้าราชการการเมือง ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ทรงศักดิ์ ทองศรี) โดยให้มีผลทันที[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

พรพิมล ธรรมสาร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคพลังประชาชนพรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย → พรรคภูมิใจไทย

ผลงานในวงการบันเทิง แก้

อัลบั้มในนาม โอเวชั่น แก้

อัลบั้มเดี่ยว แก้

อัลบั้มที่ร่วมร้องกับศิลปินคนอื่นๆ แก้

ละคร แก้

ภาพยนตร์ แก้

  • 2530 นานาจิตตัง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ชาญว่าไง "พรพิมล" สายบิ๊กแจ๊ส สวมเสื้อภูมิใจไทย
  2. "พรพิมล" ปัดซบภท. รับดีลพรรคการเมืองย้ายค่าย ไม่เกิน30วันรู้คำตอบ
  3. พรพิมล ส.ส. ปทุมธานี ย้ายสังกัดเข้าภูมิใจไทย หลังพรรคเพื่อไทยมีมติขับออกจากสมาชิก
  4. บูรพาวิถี, ประชา (2023-05-16). "ผลเลือกตั้ง 2566 'ล้มช้าง' ทั้งแผ่นดิน ปรากฏการณ์ 'กระแส' ชนะกระสุน". มังกรซ่อนพยัคฆ์. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2023-10-28.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาน ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้