ตำรวจไทย

ตำรวจในประเทศไทย

ตำรวจไทย ประกอบด้วย บรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายในราชอาณาจักรไทย ตำรวจรัฐสภา ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายภายในพื้นที่รัฐสภาตำรวจศาล ทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวเนื่องกับตุลาการ และตำรวจรถไฟฟ้า ทำหน้าที่ดูแลรักษาความสงบในระบบรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

ตำรวจไทย

ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2403
ตำรวจรัฐสภา พ.ศ. 2476
ตำรวจศาล พ.ศ. 2562
โครงสร้างเขตอำนาจ
เขตอำนาจในการปฏิบัติการประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป

อำนาจของตำรวจ แก้

อำนาจของตำรวจตามพฤตินัย ตำรวจมีแนวทางในการประพฤติปฏิบัติหน้าที่ ตามประเพณีที่เป็นแบบอย่างดังนี้ ตำรวจมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและมีอำนาจจะสอบสวน จับกุม คุมขัง ปราบปราม เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่อำนาจเหล่านี้[1]สามารถสร้างคุณและโทษได้เท่า ๆ กัน[2] สุดแต่การใช้ ตำรวจทุกคนจึงจำเป็นต้องควบคุมจิตใจให้มั่นคง

ประวัติตำรวจไทย แก้

ก่อน พ.ศ. 2403 แก้

มีการพบหลักฐานกิจการตำรวจที่เก่าแก่ที่สุดของไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองบ้านเมืองเป็น 4 เหล่า เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้มีตำรวจขึ้นด้วยและให้ขึ้นอยู่กับกรมเวียง มีเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี เป็นผู้บังคับบัญชา

กิจการตำรวจครั้งนั้นแบ่งออกเป็นตำรวจพระนครบาล ตำรวจภูธร ส่วนตำรวจหลวงให้ขึ้นอยู่กับวัง มีเจ้าพระยาธรรมาธิบดีศรีรัตนมณเฑียรบาล เป็นผู้บังคับบัญชา และโปรดเกล้าฯ ให้ตราศักดินาของตำรวจไว้เป็นบรรทัดฐานในบทพระอัยการระบุตำแหน่งนายพลเรือน เช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายอื่น ดังนี้

  • ตำรวจภูธร หลวงวาสุเทพ เจ้ากรมมหาดไทย ตำรวจภูธร ศักดินา 1000 ขุนพิศณุแสนปลัดขวา ศักดินา 600
  • ตำรวจภูบาล หลวงเพชรฉลูเทพ เจ้ากรมมหาดไทย
  • ตำรวจภูบาลศักดินา 1000 ขุนมหาพิชัย ปลัดขวา ศักดินา 600 ขุนแผลงสะท้าน ปลัดซ้าย ศักดินา 600

นอกจากนี้ยังมีเอกสารหลายชิ้นที่แสดงว่าบุคคลที่จะเป็นตำรวจได้นั้นต้องคัดเลือกจากผู้ที่มีชาติกำเนิดสืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่ได้ทำคุณความดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และต้องเป็นบุคคลที่ทรงวางพระราชหฤทัย การบังคับบัญชาตำรวจก็ต้องขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะแต่พระองค์เดียว กิจการตำรวจในยุคนี้จะจัดตั้งเพื่อให้ทำหน้าที่ในวงจำกัด และมิได้ขยายไปยังส่วนการปกครองทั่วประเทศเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้น กรมตำรวจจึงได้รับความสนใจที่จะปรับปรุงรูปแบบเพื่อให้เป็นไปตามแบบอย่างประเทศตะวันตก

พ.ศ. 2403–2475 แก้

กิจการตำรวจระหว่างปี พ.ศ. 2403 ถึง พ.ศ. 2475 เป็นสมัยที่ได้มีการปฏิรูปการปกครองประเทศไทยอย่างขนาดใหญ่ในทุก ๆ ด้าน ตามแบบอย่างอารยประเทศตะวันตก เริ่มปรากฏมีหลักฐานว่า ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง รับผิดชอบกองโปลิศ (POLIS) หรือกรมกองตระเวน ขึ้นครั้งแรก โดยจ้าง ชาวพม่า อินเดีย สิงคโปร์ เริ่มทำงานครั้งแรกที่ย่านตลาดพาหุรัด ในพระนคร และต่อมาในปี พ.ศ. 2405 ได้ว่าจ้าง กัปตัน เอส.เย.เบิร์ด เอมส์ (Captain Sammoal Joseph Bird Ames) ชาวอังกฤษ ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงรัฐยาภิบาลบัญชา มาเป็นผู้พิจารณาวางโครงการจัดตั้งกองตำรวจ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตนครหลวงตามแบบอย่างยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เนื่องจากเหตุทางการเมืองระหว่างประเทศในสมัยนั้นซึ่งเป็นยุคที่ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส ฮอลันดา กำลังแข่งขันกันหาเมืองขึ้นในทวีปเอเชีย การจัดระเบียบการปกครองประเทศขณะนั้นจึงเพ่งเล็งไปในด้านป้องกันประเทศเป็นหลักใหญ่ นโยบายการตำรวจก็ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายการเมืองระหว่างประเทศและทหารด้วยเป็นธรรมดา

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 การปรับปรุงการตำรวจ นอกจากได้ขยายงานตำรวจนครบาลโดยให้ นายเอ.เย.ยาดิน (A.J.Jardine) มาช่วยงานเพิ่มขึ้นแล้ว ยังได้จัดตั้งตำรวจภูธรขึ้นในรูปทหารโปลิศ เมื่อ พ.ศ. 2419 สำหรับเป็นกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยในส่วนภูมิภาคและให้สามารถปฏิบัติการทางทหารได้ด้วย โดยว่าจ้าง นายยี.เชา. (G.Schau) ชาวเดนมาร์คมา เป็นผู้วางโครงการ ผู้บังคับบัญชาส่วนมากก็โอนมาจากนายทหาร ต่อมาในพ.ศ. 2420 ได้เปลี่ยน "กองทหารโปลิศ" เป็น "กรมกองตระเวนหัวเมือง" จนถึงปี พ.ศ. 2440 ได้ตั้ง "กรมตำรวจภูธร" ขึ้นแทนกรมกองตระเวนหัวเมือง โดยมี พลตรีพระยาวาสุเทพ (ยี.เชา.) เป็นเจ้ากรมตำรวจภูธร

ในปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อผลิตนายตำรวจให้ทำหน้าที่ผู้บังคับหมวดรับราชการในกรมตำรวจภูธร โดยในขณะนั้นมีนายร้อยโท ม.ร.ว.แดง (หม่อมแดง) ผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 3 นครราชสีมา ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรคนแรก ถือเป็นรากฐานเริ่มต้นของโรงเรียนนายร้อยตำรวจยุคปัจจุบัน ซึ่งในปี ร.ศ.121 (พ.ศ. 2445) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชหัตถเลขาถึงกรมหลวงดำรงราชานุภาพ มีพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจจากมณฑลนครราชสีมา ไปตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยจระเข้ จ.นครปฐม ตามการกราบบังคมทูลขอของกรมหลวงดำรงราชานุภาพ

กำลังพลในระยะแรกใช้ตำรวจ แต่ต่อมาเมื่อทางทหารได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ทางตำรวจภูธรก็ได้ขออนุมัติใช้กฎหมายฉบับนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2448 ได้เกณฑ์คนเข้าเป็นตำรวจด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อได้จัดตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้นแล้ว ก็ได้พยายามขยายการตำรวจไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคตามลำดับ เพื่อให้มีกำลังตำรวจสำหรับป้องกันปราบปรามโจรผู้ร้าย อำนวยความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ประชาชาชน

ต่อมาได้ขยายกิจการตำรวจภูธรไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคมากยิ่งขึ้น ทางด้านตำรวจนครบาลก็ได้ว่าจ้าง นายอีริค เซนต์ เจ.ลอซัน (Mr. Eric Saint J.Lawson) ชาวอังกฤษเข้ามาช่วยอีกคนหนึ่ง

กิจการตำรวจในยุคนี้ขึ้นอยู่กับ 2 กระทรวงคือ กระทรวงนครบาล (กรมพลตระเวน หรือ ตำรวจนครบาล) และกระทรวงมหาดไทย (กรมตำรวจภูธร) และต่อมาได้รวมเป็นกรมเดียวกันภายใต้การบังคับบัญชาของอธิบดีคนเดียวกันเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เรียกว่า "กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน" กรมตำรวจจึงถือว่าวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันตำรวจ และในปลายปีนั้นเองได้เปลี่ยนเป็น "กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล" ยกฐานะเจ้ากรมขึ้นเป็นอธิบดี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงนครบาลกับกระทรวงมหาดไทยเข้าเป็นกระทรวงเดียวกันเรียกว่ากระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาลจึงโอนมาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย และในปี พ.ศ. 2469 ได้เปลี่ยนนามกรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาลเป็น "กรมตำรวจภูธร" แต่ยังคงแบ่งตำรวจออกเป็น 2 ประเภทคือ

  • ตำรวจนครบาล คือตำรวจที่จับกุมโจรผู้ร้ายไต่สวน ทำสำนวนฟ้องศาลโปลิศสภาโดยตรง
  • ตำรวจภูธร คือตำรวจที่ทำการจับกุมโจรผู้ร้ายได้แล้วส่งให้อำเภอไต่สวนทำสำนวนให้อัยการฟ้องศาลอาญาประจำจังหวัดนั้น ๆ

จนกระทั่ง พ.ศ. 2475 จึงได้เปลี่ยนนามกรมตำรวจภูธรเป็น "กรมตำรวจ"

พ.ศ. 2475–2541 แก้

 
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

หลังจากที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว กิจการตำรวจได้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามประกาศเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ พ.ศ. 2475 คือ

  • ส่วนที่ 1 : เป็นหน่วยบริหารงานส่วนกลางและสำนักบริหารของอธิบดีกรมตำรวจมีกองขึ้นตรง 6 กองได้แก่
    • กองกลาง
    • กองบัญชี
    • กองโรงเรียน
    • กองคดี
    • กองตรวจคนเข้าเมือง
    • กองทะเบียนกลาง
  • ส่วนที่ 2 : ตำรวจนครบาล
  • ส่วนที่ 3 : ตำรวจภูธร
  • ส่วนที่ 4 : ตำรวจสันติบาล เป็นหน่วยที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังที่ได้ยกเลิกตำรวจภูบาล ตำรวจกลาง และตำรวจกองพิเศษ

หลังจากที่ได้ปรับปรุงกิจการตำรวจเพื่อวางรากฐานตำรวจในระบอบประชาธิปไตยเมื่อ พ.ศ. 2475 แล้ว กรมตำรวจได้ปรับปรุงการบริหารให้ดีขึ้น และเหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมปริมาณและคุณภาพของงานเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2541 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

2560 วันตำรวจได้เปลี่ยนเป็นวันที่ 17 ตุลาคม ถือตามการสถาปนา กรมตำรวจ เป็น "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" ในปี 2541 (ค ศ 1998)

ประเภทของตำรวจ แก้

ตำรวจในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามกฎหมายที่ตราขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลภารกิจและอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ประกอบไปด้วย

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แก้

เป็นหน่วยงานตำรวจหลักของประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มีสถานะเป็นตำรวจแห่งชาติ (National Police) มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีขอบเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักรไทย

ตำรวจรัฐสภา แก้

 
ตำรวจรัฐสภายืนรักษาการหน้าสัปปายะสภาสถาน

เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา สังกัดสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายและรักษาความปลอดภัยต่อบุคคลและทรัพย์สินต่าง ๆ ในบริเวณรัฐสภา[3] ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง[4]

ตำรวจศาล แก้

ในประเทศไทย เป็นข้าราชการศาลยุติธรรม ตำแหน่ง เจ้าพนักงานตำรวจศาล สังกัดศูนย์รักษาความปลอดภัย ศาลยุติธรรม ซึ่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมได้แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562[5]

ตำรวจรถไฟฟ้า แก้

ตำรวจรถไฟฟ้า[6] เป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการจากภาษาอังกฤษของหน่วยคือ MRTA Police[7] หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า พนักงานรักษาความปลอดภัย[8][9] มีสถานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม มีภารกิจในการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยภายในขบวนรถไฟฟ้า ทั้งเหตุอาชญากรรมและการป้องกันสิ่งผิดปกติและพฤติกรรมที่จะก่อความเสียหายต่อระบบรถไฟฟ้าและประชาชน คล้ายคลึงกับตำรวจรถไฟของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้รับการฝึกทางยุทธวิธีเช่นเดียวกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่น ๆ รวมถึงกำกับดูแลการปฏิบัติงานพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทผู้รับจ้างซึ่งเป็นเอกชน[9]

อุปกรณ์และครุภัณฑ์ของตำรวจรถไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ อุปกรณ์ประจำกาย เช่น วิทยุสื่อสาร (ความถี่วีเอชเอฟ) และวิทยุสื่อสารแบบดิจิทัล และอุปกรณ์ประจำแผนก เช่น อาวุธปืน ปืนสเปรย์พริกไทย[9]

พื้นที่รับผิดชอบของตำรวจรถไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ส่วนตามโครงการของ รฟม. คือ โครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล และโครงการรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม[10] แบ่งส่วนปฏิบัติงานภายในออกเป็นหลายหน่วย คือ หน่วยที่ประดับเครื่องหมาย MRTA Police[11] ประกอบไปด้วย พนักงานรักษาความปลอดภัย (MRTA Police), พนักงานผู้บังคับสุนัขตรวจค้นพัสดุภัณฑ์ระเบิด (K-9 MRTA)[12], พนักงานพิสูจน์ทราบ (EOD) และหน่วยสนับสนุน ประกอบไปด้วย พนักงานกู้ภัย (MRTA Rescue) และพนักงานรักษาเขตทาง[10][8]

อ้างอิง แก้

  1. "เขตอำนาจศาลกับการใช้อำนาจของตำรวจ - chorsaard". chorsaard.or.th.
  2. matichon (2017-12-22). "อำนาจจับกุม เป็นอำนาจที่ให้คุณให้โทษอย่างยิ่ง ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา : โดย กนกศักดิ์ พวงลาภ". มติชนออนไลน์.
  3. https://www.pptvhd36.com. ""ชวน" ยัน ตร.สภาปฏิบัติตามหน้าที่ ปมปะทะผู้ติดตาม รมต. ชี้จุดอ่อนสังคมไทย "ไม่เคารพกฎกติกา"". pptvhd36.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |last= (help)
  4. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2476 เก็บถาวร 2022-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เล่ม 50 วันที่ 30 มกราคม 2476 หน้า 930-932
  5. "เปิดตัว "ตำรวจศาล" ชุดแรก 35 นาย ภารกิจ รปภ.-ติดตามผู้ต้องหา". Thai PBS. 2019-08-06.
  6. เป็นชื่อที่ถูกเรียกโดยเฟซบุ๊กแฟนเพจของกองปราบปราม
  7. "MRT เช้านี้ยังพอไหว ไม่ถึงกับหายใจรดต้นคอ หลังประชาชนกลับมาทำงานมากขึ้น". www.thairath.co.th. 2020-05-07.
  8. 8.0 8.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543[ลิงก์เสีย]. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 13 ง, 18 มกราคม 2564, หน้า 19
  9. 9.0 9.1 9.2 "ระเบียบปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยเขตระบบรถไฟฟ้ามหานคร ในภาวะปกติ". www.mrta.co.th.
  10. 10.0 10.1 "ระเบียบปฏิบัติงาน การตอบโต้เหตุฉุกเฉิน". www.mrta.co.th.
  11. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ร่างขอบเขตงาน, ร่างประกาศ และร่างเอกสารประกวดราคาจ้างเหมาบริการตัดชุดเครื่องแบบพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำปีงบประมาณ 2561 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) 24 สิงหาคม 2561
  12. "สุนัข K-9 ในระบบรถไฟฟ้า กับเบื้องหลังที่หลายคนไม่เคยรู้". บ้านและสวน (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-02-09.

ดูเพิ่ม แก้