พระภูเทวี

(เปลี่ยนทางจาก พระแม่ภูมี)

ภูมี (สันสกฤต: भूमि, อักษรโรมัน: Bhūmi), หรือ ภูมิเทวี และ วสุธรา, เป็นเทวีในศาสนาฮินดูอันเป็นผู้อุปถัมป์ค้ำจุนโลกและแผ่นดิน พระนางเป็นเทพชายาของพระพิษณุและในไวษณพนิกายพระนางเป็นเทพชายาลำดับที่สองรองจากพระลักษมี, และพระนิลเทพี[2] ด้วยเหตุที่พระวราหะอันเป็นอวตารของพระวิษณุได้ช่วยพระนางจากการคุกคามของอสูรหิรัณยากษะพระองค์ทรงได้เสกสมรสกับพระนางและเป็นหนึ่งในอนุเทพชายา พระนางเป็นมารดรของ นรกาสูร, พระมงคลเทพบุตร, และ พระนางสีดา.[3]

พระภูเทพี
เทพมารดรแห่งโลก[1]
เทพนารีแห่งแผ่นดิน
เทวรูปเจ้าแม่ภูมิเทวี ศิลปะโจฬะ พุทธศตวรรษที่สิบห้าถึงสิบแปด จากรัฐทมิฬนาฑูปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์บริติช
ชื่ออื่นภูมิเทวี, ปฤถวี, วราหิ, พหุมี , วสุธรา, วสุมตี, ภาสุมตี
ส่วนเกี่ยวข้องไวษณพนิกาย
พระธรณี
พระแม่ธรณี
พระแม่ปฤถวี
พระวสุธารา
เทพมารดร
พระแม่ลักษมี
ที่ประทับภูมิโลกและเทวโลก
มนตร์Om Bhumyai Namah
พาหนะช้าง
วัว
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองพระวราหะ (พระนารายณ์)
บุตร - ธิดานรกาสูร, พระมงคลเทพ, พระนางสีดา
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น
เทียบเท่าในกรีกไกอา
เทียบเท่าในโรมันเทอร์รา

เทพลักษณะตามประติมานวิทยา แก้

นาม "ภูมี" มาจากคำศัพท์ภาษาสันสกฤต 'พหุมี' - อันเป็นนามเดิมของพระนาง คำไวพจน์อื่น ๆ อันซึ่งเป็นนามของพระนาง เช่น ภูวตี, ภูมิวาณี, ภูวเนศวรี, อวณี, ปฤถวี, วราหิ, ธฤตี, ธาตรี, ธรณี, วสุธา, วสุธรา, ไวษณวี, กัศยปี, อุรวี, อิลา, มหี, อิฑา, วสุมตี, ธลันสิตา, วสุมตี, เหมา, และหิรันยะ

ในตำราประติมานวิทยาโดยทั่วไปพรรณาว่า พระนางประทับบนเทพพาหนะ คือ ช้างซึ่งหันหน้าออกไปทั้งสี่ทิศ อันหมายถึงทิศทั้งสี่ โดยทรงมีสี่กร ทรงผลทับทิม ภาชนะใส่น้ำ ชามที่บรรจุสมุนไพรรักษา และชามอีกใบบรรจุผักตามลำดับ[4] หากในภาคที่ปรากฏพระองค์อันมีสองพระหัตถ์ จะทรงดอกปทุมนิอุบล (ดอกบัวสีฟ้า) อันขนานนามว่า โกมุท หรือ อุปัตระ คือ ดอกบัวกลางคืน ส่วนพระหัตถ์อีกข้างจะทรงอภัยมุทรา (ยกหัตถ์ขึ้นโดยหันหัตถ์ออกไปด้านหน้า) หรือ โลมุทรา (ปล่อยหัตถ์แนบไปลำพระองค์)[5][6]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Bhumi, Bhūmi, Bhūmī: 41 definitions". 11 April 2009.
  2. Duffy, Michelle; Mair, Judith (2017-08-07), "Social inclusion, social exclusion and encounter", Festival Encounters, Routledge, pp. 83–93, doi:10.4324/9781315644097-8, ISBN 9781315644097, สืบค้นเมื่อ 2022-06-28
  3. www.wisdomlib.org (2019-01-28). "Story of Bhūmi". www.wisdomlib.org. สืบค้นเมื่อ 2020-09-09.
  4. T.A.G. Rao (1997). Elements of Hindu Iconography. Motilal Banarsidass. ISBN 81-208-0876-2.
  5. Margaret Stutley (2003). The Illustrated Dictionary of Hindu Iconography. Munshiram Manoharlal Publishers. p. 82. ISBN 81-215-1087-2.
  6. A. G. Mitchell; Victoria and Albert Museum (1982). Hindu gods and goddesses. United Kingdom: Her Majesty's Stationery Office. p. 8. ISBN 9780112903727.