จามุณฑา (Sanskrit: चामुण्डा, IAST: Cāmuṇḍā), หรือ นามอันนิยมขนานอื่น ๆ คือ จามุณเฑศวรี, จามุณฑี หรือ จารจิกา, เป็นเทพีภาคดุร้ายของพระเทพีจัณฑีอันเป็นเทพมารดรอิตถีพละและเป็นหนึ่งในหมู่คณะสัปตมาตฤกา (เจ็ดเทพมารดร) ในศาสนาฮินดู[4]

จามุณฑา
เทพีแห่งการณรงค์ยุทธสงคราม และ "ผู้ทำลายโรคระบาดร้าย, ความอดอยาก , และภัยพิบัติอื่น ๆ"[1]
เทพีปฏิมาทองแดง เจ้าแม่จามุณฑา ศิลปะเนปาล พุทธศตวรรษที่ยี่สิบ จัดแสดง ณ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะลอสแองเจลีสเคาน์ตี้ ลอสแอนเจลิส สหรัฐ
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตCāmuṇḍā
ชื่อในDevanagariचामुण्डा
ส่วนเกี่ยวข้องทุรคา, อาทิปราศักติ, พระปารวตี, กาลี, มหากาลี
ที่ประทับเชิงตะกอนที่ฌาปนกิจหรือต้นมะเดื่อ
มนตร์ॐ ऐं ह्रीं क्लीं चामुण्डायै विच्चे
oṁ aiṁ hrīṁ klīṁ cāmuṇḍāyai vicce
อาวุธตรีศูล
พระขรรค์
พาหนะกระบือ[2]
หรือ หมาใน[3]
ภูตผี (เปรต)
คู่ครองพระอินทร์ศวร หรือ พระภีษนะ ไภรวะ หรือ พระภูตไภรวะ

พระนางยังเป็นหนึ่งในประมุขของโยคินีทั้งหลาย เช่น คณะหกสิบสี่โยคินี หรือ แปดสิบเอ็ดเทพีตันตระอันเป็นเทพีอัศวินนารีบริวารของพระปารวตี[5] นามของนางนั้นมาจากนามของเทพปกรณัมการสงครามกับอสูรจัณฑะ และ มุณฑะสองอสูรที่นางได้สังหารในยุทธรณรงค์สงคราม นางมีความใกล้ชิดกับเจ้าแม่กาลีและเป็นอีกแง่มุมของความดุร้ายของพระแม่อุมาเทวี ในเทพปกรณัมมักกล่าวว่านางนั้นคือภาคหนึ่งของพระแม่ปารวตี, กาลี หรือ ทุรคา

นางนั้นมักถูกพรรณนาว่าสถิตย์อยู่ในบริเวณที่เผาศพ เชิงตะกอนหรือรอบต้นมะเดื่อ นางนั้นยังได้รับการบวงสรวงบัตรพลีสังเวยด้วยเลือดเนื้อสัตว์และเหล้าตามธรรมเนียมประเพณีพิธีกรรมเดิมพื้นเมือง ซึ่งลดน้อยลงด้วยการมาถึงและแพร่อิทธิพลของลัทธิไศวะ และ ลัทธิไวษณพ ของศาสนาฮินดู[ต้องการอ้างอิง]

ในคติพุทธศาสนา แก้

 
เทวปฏิมาเจ้าแม่จามุณฑา ศิลปะอาณาจักรฮอยศาลา พุทธศตวรรษที่สิบเจ็ด ณ โหยสวเรศวรมนเทียร หเลพีฑู รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย

นางนั้นได้มีการเคารพบูชาในฐานะพุทธมารดาในทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ในพระคาถา นมะ​ สมันตะ พุทธานัม จามุณฑาเย สวาหะ โอม​ หุรุ​ หุรุ​ จามุณฑา สวาหะ[6]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Nalin, David R. (15 June 2004). "The Cover Art of the 15 June 2004 Issue". Clinical Infectious Diseases. 39 (11): 1741–1742. doi:10.1086/425924. PMID 15578390.
  2. "Goddess Chamundi".
  3. "Sapta Matrika | 7 Matara - Seven Forms of Goddess Shakti".
  4. Wangu p.72
  5. Wangu p.114
  6. 《大毘盧遮那成佛神變加持經》CBETA 電子版No. 848 入真言門 ...buddhism.lib.ntu.edu.tw › sutra › chi_pdf › sutra10<nowiki>

แหล่งข้อมูลอื่น แก้