พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน (15 ธันวาคม พ.ศ. 2366 — 28 กันยายน พ.ศ. 2456) พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็ก สตรีเชื้อสายเจ้าจากหลวงพระบาง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2
พระองค์เจ้าชั้นเอก
พระองค์เจ้าแม้นเขียน.jpg
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระมารดาเจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็ก ในรัชกาลที่ 2
ประสูติ15 ธันวาคม พ.ศ. 2366
สิ้นพระชนม์28 กันยายน พ.ศ. 2456 (89 ปี)

พระประวัติแก้ไข

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 13 ค่ำ ปีมะแม เบญจศก จ.ศ. 1185 ตรงกับวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2366 เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็ก ธิดาเจ้าสุกเมืองหลวงพระบาง

พระองค์เจ้าแม้นเขียนทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์กุลเชษฐ์แห่งพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเวลายาวนานเกือบ 15 ปี ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 ต่อจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิเวศน์ ตราบจนสิ้นพระชนม์

ในปัจฉิมวัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียนทรงพระประชวรหนัก สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จมาเฝ้าพระอาการ[1] กระทั่งพระองค์เจ้าแม้นเขียนสิ้นพระชนม์เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 14 ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. 1275 ตรงกับวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2456 สิริพระชันษา 89 ปี นับเป็นพระราชบุตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่มีพระชันษาสูงที่สุดและมีพระชนม์ชีพเป็นพระองค์สุดท้าย ทรงดำรงพระชนม์ชีพยาวนานถึง 5 รัชกาล มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 ณ พระเมรุ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร[2]

พระจริยวัตรแก้ไข

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน เป็นที่เคารพนับถือของพระบรมวงศานุวงศ์โดยทั่วไป ด้วยพระจริยวัตรงดงามและทรงคุณูปการกับพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายพระองค์[3]

ในคราวที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน มีพระชนมายุครบ 80 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปที่พระตำหนักของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน ในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานพระราชหัตถเลขาพระราชทานพร แลต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน กับเงิน 1,600 บาท เป็นส่วนทรงแสดงวุฒาปัจจายนกรรม ในการที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน มีพระชนมายุเจริญมา[4]

นอกจากนี้พระองค์ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงสร้างวัดขึ้นบริเวณทุ่งบางกะปิชื่อวัดบ้านทุ่งกระแจะแม้นเขียน และประทานชื่อหมู่บ้านแม้นเขียนเพื่อเป็นอนุสรณ์[3] ด้วยมุ่งหมายให้พุทธศาสนิกชนเชื้อลาวในพื้นที่มีสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ ครั้นหลังการเลิกทาสผู้คนจำนวนไม่น้อยเริ่มโยกย้ายจากแหล่งเดิมจึงทำให้มีศาสนิกชนน้อย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียนทรงทราบถึงความยากลำบากของวัดจึงประทานเบี้ยแก่พระสงฆ์และสามเณรรูปละ 1 ตำลึงต่อเดือน[5] ปัจจุบันวัดที่ทรงสร้างไว้เปลี่ยนนามเป็นวัดบ้านทุ่งเสรี โดยสร้างขึ้นใหม่และตั้งชื่อตามหมู่บ้านจัดสรร ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตสวนหลวง[6]

พระเกียรติยศแก้ไข

ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าแม้นเขียน
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท[7]
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า[7]
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศแก้ไข

  • 15 ธันวาคม พ.ศ. 2366 — 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน
  • 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 — 28 กันยายน พ.ศ. 2456 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

สถานที่อันเนื่องจากพระนามแก้ไข

พงศาวลีแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. ศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา, หม่อม. อัตชีวประวัติหม่อมศรีพรหมา กฤดากร. นนทบุรี : สารคดี, 2562, หน้า 128
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงพระศพและศพที่พระเมรุวัดราชาธิวาส พุทธศักราช ๒๔๕๗ เล่ม 31, ตอน ๐ ง, 21 มิถุนายน พ.ศ. 2457, หน้า 658
  3. 3.0 3.1 ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ภาคต้น). ธนบุรี : สำนักพิมพ์อโยธยา, ม.ม.ป., หน้า 148-9
  4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน ทรงบำเพ็ญพระกุศล ในสมัยที่เจริญพระชนมายุ ครบ 80 ปีhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/038/660.PDF
  5. "ประวัติวัดบ้านทุ่งกระแจะแม้นเขียน หรือวัดทุ่งเสรี หรือวัดบ้านทุ่ง ในปัจจุบัน (ตอน ๒)". วัดบ้านทุ่งเสรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-17. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ข้อมูลประกอบการพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดกิจกรรมเพื่อพัฒนาพื้นที่เขตสวนหลวง". กรุงเทพมหานคร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-17. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และสายไหม จบกลศึก (บรรณาธิการ) (2555). ราชาศัพท์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. p. 22-23. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 10, ตอน 35, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436, หน้า 374
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 570
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิเวศน์   กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
(11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 – 28 กันยายน พ.ศ. 2456)
  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ