พระภูมิ

เทวดาหรือวิญญาณผู้รักษาสถานที่
(เปลี่ยนทางจาก พระภูมิเจ้าที่)

พระภูมิ หรือ พระภูมิเจ้าที่ (บาลี: ภุมฺมเทว) เป็นเทพารักษ์ประจำพื้นที่และสถานที่ต่าง ๆ[1] ซึ่งไม่รวมรุกขเทวดาอื่น ๆ[2] หากสิงสถิตอยู่หรือเป็นเจ้าของหรือเป็นใหญ่ในที่ใด ก็จะเรียกเป็น เจ้าที่, เจ้าท่า, เจ้าป่า หรือเจ้าเขา เป็นต้น[2] หน้าที่ของพระภูมิ คือเพื่อปกปักรักษา ปกป้องดูแล บ้านเรือน เคหสถาน อาคาร สถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งเรือกสวนไร่นา[2] ตามความเชื่อของคนไทยในทุกภาคของประเทศมาตั้งแต่สมัยโบราณและยึดถือปฏิบัติบูชาสืบต่อกันมาช้านานจวบจนปัจจุบัน โดยมีศาลพระภูมิ ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อุทิศให้แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญและสักการะ หรือบุคคลสำคัญทางศาสนา[3]

พระภูมิเจ้าที่
เทวดาผู้พิทักษ์สถานที่
เป็นที่บูชาในศาสนาผี
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูแบบไทย
ส่วนเกี่ยวข้องเทพารักษ์
รุกขเทวดา
ครามเทวตา
พระเสื้อเมือง
อาวุธพระขรรค์และอาวุธ ตามประติมานวิทยาแต่ละองค์
พาหนะช้าง
ม้า
วัว
ควาย
เป็นที่นับถือในไทย
กัมพูชา
ลาว
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองชายา/พระภูมิสตรีทั้งเก้า
บิดา-มารดา

ความเชื่อของพระภูมิมาจากศาสนาผี อันเป็นประเพณีธรรมเนียมพื้นเมืองแบบวิญญาณนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนการเข้ามาของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู เมื่อพระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูเข้ามาได้มีการผสมผสานในความเชื่อดั้งเดิม

เชื่อว่าพระภูมิมีอยู่ 9 องค์ ซึ่งแต่ละองค์มีบทบาทและหน้าที่รักษาสถานที่ต่างกันไป โดยประมุขของพระภูมิเจ้าที่นั้นคือเจ้ากรุงพาลี ซึ่งเป็นเทวดาในศาสนาฮินดู[4][5][6]

รายนามพระภูมิทั้ง 9 แก้

ลักษณะของพระภูมิในประติมานวิทยาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน จะทรงฉลองพระองค์อย่างพระมหากษัตริย์ไทย ทรงสวมชฎา สวมพระภูษาห้อยชายมีสายธุรำ และสายสังวาลย์ ทรงสวมกำไล,ปั้นเหน่งและพาหุรัด สวมฉลองฉลองพระบาทเชิงงอนอันแสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวยและความสูงศักดิ์.[7][8][9]

นามพระภูมิบุรุษ นามชายาพระภูมิ หรือ พระภูมิสตรี เทพอาวุธสัญญาลักษณ์พระภูมิบุรุษ เทพอาวุธสัญญาลักษณ์ชายาพระภูมิ หรือ พระภูมิสตรี บทบาทและสถานที่รักษา หมายเหตุ
พระชัยมงคล นางภูมไชยา หรือ ภูมชายา หัตถ์ซ้ายทรงถือถุงเงิน หัตถ์ขวาทรงถือพระขรรค์ (พระภูมิบุรุษ)
หัตถ์ซ้ายทรงดอกบัวตูม หัตถ์ขวาทรงไถ้(ถุงมีสายหิ้งมีฝาปิด)(พระภูมิสตรี) ปกครองดูแลเคหสถานบ้านเรือนและร้านโรงต่าง ๆ นิยมบูชาตามบ้านเรือนและพระราชวังทั่วไป.
พระนครราช หรือ พระธรรมโหรา นางภูมมาลา หัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงพุ่มกอไม้ หรือ ช่อดอกไม้ (พระภูมิบุรุษ)
หัตถ์ขวาทรงปุษษะมาลา(พวงมาลัย) หัตถ์ซ้ายทรงไม้พลองห้อยลง(พระภูมิสตรี) ดูแลปกครองป้อม,ค่าย,ประตูเมือง,หอรบและบันไดต่าง ๆ ได้รับการสถาปนาเป็นหนึ่งในเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ.
พระเทเพน หรือ พระเยาวะแผ้ว นางทิพมาลี หัตถ์ขวาทรงหอกสั้น หรือ พระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงคัมภีร์(พระภูมิบุรุษ)
หัตถ์ขวาทรงปาศะ(เชือก) หัตถ์ซ้ายทรงกำหญ้า(พระภูมิสตรี) ดูแลฟาร์ม,ไร่และคอกสัตว์ต่าง ๆ
พระชัยศพณ์ หรือ พระสัพพคนธรรพ์ นางศรีประภา หัตถ์ขวาทรงแสงหอกยาว หัตถ์ซ้ายทรงวางไว้ข้างองค์(พระภูมิบุรุษ)
หัตถ์ขวาทรงคะนาน หัตถ์ซ้ายทรงย่าม(พระภูมิสตรี) ปกครองดูแลเสบียง,คลังและยุ้งฉางต่าง ๆ มีหน้าที่ลักษณะเดียวกับพระไพรศพณ์และแม่พระโพสพ.
พระคนธรรพ์ นางสุปริยา หัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงหม้อกุมภะ(พระภูมิบุรุษ)
หัตถ์ขวาทรงหม้อกุมภะ หัตถ์ซ้ายทรงช่อดอกกุหลาบ(พระภูมิสตรี) โรงพิธีงาน โรงพิธีแต่งงาน เรือนหอ สถานที่จัดงานมงคล
พระธรรมโหรา หรือ พระนาคราช นางขวัญข้าวกร้า หัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงรวงข้าว(พระภูมิบุรุษ)
หัตถ์ขวาทรงเคียว หัตถ์ซ้ายทรงรวงข้าว(พระภูมิสตรี) เรือกสวนไร่นา ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
พระเทวเถร หรือ พระวัยทัต นางดอกไม้ทอง หัตถ์ขวาทรงปฏัก หัตถ์ซ้ายทรงวางไว้ข้างองค์(พระภูมิบุรุษ)
หัตถ์ขวาทรงดอกพุทธรักษาเคียว หัตถ์ซ้ายทรงธูปเทียน(พระภูมิสตรี) ครองวัดวาอาราม ปูชนียสถาน พระเจดีย์ พระพุทธรูปสำคัญ.
พระพระธรรมิกราช นางพุ่มไม้ไพร หัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงปุษษะมาลา(พวงมาลัย)(พระภูมิบุรุษ)
หัตถ์ขวาทรงหวีกล้วย หัตถ์ซ้ายทรงดอกแคและดอกตูม(พระภูมิสตรี) พืชพรรณธัญญาหารต่าง ๆ
พระทาษธารา หรือ พระธาตุธาร,ทาสธารา นางรินระรื่น หัตถ์ขวาถือหอกสั้น หัตถ์ซ้ายวางไว้ข้างองค์(พระภูมิบุรุษ)
หัตถ์ขวาถือดอกบัวบาน หัตถ์ซ้ายถือหอยยอด หรือหอยสังข์(พระภูมิสตรี) ปกครองดูแลบึง, ห้วยหนอง,คลองและลำธารต่าง ๆ ตลอดจนน้ำที่ตกลงมาจากฟ้า แม่น้ำทะเล
เครื่องประกอบศาลพระภูมิ เจว็ดมีความสำคัญที่สุด เช่นเดียวกับมูรติในศาสนาฮินดู
ศาลพระภูมิอุทิศแด่เทพารักษ์ เจ้าพ่อพระคลังมหาสมบัติ ณ พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ กรุงเทพมหานคร
พระชัยมงคล
ศาลพระเทวเถร หรือ พระวัยทัต

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 581
  2. 2.0 2.1 2.2 เสฐียรโกเศศ. ผีสางเทวดา. กรุงเทพฯ:เอเธนส์บุ๊คส์. 1997, หน้า 9
  3. Riffard, Pierre A. (2008). Nouveau dictionnaire de l'ésotérisme. Paris, FR: Payot. pp. 114–115, 136–137.
  4. William Henry Scott (1994). Barangay: Sixteenth Century Philippine Culture and Society. Quezon City: Ateneo de Manila University Press. ISBN 9715501354.
  5. A. L. Kroeber (1918). "The History of Philippine Civilization as Reflected in Religious Nomenclature". Anthropological Papers of the American Museum of Natural History. XXI (Part II): 35–37.
  6. Fay-Cooper Cole & Albert Gale (1922). "The Tinguian; Social, Religious, and Economic life of a Philippine tribe". Field Museum of Natural History: Anthropological Series. 14 (2): 235–493.
  7. รู้จักกับ-“พระภูมิทั้ง-9”-คู่บ้าน-คู่เมืองชาวสยาม!-เทวดาผู้ดูแลเรือกสวนไร่นาป่าเขา-บูชาตามประเพณี-คุ้มครองป้องภัย-พลิกร้ายกลายดี
  8. ศาลพระภูมิ / อาจารย์สมเจตน์ แสงคำ ณ เวียงกำพู
  9. "รายนามพระภูมิทั้ง 9" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-09-29. สืบค้นเมื่อ 2022-06-04.