แค

สปีชีส์ของพืช
แค
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
เผ่า: Robinieae
สกุล: Sesbania
สปีชีส์: S.  grandiflora
ชื่อทวินาม
Sesbania grandiflora
(L.) Poiret

แค เป็นต้นไม้ขนาดเล็กในสกุลโสน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้: แคบ้าน (กลาง) แคขาว แคแดง (กทม. เชียงใหม่) แค (กลาง) แคดอกแดง แคดอกขาว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แก้

แคเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก ดอกสีขาวหรือแดง มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด[1][2]

การกระจายพันธุ์

แก้

กระจายพันธุ์ด้วยเมล็ด เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดียหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเจริญเติบโตได้ทุกพื้นที่ทั่วโลกในเขตร้อนชื้น

การใช้ประโยชน์

แก้

ยอดอ่อนและใบอ่อนสามารถนำมาปรุงอาหารได้ เป็นสมุนไพรช่วยดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ดอกใช้เป็นอาหาร แก้ไข้หัวลม และช่วยบำรุงอาหาร ฝักอ่อนใช้เป็นอาหารได้

การเกษตร

แก้

แคเป็นต้นไม้พื้นบ้าน เป็นไม้เนื้ออ่อน นิยมปลูกเป็นรั้วบ้าน คันนา และริมถนน ปลูกได้ในทุกพื้ที่ทั้งดินเหนียว ดินร่วน สามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อปรับพื้นที่ให้มีปุ๋ย เนื่องจากใบแคที่ผุแล้วทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารมากขึ้น เมื่อเมล็ดแก่จัดจะแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด มีอายุประมาณ 20 ปี และเจริญเติบโตได้ทุกพื้นที่ทั่วโลกในเขตร้อนชื้น

ประกอบอาหาร

แก้
 
ดอกแคลวกกับผักอื่น
 
ดอกแค
 
ดอกแคแดง

ส่วนที่นำมารับประทานได้ของแค คือ ยอดอ่อน ฝักอ่อนออกในช่วงฤดูฝน ใบอ่อนมีรสหวาน ดอกอ่อนออกในช่วงฤดูหนาว ดอกแคมีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี ก่อนนำไปทำอาหารต้องดึงเอาเกสรออกก่อนเพื่อลดความขม ส่วนที่รับประทานได้ของแคสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง อาทิ เช่น แกงส้มดอกแค แกงเหลืองปลากระพงดอกแค ดอกใบยอกฝักอ่อนของแคนำมาลวกจิ้มน้ำพริกได้ ล้วนเป็นอาหารที่มีคุณค่าให้ประโยชน์ทั้งสิ้น

ดอกแคดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน113 กิโลจูล (27 กิโลแคลอรี)
6.73 g
0.04 g
1.28 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(7%)
0.083 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(7%)
0.081 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(3%)
0.43 มก.
โฟเลต (บี9)
(26%)
102 μg
วิตามินซี
(88%)
73 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(2%)
19 มก.
เหล็ก
(6%)
0.84 มก.
แมกนีเซียม
(3%)
12 มก.
ฟอสฟอรัส
(4%)
30 มก.
โพแทสเซียม
(4%)
184 มก.

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

ยารักษาโรค

แก้
  • นำเปลือกแคมาต้ม คั้นน้ำรับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด แก้มูกเลือด
  • ดอกแคช่วยแก้ไข้ลดไข้ถอนพิษไข้
  • แคยังอุดมด้วยสารต่าง ๆ โดยเฉพาะบีตา-แคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ จึงช่วยบำรุงสายตา ต่อต้านมะเร็ง และยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัสสูง จึงช่วยเสริมสร้างกระดูก

อ้างอิง

แก้
  1. สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พรรณไม้ที่น่าสนใจ (เมล็ดมีลักษณะเหมือนลิ่ม), ธงชัย มาลาและคณะ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, 2551, หน้า 40
  2. "แค".

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้