ธูป เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ[1]เพื่อบูชาเทพเจ้าหรือทำให้เทพเจ้าพอใจด้วยของหอม ในอดีตธูปทำจากเนื้อไม้หอม (Aromatic wood) หลายชนิด เช่น ไม้จันทน์ขาว (Sandalwood) จันทน์เทศ (Nutmeg) กำยาน (Gum Benzoin เป็นยางไม้หอมชนิดหนึ่ง) ไม้กฤษณา (Agar wood) กันเกรา (Tembusu) หรือต้นบง หรือโกวบั๊วะ (นำมาผสมน้ำเพื่อให้เนื้อผงธูปเหนียว พอที่จะฟั่นเป็นธูปได้) บดเนื้อไม้ให้เป็นผงละเอียด นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำธูป

ธูปที่กำลังเผาไหม้ในเขาอู่ไถ

ธูปไทยในอดีตที่ผลิตจากไม้หอม มีลักษณะคล้ายธูปจีนโบราณ (วัฒนธรรมและการทำธูปในไทย สืบทอดมาจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการค้าในอดีต) และเนื่องจากตัววัตถุดิบเป็นไม้หอม ควันธูปค่อนข้างละเอียด ไม่ระคายเคืองจมูกและตา

ปัจจุบัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ประกอบกับวัตถุดิบที่แพงขึ้น ไม้หอมต่าง ๆ ที่นำมาผลิตธูปเริ่มมีราคาแพง ผู้ผลิตส่วนใหญ่ จึงเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแทน เนื่องจากมีราคาถูกกว่า และมีสีขาวนวลเหมือนไม้จันทน์ขาว ลักษณะเป็นผงละเอียด ขึ้นรูปได้ง่าย แล้วจึงนำมาผสมน้ำหอม เรียกว่า "ธูปหอม" เมื่อนำมาจุดจะให้ควันและกลิ่นหอม

ความเชื่อ แก้

ลักษณะของธูปบูชาพระ ปกติมีความยาว 13 นิ้วโดยประมาณ ก้านธูปชุบสีแดง ตัวธูปสีขาวนวล เวลาจุดประมาณ 40 - 45 นาที นอกจากนี้ยังมีธูปหอมที่เป็นสีประจำวัน มี 7 วัน 8 สี ตามความเชื่อของพราหม์ คือ

  • วันอาทิตย์ - สีแดง
  • วันจันทร์ - สีเหลือง
  • วันอังคาร - สีชมพู
  • วันพุธ (กลางวัน) - สีเขียว
  • วันพุธ (กลางคืน) - สีดำ (ราหู)
  • วันพฤหัสบดี - สีส้ม
  • วันศุกร์ - สีฟ้า
  • วันเสาร์ - สีม่วง

การใช้งาน[2] แก้

จำนวนธูปที่ใช้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แก้

การสักการะ จำนวนการจุด ความหมาย
พระพุทธรูป 3 แทนพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
พระสงฆ์ 3 แทนพระรัตนตรัยและผู้มีพระคุณ
พระสงฆ์ พระเกจิอาจารย์บรรลุธรรม 9 แทนพระรัตนตรัยและผู้มีพระคุณ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 9
พระโพธิสัตว์กวนอิม 9
พระแม่อุมาเทวี 9 (องค์เทพองค์พรหม)
39 (บน)
16 (บวงสรวง)
ปู่ฤาษี 9
พระภูมิเจ้าที่-เทพ 9
เทวดาทั่วไป 5
ผี 1
กุมารทอง-จากวัด 9
วิญญาณลูก 1
บรรพบุรุษ 1
ว่านมงคลกาหลง 5
พระแม่นางกวัก 9

จำนวนของการจุดธูป แก้

  • 1 ดอก - เป็นการจุดไหว้เจ้าที่เจ้าทาง ผีบ้านผีเรือน วิญญาณภาคพื้น
  • 2 ดอก - เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิญญาณและการจุดธูปบนอาหาร
  • 3 ดอก - เป็นการจุดธูปบูชาพระรัตนตรัย บูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
  • 4 ดอก - เป็นเรื่องเกี่ยวกับธาตุสี่ ใช้ในการสวดเสริมดวงชะตาราศี
  • 5 ดอก - เป็นการจุดธูปบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่และครูบาอาจารย์
  • 6 ดอก - เป็นการ จุดธูปเสริมดวงชะตาตามกำลังไฟของพระอาทิตย์ ของคนที่เกิดวันอาทิตย์
  • 7 ดอก - เป็นการจุดบูชาจิตวิญญาณตามศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ และครูบาอาจารย์ที่เสียชีวิตแล้ว
  • 8 ดอก - เป็นการเสริมดวงชะตา ตามกำลังพระอังคาร และตามจำนวนอัฎฐเคราะห์
  • 9 ดอก - เป็นการจุดธูปบูชาผู้มีพระคุณ พระภูมิเจ้าที่ เทพ เจ้าป่า เจ้าเขา รุกขเทวดา ศาลพระภูมิ ศาลเทพ พระเกตุ กำลัง 9
  • 10 ดอก - เกี่ยวข้องกับธาตุไฟ ตามกำลังของพระเสาร์ มีกำลัง 10 เพื่อใช้ในการสวดเสริมดวงชะตา
  • 11 ดอก - ใช้บูชาเทวดาชั้นสูง
  • 12 ดอก - ในการบูชาตามกำลังพระราหู ใช้ในการสวดเสริมดวงชะตา คนที่เกิดวันพุธกลางคืน
  • 13 ดอก - เป็นเลขไม่เป็นมงคล จึงไม่นิยมจุดบูชา
  • 14 ดอก - ใช้จุดธูปบูชารูปปั้นพระสงฆ์ (เป็นการบูชาคุณพระสงฆ์)
  • 15 ดอก - ใช้สวดบูชาดวงชะตา เกี่ยวข้องกับธาตุ ตามกำลังของพระจันทร์
  • 16 ดอก - เป็นการจุดธูปบูชาเทพชั้นสูง บูชาเทพชั้นครู หรือ พิธีกลางแจ้ง ที่มีการอัญเชิญเทวดา ที่สำคัญหมายถึงสวรรค์ 16 ชั้น
  • 17 ดอก - เป็นการเสริมดวงชะตา บูชาตามกำลังพระพุธ มีกำลัง 17 สวดเสริมดวงชะตาของคนเกิดวันพุธ (กลางวัน)
  • 18 ดอก - ไม่นิยมจุดบูชา
  • 19 ดอก - บูชาเทวดาทั้ง 10 ทิศ บูชาตามกำลังพระพฤหัสบดี มีกำลัง 19
  • 21 ดอก - บูชาพระคุณของพ่อ การบูชาแม่พระธรณี บูชาพระศุกร์ มีกำลัง 21
  • 32 ดอก - ใช้สวดชุมนุมเทวดาทั้ง 4 ทิศ การไหว้ 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดินและ 1 โลกมนุษย์
  • 39 ดอก - การบูชาพระแม่โพสพ
  • 56 ดอก - เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบูชาคุณพระพุทธเจ้า
  • 108 ดอก - บูชาสิ่งสูงสุดทั่วทั้งโลกทุกชั้นฟ้า

อ้างอิง แก้

  1. Nielsen, Kjeld. Incense in ancient Israel. p. 3.
  2. เชื่อหรือไม่!!??..จุดธูปผิดชีวิตเปลี่ยน!!..มาดูว่าต้องจุดกี่ดอก ถึงจะถูกต้อง และดีจริง!, ทีนิวส์, 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559