พระพิมลธรรม
พระพิมลธรรม เป็นราชทินนามสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรองรูปหนึ่ง ในสมัยหลัง ๆ ได้พระราชทานเฉพาะพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันไม่มีพระราชาคณะรูปใดได้รับราชทินนามนี้
พระพิมลธรรม | |
---|---|
การเรียกขาน | ท่านเจ้าคุณ |
จวน | พระอารามหลวง หรือวัดราษฎร์ |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ไทย |
วาระ | ตลอดพระชีพ หรือ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | พระพิมลธรรม |
สถาปนา | พ.ศ. 2325 |
ประวัติ
แก้สมณศักดิ์ที่ "พระพิมลธรรม" ปรากฏครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ ว่าพระศรีสินซึ่งผนวชอยู่วัดระฆังเป็นผู้รู้พระไตรปิฎกและชำนาญพระเวท มีสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรม์อนันตปรีชา ได้ปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม[1] ในทำเนียบตำแหน่งพระราชาคณะในกรุงครั้งกรุงเก่า ระบุว่าพระพิมลธรรม วัดรามาวาส เป็นเจ้าคณะรองคณะคามวาสีฝ่ายซ้าย ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้เปลี่ยนเป็นเจ้าคณะรองคณะเหนือ แต่ก็มีข้อมูลว่า "พระพิมลธรรม" เป็นพระอาจารย์อีกรูปหนึ่งของสมเด็จพระนารายณ์ ทรงปรึกษาข้อราชการบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเรื่องโหราศาสตร์ เชื่อกันว่าทำนายได้แม่นยำมาก เช่น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ ยกทัพไปตีเมืองอังวะ ครั้งนั้นพระยาสีราชเดโชถูกพม่าจับไป สมเด็จพระนารายณ์ทรงทราบข่าวก็ดำรัสสั่งตำรวจหลวงไปนิมนต์พระพิมลธรรม วัดระฆังเข้ามาให้จับยามดู พระพิมลธรรมตรวจดูแล้วถวายพยากรณ์ว่า พระยาสีหราชเดโชชัยจะสามารถหลุดฟื้นมาได้และกลับได้ชัยชนะ ซึ่งเหตุการณ์ก็เป็นไปตามคำทำนายนั้น [2]
ฐานานุกรม
แก้พระพิมลธรรม มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป ดังนี้[3]
- พระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ วิบุลธรรมคณิสสร ธุราธรมหาคณานุนายก
|
|
สมัยรัตนโกสินทร์
แก้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีผู้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ "พระพิมลธรรม" ดังนี้
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. หน้า 261-262. ISBN 978-616-7146-08-9
- ↑ ปรดี พิศภูมิวิถี และคณะ. บุคคลและสถานที่สำคัญในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. กรุงเทพ : แสงเทียนการพิมพ์, 2553. 60 หน้า. หน้า 31.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ฉบับพิเศษ, เล่ม 105, ตอนที่ 35, 4 มีนาคม 2531, หน้า 5