พระธรรมเสนานี (ฟุ้ง ปุณฺณโก)
พระธรรมเสนานี (ฟุ้ง ปุณฺณโก) นิยมเรียกว่า “หลวงพ่อฟุ้ง" หรือ "ท่านเจ้าคุณฟุ้ง" อดีตผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร อดีตเจ้าคณะเขตพระนคร อดีตเจ้าคณะอำเภอพระนคร อดีตเจ้าคณะกิ่งอำเภอบางกอกใหญ่ และอดีตเจ้าคณะแขวงนอก
พระธรรมเสนานี (ฟุ้ง เครือรัตน์ , ปุณฺณโก) | |
---|---|
ชื่ออื่น | หลวงพ่อฟุ้ง , ท่านเจ้าคุณฟุ้ง |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2440 (87 ปี) |
มรณภาพ | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2527 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | - นักธรรมชั้นโท - เปรียญธรรม 3 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
บรรพชา | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2456 |
อุปสมบท | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2460 |
พรรษา | 67 พรรษา |
ตำแหน่ง | - อดีตผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร - อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร - อดีตเจ้าคณะเขตพระนคร - อดีตเจ้าคณะอำเภอพระนคร - อดีตเจ้าคณะกิ่งอำเภอบางกอกใหญ่ - อดีตเจ้าคณะแขวงนอก |
ประวัติ
แก้ชาติภูมิ
แก้ชื่อ ฟุ้ง นามสกุล เครือรัตน์ ชาตะ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2440 (วันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 9 ปีระกา) ณ บ้านท้องคุ้ง ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง เมืองอ่างทอง (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลโพสะ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง)
เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวน 9 คน ของนายป๊าด นางเพิ่ม นามสกุล เครือรัตน์[1]
วัยเยาว์
แก้เมื่อต้นปี พ.ศ. 2451 บิดาและมารดาได้พาไปฝากเป็นศิษย์วัด ให้ได้รับการศึกษาเล่าเรียนจากพระปลัดปั้น เจ้าอาวาสวัดบางค้อ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติฝ่ายมารดา
ครั้นถึงเวลาใกล้เข้าพรรษาในปีนั้น พระศากยบุตติยวงศ์ (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระวันรัต) ได้ไปถวายสักการะทำวัตรแก่พระปลัดปั้น ผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เนื่องในการเข้าพรรษา พระปลัดปั้นจึงฝากฝังท่านให้มาอยู่กับพระศากยบุตติยวงศ์ (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อให้ได้ศึกษาอักษรสมัยภาษาไทยและพระปริยัติธรรม
โดยอยู่คณะเหนือ น. 15 กับพระศากยบุตติยวงศ์ (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) ผู้เป็นพระอาจารย์ตลอดมา จวบจนอุปสมบทได้ 12 พรรษา จึงย้ายมาอยู่กุฏิหมู่ใหญ่ คณะแถวใต้ ต. 34 แทนพระอาจารย์ จวบจนถึงวันมรณภาพ[1]
บรรพชา
แก้บรรพชาเป็นสามเณร วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2456 (วันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู) ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยมี พระธรรมเจดีย์ (เข้ม ธมฺมสโร) (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์) เป็นพระอุปัชฌาย์[1]
อุปสมบท
แก้อุปสมบท วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2460 (วันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง) ณ พัทธสีมาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยมี
พระธรรมเจดีย์ (เข้ม ธมฺมสโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระศากยบุตติยวงศ์ (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระวันรัต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระครูสมุหวรคณิสสรสิทธิการ (เลียบ ปุญฺญสิริ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระเทพสิทธินายก เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า "ปุณฺณโก"[1] (อ่านว่า ปุน - นะ - โก)
วิทยฐานะ
แก้- พ.ศ. 2460 สอบได้นักธรรมชั้นตรี
- พ.ศ. 2461 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค
- พ.ศ. 2462 สอบได้นักธรรมชั้นโท
ตำแหน่ง
แก้งานปกครอง
แก้- พ.ศ. ยังไม่พบข้อมูล เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- พ.ศ. 2485 เป็นเจ้าคณะแถวใต้ ต. 34 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- พ.ศ. 2486 เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2486 เป็นเจ้าคณะแขวงนอก จังหวัดธนบุรี
- พ.ศ. 2486 เป็นเจ้าคณะกิ่งอำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี
- พ.ศ. 2486 เป็นประธานกรรมการสงฆ์ วัดโมลีโลกยาราม
- พ.ศ. 2509 เป็นเจ้าคณะอำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร (ภายหลังเปลี่ยนเป็นเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร)
- พ.ศ. 2520 เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
งานการศึกษา
แก้- พ.ศ. 2463 เป็นเลขานุการแม่กองธรรม สนามสาขา มณฑลราชบุรี
- พ.ศ. 2464 เป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรม สนามสาขา มณฑลอยุธยา
- พ.ศ. 2465 เป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรม สนามสาขา มณฑลนครราชสีมา
- พ.ศ. 2462 - 2468 เป็นครูสอนธรรมวินัยในแขวงนอก จังหวัดธนบุรี
- พ.ศ. 2465 - 2495 เป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์ และผู้ช่วยเจ้าสำนักเรียนวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- พ.ศ. 2471 - 2476 เป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรมและธรรมศึกษาตรี สนามหลวง มณฑลราชบุรี และสำนักเรียนวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
เกียรติคุณ
แก้ท่านได้รับความไว้วางใจจะให้เป็นเจ้าอาวาสวัดต่างๆ จำนวน 17 วัด 21 ครั้ง แต่ปฏิเสธ ดังเอกสารเขียนด้วยลายมือของท่าน ระบุว่า[2]
"เขา จะให้เปนเจ้าอาวาส
๑ วัดท้องคุ้ง อ่างทอง
๒ วัดมหรรณ์ พระนคร
๓ วัดชนะสงคราม พระนคร
๔ วัดราชนัดดา พระนคร
๕ วัดราชบุรณะ พระนคร
๖ วัดเทพธิดา พระนคร
๗ วัดนางชี ธนบุรี
๘ คูหาสวรรค์ ธนบุรี ครั้งที่ ๑
๙ คูหาสวรรค์ ธนบุรี ครั้งที่ ๒
๑๐ วัดชัยฉิมพลี ธนบุรี
๑๑ วัดสิทธาราม ธนบุรี ครั้งที่ ๑ (สันนิษฐานว่า คือ วัดราชสิทธาราม)
๑๒ วัดสิทธาราม ธนบุรี ครั้งที่ ๒ (สันนิษฐานว่า คือ วัดราชสิทธาราม)
๑๓ วัดท่าพระ ธนบุรี
๑๔ วัดอรุณ ธนบุรี
๑๕ วัดหงษ์ ธนบุรี
๑๖ วัดอัมริน ธนบุรี
๑๗ วัดช่องลม สมุทรปราการ (ที่ถูกต้อง คือ สมุทรสาคร)
๑๘ วัดตึกมหาชัย สมุทรปราการ (ที่ถูกต้อง คือ สมุทรสาคร)
๑๙ วัดพระเชตุพน ๓ หน"
สมณศักดิ์
แก้- พ.ศ. 2469 เป็นพระฐานานุกรมใน พระธรรมปิฎก (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) ที่ พระครูปลัดปิฎกวัฑฒน[1]
- พ.ศ. 2482 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ในราชทินนามที่ พระสุธรรมมุนี[3]
- พ.ศ. 2493 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามเดิมที่ พระสุธรรมมุนี[1]
- พ.ศ. 2503 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพวรมุนี ศรีปริยัติวัฒนวิสิฏฐ์ สิกขกิจวโรปกร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
- พ.ศ. 2517 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมเสนานี นรสีห์ธรรมนิวิฏฐ์ สาธุกิจวิริยาธิการ ศาสนาภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
อาพาธ - มรณภาพ
แก้พระธรรมเสนานี (ฟุ้ง ปุณฺณโก) อาพาธปวดหัวเข่า และสะอึกเป็นประจำ รักษาไม่หาย ครั้งสุดท้ายก่อนมรณภาพประมาณ 1 สัปดาห์ ท่านฉันภัตตาหารไม่ได้ ส่งผลให้สังขารทรุดลง คณะศิษย์จึงพาไปตรวจสุขภาพและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ท่านไม่ยอมอยู่พักรักษาตัว ถึงกับลั่นวาจาว่า "ฉันขอตายที่กุฏิ"
วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ท่านบอกให้ศิษย์หยิบผ้าไตรครองของท่านมาเข้าไตร แล้วกล่าวว่า "ฉันจะทำพิธี แล้วจะไป"
ต่อมา วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เวลา 18.00 น. ท่านให้ศิษย์ไปนำพัดยศของท่าน พร้อมทั้งขันน้ำพระพุทธมนต์และหญ้าคามาให้ จากนั้นจึงพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่บรรดาศิษย์ และในคืนเดียวกันนั้น (เข้าสู่วันที่ 21 สิงหาคม) เวลา 03.15 น. จึงถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ[1] ณ กุฏิ คณะ ต. 34 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร สิริอายุ 87 ปี 15 วัน อุปสมบทได้ 67 พรรษา
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน. (2527). ลิลิตตะเลงพ่าย และพระเกียรติบางประการ โดยเสด็จพระราชกุศลงานพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมเสนานี (ฟุ้ง ปุณฺณกมหาเถระ ป.3 วัดพระเชตุพน). กรุงเทพฯ: หจก.มิตรเจริญการพิมพ์.
- ↑ Phra Sithawatchamethi Phamonphon. (2562, 31 สิงหาคม). อนุทินประจำวัน (859 อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพน ภายหลังสมเด็จพระสังฆราชป๋า)[Status update]. Facebook."Facebook". www.facebook.com.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 56 ง, 4 มีนาคม 2482, หน้า 3534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 77, ตอนที่ 102 ง, 14 ธันวาคม 2503, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 91, ตอนที่ 229 ง, 31 ธันวาคม 2517, หน้า 1