สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต)

สมเด็จพระวันรัต นามเดิม เผื่อน คงธรรม ฉายา ติสฺสทตฺโต เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ไทย เช่น เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะมณฑลราชบุรี สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง

สมเด็จพระวันรัต

(เผื่อน ติสฺสทตฺโต)
ส่วนบุคคล
เกิด11 ธันวาคม พ.ศ. 2419 (70 ปี 87 วัน ปี)
มรณภาพ8 มีนาคม พ.ศ. 2490
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 9 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง

ประวัติ แก้

สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่า เผื่อน คงธรรม เกิดเมื่อวันเสาร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 12 ตรงกับวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2419 ภูมิลำเนาอยู่ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรของขุนภักดีภูบาล (พัก คงธรรม) กับนางเปลี่ยน ภักดีภูบาล[1]

ท่านได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาบาลีกับพระศากยบุตติวงศ์ (หนู) วัดอรุณราชวราราม ตั้งแต่อายุได้ 9 ปี เมื่อพระศากยบุตติวงศ์มรณภาพ จึงย้ายไปศึกษากับพระมหาเปลี่ยนและพระยาธรรมปรีชา (ทิม) แล้วบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี หลังจากพระมหาเปลี่ยนลาสิกขาบท ท่านย้ายมาอยู่วัดพระเชตุพนฯ ศึกษาในสำนักสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) และพระยาธรรมปรีชา (ทิม) ต่อ

พ.ศ. 2439 กลับไปอุปสมบทที่วัดอัมพวัน ซึ่งใกล้บ้านเดิมของท่าน สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุดรคณารักษ์ (ชุ่ม) และพระปลัดปั้น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ อุปสมบทแล้วกลับมาอยู่วัดพระเชตุพนฯ ตามเดิม ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมจนปี พ.ศ. 2448 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค ได้รับพระราชทานพัดหน้านางพื้นตาดทองลายทองและนิตยภัตเดือนละ 12 บาท[2] และปี พ.ศ. 2449 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ได้รับพระราชทานพัดหน้านางพื้นตาดทองลงลายยอดและสัน ใจกลางก้าไหล่ทอง และนิตยภัตเดือนละ 14 บาท[3]

ศาสนกิจ แก้

วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลราชบุรี[4]

ลำดับสมณศักดิ์ แก้

  • 6 กรกฎาคม ร.ศ. 127 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสากยบุตติวงษ์ มีนิตยภัตเดือนละ 5 ตำลึง 2 บาท ได้พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักทองแล่งหน้าราหูใหญ่[5]
  • 24 กันยายน พ.ศ. 2464 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสุธี ธรรมปรีชาภิมณฑ์ ปริยัติโกศล ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
  • 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมุนี ศรีวิสุทธศีลาจารย์ ญาณนายก ตรีปิฎกธรามหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปิฎก อดุลยญาณนายก กถิกสุนทร ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2482 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายอรัญญวาสี ชั้นหิรัณยบัฏ ที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ญาณวิสุทธิจริยาปรินายก ตรีปิฎกคุณาลังการ นานาสถานราชคมนีย์ สาธุการีธรรมากร สุนทรศีลาทิขันธ์ อรัญญวาสี สังฆนายก[9]
  • 19 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระวันรัต ปริยัติพิพัฒนพงศ์ วิสุทธิสงฆปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร มหาคณะปธานาดิศร บวรสัฆาราม คามวาสี อรัญญวาสี[10]

มรณภาพ แก้

สมเด็จพระวันรัต อาพาธมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 จนถึงแก่มรณภาพในวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2490 ณ กุฏิคณะเหนือ น. ๑๕ สิริอายุได้ 70 ปี 87 วัน พรรษา 52[11]

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. ตำนานสมณศักดิ์ พระวันรัต และ สมเด็จพระราชาคณะผู้ทรงสมณศักดิ์ สมเด็จพระวันรัตในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 110
  2. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระสงฆ์สามเณรที่รับตำแหน่งเปรียญ, เล่ม 23, ตอน 27, 30 กันยายน ร.ศ. 125, หน้า 658
  3. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระสงฆ์สามเณรที่เป็นเปรียญและเปลี่ยนพัด, เล่ม 24, ตอน 47, 23 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 126, หน้า 1270
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ เรื่อง ตั้งเจ้าคณะมณฑลราขบุรี, เล่ม 45, ตอน 0 ง, 5 สิงหาคม 2471, หน้า 1405
  5. ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งพระราชาคณะและพระครู, เล่ม 25, ตอน 15, 12 กรกฎาคม ร.ศ. 127, หน้า 454
  6. ราชกิจจานุเบกษา, การสถาปนาและเลื่อนสมณศักดิ์, เล่ม 38, ตอน 0 ง, 2 ตุลาคม 2464, หน้า 1833
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนา สมณศักดิ์, เล่ม 40, ตอน 0 ง, 25 พฤศจิกายน 2466, หน้า 2596
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 43, ตอน 0 ง, 26 2469, หน้า 3074
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 56, ตอน 0, 4 2482, หน้า 3526-3528
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 62, ตอน 72 ก, 25 ธันวาคม 2488, หน้า 710-712
  11. ตำนานสมณศักดิ์ พระวันรัต และ สมเด็จพระราชาคณะผู้ทรงสมณศักดิ์ สมเด็จพระวันรัตในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 122
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. ISBN 974-417-530-3
  • ธนิต อยู่โพธิ์ตำนานสมณศักดิ์ พระวันรัต และ สมเด็จพระราชาคณะผู้ทรงสมณศักดิ์ สมเด็จพระวันรัตในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : ศิวพร, 2516. 447 หน้า.
  • สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. ISBN 974-417-530-3