สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม เข้ม ฉายา ธมฺมสโร เป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เจ้าอาวาสรูปที่ 9 ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะมณฑลชุมพรและพิศณุโลก

สมเด็จพระพุฒาจารย์

(เข้ม ธมฺมสโร)
ส่วนบุคคล
เกิด22 ธันวาคม พ.ศ. 2396 (87 ปี 339 วัน ปี)
มรณภาพ25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 6 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบทพ.ศ. 2418
พรรษา67
ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง

ประวัติ แก้

สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า เข้ม สกุล ธนสังข์[1] เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2396 ตรงกับแรม 7 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู จ.ศ. 1215 ภูมิลำเนาอยู่บ้านตำบลโรงช้าง จังหวัดพิจิตร เมื่ออายุได้ 10 ขวบได้ศึกษากับพระอาจารย์พุ่ม วัดนครชุม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร จนอายุ 15 ปี จึงมาบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ในสำนักพระญาณสมโพธิ (อ่ำ) ขณะยังเป็นพระอันดับ แล้วศึกษาต่อในสำนักหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ปั้น) พระเมธาธิบดี (จั่น) และพระปริยัติธรรมธาดา (ชัง)[2]

ปีกุน พ.ศ. 2418 ได้อุปสมบทที่วัดรังษีสุทธาวาส (ต่อมายุบรวมกับวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร) โดยมีพระปัญญาพิศาลเถร (บัว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโพธิวงศาจารย์ (วิญญู) และพระปลัดศรี เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า ธมฺมสโร บวชแล้วย้ายกลับมาอยู่วัดมหาธาตุฯ ถึงปีชวด พ.ศ. 2419 ท่านเข้าสอบพระปริยัติธรรมครั้งแรกที่พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค สอบครั้งที่สองในปีมะเมีย พ.ศ. 2425 ที่สนามสอบเดิม สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค และสอบครั้งสุดท้ายในปีจอ พ.ศ. 2429 ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค[2] วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2430 จึงได้รับพระราชทานผ้าไตรแพร ย่ามโหมดเทศ และพัดพื้นแพรเหลืองปักเลื่อม ในการตั้งเปรียญ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท[3]

วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 ได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลชุมพร[4] ในวันนั้นท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรที่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม[5]

วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2452 โปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์ท่านและให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ โดยในช่วงบ่ายวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2452 โปรดให้จัดขบวนรถยนต์หลวงไปรับท่านและคณะรวม 11 รูปมาวัดพระเชตุพนฯ เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานเครื่องขึ้นกุฏิ บริขาร และปัจจุยมูลค่า 400 บาท เวลาทุ่มเศษจึงเสด็จฯ กลับพระราชวังดุสิต[6]

วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2453 โปรดให้สถาปนาเป็นเจ้าคณะมณฑลพิศณุโลก ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ณ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต[7] จนถึงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2464 จึงโปรดให้เลื่อนเป็นเจ้าคณะรองอรัญวาสี[8]

วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ท่านได้รับพระราชทานพัดรัตนาภรณ์ ชั้นที่ 2[9] ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จึงพระราชทานพัดรัตนาภรณ์ ชั้นที่ 1[10]

สมณศักดิ์ แก้

พระมหาเข้ม ธมฺมสโร ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้

  • 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 เป็นพระราชาคณะที่ พระอมรเมธาจาริย์ มีนิตยภัตราคาเดือนละ 4 ตำลึง[11]
  • 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 เป็นพระราชาคณะที่ พระราชมุนี ตรีปิฎกาลังการ มีนิตยภัตราคาเดือนละ 4 ตำลึง 1 บาท[12]
  • 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะฝ่ายใต้ที่ พระเทพเมธี ศีลวิบุลนายก มหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี มีนิตยภัตราคาเดือนละ 4 ตำลึงกึ่ง และรับพัดนพมุรธา[13]
  • 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2452 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเจดีย์ กระวีวงษ์นายก ตรีปิฎกบัณฑิตย์ มหาคณฤศรบวรสังฆาราม คามวาสี มีนัตยภัตราคาเดือนละ 7 ตำลึง[14]
  • 24 กันยายน พ.ศ. 2464 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองอรัญวาสีที่ พระอุบาฬีคุณูปมาจารย์ ญาณวิสุทธิจริยาปรินายก ตรีปิฎกคุณาลังการ นานาสถานราชคมนีย์ สาธุการีธรรมากร สุนทรศีลาทิขันธ์[8]
  • 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองคณะใต้ที่ พระธรรมวโรดม บรมญาณอดุลยสุนทรนายก ตรีปิฎกคุณาลังการภูสิต ทักษิณทิศคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[15]
  • 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 เป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่หนกลางที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ สมถวิปัสสนายานปรีชา สัปดวิสุทธิจริยาสมบัติ นิพัทธสัลเลขธุดงคธารี ตรีปิฎกโกศล สกลมัชฌิมคณิสสรบวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[16]

มรณภาพ แก้

สมเด็จพระพุฒาจารย์ มรณภาพอย่างสงบเมื่อวันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 สิริอายุได้ 87 ปี 339 วัน พรรษา 67[17]

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 130
  2. 2.0 2.1 เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 175
  3. "การตั้งพระราชาคณะและเปรียญที่แปลพระปริยัติธรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 4 (ตอน 22): หน้า 173, 176. 20 กรกฎาคม ร.ศ. 121. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งราชาคณะเจ้าคณะมณฑล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 19 (ตอน 16): หน้า 297. 20 กรกฎาคม ร.ศ. 121. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "พระราชทานสัญญาบัตรเจ้าคณะมณฑล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 19 (ตอน 17): หน้า 297. 27 กรกฎาคม ร.ศ. 121. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "การแห่พระธรรมเจดีย์ ไปอยู่วัดพระเชตุพน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 26 (ตอน 0 ง): หน้า 271-273. 23 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 128. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "พระราชทานสัญญาบัตรเจ้าคณะมณฑล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 27 (ตอน 0 ง): หน้า 567-568. 3 กรกฎาคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. 8.0 8.1 "ประกาศสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 38 (ตอน 0 ง): หน้า 1, 830. 2 ตุลาคม 2464. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "พระราชทานพัดรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 45 (ตอน ง): หน้า 2711. 2 ธันวาคม 2471. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "พระราชทานพัดรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 46 (ตอน ง): หน้า 4326. 9 มีนาคม 2472. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ตั้งตำแหน่งสงฆ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 6 (ตอน 8): หน้า 62. 19 พฤษภาคม ร.ศ. 108. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  12. "พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 16 (ตอน 34): หน้า 487. 19 พฤศจิกายน ร.ศ. 118. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  13. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์ และรายนามพระสงฆ์ที่รับพัดรอง พระราชลัญจกร แลตราตำแหน่งต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 19 (ตอน 8): หน้า 127, 128. 25 พฤษภาคม ร.ศ. 121. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  14. "รายนามพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานยศสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 26 (ตอน 0 ง): หน้า 214-215. 16 พฤษภาคม ร.ศ. 128. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  15. "ประกาศสถาปนา สมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 40 (ตอน 0 ง): หน้า 2, 591–2593. 25 พฤศจิกายน 2466. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 46 (ตอน 0 ก): หน้า 361-362. 26 กุมภาพันธ์ 2472. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 131
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. ISBN 974-417-530-3
  • สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. ISBN 974-417-530-3
  • "อดีตเจ้าอาวาส". วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)


ก่อนหน้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร) ถัดไป
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (แพ ติสฺสเทโว)    
สมเด็จพระพุฒาจารย์
(พ.ศ. 2472-2484)
  สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร)