พระเทพสิทธินายก (เลียบ ปญญฺสิริ)
หลวงพ่อเลียบ วัดเลา (มีนาคม พ.ศ. 2412 - 18 เมษายน พ.ศ. 2483) ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เป็นพระสงฆ์ผู้ทรงวิทยาคมอันแก่กล้า เสกน้ำมนต์เดือดได้ น้ำมันของท่านช่วยปัดเป่าทุกข์ภัยให้ผู้คนมากมาย เครื่องรางของขลัง เช่น ผ้าเช็ดหน้าเมตามหานิยม ธงค้าขาย เสื้อยันต์ ตะกรุดโทน ตะกรุดสามกษัตริย์ และเหรียญรุ่นแรกมีพุทธคุณรอบด้าน ได้ไปร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีสำคัญอยู่เป็นประจำ
พระเทพสิทธินายก (เลียบ ปญญฺสิริ) | |
---|---|
หลวงพ่อเลียบ วัดเลา | |
เกิด | มีนาคม พ.ศ. 2412 |
มรณภาพ | 18 เมษายน พ.ศ. 2483 |
อายุ | 71 |
อุปสมบท | พ.ศ. 2434 |
พรรษา | 49 |
วัด | วัดเลา |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดเลา |
![]() |
ประวัติแก้ไข
หลวงพ่อเลียบ วัดเลา ท่านเกิดเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2412 ในแผ่นดินองค์รัชกาลที่ 5 ที่บ้านปากคลองภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรีจังหวัดในอดีตที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาของประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็น กรุงเทพมหานคร ฐานะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของประเทศไทยคือ ฝั่งธนบุรี เป็นบุตรของนายทัด และนางเปลี่ยน ทิพยทัศน์ เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน เมื่อในวัยเยาว์ได้ศึกษาอักขระในสมัยในสำนักพระครูพุทธพยากรณ์ (กล้ำ) วัดอัปสรสวรรค์ อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2434 โดยมีพระอาจารย์ทัด วัดสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม) วัดหนัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสมณธรรมสมานาม (แสง) วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปุญญสิริ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและสวดปาติโมกข์จนเจนจบย้ายไปวัดขุนจันทร์ เพื่อศึกษาวิปัสสนาธุระ กับ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง จนได้รับการยกย่องจากหลวงปู่เอี่ยมว่า มีพลังจิตกล้าแข็งมาก ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระอุดรคณารักษ์ (ชุ่ม) วัดโพธิ์ และศึกษาโหราศาสตร์กับพระปรากรมมุนี (นวน) วัดสังข์กระจาย ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสมุหวรคณิสรสิทธิการและพระเทพสิทธินายกตามลำดับ และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร และเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้เข้าไปบูรณะวัดเลาและซ่อมแซมให้ดีขึ้น ในบั้นปลายชีวิตท่านได้ป่วยเป็นโรคลมอัมพาต จนถึงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2483 เวลา 14.oo น.ท่านได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี รวมสิริอายุได้ 71 ปี 48 พรรษา
อ้างอิงแก้ไข
- หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์
- http://amuletsforum.blogspot.com/2011/09/blog-post_7858.html