ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ

ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [1] ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และอดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ
นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 มกราคม พ.ศ. 2486 (81 ปี)
เชื้อชาติไทย
คู่สมรสอิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ
บุตรดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
ผศ.ดร.อิสริยา นิติทัณฑ์ประภาศ
อาชีพข้าราชการบำนาญ

ประวัติ แก้

ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนราชินีบน จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจนจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2507 ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้สำเร็จการศึกษาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (เกียรตินิยมดี) สาขารัฐประศาสนศาสตร์ และยังได้สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 37) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

ด้านครอบครัว สมรสกับนายอิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ และรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ มีบุตรธิดา 2 คน คือ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิสริยา นิติทัณฑ์ประภาศ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทำงาน แก้

ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2508 ในตำแหน่งพนักงานงบประมาณตรี สำนักงบประมาณ และได้โอนมาสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในปีต่อมา และได้ก้าวหน้าในหน้าที่การงานเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการกองแผนงานและวิชาการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2521 เป็นผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2530 และได้รับตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2538 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2542 จึงได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี[2]

ต่อมาในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร จึงได้ถูกย้ายมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544[3] เป็นปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในปี พ.ศ. 2545 จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2546

ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 จึงได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน[4] และเป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ในปี พ.ศ. 2554[5]

หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และเป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ![ลิงก์เสีย]
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (ระดับ 11 สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก สำนักนายกรัฐมนตรี นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ)
  4. ประกาศ แต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน (นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ)
  5. ประกาศแต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดินราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษ 138ง วันที่ 17 พฤศจิกายน 2554
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๒, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔